รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจและภาวะการค้าระหว่างประเทศ ประเทศบราชิล ระหว่างเดือนกันยายน 2554

ข่าวเศรษฐกิจ Friday October 14, 2011 14:40 —กรมส่งเสริมการส่งออก

1.สถานการณ์ทางเศรษฐกิจของบราชิล

1.1. บราชิลเรียกเก็บภาษีอุตสาหกรรม (IPI) เพิ่มขึ้นร้อยละ 30 กับอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์

เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2554 ที่ผ่านมารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังนาย Guido Montega ได้กล่าวว่ารัฐบาลบราชิลประกาศมาตราการเพิ่มเติมในการเรียกเก็บภาษีอุตสาหกรรมหรือ IPI (Tax on industrialized products) สำหรับรถยนต์และรถบรรทุก โดยเพิ่มขึ้นจากอัตราเดิมที่เรียกเก็บร้อยละ 30 ทั้งนี้ ขึ้นอยู่ประเภทและขนาดของรถยนต์ โดยมีเงื่อนไขได้แก่

1.จะเรียกเก็บเพิ่มขึ้นเฉพาะรถยนต์ที่ผลิตโดยที่ใช้วัตถุดิบในการผลิตในประเทศ (Local content) น้อยกว่าร้อยละ 65 ของวัตถุดิบและส่วนประกอบในการผลิต

2.ต้องมีการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ในส่วนประกอบที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย 6 ชนิดจากทั้งหมด 11 ชนิด ซึ่งจะเป็นไปตามประกาศของ กระทรวงการพัฒนาวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรม (MDIC) ของบราชิล ที่จะมีการตรวจสอบโรงงานรถยนต์ในประเทศทั้งหมดภายใน 45 วัน และประกาศผลใน 30 วันต่อมา รัฐมนตรีคลังบราชิลเชื่อว่า มีโรงงานรถยนต์ 12 แห่งจากทั้งหมด 15 แห่งใน บราชิลที่จะสามารถผ่านการตรวจสอบดังกล่าวได้

3.หากผู้ผลิตรายใดไม่สามารถดำเนินการในเงื่อนไข 1 และ 2 ได้จะต้องถูกเรียกเก็บภาษีอุตสาหกรรม (IPI) เพิ่มขึ้นร้อยละ 30

4.มาตราการดังกล่าวเป็นเพียงการดำเนินการเฉพาะการเท่านั้นโดยมีผลตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน 2554 ถึง 31 ธันวาคม 2555

รัฐมนตรีคลังบราชิลยังกล่าวว่า มาตราการดังกล่าวนี้ รัฐบาลบราชิลมีวัตถุประสงค์ที่จะลดการนำเข้ารถยนต์ ที่มีแนวโน้มขยายตัวสูงขึ้นเรี่อยจนในปัจจุบันมีอัตราการขยายตัวที่มากกว่าการเพิ่มขึ้นของรถยนต์ในประเทศ ทำให้ผู้ผลิตในประเทศต้องมีสินค้าคงคลัง (Stock) มากเกินที่ควรจะเป็น นอกจากนั้นยังมุ่งหวังให้ผู้ผลิตรถยนต์ต่างๆ ปรับตัวและปรับปรุงโครงสร้างการผลิตให้มีประสิทธิภาพและพัฒนาให้มีความสามารถในการแข้งขันมากขึ้นด้วย สำหรับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับผู้บริโภคนั้น ราคารถยนต์ในประเทศที่ผลิตจากโรงงานที่ไม่เป็นไปตามเงื่อนไขในข้างต้นจะมีราคาสูงขึ้นประมาณร้อยละ 28

สคร. มีความเห็นว่ากับมาตราการดังกล่าวว่า อาจส่งผลกระทบในการทำให้มีการนำเข้าอุปกรณ์และอะไหล่รถยนต์น้อยลงและทำให้ผู้ส่งออกสินค้าดังกล่าวของประเทศไทยอาจได้รับผลกระทบบ้าง อย่างไรก็ตามเนื่องจากโครงสร้างการส่งออกของไทยเป็นชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์และผลิตภัณฑ์ยางซึ่งบราชิลมีความจำเป็นต้องมีการนำเข้า ทำให้เชื่อว่าผลกระทบที่จะเกิดขึ้นน่าจะไม่รุนแรงมากนัก แต่หากบราชิลพัฒนาการผลิตยางพาราและมีการลงทุนในการสร้างโรงงานที่ผลิตอุปกรณ์อะไหล์มากขึ้น ก็จะทำให้การนำเข้าสินค้าดังกล่าวของบราชิลอาจลดลงก็ได้ นักธุรกิจไทยที่เกี่ยวข้องจึงควรหาข้อมูลและตรวจสอบในเรื่องการลงทุนในประเทศบราชิลเพื่อทดแทนการส่งออกสินค้ามาในอนาคตต่อไป

