ประเมินสถานการณ์เศรษฐกิจกับการส่งออก ปี 2554 - 2555

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday October 11, 2011 14:22 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ประเมินสถานการณ์เศรษฐกิจกับการส่งออกไป เนเธอร์แลนด์ ปี 2554 - 2555 (Pop. 16.6 M.)

คาดการณ์ ปี 2554

                                         ล้าน USD        %

4,190 13 - 15

สถานการณ์เศรษฐกิจ (การส่งออกไปเนเธอร์แลนด์ Jan-July 2,810.9M$; +36.8%)

ปัจจัยบวกใน Quarter IV
  • หากระบบเศรษฐกิจโดยภาพรวมของเยอรมนี ฝรั่งเศส ยังเดินหน้าไปได้ ก็อาจช่วยทำให้ ผยุงระบบเศรษฐกิจของเนเธอร์แลนด์เดินหน้าไปได้ด้วย เพราะการส่งออก รวมถึงการ re-export มีส่วนสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจ
  • อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับที่พอจะกระตุ้นเศรษฐกิจภายในได้ โดยคาดว่าอัตราเงินเฟ้อน่าจะอยู่ในอัตรา 2.2 %
  • คำสั่งซื้อสินค้าจากช่วงไตรมาสก่อนๆ โดยเฉพาะในกลุ่มสินค้าอุตสาหกรรม และสินค้าอุปโภคบริโภคที่จะสนองความต้องการการใช้จ่ายของผู้บริโภคในช่วงปลายปี น่าจะยังมีผลทำให้การส่งสินค้าออกจากไทยมายังเนเธอร์แลนด์ น่าจะขยายตัวได้
  • ค่าเงินบาทแข็งตัว ทำให้สินค้าส่งออกหลักของไทย โดยเฉพาะสินค้า IT ซึ่งเป็นสินค้าที่ มี import content สูงจะได้ประโยชน์มากขึ้นเพราะต้นทุนวัตถุดิบต่ำลง
  • มีการส่งออก refine fuel จากไทยเป็นครั้งแรก ใน Q II ทำให้ยอดการส่งออกโตขึ้นมาก
ปัจจัยลบ
  • รัฐบาลยังคงเดินหน้าในการลดการใช้จ่าย เพื่อลดปัญหาหนี้สาธารณะลง (หนี้สาธารณะ ปัจจุบันประมาณ 64.1 % ของ GDP ส่งผลให้ รัฐบาลมีนโยบายชัดเจนจะลดการใช้จ่ายลงให้ได้ 1.8 หมื่นล้านยูโร ภายในปี 2015) โดยนโยบายสำคัญคือ

1) การลดการจ้างงาน การลดการอุดหนุนทางสังคม ทำให้ ผู้บริโภคต้องใช้เงินเพื่อการสาธารณสุขของตนเองมากขึ้น อันส่งผลให้ PPP ของครัวเรือนน่าจะปรับตัวลดลงในช่วง Q III และ Q IV

2) การลดโครงการการกระตุ้นทางเศรษฐกิจลง เช่นการให้ subsidy กับผู้ประกอบการ ทำให้ การขยายตัวทางเศรษฐกิจของเอกชนจะลดลง

  • ความมั่นใจในภาวะเศรษฐกิจของผู้ประกอบการ (producer confidence) ลดลงอย่างต่อเนื่องติดต่อกัน ซึ่งคาดว่า หากสถาณการณ์เศรษฐกิจโลกไม่ดีขึ้น สภาวะความมั่นใจของผู้ประกอบการยิ่งจะลดลง
  • ภาวะการตกงานยังมีอยู่สูง (4- 5 %) และคาดว่าจะมีเพิ่มมากขึ้นปีหน้า
  • ความมั่นใจในภาวะเศรษฐกิจภายใน และภายนอกประเทศ ของผู้บริโภค ลดลง อย่างต่อเนื่อง ทำให้ การใช้จ่ายของผู้บริโภคจะเป็นไปในรูปแบบที่ระมัดระวัง โดยสะท้อนให้เห็นจากการลดลงของการใช้จ่ายอย่างเห็นได้ชัด ตั้งแต่ Q II เป็นต้นมา
  • คาดว่าราคาน้ำมันและพลังงานจะสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง (แม้ว่าลดลงในช่วง Q II ของปี) ทำให้ cost การผลิตสูงขึ้นโดยเฉพาะด้านความต้องการพลังงานในช่วงใบไม้ร่วงและหนาว อันอาจส่งผลให้ราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้นด้วยโดยเฉพาะสินค้าบริโภค
  • ในขณะเดียวกัน อัตราดอกเบี้ยมีอัตราเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องนับแต่ช่วง Q II ทำให้ ผู้บริโภคหันไปฝากเงินมากขึ้น และจะใช้จ่ายเพื่อการบริโภคที่จำเป็นเท่านั้น มีความเป็นไปได้ว่า ผู้บริโภคอาจหันมาถือครองสินค้า durable product ที่มีมูลค่าเพิ่มตามระยะเวลาการถือครองมากขึ้น
  • ค่าเงินยูโร น่าจะยังคงรักษาระดับที่อ่อนตัวต่อไป เพื่อให้ทัดเทียมกับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ดังนั้นเมื่อเทียบกับเงินไทย ก็ส่งให้เงินบาทไทยมีอัตราที่สูงขึ้นโดยปริยาย ทำให้สินค้านำเข้าจาก ไทยอาจมีราคาสูงขึ้น โดยเฉพาะในสินค้าที่มี Thai content สูง

