รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจการค้า ประเทศบังกลาเทศ เดือนตุลาคม ๒๕๕๔

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday November 9, 2011 14:14 —กรมส่งเสริมการส่งออก

๑. ภาวะการส่งออกสินค้าจากไทยไปบังกลาเทศ ปริมาณการส่งออกรวมเดือนก.ย. มีมูลค่า ๖๓.๓๑ ล้านดอลลาร์สหรัฐลดลงจาก ส.ค.๕๔ (๙๓.๓๓ ล้าน ร้อยละ ๓๒.๑๗แต่ มูลค่าช่วงมค.-ก.ย.๕๔.มีมูลค่า ๑,๐๔๕.๐๑ ล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นมูลค่าสูงกว่าพันล้านดอลลาร์เป็นครั้งแรกตั้งแต่มีการส่งออกจากไทย โดยเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกัน.ปีก่อน(๖๔๑.๙๘ ล้าน)ถึงร้อยละ๖๒.๗๘ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ๐.๕๘ ของการส่งออกทั้งหมดของไทย จากการส่งออกที่เพิ่มขึ้นของสินค้าปูนซิเมนต์เม็ด รถยนต์และอะไหล่ กระดาษ ยิปซัม ส่วนผสมอาหารสัตว์ ผ้าผืน ด้าย เส้นใยประดิษฐ์ ผลิตภัณฑ์พลาสติก และชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ เป็นต้น

๒. ภาวะเศรษฐกิจบังกลาเทศชะลอตัวลงเป็นลำดับ หลังการเริ่มศักราชปีใหม่ต่อจากการสิ้นสุดรามาดอล ภาวะการเงินตึงตัวเนื่องจากความต้องการเงินดอลาร์เพิ่มขึ้น จากมีผู้เดินทางไปทำฮัท มากกว่าปีก่อน ในขณะที่เงินโอนจากต่างประเทศเลดลง และปัญหาหลายด้านยังไม่ได้รับการแก้ไข ทั้งปัญหาการขาดแคลนสาธารณูปโภคพื้นฐานต่างๆ เช่น พลังงานก๊าซและกระแสไฟฟ้า การจราจรติดขัด ถนนสายต่างๆชำรุดเสียหายอย่างมาก รวมทั้งสถานการณ์การเมือง ฝ่ายค้านมีการระดมคนปิดถนนประท้วงรัฐบาลเป็นระยะๆ

๓. รายงานข้อมูลทางเศรษฐกิจของธนาคารกลาง ณ ๑๙ ต.ค.๕๔ รายงานว่าค่าเงินตากา อ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่อง เงินสำรองเงินตราต่างประเทศทรงตัว จากการโอนเงินจากแรงงานต่างประเทศลดลง การส่งออกลดลง และอัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นทำลายสถิติสูงสุดในรอบ ๔ ปีของเดือนส.ค. ตามรายละเอียด ดังนี้

๓.๑.เงินสำรองเงินตราต่างประเทศ ณ ๑๘ ต.ค.๕๔ มีจำนวน ๑๐,๐๘๖.๘๒ ล้านดอลลาร์สหรัฐ ใกล้เคียงกับ ก.ย. ๕๔ (๑๐,๐๖๓.๓๖ ล้าน) แต่ลดลงจาก ส.ค.๕๔(๑๐,๙๘๕.๕๙ ล้านดอลลาร์) ซึ่งเป็นยอดต่ำสุดในรอบ ๘ เดือน ต่ำกว่ายอด ณ ๒๖ ก.ค.๕๔ (๑๐,๓๕๑.๖๙ ล้าน) ซึ่งมีมูลค่าต่ำสุดในรอบ ๖เดือนมาแล้ว และต่ำกว่า ๑๘ต.ค.ปีก่อน ซึ่งเท่ากับ ๑๑,๒๑๒.๔๔ ล้านดอลลาร์ ร้อยละ ๑๑.๑๖

๓.๒ อัตราแลกเปลี่ยนเงินตากาต่อเงินUSD ณ ๑๘ ต.ค.๕๔ ๑ USD= ๗๕.๘๘๘๐ ตากาอ่อนค่าลงจาก ๒๐ ก.ย.๕๔ (๑ USD= ๗๕.๐๒๙๐ ตากา) ร้อยละ ๑.๑๓ อ่อนค่าลงต่ำสุดต่อเนื่องจากเดือนส.ค.ซึ่งต่ำสุดแล้วในรอบ ๙ เดือน และ เมื่อเทียบกับ ๑๘ ต.ค.ปีก่อน ๑ USD = ๗๐.๓๕๒๒ ตากา เงินตากาอ่อนค่าลงถึงร้อยละ ๗.๒๙

๓.๓ .เงินโอนจากแรงงานในต่างประเทศ เดือนก.ย.๕๔ มีจำนวน เพียง ๘๔๓.๓๒ ล้านดอลลาร์ ลดลงจากส.ค. ๕๔ ซึ่งมีจำนวน ๑.๐๗๘.๑๕ ล้านดอลลาร์ถึงร้อยละ ๒๗.๘๕ เป็นการลดลง หลังจากที่เงินโอนเพิ่มขึ้น ๓เดือนต่อเนื่องตั้งแต่มิ.ย.๕๔ และเมื่อเทียบกับก.ย..ปีก่อนซึ่งมีมูลค่า๘๕๗.๓๑ ล้านดอลลาร์ ลดลงร้อยละ ๑.๖๓ เนื่องจากเป็นช่วงหลังจากเทศกาลถือศีลอด ต่อด้วยปีใหม่ซึ่งมีการโอนเงินกลับให้ญาติในประเทศจำนวนมาก