1.2. บราชิลประกาศลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.50

บราชิลประกาศลดดอกเบี้ยเงินกู้นโยบายจากร้อยละ 12.5 เป็นร้อยละ 12.0 หรือลดลงร้อยละ 0.50 ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่มีการลดดอกเบี้ยดังกล่าวหลังจากมีการขึ้นมาตลอดในรอบ 7 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งเป็นผลมาจากค่าเงินเฮฮัลที่แข็งค่ามากเกินไปและการที่การส่งออกและการผลิตภายในประเทศได้รับผลกระทบจากการนำเข้าสินค้าที่มีราคาถูกกว่า นอกจากนั้น จากสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่มีความอ่อนไหว ทั้งปัญหาเศรษฐกิจของสหรัฐฯที่มีแนวโน้มจะทดถอยและปัญหาหนี้ของประเทศหลายในประเทศใน EUROZONE ทำให้รัฐบาลบราชิลตัดสินใจลดนโยบายดอกเบี้ยดังกล่าว เพื่อเตรียมรับมือกับภาวะเศรษฐกิจของโลกที่มีความเสี่ยงต่อความตกต่ำ

บราชิลมีปัญหากับการควบคุมเงินเฟ้อของประเทศที่ในปีนี้มีความรุนแรงว่าจะสูงมากเป็นประวัติการณ์ในรอบ 5 ปี โดยทีอัตราเงินเฟ้อที่ปัจจุบันมีอัตราร้อยละ 7.32 มากกว่าที่รัฐบาลได้ตั้งเป้าหมายที่ร้อยละ 4.5-6.5 อยู่มาก อย่างไรก็ดี เมื่อมีการลดดอกเบี้ยในครั้งนี้ ซึ่งคาดการณ์ว่าจะมีการลดอีกในการประชุมครั้งหน้าร้อยละ 0.25 จะทำให้รัฐบาลควบคุมเงินเฟ้อได้ ซึ่งใน 2 สัปดาห์ที่ผ่านมาหลังจากมีการลดดอกเบี้ยแล้ว ค่าเงินเฮฮัลก็มีแนวโน้มอ่อนค่าลงจากเดิม 1.55 เฮฮัลต่อ 1 เหรียญสหรัฐ เป็น 1.8 เฮฮัลต่อ 1 เหรียญสหรัฐในปัจจุบัน

นาย Montega รัฐมนตรีคลังของบราชิล ได้ให้ความเห็นว่าตัวการที่ทำให้เศรษฐกิจโลกมีปัญหานั้น น่าจะมาจากนโยบายค่าเงินเหรียญสหรัฐฯ อ่อนของรัฐบาลสหรัฐนั่นเอง โดยบราชิลมีแนวคิดที่จะเสนอให้มีการปรับหลักเกณฑ์ในการควบคุมเงินตราระหว่างประเทศโดยผ่านเวทีการตกลง WTO เพื่อให่ค่าเงินต่างๆ มีความเหมาะสมมากขึ้น

ในปัญหาด้านปัญหาหนี้ของประเทศในสหภาพยุโรปนั้น บราชิลมีท่าทีในการสนับสนุนไม่ว่าจะเป็นเงินกู้ (หากมีการร้องขอและมีความจำเป็นจากสหภาพยุโรป) และได้ประกาศในการประชุมประเทศเศรษฐกิจใหม่ BRIC ว่าประเทศทุกประเทศต้องให้ความช่วยเหลือในปัญหานี้ อย่างไรก็ดี ก็เห็นว่าสหภาพยุโรปควรช่วยตัวเองให้ถึงที่สุดก่อนที่จะขอความช่วยเหลือจากประเทศอื่นเพราะประเทศต่างๆในยุโรปถือเป็นประเทศเดียวกันแล้วภายใต้ประชาคมยุโรป

