สินค้า
อาหาร
(สถิติมูลค่านำเข้าจากไทยม.ค.-ก.ค. 54 — เทียบกับช่วงเดียวกัน ปี53)
1) ปลาที่ปรุงแต่งหรือทำไว้ไม่ให้เสีย คาร์เวียร์และของที่ใช้แทนคาร์เวียร์ที่ทำจากไข่ปลา (HS1604): 85.739 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (+39.18 %)
2) สัตว์น้ำจำพวก ครัสตาเซีย โมลลุสก์ (HS 1605): 50.181 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (+15.33 %)
3) สัตว์น้ำจำพวก ครัสตาเซีย (HS 0306): 62.958 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (+17.16 %)
4) สัตว์น้ำจำพวกโมลลุสก์ (HS 0307) : 8.462 ล้านเหรียญสหรัฐ (+38.96 %)
5) ผลไม้ ลูกนัต (HS 2008): 30.654 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (+26.04%)
การผลิต/การบริโภค
การผลิต
- แคนาดามีชื่อเสียงด้านการผลิตเนื้อวัวชั้นดี และปลาแซลม่อนเพื่อการบริโภคและส่งออก
- ปัจจุบัน ประเทศแคนาดามีโครงสร้างการผลิตอาหารในปัจจุบัน (แบ่งตาม % cash receipt) ดังนี้
1. ธัญพืช = 34% (อาทิWheat/durum/ oats/barley/ rye/ flax seed/ canola)
2. เนื้อสัตว์ = 27% (Beef cattle/hogs/ veal และ lamb)
3. Dairy Products = 12%
4. พืชสวน หรือ Horticulture = 9%
5. ไก่และไข่ไก่ = 8%
การนำเข้า/ส่งออก
นำเข้า (อาหาร)
- จากทั่วโลก: เดือน ม.ค. — ก.ค. 54 มูลค่า 997.873 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (+25.93 %)
- จากไทย: เดือน ม.ค.- ก.ค. 54 มูลค่า 381.319 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (+15.66 %)
ส่งออก (อาหาร)
- ไปยังทั่วโลก: เดือน ม.ค. — ก.ค. 54 มูลค่า 1,769.449 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (+17.00%)
- ไปยังไทย : เดือน ม.ค.-ก.ค. 54 มูลค่า 4.408 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (-52.90%)
- ผู้นำเข้าอาหาร โดยมากมักเป็นผู้ประกอบการรายเก่าแก่ ลักษณะ Distributor และ Wholesalerโดยมีเครือข่ายกระจาย
- ผู้นำเข้ามีจำนวนจำกัด โดยแต่ละราย มักรวมความต้องการสินค้าของร้านค้าปลีก/ ส่งรายอื่นจำนวนมาก
- ผู้นำเข้าอาหารจากไทยจำนวนมากเป็นชาวเอเซียสามารถกระจาย สินค้าต่อไปยังชาวเอเซียอื่นได้เป็นอย่างดี
จากสถิติหน่วยงาน Statistic Canada ล่าสุดนั้น
- อาหารยอดนิยมของผู้บริโภคแคนาดา ได้แก่ ชา/ โยเกิต/ อาหารเช้า Cereals/ ผักสดต่างๆ/ ผลไม้จำพวก Berries/ ผลไม้แปรรูป/ หน่อไม้ฝรั่ง (Asparagus) และไวน์
