“แผนพัฒนาห้าปีฉบับที่ ๑๒” การก่อสร้างเส้นทางรถไฟมีการสร้างเส้นทางรถไฟความเร็วสูงเป็นโครงสร้างหลัก เส้นทางรถไฟความเร็วสูงบางส่วนในเส้นทางหลักแนวดิ่ง ๔ เส้นจะก่อสร้างตามมาตรฐาน ๓๐๐ กม./ชม. เส้นทางรถไฟที่เชื่อมต่อระหว่างหัวเมืองจะออกแบบเป็น ๒๐๐ — ๒๕๐ กม./ชม. วางน้ำหนักเสมอกันระหว่างการขนส่งสินค้าและผู้โดยสารเส้นทางรถไฟสายด่วนกับเส้นทางรถไฟภาคตะวันตก ส่วนใหญ่จะเป็นความเร็วต่ำกว่า ๒๐๐ กม./ชม.
หลังจากเกิดกรณีรถไฟความเร็วสูงชนท้ายขึ้นที่เวินโจว (Wen Zhou) นายหูยาตง (Hu Yadong) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการรถไฟ ได้ประกาศใช้มาตรการพิเศษเพื่อสร้างความมั่นคงปลอดภัยแก่รถไฟความเร็วสูง ช่วงเริ่มต้นขับเคลื่อน เพราะช่วงเวลาดังกล่าวมักจะเป็นช่วงเวลาที่เกิดปัญหากระจุกตัว ฉะนั้น ต้องเหลือช่วงว่างด้านความปลอดภัยอย่างเต็มที่ พร้อมกันนั้นยังต้องใช้มาตรการพิเศษเพื่อเป็นหลักประกันความมั่นคงปลอดภัยช่วงเริ่มต้นดำเนินการต่อไป การเปิดเส้นทางพิเศษบริการผู้โดยสารและรถไฟความเร็วสูงจะต้องแบ่งเป็นขั้นตอนค่อยเป็นค่อยไป จนกว่าเข้าถึงจุดสมบูรณ์ ในระยะเริ่มต้นจะต้องทำการตรวจสอบหาข้อบกพร่องจากระบบอุปกรณ์อย่างเข้มข้นและถ้วนหน้า วางแผนรองรับเกิดเหตุฉุกเฉินทุกเมื่อ เข้มงวดในการตรวจสอบควบคุมดูแลและการบริหารจัดการ
ปัจจุบันการรถไฟต้องควบคุมคุณภาพรถไฟความเร็วสูงตั้งแต่ต้นทาง ควบคุมงานออกแบบอย่างเข้มงวดควบคุมงานก่อสร้างอย่างเข้มงวด ควบคุมการตรวจรับสินค้าอย่างเข้มงวด ควบคุมการออกใบรับรองมาตรฐานอย่างเข้มงวด ยกระดับความเป็นเลิศและกฎระเบียบเกี่ยวกับเงื่อนไขการเปิดเส้นทางใหม่ คุมเข้มกฎระเบียบการบริหารจัดการเทคโนโลยีรถไฟความเร็วสูง เข้มงวดการควบคุมระบบการเดินรถอย่างปลอดภัย เข้มงวดการควบคุมการสั่งการในระบบการควบคุม เข้มงวดในระบบการบริหารสั่งการการเดินรถในภาวะผิดปกติ ป้องกันการแทรกเข้าของสิ่งแปลกปลอม เข้มงวดกวดขันระบบการรักษาความปลอดภัยโดยทั่วไป เร่งรัดการวางระบบกู้ชีพบนรถไฟความเร็วสูง เสริมสร้างกลไกการบริหารระบบกู้ชีพบนรถไฟความเร็วสูง เสริมสร้างกลไกการบริหารจัดการระบบความปลอดภัยให้ครบถ้วนสมบูรณ์ ต้องยึดหลักความปลอดภัยของรถไฟความเร็วสูงเป็นสิ่งสำคัญยิ่งยวดในงานความปลอดภัยขนส่ง ช่วงเคร่งครัดและปรับปรุงแก้ไขระบบบริหารจัดการความปลอดภัยของรถไฟความเร็วสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการควบคุมดูแลความปลอดภัยในระยะเริ่มแรก