รายงานการเข้าร่วมประชุม 2011 Global (Xiamen) Logistics & Freight Summit with One 2 One meeting in Xiamen China

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday October 18, 2011 14:38 —กรมส่งเสริมการส่งออก

การประชุมในครั้งนี้จัดขึ้นโดย China International Logistics Professional Network ( CILP) มีผู้ประกอบการโลจิสติกส์จาก 50 ประเทศทั่วโลก และกว่า 40 เมืองในจีน อีกทั้งยังมีแขกสำคัญในวงการกว่า 160 คน เข้าร่วมงานประชุมในครั้งนี้

China International Logistics Professional Network ( CILP)

CILP คือเครือข่ายโลจิสติกส์ของจีนที่เป็นแรงผลักดันสำคัญให้กับโลจิสติกส์ของจีนให้เดินหน้าไปอย่างรวดเร็วโดยจะรวบรวมผู้ประกอบการโลจิสติกส์ในทุกภูมิภาคของจีนมาเป็นสมาชิก และช่วยผลักดันให้โลจิสติกส์จีนพัฒนาเข้าสู่ระบบสากลเพื่อรองรับตลาดต่างประเทศ และเป็นเวทีที่สนับสนุนให้ ผู้ประกอบการโลจิสติกส์ได้เข้ามาแลกเปลี่ยน เจรจา และคุยเรื่องธุรกิจโลจิสติกส์ต่างๆ

ในทุกๆปี CILP จะมีการจัดสัมมนาหรืองานประชุมเกี่ยวกับโลจิสติกส์ต่างๆ โดยจะจัดให้ผู้ประกอบการทั้งในและต่างประเทศได้พบปะ หารือ เจรจาตกลง เพื่อต่อยอดธุรกิจของตนเองและร่วมกันหาแนวทางแก้ไขปัญหาทางด้านโลจิสติกส์

ภายในงานการประชุมได้พูดคุยกันถึงประเด็นเรื่องโลจิสติกส์ในภูมิภาคต่างๆอย่างสังเขบดังต่อไปนี้

1.โลจิสติกส์ในประเทศสหรัฐอเมริกา

ในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา อัตราของการนำเข้าตู้คอนเทรนเนอร์ของสหรัฐฯลดลงถึง ร้อยละ 1.7 เมื่อเทียบกับเวลาเดียวของปีที่แล้ว หลังจากที่มีการเพิ่มสูงขึ้นในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา โดยประเทศจีนเป็นประเทศที่มีปริมาณการส่งออกมายังสหรัฐฯลดลงมากที่สุด ลดลงถึง ร้อยละ 4.2 คิดเป็นปริมาณถึง 30,241 ตู้คอนเทรนเนอร์ ในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา อัตราการนำเข้าของสหรัฐฯอยู่ที่ 1,442,958 ตู้คอนเทรนเนอร์ แต่หากดูในครึ่งปีแรกจะเห็นได้ว่า อัตราการนำเข้าของสหรัฐฯ ยังคงเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.3

2.โลจิสติกส์ในประเทศสิงค์โปร์

ศูนย์อำนวยการบริหารจัดการ การจราจร ณ ท่าเรือหมายเลข 3 ของสิงค์โปร์ (POCC) เปิดทำการเมื่อวันที่ 25 เดือน กรกฎาคม คาดว่า ศูนย์อำนวยการแห่งนี้จะสามารถทำให้ ระบบการขนส่งสินค้าทางเรือ ของสิงค์โปร์จะเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น รวมไปถึงปลอดภัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย ศูนย์อำนวยการแห่งใหม่นี้จะตั้งขึ้นแทน ศูนย์อำนวยการเก่า และยังมีระบบเทคโนโลยีในการบริหารการจราจรท่าเรือที่ทันสมัย สามารถจัดระบบเรือสินค้ามากถึงหมื่นลำในเวลาเดียวกันซึ่งมากกว่า ระบบจัดการเก่าถึงสองเท่าด้วยกัน

3.สถานการณ์โลจิสติกส์ของ มณฑลฝูเจี้ยน ประเทศจีน ในปี 2011

ในครึ่งปีแรกของ ปี 2011 อุตสาหกรรมโลจิสติกส์ของมณฑลฝูเจี้ยน พัฒนาไปอย่างรวดเร็วอันเนื่องมาจากเศรษฐกิจจีนที่พัฒนาอย่างรวดเร็วเห็นได้จาก การเข้ามาก่อสร้างศูนย์โลจิสติกส์ของบริษัทโลจิสติกส์ชื่อดังอย่าง เช่น Kerry Logistics

Kerry Logistics บริษัทโลจิสติกส์รายใหญ่ของเอเซีย ได้เริ่มการก่อสร้างศูนย์โลจิสติกส์แห่งใหม่ที่เมืองเซี่ยเหมินแล้ว โดยศูนย์โลจิสตกส์แห่งใหม่นี้มีพื้นที่กว่า 42,600 ตร.ม. มีการติดตั้งระบบอำนวยความสะดวกสำหรับสินค้าหลายชนิด อาทิ สินค้าไฮเทค อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ อาหาร เครื่องดื่ม ไวน์ และสินค้าที่ต้องควบคุมอุณภูมิเป็นพิเศษ

ทั้งนี้ ศูนย์โลจิสติกส์แห่งใหม่ของ Kerry ตั้งอยู่ในเขต Haicang Export Processing Zone โดยมีกำหนดจะเริ่มเปิดใช้งานในไตรมาสที่ 3 ของปี 2555 โดยตัวแทนของ Kerry ได้ให้ข้อมูลว่า เครือข่ายการให้บริการโลจิสต์ของ Kerry ที่ครอบคลุมทั้งในพื้นที่ของจีนแผ่นดินใหญ่และไต้หวันจะช่วยส่งเสริมให้ศูนย์โลจิสติกส์แห่งใหม่ที่เซี่ยเหมินทำหน้าที่เป็นจุดยุทธศาสตร์เพื่อรองรับการเติบโตของการค้าระหว่างช่องแคบไต้หวันได้เป็นอย่างดี

4.ปัญหาของธุรกิจโลจิกส์ติกส์และการขนส่งสินค้าของเมืองเซี่ยเหมิน

ปัญหาของธุรกิจโลจิกส์ติกส์และการขนส่งสินค้าที่ดำเนินกิจการ ในรูปแบบธุรกิจส่วนตัวของเมืองเซี่ยเหมินในปัจจุบันได้แก่ ธุรกิจส่วนใหญ่มีขนาดเล็ก ขาดความรู้ความชำนาญในการให้บริการ ต้องเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรง การเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ยากลำบาก และระบบจัดการข้อมูลที่ไร้ประสิทธิภาพ เป็นต้น

ทั้งนี้ แนวทางที่ถูกนำเสนอเพื่อใช้ในการแก้ปัญหาต่างๆ ข้างต้นก็คือ การสนับสนุนให้เกิดการรวมกลุ่มและให้มีธุรกิจบางส่วนเป็นตัวหลักในการดึงให้ธุรกิจทั้งระบบสามารถพัฒนาไปได้ด้วยกัน สร้างเครือข่ายการจัดการและการให้บริการให้ครอบคลุม จัดหาแหล่งเงินทุนให้ธุรกิจขนาดเล็ก พัฒนาระบบจัดการข้อมูลส่วนกลางให้มีความทันสมัยสามารถเข้าถึงได้ง่าย ทำให้ทั้งธุรกิจขนาดเล็กและขนาดใหญ่สามารถเดินหน้าไปได้ด้วยกัน

เรียบเรียงโดย สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองเซี่ยเหมิน

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