สถานการณ์การค้าไทย-อิตาลีประจำเดือนกันยายน 2554

ข่าวเศรษฐกิจ Monday November 7, 2011 15:40 —กรมส่งเสริมการส่งออก

สถานการณ์การค้าของไทย-อิตาลี

มูลค่าการค้ารวม เดือนกันยายน 2554 ไทยมีมูลค่าการค้ารวม 348.9 ล้านเหรียญสหรัฐ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 33.1 เทียบกับเดือนกันยายน 2553) โดยได้ดุลการค้า 13.3 ล้านเหรียญสหรัฐ

ระหว่างเดือนมกราคม-กันยายน 2554 ไทยมีมูลค่าการค้ารวม 3,098.6 ล้านเหรียญสหรัฐ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.4 เทียบกับเดือนมกราคม-กันยายน 2553) โดยขาดดุลการค้า 77.4 ล้านเหรียญสหรัฐ

การส่งออกของไทยไปยังอิตาลี

เดือนกันยายน 2554 ไทยส่งออกมายังตลาดอิตาลีคิดเป็นมูลค่า 180.9 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.9 เทียบกับช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยปกติจะพบว่า มูลค่าการส่งออกสินค้าของไทยไปยังอิตาลีมีลักษณะแนวโน้มคล้าย ๆ กันในแต่ละปี โดยเดือนที่มีมูลค่าการส่งออกสูงสุดคือ เดือนพฤษภาคมและจะค่อย ๆ ลดลงในช่วงเดือนมิถุนายนเป็นต้นไปและจะกลับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในช่วงเดือนกันยายนและลดลงในช่วงพฤศจิกายนและเพิ่มขึ้นในช่วงเดือนธันวาคมอีกครั้ง

สินค้าส่งออกที่สำคัญของไทย 5 อันดับแรกในเดือนกันยายน เช่น อัญมณีและเครื่องประดับ (สัดส่วน 17.0%) ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ (สัดส่วน 12.4%) ยางพารา (สัดส่วน 5.7%) รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ (สัดส่วน 5.0%) และเครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ (สัดส่วน 4.8%) เป็นต้น

โดยสินค้าที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างมากเทียบกับช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า ได้แก่ ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ (+35,288.8%) อาหารสัตว์เลี้ยง (+99.6%) เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ (+78.8%) ผลิตภัณฑ์ยาง (+71.8%) และเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ (+34.9%) เป็นต้น

ส่วนสินค้าที่มีการขยายตัวลดลง ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ (-36.8%) อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป (-19.6%) เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ (-13.8%) เครื่องโทรสาร โทรศัพท์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ (-3.3%) และปลาหมึกสดแช่เย็น แช่แข็ง (-6.9%) เป็นต้น

ระหว่างเดือนมกราคม-กันยายน 2554 ไทยส่งออกมายังตลาดอิตาลีคิดเป็นมูลค่า 1,510.6 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.6 เทียบกับช่วงระยะเวลาเดียวกันของปี 2553

สินค้าส่งออกที่สำคัญของไทย 5 อันดับแรก เช่น อัญมณีและเครื่องประดับ (สัดส่วน 10.4%) ยางพารา (สัดส่วน 9.4%) เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ (สัดส่วน 8.3%) ปลาหมึกสดแช่เย็น แช่แข็ง (สัดส่วน 6.1%) และรถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ (สัดส่วน 4.6%) เป็นต้น

โดยสินค้าที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างมากเทียบกับช่วงระยะเวลาเดียวของปีก่อนหน้า ได้แก่ ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ (+4,894.6%) ยางพารา (+70.1%) ผลไม้กระป๋องและแปรรูป (+69.1%) เม็ดพลาสติก (+68.6%) และผลิตภัณฑ์ยาง (+38.8%) เป็นต้น ส่วนสินค้าที่มีการขยายตัวลดลง ได้แก่ เคมีภัณฑ์ (-40.1%) รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ (-26.1%) และอาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป (-13.2%) เป็นต้น

