รายงานสรุปภาพรวมงาน CISMEF ครั้งที่ 8

ข่าวเศรษฐกิจ Friday October 14, 2011 15:15 —กรมส่งเสริมการส่งออก

1. งานแสดงสินค้า China International SME Fair (CISMEF) จัดขึ้นตั้งแต่ปี 25๔๗ ปีนี้จัดขึ้นเป็นครั้งที่ ๘ ซึ่งใช้พื้นที่การจัดงานทั้งสิ้นกว่า ๑๐๐,๐๐๐ ตร.ม. โดยตั้งแต่ครั้งที่ ๒ เป็นต้นมา จีนได้ใช้ระบบให้มีประเทศเจ้าภาพร่วมในการจัดงาน ที่ผ่านมา ประเทศเจ้าภาพร่วม ได้แก่ ฝรั่งเศส อิตาลี ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สเปนและออสเตรเลียตามลาดับ โดยในครั้งที่ ๘ นี้ ประเทศไทยได้รับการทาบทามอย่างกระชั้นชิดเมื่อเดือน มีนาคม 25๕๔ และตอบตกลงเป็นเจ้าภาพร่วมเป็นประเทศแรกในอาเซียน

2. งาน CISMEF ครั้งที่ 8 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 22-25 กันยายน 2554 ณ Pazhou International Exhibition Center นครกวางโจว สาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นงานแสดงและจำหน่ายสินค้าและบริการของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมรวมถึงการจับคู่ธุรกิจระหว่าง SMEs ของจีนและนานาชาติ แบ่งพื้นที่การจัดแสดงออกเป็น ๑๐ ฮอลล์ ประกอบด้วยฮอลล์ผู้ประกอบการชาวจีน ๗ ฮอลล์ ต่างประเทศ ๒ ฮอลล์ ได้แก่ Thai Pavilion และ ASEM Pavilion และอีก ๑ ฮอลล์สาหรับฮ่องกง มาเก๊าและไต้หวัน โดยสินค้าที่นามาจัดแสดงส่วนใหญ่ คือ เครื่องจักรและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ สิ่งทอและเสื้อผ้า อาหารและเครื่องดื่ม วัสดุก่อสร้าง เครื่องใช้ในบ้าน ธุรกิจบริการและเทคโนโลยีระดับสูง ฯลฯ โดยมีผู้เข้าเข้าร่วมแสดงสินค้าในงานจานวน ๓,๐๔๐ บริษัท รวม ๕,๐๗๓ คูหา จาก ๓๔ ประเทศทั่วโลก ส่วนบริษัทจากต่างประเทศมี ๘๑๗ ราย รวม ๑,๕๑๒ คูหา ปรากฏว่าได้รับความสนใจจากผู้เข้าชมงานจากชาติต่างๆ และประเทศจีน ๒๓,๐๐๐ ราย ส่วนผู้ประกอบการเข้าชมงาน ๘,๐๐๐ ราย

3. ประเทศไทยโดยสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(สสว.) ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพจัดงานในงานฯ ครั้งนี้ ณ อาคาร 5.2 บนพื้นที่ ๑๐,๕๐๐ ตารางเมตร ภายใต้แนวคิด Thai Lifestyle, Sustainable Green Growth ภายในงาน มีผู้ประกอบการ SMEs และหน่วยงานไทยเข้าร่วมออกบูธ จำนวน ๑๘๗ ราย โดยสินค้าและบริการที่ผู้ประกอบการไทยนำมาจัดแสดงแบ่งเป็น ๕ หมวด ได้แก่ ๑) อาหารและเครื่องดื่ม ๒) แฟชั่นและของใช้ในบ้าน ๓) สปาและสินค้าสุขภาพ ๔) โรงแรมและการท่องเที่ยว และ ๕) อื่นๆ ซึ่งรวมปิโตรเคมีและสินค้าเพื่อสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ มีบริษัทที่เป็นสปอนเซอร์รายใหญ่ร่วมออกบูธด้วย ได้แก่ บริษัท ล็อกซเล่ย์ จากัด (มหาชน) กลุ่มบริษัทสหพัฒนพิบูลย์ จำกัด ธนาคารกรุงเทพ และบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)

