จีนประกาศปรับอัตราภาษีทรัพยากรน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติ

ข่าวเศรษฐกิจ Friday October 28, 2011 15:26 —กรมส่งเสริมการส่งออก

คณะรัฐมนตรีจีนออกประกาศ เรื่องการแก้ไขอัตราภาษีทรัพยากรน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติ ซึ่งมีขึ้นภายหลังการประชุมคณะผู้บริหารของคณะรัฐมนตรี โดยมีนายกรัฐมนตรีเหวิน เจียเป่า (Wen Jiabao) เป็นประธานในที่ประชุม จัดขึ้นหลังจากที่เจ้าหน้าที่เห็นชอบให้ผูกภาษีทรัพยากรเข้ากับราคาขายน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติ และแก้ไขอัตราภาษีทรัพยากรใหม่สำหรับทรัพยากรทั้งสองรายการ อัตราภาษีทรัพยากรในปัจจุบันจะคิดจากปริมาณของยอดขายเท่านั้น

สถานีเชื่อมท่อขนส่งก๊าซธรรมชาติสายรองในฮ่องกง จากตะวันตก-ตะวันออก แห่งที่ ๒ ของจีน ได้ผ่านการตรวจสอบเบื้องต้นเพื่อการบริหารมหาสมุทร (State Oceanic Administration: SOA) ของจีน เรียบร้อยแล้ว ไชน่า เนชั่นแนล ปิโตรเลียม คอร์ป (CNPC) ผู้รับเหมาก่อสร้างและบริษัทแม่ของ ปิโตรไชน่า ระบุว่า โครงการท่อขนส่งก๊าซจากตะวันตก-ตะวันออก แห่งที่ ๒ มีความยาว ๘,๖๕๓ กิโลเมตร และกำลังอยู่ระหว่างการก่อสร้างแยกเป็น ๒ ส่วน ได้แก่ ส่วนตะวันตก และ ตะวันออก ด้วยวงเงินในการก่อสร้าง ๑.๔๒๒ แสนล้านหยวน (๒.๑๘๘ หมื่นล้านดอลลาร์) ท่อขนส่งดังกล่าวมีความสามารถในการขนส่งก๊าซธรรมชาติ ๓ หมื่นล้านลูกบาศก์ต่อปี และมีอายุการใช้งานขั้นต่ำ ๓๐ ปี

ซิโนเปค กรุ๊ป ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของซิโนเปค ได้ตัดสินใจลงทุนในโครงการท่อขนส่งน้ำมันนอร์ทเธิร์น เกตเวย์ ของบริษัท เอนบริดจ์ ของแคนาดา โครงการนอร์ทเธิร์น เกตเวย์ เป็นระบบท่อขนส่งคู่ความยาว ๑,๑๗๒ กิโลเมตร ใช้งบลงทุนมูลค่า ๕.๕ พันล้านดอลลาร์ และถือหุ้น ๑๐๐% โดยเอนบริดจ์ หากโครงการดังกล่าวก่อสร้างแล้วเสร็จ จะให้บริการขนส่งน้ำมันดิบไปยังท่าเรือตามแนวชายฝั่งตะวันตกของแคนาดาเป็นอันดับแรกและเอเชีย

ผู้ผลิตน้ำมันและก๊าซจะเผชิญกับภาษี จาก ๕-๑๐ % ของมูลค่ายอดขาย หรือประมาณ ๘-๓๐ หยวนต่อตัน สำหรับราคาก๊าซอยู่ที่ ๒-๑๕ หยวน ต่อ ๑,๐๐๐ ลูกบาศก์เมตร

เมื่อวันที่ ๑๐ ต.ค. ๒๕๕๔ คณะรัฐมนตรีจีนประกาศว่า ตั้งแต่วันที่ ๑ พ.ย. ๒๕๕๔ เป็นต้นไป จีนจะปรับเพิ่มอัตราภาษีทรัพยากร โดยอัตราภาษีทรัพยากรน้ำมันและถ่านหินมีการเพิ่มขึ้นมากที่สุด ทั้งนี้ ผู้ประกอบการขุดค้นหรือการผลิตสินค้าแร่ธาตุในภาคพื้นดินและน่านน้ำของประเทศจีน ต้องชำระภาษีทรัพยากรดังกล่าว

การปรับเพิ่มอัตราภาษีทรัพยากรมีรายละเอียดดังนี้

          รายการ                          อัตราภาษี
          น้ำมันดิบ                          ร้อยละ ๕-๑๐ ของยอดจำหน่าย
          ก๊าซธรรมชาติ                      ร้อยละ ๕-๑๐ ของยอดจำหน่าย
          ถ่านหิน           ถ่านโค้ก          ๘-๒๐ หยวนต่อตัน
          ถ่านประเภทอื่น                     ๐.๓-๕ หยวนต่อตัน

