มาตรฐานสินค้าที่เกี่ยวกับสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Eco-friendly Products) ของสหภาพยุโรป และเนเธอร์แลนด์

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday October 11, 2011 14:00 —กรมส่งเสริมการส่งออก

มาตรฐานสินค้าที่เกี่ยวกับสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Eco-friendly Products) ของสหภาพยุโรป

๑. สินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของ EU เป็นแนวมาตรการที่สหภาพฯ เริ่มใช้มาตั้งแต่ ปี 1998 และประเทศสมาชิกได้มีการหารือเพื่อจัดทำมาตรฐานกลาง ตามประเภทสินค้าต่างๆ เป็นระยะๆ

๒. สหภาพฯ ได้กำหนดตรามาตรฐาน Eco Label เพื่อใช้เป็นสัญญลักษณ์ หรือแจ้งให้ผู้บริโภคได้รับทราบว่า สินค้าที่มีตราดังกล่าว จะเป็นสินค้าที่มีกระบวนการผลิต คุณสมบัติของชิ้นส่วน การดำเนินการอื่นใดทีเกี่ยวข้องกับการผลิตสินค้า จะไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม และ สุขอนามัยของประชาชน ทั้งนี้ บทบัญญัติได้กำหนดตาม Regulation (EC) No 66/2010 of the European Parliament and of the Council of 25 November 2009 on the EU Ecolabel

๓. ตราสัญญลักษณ์ได้กำหนดใช้ตรารูปดอกไม้เป็นเครื่องหมาย

๔. ตรา EU Ecolabel ไม่ได้เป็นมาตรการที่ใช้บังคับ กล่าวคือ ผู้ประกอบการสามารถเลือกที่จะสมัครเพื่อให้ได้รับตราดังกล่าวหรือไม่ (voluntary basis) ทั้งนี้ หากสมัครที่จะใช้ตราดังกล่าวกับผลิตภัณฑ์ของตน ก็จะต้องปฏิบัติตามมาตรฐานหลัก (core standard) ของสินค้าตามที่กำหนด

๕. การอนุญาต การควบคุมตรวจสอบ จะกระทำโดยหน่วยงานที่ได้รับมอบอำนาจ (competent authority) จากรัฐบาลของประเทศสมาชิก ทั้งนี้ เมื่อสินค้าใดได้ผ่านมาตรฐานและได้รับอนุญาตให้ใช้ตราดังกล่าวแล้ว สามารถนำไปใช้กับการตลาดของตนได้กับทุกประเทศในสหภาพฯ และ กลุ่ม EEA ได้แก่ นอร์เวย์ ไอซ์แลนด์ และ ลิกเตนสไตน์

นอกจากนี้ ยังมีประเทศในยุโรปอื่นๆ ได้ยอมรับเอามาตรฐานดังกล่าว และตราสัญลักษณ์ ไปใช้กับประเทศ ตนด้วย ได้แก่ โครเอเชีย สวิตเซอร์แลนด์ และตุรกี

๖. มาตรฐาน EU Ecolabel ไม่เป็นมาตรฐานบังคับ ซึ่งประเทศสมาชิกสามารถเลือกที่จะนำไปใช้ รวมถึงสามารถออกมาตรฐานและประเภทสินค้าของตนเองเพิ่มเติมได้เช่นกัน นอกจากนี้ ตราดังกล่าว เป็นเครื่องหมายให้ผู้บริโภคได้รับทราบว่า สินค้าที่ได้รับตราดังกล่าว

ได้ผ่านมาตรฐานว่าเป็นสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม อันจะช่วยในเรื่องการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค

๗. การกำหนดมาตรฐานจะทำอย่างครบวงจรชีวิตของสินค้า กล่าวคือ จะกำหนดตั้งแต่ระดับวัตถุดิบ กระบวนการผลิต คุณลักษณะเฉพาะของชิ้นส่วนและผลิตภัณฑ์สุดท้าย การจัดจำหน่าย และการทำลายสินค้าเมื่อสินค้าหมดอายุการใช้งาน

๘. สารเคมีต้องห้ามส่วนใหญ่จะเป็นสารที่ปรากฎอยู่ตามมาตรการ RoHs (Restriction of Hazardous Substances) ที่ปรากฎอยู่ใน Directive 2002/95/EC

๙. สถิติการออกตราสัญญลักษณ์ของ EU EU Ecolabel ณ ปี 2010 ได้มีผู้ประกอบการได้รับการรับรองแล้วทั้งสิ้น 1,150 ราย โดยที่ อิตาลี (359) ฝรั่งเศส (244) เสปน (70) และ เยอรมนี (70) เป็นประเทศที่มีผู้ได้รับการรับรองมากที่สุดตามลำดับ