เพิ่มความเข้มข้นในการชี้นำผู้นำกองการรถไฟ แต่ละหน่วยต้องเป็นผู้รับผิดชอบต่อความปลอดภัยคนแรก ยกระดับขีดความสามารถในการควบคุมดูแลความปลอดภัยในระบบรถไฟความเร็วสูง เสริมสร้างองค์กรการรถไฟให้เข้มแข็งเพิ่มความเข้มข้นในการฝึกอบรมพนักงาน และเข้มงวดกวดขันความรับผิดชอบต่อการเกิดอุบัติเหตุบนรถไฟความเร็วสูง เป็นต้น
กระทรวงการรถไฟจีนประกาศว่า รถไฟความเร็วสูงที่ถูกออกแบบให้มีความเร็ว ๒๕๐ กิโลเมตรต่อชม. ถูกสั่งให้ลดระดับความเร็วลงเหลือเพียง ๒๐๐ กิโลเมตรต่อชม. และบริษัทผู้ผลิตรถไฟหัวกระสุนจีนถูกสั่งให้ระงับการลำเลียงขนส่งรางรถไฟความเร็วสูงที่เชื่อมระหว่างปักกิ่งและเซี่ยงไฮ้ด้วย
ทั้งนี้ จีนได้ตั้งเป้าหมายว่า จะกลายเป็นประเทศที่มีเครือข่ายความเร็วสูงใหญ่ที่สุดของโลก หรือคิดเป็นระยะการสร้างทางรถไฟยาว ๘,๓๕๘ กม. ก่อนสิ้นปี ๒๐๑๐ และจะขยายโครงข่ายดังกล่าว เป็นระยะทางเกินกว่า ๑๓,๐๐๐ กม. ต่อปี ๒๐๑๒ และ ๑๖,๐๐๐ กม. ก่อนปี ๒๐๒๐ เมื่อเดือนธ.ค.ปีที่แล้ว กระทรวงการรถไฟประกาศความสำเร็จในการสร้างรถไฟความเร็วสูงด้วยระยะทางวิ่ง ๔๘๖ กิโลเมตรต่อชม. ทุบสถิติโลกของรถไฟความเร็วสูง แต่ในช่วงต้นปีที่ผ่านมา ทางการได้ลดระดับความเร็วลงเหลือเพียง ๓๐๐ กิโลเมตรต่อชม.
๑. รถไฟสายด่วนและรถไฟความเร็วสูงมีความก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ช่วงเวลาแค่ ๕ ปี สร้างรถไฟความเร็วสูงยาวกว่า ๕,๐๐๐ กิโลเมตร ทั้งยังได้วางแผนจะสร้างต่อไป
๒. ในปี ๒๐๐๐ เทคโนโลยีการสร้างรถไฟความเร็วสูงของจีนเท่ากับศูนย์ ช่วงเวลาไม่กี่ปีจีนได้นำเข้าเทคโนโลยีต่างๆ จากประเทศที่เจริญแล้วเช่น ฝรั่งเศส เยอรมนี แคนาดา และญี่ปุ่น และได้ดูดซับปรับปรุงแก้ไขเทคโนโลยีมาเป็นของจีน จนสามารถสร้างรถไฟความเร็วมีความเร็วที่สูงถึง ๓๕๐ กม./ชม. และกำลังทดลองการเดินรถความเร็วสูงเกือบถึง ๕๐๐ กม./ชม. สร้างสถิติสูงที่สุดในโลก
๓. ทั่วโลกแตกตื่นกับการขยายตัวอย่างรวดเร็วของกิจการรถไฟความเร็วสูงทั้งระยะยาวของเส้นทางรถไฟและความเร็วของการเดินรถ อีกทั้งยังเตรียมที่จะส่งออกรถไฟความเร็วสูงทั่วโลกจากทวีปอเมริกา ยุโรป สหรัฐอเมริกา อังกฤษ สร้างความหงุดหงิดให้กับประเทศที่มีเทคโนโลยีรถไฟความเร็วสูงไม่น้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศญี่ปุ่นมองว่าจีนกำลังจะทุบหม้อข้าวเขา หากจีนสามารถมีเทคโนโลยีการสร้างรถไฟความเร็วสูงด้วยความสามารถของตนเองจริงแน่นอน ตั้งแต่เงินทุน แรงงาน ตัวรถไฟฟ้า เส้นทางรถไฟตลอดจนการขับเคลื่อนการบริหารจัดการ บริการแบบครบวงจร ทั้งมีราคาย่อมเยา ประเทศอื่นจะแข่งขันยาก