คาดการณ์ ปี 2555

                                        ล้าน USD          %
                                         4,609         8 - 10
สถานการณ์เศรษฐกิจ

ปี 2555 / 2012 จะเป็นปีที่จะต้องจับตามองอย่างไกล้ชิด เพราะคาดว่า เศรษฐกิจของโลก และ ของสหภาพฯ อันเนื่องจากปัญหาด้านการเงินของสหรัฐฯและ หนี้สาธารณะของ PIIGS อาจส่งผลให้ซบเซาต่อเนื่องไปปีหน้า

ปัจจัยบวก
  • ภาคเอกชนมีความสามารถในทางการค้า และ คาดว่าอัตราการ re-export โดยเฉพาะการส่งออกไปยัง เยอรมนี จีน ทำให้ภาพรวมน่าจะขยายตัวในแดนบวกอยู่ต่อไป แม้ว่าโตในอัตราที่ลดลง ดังนั้น การสั่งซื้อสินค้าจากไทย โดยเฉพาะในด้านสินค้าวัตถุดิบ น่าจะยังคงมีอย่างต่อเนื่อง
  • อัตราเงินเฟ้อ ยัง อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับที่พอจะกระตุ้นเศรษฐกิจภายในได้ โดยคาดว่าอัตราเงินเฟ้อน่าจะอยู่ในอัตรา 2.1 %
ปัจจัยลบ
  • การขยายตัวของ GDP คาดว่าจะลดลงกว่าปี 2011 (คาดว่าจะขยายตัวอยู่ที่ 1.7%)
  • หนี้สาธารณะของรัฐบาลยังเป็นปัญหาใหญ่ของยุโรป และ เนเธอร์แลนด์ โดยในปี 2012 คาดว่ารัฐบาลจะใช้นโยบายการลดค่าใช้จ่ายลงอีก และคาดว่าจะต้องใช้นโยบายการเงินแบบตั้งรับ "economic crisis scenario" (จะนำเสนอแผนงบประมาณวันที่ 20 กย 54) ทำให้ชัดเจนว่า public consumption จะลดลงอย่างแน่นอน
  • รัฐบาลจะยังคงการลดค่าใช้จ่ายภาครัฐ จะส่งผลกระทบอย่างชัดเจนขึ้นโดยเฉพาะในช่วง Q1 - Q2 ของปี 2012 อันมีผลต่อการจ้างงาน (ทั้งในรูปแบบการว่างงาน และ ค่าจ้างที่ลดลง) การลดการอุดหนุนด้านบริการทางสังคม อย่างต่อเนื่อง ลดโครงการการกระต้นทางเศรษฐกิจลงไปอีก ทำให้ ผู้บริโภคต้องใช้เงินเพื่อการสาธารณสุขของตนเองมากขึ้น อันส่งผลให้ PPP ของครัวเรือนน่าจะปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง
  • ภาวะเศรษฐกิจภายนอกหากยังไม่ดีขึ้น ธุรกิจบางประเภทเช่น financial การเงินการลงทุน อาจได้รับผลกระทบ (ล่าสุด ABN AMRO ประกาศลดการจ้างงาน อีกกว่า 2000 อัตราในปีหน้า)
  • Consumer confidence ยังไม่น่าจะดีขึ้น อันเนื่องจากทั้งเศรษฐกิจภายในและเศรษฐกิจภายนอก ทำให้สะท้อนออกมาเป็นลักษณะการไม่ใช้จ่าย หรือ ใช้จ่ายไปในสินค้า durable goods ที่มีมูลค่าถือตามระยะเวลาการถือครอง เช่น ทองคำ มากขึ้น (โดยปกติ คนดัชช์ใช้จ่ายเรื่องอาหารน้อย)
  • คาดว่าทั้งปี รูปแบบการบริโภค ยังน่าจะเป็นไปในลักษณะแบบเดิม คือการใช้จ่ายยังเป็นไปอย่างระมัดระวัง
  • ค่าเงินยูโร น่าจะยังคงรักษาระดับที่อ่อนตัวต่อไป เพื่อให้ทัดเทียมกับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ดังนั้นเมื่อเทียบกับเงินไทย ก็ส่งให้เงินบาทไทยมีอัตราที่สูงขึ้นโดยปริยาย ทำให้สินค้านำเข้าจากไทยอาจมีราคาสูงขึ้น โดยเฉพาะในสินค้าที่มี Thai content สูง

