1. อัตราการว่างงานของสิงคโปร์ เดือนมิถุนายน 2554 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 2.1 อีกทั้งตำแหน่งงานในอัตราใหม่เป็นไปอย่างเชื่องช้า สืบเนื่องจากการสั่นคลอนทางเศรษฐกิจในยุโรปและสหรัฐฯ ส่งผลกระทบถึงการจ้างงานในสิงคโปร์ จากสถิติของกระทรวงแรงงานสิงคโปร์ จำนวนตำแหน่งงานในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2554 มี 24,800 อัตรา เมื่อเทียบกับไตรมาสแรกของปี 2554 (28,300 อัตรา) มีจำนวนลดลง 3,500 อัตรา คาดว่า หากสถานการณ์ในยุโรปและสหรัฐฯร้ายแรงขึ้น จะส่งผลกระทบต่อการจ้างงานในสิงคโปร์เพิ่มขึ้นอย่างมาก
2. การค้าปลีกของสิงคโปร์ในเดือนกรกฎาคม 2554 เพิ่มขึ้น ร้อยละ 10.7 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนหน้า มีอัตราสูงขึ้นจากการคาดการณ์ของการสำรวจของ Bloomberg (ร้อยละ + 8.7) โดยสินค้าที่จำหน่ายเพิ่มขึ้นได้แก่ อัญมณีและนาฬิกา เพิ่มขึ้นร้อยละ 29.2 คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์การสื่อสาร เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.3 ยานยนต์ สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง และเสื้อผ้า เพิ่มขึ้นระหว่างร้อยละ 10.4 - 18.8 สำหรับสินค้าที่จำหน่ายลดลงคือ แว่นตา/อุปกรณ์และหนังสือ ลดลงร้อยละ 2.6 ทั้งนี้ การที่มีจำนวนนักท่องเที่ยวเยือนสิงคโปร์เพิ่มขึ้น เป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้การค้าปลีกในเดือนกรกฎาคม 2554 ขยายตัวเพิ่มสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม คาดว่า อัตราการเติบโตจะค่อยๆลดลงในเดือนต่อๆไป เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น และการค้าหุ้นตกต่ำลง
3.หน่วยงานตรวจสอบสินค้าอาหาร Agri-Food and Veterinary Authority (AVA) สิงคโปร์ ประกาศแก้ไขระเบียบฉลากสินค้าสำหรับสินค้าที่มีส่วนผสม 8 ประเภท ที่ทำให้ผู้บริโภคเกิดอาการแพ้ (ลมพิษ ผื่นคัน พะอืดพะอม คลื่นเหียน หายใจติดขัด) โดยให้ผู้ผลิตและผู้นำเข้าแสดงส่วนผสมอย่างชัดเจนบนฉลากสินค้า เช่น หากสินค้ามีส่วนผสมของน้ำมันที่สกัดจากถั่ว จะต้องเขียนว่า “Peanut Oil” แทนที่จะเขียนเพียงคำว่า “Oil” การปรับเปลี่ยนในครั้งนี้ AVA ประสงค์ให้มาตรฐานฉลากสินค้าในสิงคโปร์ เป็นไปตามมาตรฐานสากล และสร้างความมั่นใจแก่ผู้บริโภคที่แพ้อาหาร ให้สามารถเลือกซื้ออาหารได้อย่างถูกต้อง อีกทั้ง จะช่วยให้ผู้ผลิตสิงคโปร์ส่งออกสินค้าอาหารไปยังตลาดต่างประเทศได้ง่ายขึ้น ทั้งนี้ AVA อนุญาต ให้นำเข้าสินค้าที่ใช้ฉลากสินค้าเดิมจนถึงวันที่ 15 ตุลาคม 2554 และให้จำหน่ายได้ถึงวันที่ 15 เมษายน 2555 หากผู้ผลิตและผู้นำเข้าฝ่าฝืน มีโทษปรับครั้งแรกสูงสุด 5,000 เหรียญสิงคโปร์ และครั้งที่ 2 รวมถึงครั้งต่อๆไป ค่าปรับสูงสุด 10,000 เหรียญสิงคโปร์ หรือจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือทั้งจำทั้งปรับ สำหรับส่วนผสม 8 ประเภท ที่ต้องแสดงบนฉลากสินค้า คือ 1. Cereals containing gluten such as wheat, rye, barley. Oats, spelt of their hybridized strains and their products 2. Crustaceans such as shrimp, crab, lobster and crustacean products 3. Eggs and egg products 4. Fish and fish products 5. Peanuts, soya beans and their products 6. Milk and milk products, including lactose 7. Tree nuts such as cashew nuts, macadamia nuts, pecan nuts, brazil nuts, pistachio nuts and nut products 8. Sulphites in concentrates of 10mg/kg or more
