รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจการค้า ประเทศปากีสถาน เดือนตุลาคม ๒๕๕๔

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday November 9, 2011 14:17 —กรมส่งเสริมการส่งออก

๑. ภาวะการส่งออกของไทยไปปากีสถานเดือนก.ย.๕๔ มีมูลค่า ๘๓.๗๘ ล้านดอลลาร์เพิ่มขึ้นจากส.ค. (๘๑.๒๙ ล้าน) ร้อยละ ๓.๐๗ และมูลค่าช่วงม.ค.-ก.ย.๕๔ เท่ากับ ๗๑๐.๗๗ ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน(๖๔๗.๒๘ ล้านดอลลาร์) ร้อยละ ๙.๘๑ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ๐.๔๐ ของการส่งออกทั้งหมดของไทย จากการส่งออกอะไหล่ยานยนต์ เครื่องจักร เครื่องรับวิทยุ โทรทัศน์ ยางพารา ด้าย เส้นใยประดิษฐ์ เครื่องปรับอากาศ และชิ้นส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้า เพิ่มขึ้น

๒. สถานการณ์เศรษฐกิจปากีสถาน ค่อนข้างน่าวิตก จากสถานการณ์การเมือง การก่อการร้าย สถานการณ์การขาดแคลนพลังงานและไฟฟ้ารุนแรงมากขึ้น เนื่องจากความต้องการเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ แต่ไม่สามารถเพิ่มการผลิตตามความต้องการได้ (ปริมาณผลิตต่ำกว่าความต้องการใช้ ๗,๐๐๐ เมกกะวัตต์) อีกทั้งประสบปัญหาน้ำท่วมอีกครั้งในช่วงเดือนก.ย.นี้ อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ ๘ ต.ค.ธนาคารกลางได้ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงเหลือร้อยละ ๑๒ เพื่อช่วยลดอัตราเงินเฟ้อในประเทศ และกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ

๓. รายงานตัวเลขเศรษฐกิจ ณเดือน ต.ค.๕๔ ของธนาคารกลางปากีสถาน รายงานว่า สำรองเงินตราต่างประเทศ ต.ค.ลดลง ค่าเงินรูปีต.ค.แข็งค่าขึ้นเล็กน้อย การโอนเงินจากต่างประเทศก.ย.ลดลง มูลค่าการส่งออกและนำเข้าก.ย.ลดลง ทำให้การขาดดุลทั้งดุลการค้าทรงตัว แต่ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลเพิ่มขึ้น และการลงทุนจากต่างประเทศก.ย.เพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ดังรายละเอียด ต่อไปนี้

๓.๑. สำรองเงินตราต่างประเทศณ ต่างประเทศณ ๑๔ ต.ค.เท่ากับ ๑๗,๒๐๒.๕ ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงจาก ๑๐ก.ย.(๑๗,๗๙๔.๑ ล้าน) เป็นการลดลงเป็นลำดับตั้งแต่เดือน มิ.ย.๕๔ (๑๘,๒๔๓.๘ ล้าน) ซึ่งนับว่าเพิ่มขึ้นสูงสุดนับจากช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ ต.ค.๕๑ (๖,๗๑๖ล้าน) เนื่องจาก IMF ระงับเงินให้กู้ยืมจำนวน ๑๑.๓ ล้านดอลลาร์ ทำให้รัฐบาลต้องกู้เงินจากในประเทศแทน

๓.๒ ค่าเงินรูปีปากีสถานในเดือนต.ค.๕๔ มีค่าระหว่าง ๘๖.๖๐- ๘๗.๖๓รูปี/ดอลลาร์ แข็งค่าขึ้นจากก.ย.๕๔ ซึ่งมีค่าระหว่าง ๘๗.๔๐-๘๗.๗๓ รูปี/ดอลลาร์ ซึ่งอ่อนค่าลงต่ำสุดแล้ว เนื่องจากความต้องการดอลลาร์ลดลง

๓.๓ ปริมาณเงินโอนจากแรงงานในต่างประเทศเดือนก.ย.๕๔ มีมูลค่า ๘๙๐.๔๒ ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงจาก ส.ค.๕๔ ซึ่งมีมูลค่า ๑,๓๑๐. ๔๗ ล้านดอลลาร์สหรัฐ สูงสุดในรอบ ๖ เดือนร้อยละ๔๗.๑๗ และต่ำกว่าก.ย.ปีก่อน(๙๒๒.๐๖) ร้อยละ๓.๕๕ เนื่องจากฝ่านพ้นช่วงเทศกาลปีใหม่ของขาวมุสลิม ซึ่งมีการโอนเงินให้ญาติมากกว่าปกติ