- เนื้อสัตว์ที่ผู้บริโภคนิยมมากที่สุดคือเนื้อไก่
- ชาวแคนาดาบริโภคโยเกิตมากถึง คนละ 5.4 ลิตร ต่อปี (เพิ่มขึ้นเท่าตัวภายใน 10 ปี)
- ในปัจจุบัน ชาวแคนาดา บริโภคนมสด น้อยลงมาก โดยบริโภคประมาณ 57.7 ลิตรต่อคน/ปี
- ปัจจุบันชาวแคนาดา หันมาบริโภคเนื้อไก่ มากขึ้น 1.9 กก/คน/ปี และลดการบริโภคเนื้อวัว 3.7 กก./คน/ปี
- แนวทางอาหารที่กำลังได้รับความสนใจมากในปัจจุบัน ได้แก่ อาหารเพื่อสุขภาพ และอาหารจานด่วนที่ปรุงเองได้ง่าย
- ผู้บริโภคเริ่มคุ้นเคยกับเครื่องปรุงรส ซอสต่างๆ เพิ่มขึ้น โดยข้อมูลสถิติระหว่าง ม.ค. — เม.ย. 54 ได้รายงาน สินค้าหมวดซอส (HS : 2103.90) ไทยเป็นตลาดส่งออกอันดับ 2 รองจากสหรัฐฯ ด้วยมูลค่า 2.667 ล้านเหรียญสหรัฐ ฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 40.04 จากช่วงเวลาเดียวกันจากปีก่อน
- สินค้าอาหารที่มีแนวโน้มขยายตัว ได้แก่ สินค้าฮาลาล และ Kosher เนื่องมาจากจำนวนประชากรอิสลามขยายตัวมากขึ้น
การค้าในประเทศ
ราคาขายส่ง/ปลีก
ราคาขายปลีกในนครแวนคูเวอร์ ณ ก.ย. 2554 (เหรียญแคนาดา)
- ข้าวหอมมะลิไทย ขนาดถุง 8.18 กก. ราคา 17-20 CAD$
- กุ้ง Black Tiger Prawn / Headless (Previously Frozen) ขนาด 21/25 ราคา 6.99$/Lb
- ทุเรียน ราคา 2.99 CAD$/Lb
- เงาะ ราคา 3.99 CAD $ /Lb
- มังคุด ราคา 4.99 CAD $ /Lb
คู่แข่ง
ตามสถิติการนำเข้า ม.ค.-ก.ค. 54 (% จากสัดส่วนนำเข้าทั้งหมด)
สหรัฐฯ (40.84%)
ไทย (23.85%)
จีน (10.39%)
เวียดนาม (5.00%)
อินเดีย (3.67 %)
มาตรการการค้า
ด้านภาษี/NTB
- ไม่มีการกีดกันทั้งภาษี หรือ NTB .ในกรณีเป็นสินค้าที่ประเทศแคนาดาไม่สามารถผลิตได้ภายในประเทศ
- Consumer Packaging and Labeling Act: กฎระเบียบเกี่ยวกับข้อกำหนดด้านบรรจุภัณฑ์ และป้ายสินค้า ตลอดจนภาษา และ
- Canadian Food and Drug Act/ Regulation: กฎระบียบเกี่ยวกับสินค้าอาหารและยา ซึ่งมีจุดประสงค์หลักในการคุ้มครองผู้บริโภคชาวแคนาดา ทั้งนี้ กฏระเบียบดังกล่าว มีการระบุค่าของสารเคมี/ สารปรุงแต่ง/ สี/ และสารกันเสีย ประเภทต่างๆ สำหรับสินค้านำเข้าไว้อย่างละเอียด โดยหน่วยงาน Health Canada และ CFIA จะทำการปรับค่ากำหนดของสารต่างๆ เป็นระยะๆ ผู้สนในสามารถตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกฏระเบียบดังกล่าว ได้ที่ http://laws.justice.gc.ca/en/F-27 http://laws.justice.gc.ca/en/F-27/C.R.C.-c.870
- รัฐบาลแคนาดาให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของผู้บริโภคมาก จึงมีมาตรการนำเข้าสินค้าอาหารสูงมาก