4. ภาครัฐสิงคโปร์กระตุ้นให้บริษัท SMEs มีส่วนร่วมใน Corporate Social Responsibility (CSR) โดยให้มีความสนใจต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมเพื่อผลประโยชน์ทางธุรกิจ ซึ่งโปรแกรม CSR ที่มีการวางแผนที่ดีและมีการปฏิบัติทำให้เกิดผล จะส่งผลให้บริษัทได้รับชื่อเสียง เป็นที่นิยมและส่งเสริมให้เป็นที่ชื่นชอบของผู้สมัครเข้าไปทำงาน บริษัทตัวอย่าง เช่น บริษัท Origin Exterminators ดำเนินธุรกิจกำจัดแมลง ได้ใช้วิธีการฆ่าแมลงโดยไม่เป็นภัยต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ เมื่อปี 2552 สิงคโปร์ได้จัดตั้ง Singapore Compact เพื่อดูแลด้าน CSR ตั้งเป้าหมายไว้ร้อยละ 35 ในการพัฒนาการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพระหว่างปี 2548 - 2573 และร้อยละ 70 เกี่ยวกับการ recycle รวมถึงการลดอัตราของโมเลกุลขนาดจิ๋วและระดับ sulphur dioxide ในอากาศ ถึงปัจจุบัน สิงคโปร์มีสมาชิกเข้าร่วมโครงการ CSR เพิ่มขึ้นร้อยละ 60 เป็นจำนวน 366 ราย ซึ่งในจำนวนนี้ มี 70 รายที่จัดทำรายงานเกี่ยวกับปฏิบัติการด้าน CSR ของบริษัท
5. อุตสาหกรรมอิเล็คทรอนิกส์ของสิงคโปร์ชะลอตัวในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2554 โดยบริษัทผลิตสินค้าอิเล็คทรอนิกส์ส่วนใหญ่ได้รับการสั่งซื้อลดลงประมาณร้อยละ 25 หรือบางบริษัทได้รับการยกเลิกการสั่งซื้อ ทั้งนี้ สินค้าที่ได้รับการสั่งซื้อลดลง ได้แก่ membrane switches (สำหรับระบบการธนาคารและการรักษาความปลอดภัย) automation (สำหรับ tech companies เช่น Nokia และ Seagate) จากรายงาน Purchasing Managers’ Index (PMI) ของกลุ่มสินค้าอิเล็คทรอนิกส์ในเดือนสิงหาคม 2554 มีอัตรา 48.0 ลดลงจาก 49.5 (กค.54) อนึ่ง The Singapore Institute of Purchasing and Materials Management (SIPMM) ซึ่งเป็นหน่วยงานรวบรวมสถิติ ประกาศว่า การลดลงของการผลิตสินค้าอิเล็คทรอนิกส์แสดงให้เห็นถึง การสั่งซื้อสินค้าล๊อตใหม่ลดลงทั้งจากตลาดภายในประเทศและตลาดต่างประเทศ
6. ชาวต่างชาติและผู้พำนักถาวรซื้อที่พักอาศัยในสิงคโปร์เพิ่มขึ้น โดยในไตรมาสแรกและไตรมาสที่ 2 ของปี 2554 เป็นร้อยละ 30 (ชาวต่างชาติร้อยละ 16 และผู้พำนักถาวรร้อยละ 14) ซึ่งในไตรมาสแรกของปี 2554 แบ่งสัดส่วนผู้ซื้อ ดังนี้ (1) จากจีน ร้อยละ 26 (2) จากมาเลเซีย ร้อยละ 21 (3) จากอินโดนีเซีย ร้อยละ 16 (4) จากอินเดีย ร้อยละ 13 และ (5) จากประเทศอื่นๆ ร้อยละ 25 สำหรับในไตรมาสที่ 2 ของปี 2554 แบ่งสัดส่วนผู้ซื้อ ดังนี้ (1) จากจีน ร้อยละ 26 (2) จากมาเลเซีย ร้อยละ 20 (3) จากอินโดนีเซีย ร้อยละ 16 (4) จากอินเดีย ร้อยละ 12 และ (5) จากประเทศอื่นๆ ร้อยละ 26