ประเมินสถานการณ์เศรษฐกิจกับการส่งออกไปเบลเยี่ยม (Pop 10.8 M) - ลักเซมเบอร์ก (Pop .5) ปี 2554 - 2555

ประมาณการส่งออกปี

2554

                                   ล้าน USD             %
                                   Belgium          12 - 13

1,692

Lux

5.5

สถานการณ์เศรษฐกิจ (การส่งออกไปเบลเยี่ยม Jan-July 2554: 2,810.9M$; +36.8%) (การส่งออกไปลักเซมเบอร์ก Jan-July 2554: 16.1 M$ * ; - 31.15%) *เป็นไปได้ที่สถิติ อาจผิดพลาด

ปัจจัยบวก
  • รัฐบาลรักษาการ ยังสามารถประคอง และ ลดหนี้สาธารณะ และ ลดการขาดทุนงบประมาณลงได้ แม้ว่าจะไม่เข้าเป้า อันเนื่องจากการเก็บภาษีได้น้อยลง
  • ค่าเงินบาทแข็งตัว ทำให้สินค้าส่งออกหลักของไทย โดยเฉพาะสินค้า อัญมนี ซึ่งเป็นสินค้าที่ มี imported value สูงจะได้ประโยชน์ เพราะต้นทุนวัตถุดิบต่ำลง
  • ผู้บริโภคยังคงมีเงิน แต่จะปรับเปลี่ยนการใช้จ่ายไปหาของมีค่าเพิ่มขึ้น แทนการใช้เพื่อการบริโภคปกติ หรือ การถือครองเงินสด
  • อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับที่ดีพอที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจภายใน แต่ต้องจับตาใน ปี 2012/2555
ปัจจัยลบ
  • ความเชื่อมั่นในระบบเศรษฐกิจ ทั้งของประเทศ และ เศรษฐกิจโลก ทั้งของผู้บริโภค และ ภาคธุรกิจโดยรวม ลดลงอย่างต่อเนื่องจาก Q. I (คาดว่าใน Q III จะต่ำกว่าจุดต่ำสุดของปี 2010/2553 เนื่องจาก

1. ความไม่ชัดเจนในเรื่องการเมืองยังคงมีอยู่ต่อไป เพราะยังไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ ทำให้เป้าหมายในการแก้ไขระบบเศรษฐกิจ ทำไม่ได้เท่าที่ควร (รัฐบาลรักษาการที่นานที่สุดในโลก)

2. ความไม่เสถียรภาพของการเมืองภายใน และ การแบ่งกลุ่มของประชากรระหว่างภูมิภาค และ ส่อมีแนวโน้มในการแยกประเทศ หากความขัดแย้งยังไม่สามารถหาข้อยุติได้

3 ระบบการเงิน ยังไม่มีเสถียรภาพ หนี้สาธารณะต่อ GDP ยังมีอัตราสูง (ปี 2011: 97 % และ ปี 2012 คาดว่าจะขึ้นเป็น 97.5 % และ S&P ได้ลดระดับความน่าเชื่อถือทางเศรษฐกิจลงจาก AAA เป็น AA และ bond ของรัฐบาลมีค่าลดลงอย่างต่อเนื่อง