นอกเหนือไปจากโซนแสดงสินค้า Thai Pavilion ยังประกอบด้วย ๑) พท.จัดแสดงนิทรรศการเฉลิม พระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ใน King's Pavilion ๒) พท.Thailand's Showcase ที่ใช้สำหรับจัดแสดงสินค้าไทยและจับคู่ทางธุรกิจ ๓) พท.Multimedia Hall สำหรับการจัดฉายภาพยนตร์ไทย และ ๔) พท.Cultural Stage สำหรับการผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนการแสดงทางวัฒนธรรมจาก ททท. มีการจับรางวัล และจัดกิจกรรมนักแสดงไทยนัดพบแฟนคลับชาวจีน (Meet and Greet) ได้แก่ ติ๊นาและออม จากภาพยนต์เรื่อง Yes or No และนิวซึ่งเป็นนักแสดงหน้าใหม่ โดยมีแฟนคลับชาวจีนเข้าร่วมกิจกรรมมากกว่า ๑,๐๐๐ คน

4. การออกคูหาประชาสัมพันธ์และให้ข้อมูล/แนะนาทางการค้าของสคต.กวางโจว แก่ผู้ที่เข้ามาร่วมงานในบริเวณงานในอาคาร 5.1 คูหา E06 มีผู้สนใจสอบถามข้อมูล ประมาณ 100 ราย ซึ่งมีผู้ประกอบการทั้งจีนและไทย โดยสนใจข้อมูลต่างๆ อาทิ การลงทุนในไทย การเปิดบริษัทในไทย รายชื่อผู้นำเข้าส่งออกสินค้าไทย และงานแสดงสินค้าในและต่างประเทศของกรมฯ

5.ข้อคิดเห็นของสคต. กวางโจว

5.1 การร่วมเป็นเจ้าภาพร่วมในงาน CISMEF เป็นโอกาสที่ดีของผู้ประกอบการ SMEs ไทยในแง่การเสริมประสบการณ์ด้านการค้าระหว่างประเทศ และระบบการเป็นเจ้าภาพร่วมทำให้ สสว.และผู้ประกอบการ SMEs ไทยสร้างเครือข่ายและเข้าใจรูปแบบการทำงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้าน SMEs จีน ตลอดจนทำให้ได้รับทราบถึงนโยบายต่อ SMEs ของจีน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการแสวงหา แลกเปลี่ยนความร่วมมือ รวมถึงการเสนอนโยบายเพื่อการปรับตัวของ SMEs ไทยให้สามารถแข่งขันได้ต่อไป

5.2 งาน CISMEF มีความหลากหลายของสาขาอุตสาหกรรมที่เข้าร่วมและไม่ใช่งานแสดงสินค้าเฉพาะอุตสาหกรรมจึงไม่เหมาะกับผู้ประกอบการ SMEs ที่มุ่งการจับคู่ธุรกิจหรือยอดสั่งซื้อจำนวนมากเพียงอย่างเดียว แต่เป็นงานแสดงสินค้าสาคัญที่เปิดโอกาสให้กับกลุ่มผู้ประกอบการ SMEs ไทยรายใหม่ที่มีศักยภาพและสนใจขยายโอกาสทางการค้ามายังตลาดจีนหรือตลาดต่างประเทศผ่านจีน รวมถึงการได้มีโอกาสมาทดลองตลาดจริง รับรู้ถึงความนิยมและข้อคิดเห็นต่าง ๆ เกี่ยวกับสินค้าและบริการของตนในตลาดจีนเพื่อสามารถนากลับไปปรับปรุงให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้โดยตรง

5.3 ผู้เข้าชมงานฯ ที่เข้าชม Thai Pavilion ให้ความสนใจ สินค้าอาหาร ผลไม้ ข้าวหอมมะลิ สินค้าเพื่อสุขภาพ สปา สินค้าหัตถกรรม เครื่องนุ่งหม เครื่องประดับ ฯลฯ ซึ่งเป็นสินค้าที่มีเอกลักษณ์ความเป็นไทย แสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคจีนสนใจสินค้าที่มีภาพลักษณ์ ทั้งนี้ ผู้ประกอบการไทยต้องปรับปรุงสินค้าและบริการให้ได้มาตรฐานและมีคุณภาพ รวมถึงการสร้างภาพลักษณ์ของสินค้าและบริการไทยให้มีคุณค่ามากขึ้น เพื่อให้สามารถแข่งขันในตลาดที่มีศักยภาพและกำลังซื้ออย่างจีนได้ต่อไป

สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ เมืองกวางโจว

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