1.3. รัฐบาลตั้งเป้าเกินดุลงบประมาณมากขึ้นในปี 2554

นาย Guido Montega รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกล่าวเมื่อวันที่ 29 ส.ค. ที่ผ่านมาว่า เขามีความเชื่อมั่นว่ารัฐบาลจะสามารถจัดทำงบประมาณแบบเกินดุลในปี 2554 ได้มากขึ้นเป็น 91 พันล้านเฮฮัลจากเดิมที่คาดไว้ที่ 81 พันล้านเฮฮัล โดยมาตรการดังกล่าวเป็นมาตรการหนึ่งที่จะลดความเสี่ยงที่จากสภาวะเศษฐกิจของโลกที่ยังไม่แสดงการฟื้นตัวที่ชัดเจนเนื่องจากปัญหาของสหรัฐอเมริกาและปัญหาหนี้ของยุโรปทำให้เขามีความคิดว่าบราชิลควรมีงบประมาณในการสำรองเพื่อรองรับปัญหาที่อาจเกิดตามมาในอนาคตให้มากขึ้น

ทั้งนี้ มีแนวโน้มว่าบราชิลจะผ่อนคลายมาตรการทางการเงินเพื่อควบคุมเงินเฟ้อที่ดูเหมือนว่าจะลดความร้อนแรงลงไปมากในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2554 เห็นได้จากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายจาก 12.50 เป็น 12.00 %ในการประชุมคณะกรรมการกำกับนโยบายทางการเงินแห่งชาติ (SELIC) ครั้งที่ผ่านมาในเดือนสิงหาคม

2.สถิติการค้าระหว่างประเทศของบราชิล

สถิติการค้าระหว่างประเทศของบราชิล

1)มูลค่าการส่งออก นำเข้าและดุลการค้าระหว่างประเทศของบราชิลระหว่างปี 2004-2011

ตลาดส่งออกที่สำคัญ 5 ลำดับแรก (ส่วนแบ่งตลาด%)

จีน (15.25%) สหรัฐฯ (9.56%) อาร์เจนติน่า (9.17%) เนเธอร์แลนด์ (5.07%) เยอรมนี (4.03%) ไทย (อันดับที่ 33, 0.70%)

สินค้าส่งออกสำคัญ 5 ลำดับแรก

แร่และเชื้อเพลิง เมล็ดพืชและถั่ว เนื้อสัตว์ (ไก่สดแช่แข็ง และเนื้อสดแช่แข็ง) และยานยนต์

แหล่งนำเข้าที่สำคัญ 5 ลำดับแรก

สหรัฐฯ (14.89%) จีน (14.09%) อาร์เจนติน่า (7.94%) เยอรมนี (6.91%) เกาหลีใต้ (4.64%) ไทย (อันดับที่ 22, 1.01%)

สินค้านำเข้าที่สำคัญ 5 ลำดับแรก

แร่และเชื้อเพลิง เครื่องยนต์และเครื่องจักร อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ และเคมีภัณฑ์ (ที่มาจากวัสดุธรรมชาติ)

โดยบราซิลได้คาดการณ์ว่าในปี 2554 จะสามารถส่งออกเป็นมูลค่ารวม 226,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยขยายตัวเพิ่มขึ้นประมาณ 12% จากปี 2553 ส่วนการนำเข้าปี 2554 คาดการณ์จะมีการนำเข้าประมาณ 200,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯหรือขยายตัวถึง 10-11 % อันเป็นผลมาจากจากการที่มีความต้องการวัตถุดิบในการผลิตจากต่างประเทศเป็นจำนวนมากเนื่องการขยายตัวทางเศรษฐกิจในประเทศ ทำให้อัตราการขยายตัวของการนำเข้าสูงในอัตราที่ใกล้เคียงกับการส่งออก ตลอดจนปัญหาด้านเงินเฟ้อที่เริ่มจะสูงเกินกว่าเป้าหมายที่รัฐบาลต้องการ (ปี 2553 คาดการณ์ 4.5-6.5% ตัวเลขจริง 7.3 %) และอัตราเงินเฮฮัลที่แข็งค่าตั้งแต่กลางปีที่แล้วถึง 17-20 %(รัฐบาลต้องการ 1.70 เฮฮัลต่อ 1 USD ปัจจุบันอยู่ที่ 1.64-1.66 เฮฮัลต่อ 1 USD) ทำให้การส่งออกขยายตัวน้อยกว่าที่คาดไว้ รัฐบาลจึงพยายามควบคุมโดยขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่สูงคือ 12.00 ในปัจจุบัน ทำให้ต้นทุนในการดำเนินธุรกิจของภาคเอกชนสูงขึ้น นอกจากนั้น ผลจากการที่การส่งออกขยายตัวน้อยกว่าที่คาดนั้น ทำให้บราชิลได้ดุลการค้าลดลงตามไปด้วย อย่างไรก็ดี ในปี 2554 รัฐบาลได้มีการคาดการณ์ว่าบราชิลจะได้ดุลการค้าประมาณ 26 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งเพิ่มขึ้น จากปี 2553 ที่บราชิลได้ดุลการค้าเพียง 20 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ จากสถานการณ์ในทางตรงกันข้ามที่กำลังเป็นอุปสรรคของทั้งการส่งออกและการขยายตัวทางเศรษฐกิจของบราชิลดังกล่าว น่าจะส่งผลให้บราชิลพยายามลดการนำเข้าด้วยการออกมาตราการกีดกันการค้าต่างๆ เช่น การขึ้นภาษีสินค้าเพื่อสนับสนุนการผลิตในประเทศ การเพิ่มขั้นตอนการอนุญาตนำเข้าให้ยุ่งยากขึ้น การเข้มงวดในการเข้าออกของเงินตราต่างประเทศ เป็นต้น