7.รายได้ช่วง Great Singapore Sale (GSS) ปี 2554 มูลค่า 1.32 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ จากรายงานการใช้บัตรเครดิต MasterCard ในช่วงระหว่างวันที่ 27 พฤษภาคม — 24 กรกฏาคม 2554 ปรากฎผลการใช้จ่ายมูลค่า 1.32 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 48 จากมูลค่า 839.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯเมื่อปีก่อนหน้า มีจำนวนการรูดการ์ด 9,185,457 ครั้ง เพิ่มขึ้นร้อยละ 28 ในภาพรวม ผู้ถือบัตรเครดิต MasterCard ในสิงคโปร์ ใช้จ่าย 865.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ การรูดการ์ดจำนวน 7.1 ล้านครั้ง นักท่องเที่ยวรูดการ์ดเป็นเงิน 452.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ การรูดการ์ดมีจำนวนมากกว่า 2 ล้านครั้ง นักท่องเที่ยวที่ใช้จ่ายมากเป็นนักท่องเที่ยวจากสหรัฐฯ(64.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) มาเลเซีย(50.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) ออสเตรเลีย(45.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) อินโดนีเซีย(40.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) และญี่ปุ่น(30.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) ซึ่งใช้จ่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 50 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา สำหรับกลุ่มสินค้าหลักที่มีรายได้สูง ได้แก่ ร้านอาหารและภัตตาคาร(73.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) ร้านขายของชำและซุปเปอร์มาร์เก็ต(51.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) ร้านนาฬิกา/อัญมณี/เครื่องเงิน(43.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) ร้านอิเล็คทรอนิกส์(34.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) และห้างสรรพสินค้า(34 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) ทั้งนี้ รายได้ที่เพิ่มขึ้นในช่วงดังกล่าวเนื่องจากปัจจัยหลัก ดังนี้ (1) จำนวนนักท่องเที่ยวเยือนสิงคโปร์เพิ่มขึ้น ในไตรมาสแรกของปี 2554 มีจำนวน 3.12 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า และการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นร้อยละ 36 (2) จำนวนร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการ GSS เพิ่มมากขึ้น และ (3) การเติบโตเศรษฐกิจอยู่ในระดับที่ดี
8. สิงคโปร์และอินโดนีเซียร่วมมือกันด้านการรักษาความปลอดภัยระหว่างประเทศ สืบเนื่องจากการเยือนอินโดนีเซียอย่างเป็นทางการของ Mr. Teo Chee Hean รองนายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ ซึ่งขอบเขตสำคัญในการ ร่วมมือมี 2 ประการ คือ Counter-radicalisation (การลดจำนวนพวกหัวรุนแรงที่มีอุดมการณ์สูง ต่อต้านรัฐบาล) และ Rehabilitation (การช่วยเหลือพวกที่ถูกจับคุมขังคุกให้กลับมาใช้ชีวิตในสังคมได้ตามปกติเมื่อพ้นโทษแล้ว) นอกจากนี้ ในภาพรวม ทั้งสองประเทศจะเสริมสร้างความร่วมมือกันต่อไปในการต่อต้านอาชญากรรมข้ามประเทศและผู้ก่อการร้าย