แร่ธาตุที่ไม่ใช่โลหะ ประเภทธรรมดา ๐.๕-๒๐ หยวนต่อตัน

          ประเภทแร่ธาตุมีค่า                  ๐.๕-๒๐ หยวนต่อกิโล
          แร่โลหะกลุ่มเหล็ก                   ๒-๓๐ หยวนต่อตัน
          แร่ธาตุโลหะนอกกลุ่มเหล็ก   แร่ธาตุโลหะที่มีอยู่ในดินน้อย          ๐.๔-๖๐ หยวนต่อตัน
          ประเภทอื่น                        ๐.๔-๓๐ หยวนต่อตัน
          เกลือ         เกลือที่เป็นของแข็ง     ๑๐-๖๐ หยวนต่อตัน

ทั้งนี้ ผู้ที่เกี่ยวข้องให้ความเห็นว่า ภาษีทรัพยากรเป็นภาษีท้องถิ่น ซึ่งการปรับเพิ่มครั้งนี้ อาจจะช่วยสร้างรายได้เพิ่มให้กับการคลังท้องถิ่นค่อนข้างมาก ส่งเสริมการประกันสังคมและปรับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน รวมทั้งสร้างประโชยน์แก่การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมด้วย ยกตัวอย่างเช่นทรัพยากรน้ำมัน หากราคาน้ำมันในตลาดโลกยังคงที่ระดับในปัจจุบัน หลังจากการปรับเพิ่มครั้งนี้แล้ว รายได้จากภาษีทรัพยากรด้านน้ำมันจะเพิ่มขึ้นจาก ๖,๐๐๐ ล้านหยวนต่อปี เป็น ๓๐,๐๐๐ ล้านหยวนขึ้นไปต่อปี แต่ในขณะเดียวกัน อาจจะส่งแรงกดดันให้กับบริษัทน้ำมันเป็นอย่างมาก ซึ่งในระยะเวลาสั้นกำไรอาจจะลดลง แต่จะส่งผลดีในระยะยาว เนื่องจากการเพิ่มรายได้ด้านภาษีสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจท้องถิ่นอย่างมาก ทำให้อุปสงค์ด้านพลังงานเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเป็นเงาตามตัว

เมื่อวันที่ ๑๙ ก.พ. ๒๕๕๔ คณะกรรมาธิการการพัฒนาและปฏิรูปแห่งประเทศจีน (National Development and Reform Commission) ประกาศว่า ตั้งแต่วันที่ ๒๐ ก.พ. ๒๕๕๔ เป็นต้นไป จีนจะปรับเพิ่มราคาน้ำมันเบนซินและดีเซล ๓๕๐ หยวนต่อตัน เท่ากับน้ำมันเบนซินเพิ่ม ๐.๒๖ หยวนต่อลิตร และน้ำมันดีเซลเพิ่ม ๐.๓ หยวนต่อลิตร โดยทำลายสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ทั้งนี้ ผู้ที่เกี่ยวข้องให้คำแนะนำว่า การพุ่งสูงขึ้นทางอุปสงค์ด้านน้ำมันอย่างรวดเร็วได้เกินขีดความสามารถในการรับรองของเศรษฐกิจและทรัพยากรของจีนแล้ว ซึ่งจีนจำเป็นต้องออกมาตรการยับยั้งการพุ่งสูงขึ้นทางอุปสงค์อย่างรวดเร็วและส่งเสริมการประหยัดทรัพยากร อีกทั้ง การที่รัฐบาลจีนแทรกแซงราคาน้ำมัน ก็สามารถช่วยกระตุ้นการนำเข้าน้ำมันของบริษัทจีน รักษาการสมดุลของอุปสงค์และอุปทานภายในตลาดจีน

ส่วนผลกระทบของราคาสินค้าทั่วไปในจีนจากการเพิ่มราคาน้ำมัน ผู้ที่เกี่ยวข้องกล่าวว่า การขนส่งผู้โดยสารทางรถไฟ การคมนาคมสาธารณะในเขตเมือง และการขนส่งผู้โดยสารในเขตชนบทจะไม่เพิ่มราคา และราคาน้ำมันปรุงอาหาร เนื้อหมู ผักและอื่นๆ ยังอยู่ในระดับค่อนข้างคงที่ OPEC ปรับลดตัวเลขประมาณการความต้องการบริโภคน้ำมันดิบของโลกในปี 2554