- “Freshwater Shrimp Farming in Alberta”- Alberta Agriculture, Food, and Rural Development- www.agric.gov.ab.ca
- “Five largest Agricultural production sectors: Canada”: Canadian Federation of Agriculture, CFA - Canadian Federation of Agriculture - Commodities
- “Food Statistics”: Statistics Canada ณ 27 พค 2553 : http://www.statcan.gc.ca/bsolc/olc-cel/olc-cel?lang=eng&catno=21-020-X
- เปรียบเทียบราคาปลีก ณ T&T Supermarket ในนครแวนคูเวอร์ ณ เดือน ก.ย. 2554
SWOT
1. จุดแข็ง (Strength)
- ชาวแคนาดามักเชื่อมโยงภาพลักษณ์อาหารไทยกับการใช้สมุนไพร และเครื่องเทศ ทำให้สินค้าอาหารของไทยได้รับการยอมรับว่า เป็นอาหารเพื่อสุขภาพ
- ผู้นำเข้าอาหารไทยจำนวนมากเป็นชาวเอเชีย ที่ประกอบธุรกิจนำเข้ามาเป็นเวลาช้านานแล้ว จึงมีความคุ้นเคยกับอาหารไทยดี(บางรายพูดไทยได้ด้วย) มักโน้มน้าว จูงใจผู้ประกอบการรายอื่นที่ไม่คุ้นเคยกับอาหารไทย ได้หันมาทดลองชิม/ ขายได้ดี (เนื่องจากเป็นชาวจีน/ เวียดนามด้วยกัน) จึงนับเป็นการประชาสัมพันธ์ลักษณะ Word of Mouth ได้อย่างดี
- จากผลตอบรับที่สคร. ได้รับจากผู้นำเข้าเสมอนั้น งานแสดงสินค้า Thaifex นับเป็นงานแสดงสินค้าที่จัดได้ดี ผู้นำเข้าจำนวนมากต้องการร่วมงานฯ ทุกปี
- ผู้ผลิต/ ผู้ส่งออกอาหารไทย มีการพัฒนารูปแบบ และการนำเสนอภาพลักษณ์สินค้าได้ดี
2. จุดอ่อน (Weakness)
- ค่าใช้จ่ายการเดินทางระหว่างไทย-แคนาดา มีราคาสูง ทำให้ผู้นำเข้าไม่สามารถเดินทางไปเจรจาการค้า หรือเข้าร่วมงานแสดงสินค้าได้บ่อยนัก ส่งผลให้ผู้นำเข้ามีโอกาสพบเห็นสินค้าใหม่ๆ ได้น้อย จึงเกิดการสั่งซื้อรายปี จำกัด (สำหรับสินค้าอาหารนั้น การที่ผู้นำเข้าได้จับต้องหรือทดลองชิมอาหารดว้ ยตัวเองแล้วนั้น จะมีผลอย่างมากสำหรับการสั่งซื้อสินค้าใหม่ๆ)
- อาหารไทยจำนวนมากมักใช้บรรจุภัณฑ์จากวัสดุราคาประหยัด ทำให้ขาดความน่าสนใจ และมีผลด้านความเชื่อถือภาพลักษณ์(Perceived Image/ quality) ต่ออาหารไทยโดยรวม
- จากผลสำรวจของหน่วยงาน Alberta Agriculture, Food, and Rural Development สรุปว่าชาวแคนาดานิยมบริโภคอาหารทะเลอาทิ กุ้ง ที่สด (ไม่ผ่านการแช่แข็งมาก่อน) โดยยินดีจ่ายเงินเพิ่มสำหรับราคาที่สูงขึ้น อย่างไรก็ตามกุ้งและ อาหารทะเลนำเข้าจากไทยเป็นสินค้าแช่แข็งแทบทั้งสิ้น