9. มหาเศรษฐีสิงคโปร์ในปัจจุบันมีความมั่งคั่งขึ้น จากการสำรวจของ Forbes Asia Magazine มหาเศรษฐีสิงคโปร์ที่มีความมั่งคั่งที่สุดจำนวน 40 ราย มีเงินรวมกันประมาณ 54.4 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 19 จากปีที่ผ่านมา แม้ว่าตลาดหุ้นจะถดถอยและเศรษฐกิจโลกชะลอตัวลง ทั้งนี้ ความมั่งคั่งส่วนใหญ่จะมาจากกลุ่มอสังหาริมทรัพย์และการธนาคาร ซึ่งรายชื่อมหาเศรษฐี 10 อันดับแรกของปี 2554 ได้แก่ 1) Ng Family : 8.9 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ 2) Khoo Family : 6.7 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ 3) Wee Cho Yaw : 4.2 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ 4) Richard Chandler : 4 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ 5) Kwee Brothers : 3.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ 6) Kuok Khoon Hong : 3.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ 7) Ong Beng Seng & Christina Ong : 1.9 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ 8) Peter Lim : 1.8 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ 9) Kwek Leng Beng : 1.7 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ 10) Lee Seng Wee : 1.4 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ อนึ่ง Mustaq Ahmad เจ้าของ Mustafa Centre อยู่ในอันดับที่ 37 มูลค่า 240 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
10. ความร่วมมือระหว่างสิงคโปร์กับรัสเซีย จากการพบปรึกษาหารือระหว่าง Mr. Tharman Shanmugaratnam รองนายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ และ Mr Vyacheslav Volodin รองนายกรัฐมนตรีของรัสเซีย เพื่อเป็นการเสริม สร้างสัมพันธไมตรีต่อกันให้มีความแข็งแกร่งยิ่งขึ้น โดยได้วางแผนความร่วมมือในการพัฒนาเขตเศรษฐกิจ การค้า สร้างเขตอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชั้นสูง และสร้างสนามบินทันสมัยในรัสเซีย อีกทั้ง จะร่วมมือกัน ในการสร้าง Integrated Agro-Industrial Zones ใน Russia’s Far East รวมถึงการพัฒนาในการให้บริการด้านสุขอนามัยที่ใช้เทคโนโลยี ระดับสูง และการจัดการควบคุมระบบการจราจร นอกจากนี้ ยังให้มีการส่งเสริมข้อตกลงในการลงทุนและการปกป้องการลงทุนที่ได้มีการลงนามในปีที่ผ่านมา ให้มีผลบังคับใช้โดยเร็ว รวมถึงมีการเสนอให้จัดตั้ง Russian Cultural Centre และ Russian Orthodox Church ในสิงคโปร์ สำหรับสาขาธุรกิจที่สำคัญในรัสเซีย ได้แก่ การคมนาคม พลังงาน e-government การรักษาสภาวะ สิ่งแวดล้อม และวิศวกรรม ทั้งนี้ ทั้งสองประเทศมีการปรึกษาหารือในการขยายการค้าร่วมกันไปยังตลาดใหม่ ได้แก่ มองโกเลีย เวียดนาม และอินโดนีเซีย อีกด้วย