๓.๔ อัตราเงินเฟ้อเดือนก.ย.๕๔ เท่ากับ ๑๐.๕ ลดลงจากส.ค.(๑๑.๖) ก.ค.๕๔ ( ๑๒.๔)และ มิ.ย. ๕๔ (= ๑๓.๓) ส่วนอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ย๑๒เดือน ณ ก.ย.๕๔ เท่ากับ๑๓.๒ลดลงจากส.ค.(๑๓.๕) และก.ค.มิย. ๕๔ (เท่ากัน=๑๓.๗) เนื่องจากมีการปรับปีฐานการคำนวณจากปี ๒๐๐๐-๐๑ เป็น ๒๐๐๗-๐๘ ทั้งๆที่ราคาสินค้าต่างๆและค่าขนส่งสูงขึ้น

๓.๕ มูลค่าการส่งออกเดือนก.ย.๕๔ = ๑.๘๙ พันล้านดอลลาร์ ลดลงจากส.ค.๕๔ = ๒.๑๓ พันล้านดอลลาร์ และก.ค.๕๔ (= ๒.๑๒ พันล้าน) ร้อยละ ๑๒.๗ เป็นการลดลงเป็นลำดับตั้งแต่มิ.ย.๕๔ ( ๒.๖๖พันล้าน) พ.ค.๕๔( 2.26พันล้าน) และเม.ย.๕๔ (๒.๕๙ พันล้าน) แต่เพิ่มขึ้นจากก.ย..ปี ก่อน (๑.๗๘ พันล้าน) ร้อยละ๕.๘๒ สินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ ข้าว ผลไม้ สิ่งทอ เสื้อผ้าสำเร็จรูป หนังและเครื่องหนัง พรม ซีเมนต์ เคมีภัณฑ์ อัญมณี เป็นต้น โดยส่งไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา จีน อาฟกานิสถาน สหราชอาณาจักร กลุ่มสหภาพยุโรป บังกลาเทศ ตุรกี ฮ่องกง เป็นต้น

สำหรับมูลค่านำเข้า ก.ย.๕๔ = ๓.๓๘ พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงส.ค.๕๔ ซึ่งเท่ากับ ๓.๖๒ พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ร้อยละ ๗.๑ แต่เพิ่มขึ้นจากก.ค.๕๔ (= ๓.๑๕ พันล้านดอลลาร์)ร้อยละ ๖.๘ และเพิ่มขึ้นจากก.ย.ปีก่อน( = ๒.๓๘ พันล้านดอลลาร์) ร้อยละ๒๙.๕๙ สินค้านำเข้าสำคัญ เช่น เครื่องจักรทอผ้า เครื่องกำเนิดไฟฟ้า อุปกรณ์ในโทรคมนาคม เช่น มือถือ รถยนต์และชิ้นส่วนอะไหล่ น้ำมันเชื้อเพลิง น้ำมันปาล์ม น้ำตาลทราย ฝ้ายดิบ ชา เหล็ก เม็ดพลาสติก เป็นต้น โดยนำเข้าจาก สหรัฐอาหรับอิมิเรสต์ ซาอุดิอารเบีย จีน คูเวต สิงคโปร์ มาเลเซีย สหภาพยุโรป เป็นต้น

ทำให้การขาดดุลการค้าในเดือนก.ย..๕๔ ขาดดุล ๑.๔๙ พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เท่ากับส.ค. แต่เพิ่มขึ้นจาก ก.ค.๕๔ (ขาดดุล ๑.๐๓ พันล้าน)และมิ.ย.๕๔ (ขาดดุล๐.๖๙ พันล้าน) สำหรับดุลการบัญชีเดินสะพัดก.ย.๕๔ ขาดดุล ๙๐๘ ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากส.ค.(ขาดดุล๑๐๐ ล้าน)และก.ค.๕๔ (ขาดดุล ๗๕ ล้านดอลลาร์)

๓.๖ มูลค่าการลงทุนจากต่างประเทศเดือนก.ย.๕๔ มีมูลค่า ๑๗๑.๐ ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากส.ค.๕๔ ซึ่งมีเพียง ๓.๒ ล้านดอลลาร์สหรัฐเท่านั้นเป็นยอดต่ำสุดในรอบ ๑๐ ปี เป็นการลดลงเป็นลำดับ ในหลายเดือนที่ผ่านมา ก.ค.๕๔ เท่ากับ ๖๑.๙ ล้านดอลลาร์ ลดลงจากมิ.ย.๕๔ (๑๖๐.๑ ล้าน) พ.ค.๕๔ (๒๐๕.๗ ล้าน) และเม.ย. (๑๗๗.๕ล้าน) ตามลำดับ และเมื่อเทียบกับก.ย..ปีก่อนซึ่งเท่ากับ ๒๓๘.๐ ล้านดอลลาร์ ยังลดลงร้อยละ ๓๙.๑๘ เนื่องจากสถานการณ์การเมืองและการก่อการร้ายที่ไม่ดีขึ้น โดยส่วนใหญ่เป็นการลงทุนจากจีน และตะวันออกกลาง ในกลุ่มโทรคมนาคม สำรวจน้ำมันและก๊าซ การก่อสร้าง

สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ กรุงธากา บังกลาเทศ

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