๑๓ พฤษภาคม ๒๕๕๔ สำนักงานพลังงานระหว่างประเทศ (International Energy Agency — IEA) ได้ปรับลดตัวเลขประมาณการความต้องการบริโภคน้ำมันดิบโดยรวมของโลกในปี ๒๕๕๔ โดยคาดว่าจะอยู่ที่ระดับ ๘๙.๒ ล้านบาร์เรลต่อวัน น้อยกว่าคาดการณ์ก่อนหน้านี้ประมาณ ๑๙๐,๐๐๐ บาร์เรล แต่ตัวเลขดังกล่าวยังมากกว่าปี ๒๕๕๓ ซึ่งอยู่ที่ระดับ ๘๗.๙ ล้านบาร์เรลต่อวัน โดย IEA ให้เหตุผลว่าเนื่องจากราคาน้ำมันดิบยังมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ประเทศอุตสาหกรรมทั้งในซีกโลกตะวันตกและญี่ปุ่นยังคงมีแนวโน้มการขยายตัวทางเศรษฐกิจในอัตราต่ำ ตามการคาดหมายของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund — IMF) ซึ่งแนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่ยังไม่มีความแน่นอนในขณะนี้เกิดจากหลายเหตุปัจจัย อาทิ ผลกระทบจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในญี่ปุ่น เมื่อวันที่ ๑๑ มีนาคม ๒๕๕๔ การปรับตัวสูงขึ้นของราคาสินค้าโภคภัณฑ์หลายชนิด สถานการณ์รุนแรงทางการเมืองในตะวันออกกลาง ปัจจัยเสี่ยงจากภาวะการขาดสมดุลบัญชีเดินสะพัดในหลายประเทศ และความเป็นไปได้ที่จะเกิดภาวะฟองสบู่เศรษฐกิจแตกในกลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ ขณะเดียวกัน ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับยวดยานพาหนะที่เพิ่มสูงขึ้นทั้งในยุโรปและสหรัฐอเมริกาเริ่มมีผลทำให้การจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภคลดลง โดยเมื่อช่วงต้นเดือนพฤษภาคม ๒๕๕๔ ราคาน้ำมันเบนซินในสหรัฐฯ ปรับตัวสูงขึ้นเกือบถึงระดับ ๔ ดอลลาร์สหรัฐต่อแกลลอน ส่วนราคาน้ำมันเบนซินในฝรั่งเศสเพิ่มขึ้นเหนือระดับ ๑.๕๐ ยูโรต่อลิตร หรือกว่า ๘ ดอลลาร์สหรัฐต่อต่อแกลลอน ซึ่งการที่ราคาน้ำมันเบนซินในยุโรปแพงกว่าสหรัฐฯ สะท้อนถึงอัตราภาษีน้ำมันในสหรัฐฯ ที่สูงกว่าของยุโรป ทั้งนี้ รายงานของ IEA พยากรณ์ว่าหากราคาน้ำมันเชื้อเพลิงยังคงอยู่ในระดับที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ขณะที่ฤดูร้อนในสหรัฐฯ ซึ่งเป็นช่วงที่มีการใช้ยานพาหนะเพื่อการเดินทางสูงกว่าช่วงเวลาอื่น ๆ กำลังใกล้เข้ามา ความต้องการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงก็จะอ่อนตัวอย่างแน่นอนส่วนความต้องการใช้น้ำมันในยุโรปปรับตัวลดลงร้อยละ ๔.๑ เมื่อเดือนมีนาคม ๒๕๕๔ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี ๒๕๕๓ ซึ่งเป็นผลมาจากสภาวะอากาศที่มีอุณหภูมิสูงกว่าปกติทำให้ความต้องการใช้น้ำมันเพื่อให้ความร้อนลดลง นอกจากนี้ ความต้องการใช้น้ำมันดีเซล น้ำมันเบนซิน

และผลิตภัณฑ์น้ำมันอื่น ๆ ก็ปรับลดลงด้วย ส่วนสาธารณรัฐประชาชนจีน รัสเซีย และบราซิล กำลังเผชิญกับปัญหาเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้น ทำให้รัฐบาลไม่สามารถผลักภาระราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่ปรับตัวสูงขึ้นไปสู่ผู้บริโภคได้ง่ายนัก และจากการที่รัฐบาลยอมแบกรับต้นทุนน้ำมันเอาไว้ก็ทำให้ความต้องการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงของประเทศเหล่านี้ขยายตัวในอัตราสูง โดยความต้องการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงของจีนในเดือนมีนาคม ๒๕๕๔ เพิ่มขึ้นอย่างมาก หลังจากที่ความต้องการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงชะลอตัวอย่างต่อเนื่องในช่วง ๒ เดือนที่ผ่านมา (มกราคม-กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔) โดยรัฐบาลจีนกำลังเผชิญกับสภาวะที่ขัดแย้งกัน คือ ราคาขายหน้าโรงกลั่นถูกคุมอยู่ในระดับต่ำเกินไปจนทำให้โรงกลั่น ไม่สามารถทำกำไรมากเท่าที่ควร ขณะที่ราคาหน้าสถานีบริการน้ำมันกลับอยู่ในระดับสูงจนผู้บริโภคไม่พอใจ เพราะรัฐบาลจีนปรับขึ้นราคาน้ำมันถึง ๓ ครั้ง นับตั้งแต่เดือนธันวาคม ๒๕๕๓ เป็นต้นมา