- จากผลตอบรับที่สคร. ได้รับจากผู้นำเข้าเสมอๆ นั้น ผู้ส่งออกไทยส่วนมากติดต่อได้ยาก โดยมักไม่ตอบอีเมล์ และหมายเลขโทรสาร ใช้การไม่ได้
- ชาวแคนาดามีความรู้เกี่ยวกับสินค้าอาหารไทยจำกัด ภาพลักษณ์อาหารไทยในแคนาดายังเป็นรอง อาหารญี่ปุ่น เกาหลี อินเดีย และจีน อีกมาก
3. โอกาส (Opportunity)
- แคนาดามีกำลังการผลิตสินค้าหมวด 0306 (สัตว์น้ำจำพวกครัสตาเซีย)ได้ค่อนข้างน้อยไม่เพียงพอต่อการบริโภคในประเทศ จึงจำเป็นต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งแคนาดานำเข้าจากไทยเป็นอันดับที่ 2 (รองจากสหรัฐฯ)
- เนื่องจากอาหารไทย เป็นที่รู้จัก นิยมในแคนาดามากขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลให้ ผู้ผลิต/ผู้ประกอบการชาวแคนาดา (และต่างชาติ) ได้มีการดัดแปลงรสชาดอาหารของตนให้มีรสชาดไทย อาทิZesty Thai Chicken/ Tom Yum Noodle/ Pad Thai/ Thai Spring Salad เป็นต้น ทำให้อาหารไทยเป็นที่รู้จักมากขึ้นเรื่อยๆ
- ชาวแคนาดาและผู้ย้ายถิ่นชนชาติอื่นๆ ในแคนาดาเริ่มให้ความสนใจอาหารเอเชียมากขึ้น และมองว่าอาหารไทยเป็นอาหารที่เป็น High-end food
- ผู้ผลิต / ส่งออกไทยสามารถเพิ่มโอกาสในขยายตลาดกลุ่มสินค้าเครื่องปรุง ซอสประเภทต่าง ๆ (หมวดสินค้า HS: 2103.90) เนื่องจากความต้องการที่เพิ่มขึ้นในกลุ่มชาวแคนาดาที่ใส่ใจสุขภาพ และเล็งเห็นว่าอาหารไทยจำพวกซอสสมุนไพรไทยนั้นเหมาะกับสุขภาพ โดยจะเลือกมาแทนที่กลุ่มเครื่องปรุงรส ซอสประเภทไขมันสูงที่วางจำหน่ายทั่วไป
4. ภัยคุกคาม (Threat)
- ผู้นำเข้าอาหารจากไทย ซึ่งโดยมากเป็นชาวจีน และเวียดนาม (ไม่ใช่ชาวไทย) มีรากฐานเครือข่ายการกระจายสินค้า(ไปยังผู้ประกอบการส่วนต่างๆ ทั่วประเทศ) ที่แข็งแรง มั่นคงมาก ชาวไทยที่ประสงค์จะนำสินค้าไปขายยังร้านค้าชาวเอเชียต่างๆ เหล่านี้ จำเป็นต้องมีเครือข่าย Connection มากกว่า แรงจูงใจด้านราคา หรือรูปแบบของสินค้าเพียงอย่างเดียว
- รัฐบาลแคนาดามีนโยบาย (ทั้งระยะสั้น และยาว) ในการพัฒนาฟาร์มกุ้งโดยเฉพาะในมณฑล Alberta เพื่อการบริโภคในประเทศ และส่งออกในอนาคต
- รัฐบาลส่วนกลางแคนาดา และรัฐบาลส่วนมณฑลของแคนาดานั้นมีโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมการประมง ประเภท Aquaculture อย่างต่อเนื่อง ทำให้มีกำลังผลิตมากขึ้นทุกปี
- ปัจจุบันกลุ่มผู้บริโภคที่นิยมการอนุรักษ์ธรรมชาติ(Green Consumer) มีการรณรงค์คนท้องถิ่นให้รับประทานอาหารที่ผลิตในท้องถิ่นมากขึ้น เพื่อช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม ลดมลภาวะโลกร้อนจากการขนส่งสินค้าจากประเทศต่าง ๆ
