ประเมินสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและภาวะการค้า (กันยายน 2554)
หน่วยงาน Statistic Canada ได้ประเมินสถานการณ์ทางเศรษฐกิจแคนาดาในภาพรวมล่าสุด ดังนี้
1. Real GDP: +0.3 % ( ก.ค. 2554) จากเมื่อเดือนที่ผ่านมา
2. Unemployment Rate: 7.3 % (ส.ค. 2554) - เทียบกับ 7.2 % ในเดือนก.ค. 2554
3. Merchandise Import: +0.5 % (ก.ค. 2554) เมื่อเทียบกับ มิ.ย. 2554
4. Merchandise Export: +2.2 % (ก.ค. 2554) เมื่อเทียบกับ มิ.ย. 2554
5. Inflation Rate: 3.1% (ส.ค. 2554) — เทียบกับ 2.7 % ในเดือนก.ค. 2554
ปัจจัยหลักที่มีผลบวกต่อเศรษฐกิจในเดือนก.ค. 2554 (+0.3 %):
ปัจจัยบวกเป็นผลจาก : ภาคการผลิตสินค้า, ธุรกิจค้าส่ง, และบริการด้านขนส่ง
- ภาคการผลิตสินค้า ขยายตัว 1.4% หลังจากลดลงต่อเนื่อง 3 เดือนติดต่อกัน โดยเป็นการเพิ่มการผลิตกลุ่มสินค้า Durable (+2.1%) และ Non-Durable (+0.5%) ซึ่งเน้นการผลิตเครื่องจักร รถยนต์อะหลั่ย เหล็กกล้า และกลุ่มเคมีภัณฑ์เป็นหลัก
- ธุรกิจค้าส่ง: เพิ่มขึ้น 1.5% โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าประเภทรถยนต์และอะหลั่ย, เครื่องจักร รวมทั้งสินค้าใช้สอยในครัวเรือนและส่วนตัว
- ธุรกิจขนส่งและอาคารสินค้า : ขยายตัว 1.8% เนื่องมาจากการดำเนินกิจการตามปกติ หลังจากเหตุการณ์ประท้วงของหน่วยงานไปรษีณ์ย์ รวมทั้งปริมาณการขนส่งทางอากาศ รถไฟ ทางบก เพิ่มขึ้น
ปัจจัยลบเป็นผลจาก: ภาคการผลิตน้ำมัน เหมืองแร่ และก๊าซธรรมชาติ, ภาคการก่อสร้าง, และภาคการเงินและประกันภัย
- ภาคการก่อสร้าง : ลดลง 0.3% ในส่วนของอาคารมิใช่สำหรับพักอาศัย , งานวิศวกรรมก่อสร้างและงานต่อเติม ซ่อมแซมอาหารต่างๆ
- ภาคการผลิตน้ำมัน เหมืองแร่ และก๊าซธรรมชาติ: ลดลง 0.3% โดยเป็นการลดลงในส่วนของการผลิตก๊าซธรรมชาติอย่างมาก แต่ในส่วนของการผลิตน้ำมันดิบ และเหมืองแร่ยังขยายตัว
- ภาคการเงินและประกันภัย : ลดลง 0.3% ซึ่งมาจากปริมาณซื้อ-ขายหุ้นในตลาดปรับตัวลดลง
มูลค่า(ล้านเหรียญสรัฐ) มูลค่า(ล้านเหรียญสหรัฐ) อัตราการขยายตัว(%)
ม.ค. — ส.ค. 53 ม.ค. — ส.ค. 54 ม.ค. — ส.ค. 53/54 มูลค่าการค้า 1,540.99 1,946.90 26.34 ไทยส่งออก 909.01 1,166.32 28.31 ไทยนำเข้า 631.98 780.58 23.51 ดุลการค้า 277.03 385.74 ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร
สินค้าส่งออกไทยไปแคนาดาที่มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้น (ม.ค.- ส.ค. 54) เมื่อพิจารณาสินค้าส่งออก 20 อันดับแรก ได้มีมูลค่าเพิ่มขึ้น 16 รายการ ได้แก่อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป(+28.58%)
ยางพารา (+110.35%) เครื่องโทรสาร โทรศัพท์ อุปกรณ์และส่วน (+2,581.67%) กุ้งสดแช่เย็น แช่แข็ง (+17.94%) เครื่องน่งุห่ม (+14.21%) เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่นๆ (+33.92%) ผลไม้
กระป๋องและแปรรูป (+26.15%) ผลิตภัณฑ์ยาง (+28.80%) อัญมณีและเครื่องประดับ (+20.70%) ส่วนประกอบอากาศยานและอุปกรณ์การบิน (+266.67%) เครื่องกีฬาและเครื่องเกมส์(+30.28%)
รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ (+123.25%) เครื่องยนต์สันดาปแบบภายในและลูกสูบ (+56.52%) เตาอบไมโครเวฟ (+11.87%) เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน (+34.37%) ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูปอื่นๆ (+84.24%)
สินค้าส่งออกไทยไปแคนาดาที่มีอัตราขยายตัวลดลง (ม.ค.- ส.ค. 54) ตามลำดับจากมูลค่าสูงสุด (20 อันดับแรก) มีเพียง 4 รายการ ได้แก่เครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ (-23.06%)
ข้าว (-10.01%) เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัฌฑ์(-2.14%) เลนซ์(-10.34%)
แหล่งข้อมูล : Statistics Canada (As of September 30, 2011)
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครแวนคูเวอร์
ที่มา: http://www.depthai.go.th