สำหรับด้านของอุปทานน้ำมัน รายงานของ IEA ระบุมีการคาดหมายกันว่าองค์การกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (Organization of Petroleum Exporting Countries — OPEC) จะเพิ่มกำลังการผลิตเพื่อทดแทนปริมาณน้ำมันดิบจากลิเบียที่ขาดหายไปจากตลาด เนื่องจากเหตุการณ์สงครามกลางเมืองทำให้โรงกลั่นต้องปิดดำเนินการชั่วคราว แต่จากข้อมูลของ IEA กลับพบว่าในขณะนี้ปริมาณการผลิตน้ำมันของ OPEC อยู่ที่ระดับต่ำกว่าช่วงก่อนเกิดเหตุวิกฤติในลิเบียถึง ๑.๓ ล้านบาร์เรลต่อวัน โดยผลกระทบจากการหายไปของปริมาณน้ำมันดิบของลิเบียในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน ๒๕๕๔ เบาบางลง เนื่องจากกำลังผลิตของโรงกลั่นในช่วงฤดูใบไม้ผลิปรับตัวลดลงตามฤดูกาลอยู่แล้ว แต่ความคาดหมายเกี่ยวกับความต้องการใช้น้ำมันในช่วง ๖ เดือนหลังของปี ๒๕๕๔ (กรกฎาคม-ธันวาคม ๒๕๕๔) ทำให้เชื่อได้ว่าจะเกิดภาวะปริมาณน้ำมันตึงตัวเพิ่มขึ้นมากในตลาดโลก ซึ่งการประชุมของ OPEC ที่จะมีขึ้น ณ กรุงเวียนนา (Vienna) เมืองหลวงของออสเตรีย ในวันที่ ๘ มิถุนายน ๒๕๕๔ จะมีการหารือเกี่ยวกับแนวโน้มอุปทานน้ำมันและแผนการผลิต พร้อมทั้งเผยแพร่รายงานฉบับล่าสุดที่คาดหมายว่าความต้องการใช้น้ำมันดิบของโลกในปี ๒๕๕๔ จะเพิ่มขึ้น ๑.๔ ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับคาดการณ์ของสำนักงานสารสนเทศพลังงาน (Energy Information Administration — EIA) ของสหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม OPEC ยังยืนยันตัวเลขเป้าหมายการผลิตสำหรับปี ๒๕๕๔ ไม่เปลี่ยนแปลงไปจากกำลังการผลิตในช่วงกว่า ๒ ปีที่ผ่านมา ส่วนรายงานของ OPEC ที่เผยแพร่เมื่อเดือนเมษายน ๒๕๕๔ ระบุว่าถึงแม้ว่าราคาน้ำมันดิบจะปรับตัวสูงขึ้นเหนือระดับ ๑๒๐ ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลแล้ว แต่ OPEC เชื่อว่าปริมาณน้ำมันโลกในปี ๒๕๕๔ ยังอยู่ในระดับที่พอเพียง โดยนับตั้งแต่ช่วงต้นปี ๒๕๕๔ สมาชิกของ OPEC บางประเทศรวมทั้งซาอุดีอาระเบียได้เพิ่มกำลังการผลิตแล้วอย่างไม่เป็นทางการ ซึ่งปริมาณการผลิตโดยรวมของ OPEC ในเดือนเมษายน ๒๕๕๔ เพิ่มขึ้นประมาณ ๖๙,๐๐๐ บาร์เรลต่อวัน เป็น ๒๘.๙๙ ล้านบาร์เรลต่อวัน เนื่องจากซาอุดีอาระเบีย ไนจีเรีย และคูเวต ต่างเพิ่มการผลิตเพื่อชดเชยปริมาณน้ำมันจากลิเบียและอังโกลาที่หายไปจากตลาด

สำนักงานส่งเสรืมการค้าในต่างประเทศ ณ นครเซี่ยงไฮ้

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