- เนื่องจากรัฐบาลแคนาดาให้ความสำคัญกับสุขภาพของผู้บริโภคมาก ดังนั้นจึงได้ออกกฎ ระเบียบเพิ่มเติมเรื่องควบคุมโรคสัตว์ทุกประเภทเมื่อ 22 ธันวาคม 2553 ซึ่งเน้นการควบคุมสัตว์น้ำมากขึ้น อาจจะส่งผลให้การสุ่มตรวจอาหารนำเข้าของหน่วยงาน Canadian Food Inspection Agency (CFIA) นั้น เพิ่มมาตรฐานการตรวจสอบที่ละเอียดมากขึ้น
เนื่องด้วยสินค้าในแต่ละ 10 หมวดสำคัญสามารถตีความได้กว้าง ครอบคลุมได้หลายพิกัดสินค้า (ตาม Harmonized System Code) ดังนั้น เพื่อความชัดเจนเที่ยงตรงของการรายงานข้อมูล สคร. มีเกณฑ์การคัดเลือกพิกัดสินค้าเพื่อการวิเคราะห์สถานการณ์รายหมวดสินค้าสำคัญ ดังนี้
1. พิกัดสินค้าดังกล่าว ประเทศแคนาดามีการนำเข้าจากไทยในปัจจุบันจริง
2. พิกัดสินค้าดังกล่าว มีมูลค่านำเข้าสูง ในหมวดสินค้านั้นๆ เพื่อสามารถแสดงถึงภาพรวมภาวะการค้าระหว่างไทย-แคนาดาได้อย่างเที่ยงตรงมากขึ้น
ในกรณีสินค้าอาหารนี้ สคร. พิจารณาใช้พิกัดสินค้า ดังนี้
- 1604 ปลาที่ปรุงแต่งหรือทำไว้ไม่ให้เสีย คาร์เวียร์และของที่ใช้แทนคาร์เวียร์ที่ทำจากไข่ปลา
- 1605 สัตว์น้ำจำพวกครัสตาเซีย โมลลุสก์และสัตว์น้ำที่ไม่มีกระดูกสันหลังอื่นๆ ที่ปรุงแต่งหรือทำไว้ไม่ให้เสีย
- 0306 สัตว์น้ำจำพวกครัสตาเซีย จะเอาเปลือกออกหรือไม่ก็ตาม มีชีวิต สด แช่เย็น แช่เย็นจนแข็ง แห้ง ใส่เกลือ หรือแช่น้ำเกลือ และสัตว์น้ำจำพวกครัสตาเซียที่ยังไม่เอาเปลือกออกซึ่งทำให้สุกโดยการนึ่งหรือต้ม จะแช่เย็น แช่เย็นจนแข็ง แห้ง ใส่เกลือ หรือแช่น้ำเกลือหรือไม่ก็ตาม รวมทั้งสัตว์น้ำจำพวกครัสตาเซียที่ป่นและที่ทำเป็นเพลเลตซึ่งเหมาะสำหรับมนุษย์บริโภค
- 2008 ผลไม้ ลูกนัต และส่วนอื่นที่บริโภคได้ของพืชที่ปรุงแต่งหรือทำไว้ไม่ให้เสียโดยวิธีอื่น จะเติมน้ำตาลหรือสารทำให้หวานอื่นๆ หรือสุราหรือไม่ก็ตาม ที่ไม่ได้ระบุหรือรวมไว้ในที่อื่น
- 0307 สัตว์น้ำจำพวกโมลลุสก์จะเอาเปลือกออกหรือไม่ก็ตาม มีชีวิต สด แช่เย็น แช่เย็นจนแข็ง แห้ง ใส่เกลือ หรือแช่น้ำเกลือ และสัตว์น้ำที่ไม่มีกระดูกสันหลังนอกจากสัตว์น้ำจำพวกครัสตาเซียและโมลลุสก์ มีชีวิต สด แช่เย็น แช่เย็นจนแข็ง แห้ง ใส่เกลือ หรือแช่น้ำเกลือ รวมทั้ง
สัตว์น้ำที่ไม่มีกระดูกสันหลังนอกจากสัตว์น้ำจำพวกครัสตาเซีย ที่ป่นและ ที่ทำเป็นเพลเลตซึ่งเหมาะสำหรับมนุษย์บริโภค
สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ นครแวนคูเวอร์
ที่มา: http://www.depthai.go.th