11. ตัวชี้วัดความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในสิงคโปร์มีอัตราลดลง ในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2554 จากการสำรวจของ MasterCard Worldwide Index ปรากฎว่า ในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2554 อยู่ที่ระดับ 77.9 ลดลงจากช่วงเดียวกันในปีก่อนหน้า (86.6) และช่วงครึ่งปีแรกของปี 2554 (86.1) เนื่องจากการคาดการณ์เศรษฐกิจโลกปี 2554 จะชะลอตัวลงและอาจถึงขั้นถดถอย ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของสิงคโปร์ ทำให้ผู้บริโภคต้องระมัดระวังในการใช้จ่าย ทั้งนี้ จากการสำรวจดังกล่าว แสดงให้เห็นตัวชี้วัดความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคมีอัตราลดลงด้วย ตามตารางข้างล่างนี้
ประเทศ 2H 2554 1H 2554 2H 2553 ออสเตรเลีย 63.1 63 74.1 จีน 78.3 79.4 83 ฮ่องกง 69.9 74.7 76.6 อินเดีย 75.2 73 68.2 อินโดนีเซีย 58 56.1 61.4 ญี่ปุ่น 15.9 20.2 27.8 เกาหลีใต้ 51.8 55.7 54.1 มาเลเซ๊ย 64.9 66.2 67.9 นิวซีแลนด์ 42.2 53.3 65.9 ฟิลิปปินส์ 53.6 80.1 59.3 สิงคโปร์ 77.9 86.1 86.6 ไต้หวัน 67.6 62.5 65.7 ไทย 46.1 57.3 50.6 เวียดนาม 77.1 90.3 93.7 รวม เอเชียแปซิฟิค 61.5 68 69.1 กิจกรรมที่ดำเนินการระหว่างวันที่ 1-30 กันยายน 2554
1. ผู้อำนวยการฯ ปฏิบัติราชการในประเทศไทย ระหว่างวันที่ 12-27 กันยายน 2554 ดังนี้
-เข้าร่วมการประชุมหัวหน้าสำนักงานฯ
-นำคณะผู้แทนการค้าสิงคโปร์เยือนงาน Bangkok Gems and Jewelry Fair 2011 (13-19 กันยายน 2554)
-นำคณะผู้แทนการค้าสิงคโปร์เยือนงาน Thailand International Logistic Fair 2011 (21-26 กันยายน 2554)
2.รายงานและจัดส่งเอกสารต้นฉบับหน้าโฆษณาการลงโฆษณางานแสดงสินค้า Bangkok RHVAC 2011 และ Bangkok E&E 2011 ในสื่อสิ่งพิมพ์สิงคโปร์
3.รายงานและจัดส่งเอกสารต้นฉบับหน้าโฆษณาการลงโฆษณาประชาสัมพันธ์
กรมส่งเสริมการส่งออกในสื่อสิ่งพิมพ์ต่างประเทศ (สิงคโปร์)
4.รายงานผลโครงการผู้ประกอบการไทยเดินทางไปขยายตลาดและแสวงหาหุ้นส่วนทางธุรกิจในประเทศสิงคโปร์
5.รายงานและจัดส่งเอกสารต้นฉบับหน้าโฆษณาการลงโฆษณาประชาสัมพันธ์งานแสดงสินค้า Thailand International Logistics Fair 2011 ในสื่อสิ่งพิมพ์ สิงคโปร์
6.รายงานและจัดส่งเอกสารต้นฉบับหน้าโฆษณาการลงโฆษณาประชาสัมพันธ์งานแสดงสินค้า Health & Beauty Show 2011 ในสื่อสิ่งพิมพ์สิงคโปร์
7.ประสานเชิญชวนและจัดคณะนักธุรกิจ/ผู้นำเข้าสิงคโปร์เยือนงานแสดงสินค้า 3 งาน คือ
(1) Bangkok RHVAC 2011 และ Bangkok E & E 2011 (12-16 ตุลาคม 2554)
(2) Bangkok International Gifts Fair & Bangkok International Houseware Fair : BIG & BIH 2011 (18-23 October 2011)
(3) Thailand Health & Beauty Show 2011 (30 October — 3 November 2011)
8.ประสานขออนุมัติเชิญสื่อมวลชนสิงคโปร์เยือนงานแสดงสินค้า Bangkok RHVAC 2011 และ Bangkok E & E 2011 (12-16 ตุลาคม 2554)
9.ประสานขออนุมัติเชิญแขกพิเศษฯ เยือนงานแสดงสินค้า Bangkok RHVAC 2011 และ Bangkok E & E 2011 (12-16 ตุลาคม 2554)
10.ประสานขออนุมัติเชิญสื่อมวลชนสิงคโปร์เยือนงานแสดงสินค้า Thailand Health and Beauty Show 2011
(30 October — 3 November 2011)
สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ สิงคโปร์
ที่มา: http://www.depthai.go.th