๓.๔ มูลค่าส่งออกของบังกลาเทศเดือนก.ย.๕๔ รวม ๑,๔๔๗.๔๗ ล้านดอลลาร์สหรัฐลดลงจากส.ค.๕๔ (๒,๓๗๖.๗๔ ล้าน)ถึงร้อยละ๖๔.๒๐ หลังจากที่ยอดส่งออกทรงตัวมาตั้งแต่พ.ค.๕๔ ( ๓,๒๙๑.๘๐ ล้าน) ซึ่งเป็นยอดส่งออกสูงสุดในรอบปี แต่ยังเพิ่มขึ้นจาก ก.ย.ปีก่อน (๑,๔๑๕.๑๒ ล้าน) ร้อยละ ๒.๒๙ แต่เป็นอัตราเพิ่มที่ต่ำสุดในรอบ ๙ เดือนเนื่องจากวิกฤตหนี้ในสหภาพยุโรป ผู้ซื้อชะลอการรับสินค้าและการชำระเงิน และการขาดแคลนสาธารณูปโภคพื้นฐานในประเทศ เช่น ไฟฟ้า ก๊าซ ถนนชำรุด รวมทั้งการประท้วงของฝ่ายค้านมีการปิดถนนหลายช่วง

สำหรับมูลค่านำเข้า เดือน ส.ค.๕๔ รวม ๒,๕๕๒.๘๐ ล้านดอลลาร์สหรัฐลดลงจากเดือน ก.ค.(๒,๙๓๗.๘๐ ล้าน) ร้อยละ๑๕.๐๘ แต่เพิ่มขึ้นจากส.ค.ปีก่อน (๒,๔๒๗.๔๐ล้าน) ร้อยละ ๕.๑๗ จากการนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงและอาหาร

อย่างไรก็ตาม ดุลบัญชีเดินสะพัดเดือนส.ค.๕๔ ยังคงเกินดุล ๙๔๑ ล้านดอลลาร์สหรัฐ สูงขึ้นกว่าส.ค.ปีก่อนซึ่งมีเพียง ๓๕๑ ล้านดอลลาร์

๓.๕. อัตราเงินเฟ้อ เดือนก.ย.๕๔ = ๑๑.๙๗ สูงขึ้นจาก ส.ค.๕๔ (= ๑๑.๒๙) ซึ่งสูงสุดทำลายสถิติรอบกว่า ๔ ปี และก.ค.๕๔(= ๑๐.๙๖) ซึ่งสูงสุดก่อนหน้านี้ และเมื่อเทียบกับก.ย.ปีก่อน ซึ่งเท่ากับ ๗.๖๑ เท่านั้น เนื่องจากราคาสินค้าจำเป็นต่างๆและน้ำมันเชื้อเพลิง มีราคาสูงขึ้น สำหรับอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ย๑๒ เดือน ก.ย.= ๙.๗๙ สูงขึ้นสูงสุดในรอบกว่า ๔ ปีเช่นกัน

๔. ภาวะการค้าในประเทศ การค้าในประเทศ ยังซบเซาต่อเนื่อง หลังจากคึกคักในช่วงอิด ต่อเนื่องด้วยปีใหม่ เนื่องจากมีผู้เดินทางไปทำฮัท ที่เมกกะกว่าแสนคนในปีนี้ เพิ่มขึ้นมากกว่าปีก่อนกว่าเท่าตัว

๔.๑ ภาวะการค้าข้าว ราคาข้าวเดือนต.ค.๕๔ ชะลอตัวลง หลังจากทรงตัวมากว่าสามเดือนก่อน โดยราคาข้าวคุณภาพดีมีราคา ๒๑-๒๓ บาท/กก.ลดลงจากก.ย.(๒๓-๒๕)และข้าวคุณภาพต่ำเดือนต.ค.ราคา ๑๖-๑๗ บาท/กก. ลดลงจาก ๕เดือน ก่อนซึ่งราคา= ๑๖-๒๐ บาท/กก. เนื่องจากราคาตลาดโลกลดลง และมีการนำเข้าข้าวจากอินเดียเพิ่มขึ้น

๔.๒ สถานการณ์ราคาน้ำตาล ราคาจำหน่ายลดลงต่อเนื่อง เดือนต.ค.ราคา๓๐-๓๒ บาท/กก.ลดลงจากก.ย.ซึ่งมีราคา ๓๔- ๓๕ บาท/กก.และสค.=ก.ค.ซึ่งเท่ากับ ๓๘ บาท/กก.สูงขึ้นจากมิ.ย.ซึ่งเท่ากับ ๓๒-๓๔ บาท/กก.อย่างมาก เนื่องจากความต้องการลดลงและมีการนำเข้ามากขึ้น จนผู้ผลิตขอให้รัฐบาลเก็บภาษีนำเข้าน้ำตาลทรายบริสุทธิ์และคาดว่ารัฐบาลจะดำเนินการในเร็วๆนี้

สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ กรุงธากา บังกลาเทศ

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