2.2.การค้าระหว่างบราชิลกับประเทศไทย

สถิติการค้าระหว่างไทยกับบราชิล

สคร. คาดการณ์ว่าการส่งออกของไทยมายังบราชิลในปี 2554 จะมีมูลค่าประมาณ 2,100 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยขยายตัวสูงขึ้นจากปีที่แล้ว ร้อยละ 30 ซึ่งเป็นไปตามที่กระทรวงพาณิชย์วางเป้าหมายไว้ โดยมีปัจจัยหลักจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องของของบราชิลในปี 2554 ที่คาดว่าจะเติบโตร้อยละ 4.2 ทำให้มีอุปสงค์ความต้องการสินค้าเพิ่มขึ้นมาก ส่งผลให้มีการนำเข้าเพิ่มขึ้นมาก

โดยร้อยละ 80 ของสินค้าที่ไทยส่งออกมายัง บราชิลส่วนใหญ่เป็นสินค้าประเภทวัตถุดิบกึงสำเร็จรูปและส่วนประกอบเพื่อนำมาประกอบเป็นสินค้าสำเร็จรูปเพื่อจำหน่ายหรือส่งออกต่อไปยังประเทศในแถบลาตินอเมริกา อเมริกาและยุโรป นอกจากนั้น บราชิลยังเตรียมการเป็นเจ้าภาพการจัดการแข่งขันโอลิมปิกในปี 2012 และฟุตบอลโลกในปี 2014 ทำให้ สคร. มีความเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจของบราชิลจะขยายตัวอย่างต่อเนื่องอย่างน้อย 2-3 ปีข้างหน้า แม้อาจมีปัจจัยลบอื่นๆ เช่น อัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น การตัดรายจ่ายด้านงบประมาณของรัฐบาล การใช้นโยบายอัตราดอกเบี้ยสูง เป็นต้น

3.ข้อมูลทางเศรษฐกิจที่น่ารู้ของบราชิล

3.1.เครื่องชี้วัดเศรษฐกิจที่สำคัญ

3.2.การจำแนกกลุ่มผู้บริโภคและรายละเอียดแต่ละกลุ่ม (Market Segmentation)

Class A.มี 14 ผู้มีรายได้สูง เจ้าของธุรกิจ นักการเมือง

Class B.มี 36 รายได้ระดับสูงถึงปานกลาง หมอ ทนายความ ผู้บริหาร เจ้าของกิจการ

Class C.มี 47 ผู้มีรายไดปานกลางถึงต่ำ ผู้ใช้แรงงาน ตำรวจ ครู เลขานุการ ข้าราชการระดับกลาง พนักงานขาย พนักงานต้อนรับ

แผนภาพแสดงการจำแนกกลุ่มผู้บริโภคแบ่งตามรายได้ออกเป็น4 กลุ่ม A, B, C, D Class A, B หมายถึง ผู้ที่มีเงินเดือนมากกว่า 10 เท่าของค่าแรงขั้นต่ำ หรือมากกว่า 5,400 เฮฮัล Class C หมายถึง ผู้ที่มีเงินเดือนระหว่าง 3 - 10 เท่าของค่าแรงขั้นต่ำ หรือประมาณ 1,620-5,400 เฮฮัล Class D หมายถึง ผู้ที่มีเงินเดือนระหว่าง 1 - 3 เท่าของค่าแรงขั้นต่ำ หรือ 540-1,620 เฮฮัล

สคร. ณ นครเซาเปาโล

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