ประเภทสินค้าที่ได้รับการรับรอง กลุ่มที่ได้มีการรับรองมากที่สุด ณ ปี 2010 ได้แก่ การให้บริการที่พักแก่นักท่องเที่ยว 37% ผลิตภันฑ์น้ำยาทำความสะอาดอเนกประสงค์ และสุขภัณฑ์ 13.5% และ สีทาภายในและภายนอก/น้ำยาขัดเงา 8%

๑๐. ประเภทสินค้า: สินค้าที่ได้รับการกำหนดมาตรฐานของสหภาพฯ ทั้งหมดจะเป็นสินค้า

และบริการที่ไม่ใช่อาหาร (non-foods) เท่านั้น รวม 22 สินค้า และ 2 ภาคบริการ ได้แก่

๑) ผลิตภันฑ์น้ำยาทำความสะอาดอเนกประสงค์และสุขภัณฑ์

๒) ผลิตภันฑ์น้ำยาทำความสะอาดสำหรับเครื่องล้างจาน

๓) ผลิตภันฑ์น้ำยาทำความสะอาดชนิดใช้มือ

๔) ผลิตภันฑ์น้ำยาซักผ้า

๕) ผลิตภันฑ์ประเภทสบู่ แชมพูและน้ำยาปรับสภาพผม

๖) ผลิตภันฑ์สิ่งทอ

๗) รองเท้า

๘) สีทาบ้านทั้งภายในภายนอกน้ำยาเคลือเงา (varnishes)

๙) โทรทัศน์

๑๐) เครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ

๑๑) เครื่องคอมพิวเตอร์

๑๒) เฟอร์นิเจอร์ไม้

๑๓) ที่ปูพื้นที่ทำจากไม้ (wood covering)

๑๔) ที่ปูพื้นทำจากสิ่งทอ (textile covering)

๑๕) ที่ปูพื้นทำจากของแข็ง (Hard floor coverings)

๑๖) ผลิตภัณฑ์ปลูกพืชและปรับปรุงดิน (Growing media and Soil improvers)

๑๗) หลอดไฟ

๑๘) ที่ทำความร้อน (Heat pumps)

๑๙) ที่นอน (Mattresses)

๒๐) กระดาษสำหรับ copy

๒๑) กระดาษทิชชู ทำความสะอาด

๒๒) น้ำมันหล่อลื่น

ภาคบริการ

๒๓) การให้บริการพักแรม (Campsite services)

๒๔) การให้บริการที่พักแก่นักท่องเที่ยว (Tourist accommodation service

๑๑. สินค้าที่อยู่ระหว่างการพิจารณาปรับปรุงมาตรฐาน ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ Laptops, desktops, ไฟ และ อยู่ระหว่างการพิจารณาจัดทำเพิ่มเติมได้แก่ เครื่องซักผ้า และ ตู้เย็น

๑๒. เพื่อให้เห็นแนวทางอย่างกว้างๆ สคร ในกลุ่มสหภาพยุโรปจึงได้จัดทำบทสรุปเงื่อนไขเบื้องต้นของแต่ละกลุ่มสินค้า เพื่อให้เห็นเป็นแนวทางในการผลิตสรุปได้ตามตาราง ทั้งนี้ รายละเอียดของข้อกำหนดสามารถดูได้ตามรายละเอียดของ web link ของสหภาพยุโรปฯ ตามที่แจ้งไว้ในแต่ละหมวดสินค้า

ทั้งนี้ หลักการสำคัญของแต่ละสินค้า สามารถพบรายละเอียดได้จาก http://ec.europa.eu/environment/ecolabel/ecolabelled_products/product_cat egories_en.htm

๑๓. ณ เดือน มีนาคม 2554 มีสินค้าที่ได้รับตรา EU Ecolabel แล้วทั้งสิ้น 21,536 รายการ และ บริษัทที่ได้รับตราแล้วทั้งสิ้น 1,152 บริษัท

๑๔. รายชื่อ competent authority ของ ของประเทศใน EU อื่นๆ รวม โครเอเชีย สวิตเซอร์แลนด์ และ ตุรกี สามารถดูได้จาก http://ec.europa.eu/environment/ecolabel/contacts/competent_bodies_en.htm

มาตรฐานสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (eco-friendly products) ของเนเธอร์แลนด์:

๑. เนเธอร์แลนด์ กำหนดความหมายของ Eco products ที่กว้างกว่าของ สหภาพฯ ทั้งในด้านความหมาย และ ขอบเขตของสินค้า โดยจะพิจารณาครอบคลุมทั้งระบบ "การผลิต (มาตรฐานสินค้า) และการบริการ (การจัดซิ้อสินค้า รวมซื้อสินค้านำเข้า) ทั้งนี้การดำเนินการจะต้องให้มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่ต่ำ (lower environmental impact) อาทิ การซื้อสินค้าจาก ผู้ผลิตที่ใช้วัตถุดิบอย่างยั่งยืน (sustainability) การใช้พลังงานและน้ำ การใช้สารอันตราย (Hazardous substances) หีบห่อ สิ่งเหลือจากการผลิต/ขยะ นอกจากนี้ ยังรวมสภาพการทำงาน (working conditions) สวัสดิภาพสัตว์ (animal welfare) การปกป์องพืช (plant protection and conservation) และ สุขอนามัยอาหาร (food safety)