๔. การดำเนินยุทธศาสตร์รถไฟความเร็วสูงของจีน ช่วงหลายปีที่ผ่านมากำลังของจีนสูงขึ้นกับการให้ความสนใจผ่านเอเชียกลาง เส้นทางสายไหมชุดใหม่เริ่มก่อตัวขึ้นอย่างชัดเจน จึงเริ่มมีการวางแผนเปิดเส้นทางรถไฟความเร็วสูงอย่างใหม่เอี่ยม สายเหนือจากเกาหลีเหนือ-ใต้เชื่อมต่อรัสเซียสู่ยุโรป สายใต้จากเวียดนาม พม่าเชื่อมต่ออินเดีย อิหร่าน ฯลฯ เข้าสู่ตุรกีสู่ยุโรป เป็นการเชื่อมต่อทวีปเอเชียกับยุโรปเข้าด้วยกัน โดดเดี่ยวสหรัฐอเมริกาที่อยู่ทวีปอเมริกาที่ห่างไกล ดับความฝันของสหรัฐฯ ที่ต้องการเป็นเจ้าโลกทางทะเล อาศัยประเทศจีนที่มีกำลังผลิตขนาดมหาศาลและตลาดที่กว้างใหญ่ไพศาล ประเทศอื่นๆ ไม่มีทางสู้ ยิ่งหลังจากเกิดวิกฤติการเงินโลกซึ่งทำท่าจะเลวร้าย อีกต่อไปนี้คงไม่มีประเทศใดกล้าที่จะห่างเหินจากขบวนรถไฟจีน
๕. มองจากเศรษฐกิจกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เมื่อเทียบกับเครื่องบินแล้วรถไฟความเร็วสูงสามารถบรรทุกน้ำหนักมากกว่า ต้นทุนต่ำกว่า ปัญหามลพิษน้อยกว่า พึ่งพาน้ำมันปิโตรเลียมน้อยกว่า และเมื่อเทียบกับเรือแล้วมีความเร็วสูงกว่า มีความคล่องตัวกว่า การเดินทางผ่านประเทศต่างๆ ล้วนแต่ช่วยกระตุ้นการพัฒนาเศรษฐกิจของท้องถิ่น ด้วยเหตุนี้ หากมองจากภายในประเทศของจีนเองแล้ว เพื่อให้หลุดพ้นจากการต้องพึ่งพาน้ำมันปิโตรเลียมมากจนเกินไป กับการเกิดมลภาวะและยกระดับเศรษฐกิจของทุกพื้นที่ทั่วประเทศ การสร้างรถไฟสายด่วนเป็นสิ่งจำเป็น สังคมปัจจุบันการพัฒนาเศรษฐกิจก็หนีไม่พ้นการเคลื่อนย้ายของคนและสินค้า ตลอดจนความเร็วการไหลเลื่อนของข่าวสารและการหมุนเวียนของเงินตรา การก่อสร้างเส้นทางรถไฟความเร็วสูงให้ในรูปเครือข่ายสำเร็จ ย่อมเกิดผลดีต่อการยกระดับการไหลเวียนของการเคลื่อนย้ายคนและสินค้า
มองในระดับสากลแล้วยังเป็นการช่วยลดภัยอันตรายต่อนิเวศวิทยาของโลก บรรเทาผลกระทบต่อดิน ฟ้า อากาศ ด้วยการลดการระบายคาร์บอนไดออกไซด์ ส่งเสริมการไปมาหาสู่กันทางเศรษฐกิจกับประเทศรอบข้าง
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครเซี่ยงไฮ้
ที่มา: http://www.depthai.go.th