การนำเข้าของไทยจากอิตาลี

เดือนกันยายน 2554 ไทยนำเข้าจากอิตาลีคิดเป็นมูลค่า 167.5 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ54.1 เทียบกับช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า ซึ่งไทยมีการนำเข้าเพิ่มขึ้น 54.1 ล้านเหรียญสหรัฐเทียบกับการนำเข้าเดือนกันยายน 2553 โดยปกติจะพบว่าไทยนำเข้าสินค้าจากอิตาลีมีลักษณะแนวโน้มคล้าย ๆ กันในแต่ละปี โดยเดือนที่มีมูลค่าการนำเข้าสูงสุดคือ เดือนมีนาคมและจะค่อย ๆ ลดลงในช่วงเดือนเมษายนเป็นต้นไปและกลับมีมูลค่านำเข้าเพิ่มขึ้นอีกครั้งในช่วงเดือนมิถุนายนหรือกรกฎาคมและพฤศจิกายนของทุกปี

สินค้านำเข้าที่สำคัญจากอิตาลี ได้แก่ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ (สัดส่วน 30.5%) เคมีภัณฑ์ (สัดส่วน 9.3%) เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ (สัดส่วน 5.7%) ผลิตภัณฑ์โลหะ (สัดส่วน 5.4%) และเครื่องมือเครื่องใช้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์การแพทย์ (สัดส่วน 5.0%) เป็นต้น

โดยสินค้าที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างมากเทียบกับปีก่อนหน้า ได้แก่ ส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์ (+647.3%) เครื่องมือเครื่องใช้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์การแพทย์ (+137.5%) เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ (+96.8%) เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน (+74.4%) และเครื่องใช้เบ็ดเตล็ด (+52.1%) เป็นต้น ส่วนสินค้าที่มีการขยายตัวลดลง เช่น ด้ายและเส้นใย (-53.6%) และรองเท้า (-1.6%) เป็นต้น

เดือนมกราคม-กันยายน 2554 ไทยนำเข้าจากอิตาลีคิดเป็นมูลค่า 1,588.0 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 45.1 เทียบกับช่วงระยะเวลาเดียวกันปี 2553

สินค้านำเข้าที่สำคัญจากอิตาลี ได้แก่ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ (สัดส่วน 23.8%) ผลิตภัณฑ์โลหะ (สัดส่วน 14.1%) เคมีภัณฑ์ (สัดส่วน 8.9%) ผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม (สัดส่วน 4.9%) และเครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ (สัดส่วน 4.6%) เป็นต้น

โดยสินค้าที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างมากระหว่างเดือนมกราคม-กันยายน เทียบกับช่วงระยะเวลาเดียวของปีก่อนหน้า ได้แก่ ผลิตภัณฑ์โลหะ (+241.3%) เคมีภัณฑ์ (+62.5%) เครื่องใช้เบ็ดเตล็ด (+44.0%) เครื่องมือเครื่องใช้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์การแพทย์ (+40.0%) และเครื่องจักรกลและส่วนประกอบ (+40.6%) เป็นต้น ส่วนสินค้าที่มีการขยายตัวลดลง เช่น สินแร่โลหะอื่นๆ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์ (-17.7%) และเครื่องจักรไฟฟ้าในบ้าน (-0.2%) เป็นต้น

สินค้าไทยที่มีแนวโน้มส่งออกเพิ่มขึ้นในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2554

1. ไขมันและน้ำมันจากพืชจากสัตว์ การส่งออกไขมันและน้ำมันจากพืชจากสัตว์ของไทยมีอัตราเพิ่มขึ้นต่อเนื่องตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2554 โดยเดือนกันยายน 2554 การส่งออกมีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างมากร้อยละ 35,288.8 เทียบจากปีก่อนหน้า

2. อัญมณีและเครื่องประดับ การส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับมีการส่งออกเพิ่มขึ้นตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2554 ซึ่งเดือนกันยายน 2554 การส่งออกขยายตัวเพิ่มขื้นถึงร้อยละ 12.0

3. ยางพารา เป็นสินค้าส่งออกอันดับต้นของไทยมาโดยตลอด ซึ่งช่วง 9 เดือนแรกของปี 2554 การส่งออกขยายตัวสูงถึงร้อยละ 70.1 เทียบจากช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า ซึ่งสินค้ายางพารายังคงเป็นสินค้าส่งออกอันดับต้นของไทย โดยเฉพาะยางรถยนต์และถุงมือยางซึ่งเป็นสินค้าที่มีความต้องการใช้เป็นอย่างมากในตลาดอิตาลี

สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ เมืองมิลาน

ที่มา: http://www.depthai.go.th


แท็ก อิตาลี   สหรัฐ  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