ภาวะเศรษฐกิจครึ่งแรกของปี 2554 ประเทศฮังการี

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday October 5, 2011 14:56 —กรมส่งเสริมการส่งออก

Economic Overview 2011
  • การขยายตัวของ GDP ในฮังการีหยุดนิ่งในไตรมาสที่สอง (0.0% qoq) โดยลดลงจาก ไตรมาสแรกของปี 2010 ที่ 2.4% เป็น 1.5% (qoq) ต่ำกว่าการพยากรณ์ ที่ส่วนใหญ่คาดหวังไว้ที่ 2.5% และต่ำกว่าการคาดการณ์ของธนาคารกลางถึง 2.2% ทั้งนี้สืบเนื่องมาจากยอดการค้าสุทธิที่ลดลงอย่างเห็นได้ชัด และเมื่อเศรษฐกิจมีปัจจัยขับเคลื่อนหลักเพียงตัวเดียว (การส่งออก) ผลลัพธ์ที่ได้จึงปรากฎออกมาให้เห็นได้เร็วขึ้น
  • การส่งออกของฮังการีค่อยๆปรับตัวดีขึ้นตั้งแต่ต้นปี 2009 แต่ในช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคมที่ผ่านมากลับมีตัวเลขที่ลดลง
  • GDP ยังคงต่ำกว่าช่วงก่อนวิกฤตถึง 8%
  • การบริโภคในครัวเรือนยังคงไม่ดีขึ้น และเป็นผลพวงให้ยอดขายธุรกิจค้าปลีกไม่เพิ่มขึ้น
  • เช่นเดียวกับการก่อสร้างที่ยังคงมีแนวโน้มลดลง
  • แม้ว่าดุลบัญชีเดินสะพัดของฮังการี กลับมาฟื้นตัวได้มากและอยู่ในสถานะเกินดุล แต่ในที่สุดก็ยังไม่มากพอที่จะทำให้เศรษฐกิจขยายตัวอย่างมั่นคงและมีเสถียรภาพได้
  • ไม่เพียงแต่ครัวเรือนฮังการีเท่านั้น ที่กำลังได้รับทุกข์อย่างหนักต่อระบบสินเชื่อเงินตราต่างประเทศ ยอดรวมหนี้ต่างประเทศ (gross external debt) อยู่ที่ประมาณ 135% ของ GDP และถือว่าเป็นประเทศที่มีหนี้สาธารณะมากที่สุดในเขตภูมิภาค (ประมาณ 80% ของ GDP) แม้ว่าในปีนี้คาดว่าจะลดลงเนื่องจากรายได้ที่เพิ่มขึ้นจากระบบเบี้ยบำนาญ แต่หากเศรษฐกิจยังคงไม่ขยายตัว หนี้สินดังกล่าวก็คงอยู่ในระดับที่เพิ่มมากขึ้น และที่แย่ไปกว่านั้น 45% ของหนี้สาธารณะไม่ได้อยู่ในสกุลโฟรินท์ (บางส่วนอยู่ใน Swiss Francs) ซึ่งหมายความว่าค่าเงินโฟรินท์ยังคงมีความเสี่ยงที่จะเสื่อมราคาลง
Economic Forecast 2012
  • Crisis tax ยังคงมีผลบังคับใช้ต่อเนื่องในปี 2012 ส่งผลให้การลงทุนโดยเฉพาะสาขาการเงิน และการบริการลดลง ปัญหาการกู้เงินและการปล่อยสินเชื่อของธนาคารยังคงยากลำบากเป็นระยะเวลาอีกยาวนาน
  • อัตราคนว่างงานน่าจะลดลงเล็กน้อยในช่วงหลังของปี 2011 ส่วนในปี 2012 ภาคเอกชนจะมีการจ้างงานเพิ่มขึ้น ส่วนภาครัฐจะอยู่ในรูปของการจ้างงานแบบ part-time
  • ในปี 2012 อัตราเงินเฟ้อคาดว่าจะลดลงเรื่อยๆ จนถึง 3.5% เนื่องจากปัญหาการขึ้นราคาพลังงานเริ่มคลี่คลาย ผู้บริโภคมีรายได้ลดลง (มีผลต่อภาษีรายได้ส่วนบุคคล) และการฟื้นตัวอย่างช้าๆของตลาดแรงงาน
  • หนี้สาธารณะคาดว่าจะลดลงเหลือ 73% รายได้ที่เพิ่มขึ้นของรัฐส่วนหนึ่งมาจากการปรับโครงสร้างระบบเงินบำนาญ ( 7% ของ GDP)

สคร. ณ กรุงบูดาเปสต์

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