๒. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและการควบคุม (Competent Authority):

2.1 Statutaire naam Stichting Milieukeur: SMK ซึ่งเป็นองค์กรเอกชนได้รับมอบอำนาจจากรัฐบาลเนเธอร์แลนด์ในการควบคุมดูแล ทั้งนี้ จะมีคณะกรรมการกำกับตามรายกลุ่มประเภทสินค้าอีกชั้นหนึ่ง

2.2 การรับรองจะใช้ระบบการออกใบรับรอง โดย SMK จะมีหน่วยงานย่อยทำหน้าที่ดูแลควบคุมตามประเภทกลุ่มสินค้า

2.3 บุคคลติดต่อ

Ms Ineke Vlot และ Mr Lars Woltmann Statutaire naam Stichting Milieukeur: SMK ที่อยู่ Alexanderveld 7 NL - 2585 DB 's Gravenhage เบอร์ติดต่อ (+31) 70 358 63 00 Fax (+31) 70 350 25 17 e-mail : ivlot@smk.nllwoltmann@smk.nl Website: http://www.smk.nl/nl/s357/SMK/Programmas/Europees-Ecolabel/c340-Europees-Ecolabel/

๓. ตราสัญญลักษณ์ จะแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับ ประเภทและกลุ่ม

๔. การกำหนดมาตรฐานสินค้าและบริการที่จะได้รับการรับรองว่าเป็นกิจการหรือสินค้า Ecofriendly products นั้น จะมีในรูปแบบกลุ่มธุรกิจ/ผู้ผลิต (Business / Production Operators) และ รูปแบบมาตรฐานในตัวสินค้า

4.1 กลุ่ม Business / Production Operators จะประกอบด้วย

  • กลุ่มที่ทำกิจการด้านเพาะปลูกใน Greenhouse
  • กลุ่มที่เพาะเลี้ยงปศุสัตว์ประเภท สัตว์ปีก วัว หมู ไก่ตุรกี กระต่าย เป็ด
  • กลุ่มผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
  • กลุ่มธุรกิจสินค้าขนม Bakery และ Confectionary
  • กลุ่มที่ทำธุรกิจการค้าดอกไม้
  • กลุ่มที่ทำธุรกิจผัก และ ผลไม้

4.2 สินค้าและภาคบริการ ได้ แบ่งออกเป็น

1) กลุ่ม Food ประกอบด้วย :

1.1) พืช ผัก ได้แก่ Potatoes, Mushrooms, Cresses, Daikon, Barley Greenhouse vegetables, Vegetable - Processed, Oats, Sprouts, Cabbage, Carrots, Leek, Lettuce, Spelt, Spinach, Sprouts, Wheat, Rye, Onions, Chicory

1.2) ผลไม้ ได้แก่ Strawberries, Endive, Apples, Blueberries, Pears,

1.3) อาหารสำเร็จรูป ได้แก่ Beer, Canned Peas

2) กลุ่ม Non-Food ประกอบด้วย: น้ำยาทำความสะอาดรถ, กระเบื้องคอนกรีต, คอนกรีตถนน, สินค้าที่ผ่านกระบวนการ (Processed products), ผลิตภัณฑ์เพื่อการพยาบาล (Nursery products) ผลิตภัณฑ์ดับเพลิง (Fire-fighting products) สินค้าถุงขยะ (waste bags) ผลิตภัณฑ์พลังงานสีเขียว (Green electricity) ที่ถ่ายของแมว (Cat Litter) Furniture ทุกประเภท ที่มีวัสดุทำจาก ไม้ ไม้ไผ่ ไม้อัด โลหะ (เหล็กและอลูมิเนียมม พลาสติก เรซิ่น ยาง (รวมถึง ยางเทียม หรือที่มีส่วนผสมของพลาสติก) หนัง หิน(รวมคอนกรีต ซีเมนต์) แก้ว กระจก กระจกสี ผลิตภัณฑ์เครื่องครัว เทอร์โมมิเตอร์สำหรับกิจการสาธารณสุข (Thermometers Healthcare) น้ำยาห้องน้ำ (Toilet Fluids) กระเบี้อง/พื้นนิรภัย(Safety tiles and flooring)

3) กลุ่มภาคบริการ ประกอบด้วย กิจการล้างทำความสะอาดรถ (Car Wash) กิจการด้านภูมิศาสตร์ (Landscapes Eco Horticulture Products)

ทั้งนี้ บทสรุปหลักการและ ขอบเขตของแต่ละสินค้า สามารถดูได้จาก http://www.smk.nl/nl/s433/SMK/Certificatieschema-s/Milieukeur/c373-A-t-m-E

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