พื้นที่เพาะปลูก : ในปีการเพาะปลูก 2010/2011 บราซิลมีพื้นที่การปลูกข้าวทั้งสิ้น 2,863,000 เฮกต้า เพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.6 เมื่อเทียบกับปีผ่านมา พื้นที่เพาะปลูกที่สำคัญคือทางตอนใต้ของประเทศ ซึ่งสามารถผลิตได้ประมาณร้อยละ 72 ของประเทศ รัฐที่สามารถปลูกข้าวได้มากในพื้นที่นี้ ได้แก่ รัฐ Rio Grande do Sul (ประมาณร้อยละ 63 ของประเทศ ) และรัฐ Santa Catarina นอกจากนี้ รัฐ Mato Grosso ตั้งอยู่ตอนกลางทางทิศตะวันตกของประเทศ ก็เป็นแหล่งผลิตข้าวที่สำคัญ สำหรับพื้นที่เพาะปลูกใหม่ๆ ได้แก่ทางตอนเหนือ และตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ
ผลผลิตต่อเฮกต้า : โดยเฉลี่ยทั้งประเทศ บราซิลสามารถปลูกข้าวได้ผลผลิต 4,218 กิโลกรัม/เฮกต้า ทั้งนี้ ผลผลิตข้าวในรัฐ Rio Grande do Sul ซึ่งมีภูมิอากาศที่เหมาะสม และมีการนำเทคโนโลยี่ใหม่ๆ มาใช้ สามารถผลิตข้าวได้ประมาณ 7.600 กิโลกรัม/เฮกต้า
ปริมาณการผลิต : บราซิลสามารถปลูกข้าวได้ปริมาณ 11.4-13.8 ล้านตันต่อปี ขึ้นอยู่กับสถาพภูมิอากาศ ในปีการเพาะปลูก 2010/2011 สามารถปลูกได้ 13.812 ล้านตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 18 เทียบกับปีที่ผ่านมา ซึ่งเกิดภาวะแห้งแล้งการปลูกข้าวได้ผลไม่ดีนัก ทั้งนี้ ในปี 2011/2012 คาดว่าจะสามารถปลูกข้าวได้ 12.3-12.7 ล้านตัน ลดลงจากปีที่ผ่านมา เนื่องจากขาดแคลนน้ำ
การบริโภค : บราซิลบริโภคข้าว เป็นอาหารหลักชนิดหนึ่ง ผสมผสานไปกับการบริโภคถั่ว ในแต่ละปีมีการบริโภคข้าวประมาณ 12.5-13.0 ล้านตัน
การนำเข้า : .บราซิลมีการนำเข้าข้าวประมาณปีละ 500,000-1,000,000 ล้าน ขึ้นอยู่กับผลผลิตภายในประเทศเป็นหลัก ทั้งนี้ ในปี 2010 บราซิลมีการนำเข้าข้าวปริมาณ 7 แสนตัน เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 16.2 ประเทศที่นำเข้ามาก 5 ลำดับได้แก่ อุรุกัย อาเยนติน่า ปรารากัย สหรัฐอเมริกา และอิตาลี มีการนำเข้าข้าวจากประเทศไทยมากเป็นลำดับที่ 6 ปริมาณ 640 ตัน
การส่งออก : .บราซิลมีการส่งออกข้าวประมาณปีละ 300,000-900,000 ตัน โดยในปี 2010 มีการส่งออกประมาณ 900,000 ตัน ประเทศที่ส่งออกสำคัญ 5 ลำดับ ได้แก่ เซเนกอล แกมเบีย ไนจีเรีย เบนิน และสวิสเซอร์แลนด์
โครงการการอุดหนุนข้าว: รัฐบาลบราซิลมีโครงการในการอุดหนุนสินค้าเกษตร เช่น ถั่วเหลือง ข้าวโพด รวมทั้งข้าว เรียกว่า (Premio para Escoamento de Produto: PEP) มีวิธีการในการดำเนินการ คือ รัฐบาลเป็นผู้กำหนดราคาขั้นต่ำของสินค้าเกษตรที่จะรับซื้อ เมื่อราคาในตลาดต่ำกว่าราคาขั้นต่ำ รัฐจะรับซื้อสินค้าในราคาขั้นต่ำจากชาวนา สหกรณ์ฯ และเปิดประมูลให้พ่อค้าข้าวซื้อข้าวจากรัฐ เพื่อนำไปจำหน่ายในพื้นที่ หรือส่งออก ในระยะเวลาตามที่รัฐกำหนดให้ โดยรัฐจะชดเชยราคาให้ในกรณีที่ราคาขายต่ำกว่าราคาที่ประมูลจากรัฐ
สรุป: ปริมาณการผลิต และการบริโภคข้าวในประเทศบราซิล มีความใกล้เคียงกัน บางปี มีผลผลิตมากกว่าการบริโภค และบางปีมีผลผลิตน้อยกว่าการบริโภค ขึ้นอยู่กับสภาพภูมิอากาศที่มีผลต่อผลผลิตข้าว
อย่างไรก็ตาม บราซิลมีการนำเข้า และส่งออกข้าว โดยข้าวที่นำเข้าส่วนใหญ่มาจากประเทศเพื่อนบ้าน ที่เป็นสมาชิกในกลุ่ม Mercosur ได้แก่ ประเทศอุรุกัย อาเยนติน่า ปรารากัย ที่มีข้อตกลงทางการค้าร่วมกัน โดยประเทศเหล่านี้มีต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่า และได้เปรียญด้านราคาในขณะที่ค่าเงินสกุลเฮอัล (Real) ของบราซิลแข็งค่าเมื่อเทียบกับเงินเหรียญสหรัฐฯ การนำเข้าข้าวจากประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าข้าวเหนียว และข้าวหอมมะลิ การส่งออกข้าวของบราซิล ตลาดหลักในการส่งออก จะเป็นประเทศในแถบอาฟริกา ได้แก่ เซเนกอล แกมเบีย ไนจีเรีย เบนิน ซึ่งเป็นตลาดเดียวกับที่ประเทศไทยส่งออก จึงนับว่าเป็นประเทศคู่แข่งประเทศหนึ่ง
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครเซาเปาโล
ที่มา: http://www.depthai.go.th