  • รัฐบาลใหม่จะตัดงบประมาณรายจ่ายลงอย่างน้อย เพื่อลดการขาดทุนงบประมาณ และ ลดหนี้สาธารณลง ทำให้ปัจจัยในการกระตุ้นเศรษฐกิจ ในภาพรวมทำได้น้อย ดูได้จาก public consumption ที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง (เป้าหมายลดการขาดทุนงบประมาณ ต่อ GDP ปี 2011 3.6 % และ ปี 2012 2.8 %)
  • ภาวะการตกงาน ขยับตัวสูงขึ้น ใน Q II และคาดว่าจะมีสูงขึ้น ช่วงสิ้นปี บริษัทใหญ่หลายแห่งจะปิดกิจการ เช่น opel หรือ ลดนงานลง เช่น Solvey
  • ค่าเงินยูโรบาทแข็งตัวอย่างต่อเนื่อง ทำให้สินค้าจากไทย โดยเฉพาะสินค้าที่มี Thai content สูง จะเสียเปรียบ และ มีโอกาสสูญเสียตลาดให้กับประเทศคู่แข่ง เช่น จีน เวียดนาม ได้ง่าย
  • คาดว่าราคาน้ำมันและพลังงานจะสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง (แม้ว่าลดลงในช่วง Q II ของปี) โดยเฉพาะด้านความต้องการพลังงานในช่วงใบไม้ร่วงและหนาว จะส่งผลให้ให้ cost การผลิตสูงขึ้น อันอาจส่งผลให้ราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้นด้วยโดยเฉพาะสินค้าบริโภค
  • ผู้บริโภค จะบริโภคอย่างระมัดระวัง

คาดการณ์ส่งออกปี

2555

                                    ล้าน USD            %

Belgium

                                     1,861            10

Lux

                                       6              10

สถานการณ์เศรษฐกิจ

ปัจจัยบวก
  • ภาคเอกชนมีความสามารถในทางการค้า และ คาดว่าหากตลาด re-export สำคัญเช่น เยอรมนี ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ ยังสามารถคงสภาะเศรษฐกิจอยู่ได้ ก็อาจทำให้ภาพรวมน่าจะขยายตัวในแดนบวกอยู่ต่อไป แม้ว่าโตในอัตราที่ลดลง ดังนั้น การสั่งซื้อสินค้าจากไทย (ส่วนใหญ่เป็นสินค้าวัตถุดิบและชิ้นส่วน) น่าจะยังคงมีอย่างต่อเนื่อง
  • อัตราเงินเฟ้อ ยัง อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับที่พอจะกระตุ้นเศรษฐกิจภายในได่บ้าง (ปี 2010: 2.3% แต่คาดว่าปี 2011 : 3.6% ) แต่ต้องจับตาการคุมเงินเฟ้อในปี 2012 ด้วย ซึ่งอาจมีผลต่อราคาสินค้าของผู้บริโภค
  • รูปแบบการบริโภค ยังน่าจะเป็นไปในลักษณะแบบเดิม คือการใช้จ่ายยังเป็นไปอย่างระมัดระวังและ อาจลดการบริโภคด้านอาหาร แต่หันไปหาสินค้าคงทนและมี value มากขึ้น
  • ค่าเงินบาท อาจยังแข็งตัวและรักษาระดับไว้ ทำให้สินค้าอุตสาหกรรมหลักของไทยที่ใช้ imported content สูงได้เปรียบด้านราคาเพราะวัตถุดิบที่นำเข้าจะถูกลง แต่ต้องดูแลด้านการจัดการเพื่อไม่ให้ราคาขายสูงตามอัตราแลกเปลี่ยนด้วย
  • ผู้บริโภคยังคงมีเงินในการใช้จ่าย
ปัจจัยลบ
  • ปัจจัยลบจากปลายปี 2554 น่าจะยังคงอยู่ต่อไป ทั้งในเรื่อง สภาวะการเมือง และเศรษฐกิจภายใน ภาวะหนี้และการขาดดุลงบประมาณ ความอ่อนไหวของเศรษฐกิจโลก และเศรษฐกิจภายในของยุโรป ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับ หากยังไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลที่มีเสถียรภาพได้ ก็อาจส่งปัญหามากขึ้นต่อระบบเศรษฐกิจ
  • ความมั่นใจของผู้บริโภค และ ภาคธุรกิจ น่าจะยังคงมีอยู่ต่อไป จนกว่าจะได้รับสัญญาณบวก อื่นๆ

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