ประเมินสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและภาวะการค้า (ตุลาคม 2554)
หน่วยงาน Statistic Canada ได้ประเมินสถานการณ์ทางเศรษฐกิจแคนาดาในภาพรวมล่าสุด ดังนี้
1. Real GDP: +0.3 % ( ส.ค. 2554) จากเมื่อเดือนที่ผ่านมา
2. Unemployment Rate: 7.1 % (ก.ย. 2554) - เทียบกับ 7.2 % ในเดือนส.ค. 2554
3. Merchandise Import: +0.7 % (ส.ค. 2554) เมื่อเทียบกับ ก.ค. 2554
4. Merchandise Export: +0.5 % (ส.ค. 2554) เมื่อเทียบกับ ก.ค. 2554
5. Inflation Rate: 3.2% (ก.ย. 2554) — เทียบกับ 3.1 % ในเดือนส.ค. 2554
ความเห็นเกี่ยวกับการปรับตัวของเศรษฐกิจประเทศแคนาดา
ปัจจัยหลักที่มีผลบวกต่อเศรษฐกิจในเดือน ส.ค. 2554 (+0.3 %):
ปัจจัยบวกเป็นผลจาก : ภาคการผลิตพลังานเป็นหลัก
- ภาคพลังาน : การผลิตขยายตัว 2.8% ซึ่งขยายตัวนับเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน รวมทั้งภาคการกลั่นและเหมืองแร่ ขยายตัวตามกันไป
- ภาคการเงินและประกันภัย : เติบโต 1.4% เนื่องมาจากปริมาณการซื้อขายหุ้นที่เพิ่มมากขึ้น นักลงทุนตื่นตัวกับภาวะหนี้สินที่เกิดขึ้นสำหรับบางประเทศ
- ภาคการก่อสร้าง : ขยายตัว 0.1% ในส่วนของอาคารสำหรับที่พักอาศัยและงานวิศวกรรมการต่อเติมก่อสร้าง
- ธุรกิจขนส่งและอาคารสินค้า : ขยายตัว 1.8% เนื่องมาจากการดำเนินกิจการตามปกติ หลังจากเหตุการณ์ประท้วงของหน่วยงานไปรษณีย์ รวมทั้งปริมาณการขนส่งทางอากาศ รถไฟ ทางบก เพิ่มขึ้น
ปัจจัยลบเป็นผลจาก: ธุรกิจค้าส่ง ภาคการผลิตสินค้า ภาคธุรกิจท่องเที่ยวและบริการ
- ธุรกิจค้าส่ง: ลดลง 1.4% ในเกือบทุกประเภทสินค้า โดยเฉพาะสินค้ากลุ่มรถยนต์และอะหลั่ย
- ภาคการผลิตสินค้า : โดยรวมลดลง 0.4% โดยเฉพาะกลุ่มผลิตภัณฑ์ไม้ กระดาษ และเคมีภัณฑ์
- ภาคธุรกิจท่องเที่ยวและบริการ: ปรับตัวลดลงทั้งในส่วนการขนส่งทางอากาศ โรงแรม ที่พักอื่นๆ และธุรกิจบริการอาหาร
สินค้าส่งออกไทยไปแคนาดาที่มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้น (ม.ค.- ก.ย. 54) เมื่อพิจารณาสินค้าส่งออก 20 อันดับแรก ได้มีมูลค่าเพิ่มขึ้น 16 รายการ ได้แก่อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป(+29.70%) ยางพารา (+100.61%) เครื่องโทรสาร โทรศัพท์ อุปกรณ์และส่วน (+3,094.87%) กุ้งสดแช่เย็น แช่แข็ง (+24.10%) เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่นๆ (+30.06%) เครื่องน่งุห่ม (+12.31%) ผลไม้กระป๋องและแปรรูป (+25.35%) ผลิตภัณฑ์ยาง (+27.05%) อัญมณีและเครื่องประดับ (+22.23%) เครื่องกีฬาและเครื่องเกมส์(+35.34%) ส่วนประกอบอากาศยานและอุปกรณ์การบิน (+241.53%) รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ (+114.92%) เครื่องยนต์สันดาปแบบภายในและลูกสูบ (+60.25%) เตาอบไมโครเวฟ (+13.37%) ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูปอื่นๆ (+88.62%) เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน (+40.64%)
สินค้าส่งออกไทยไปแคนาดาที่มีอัตราขยายตัวลดลง (ม.ค.- ก.ย. 54) ตามลำดับจากมูลค่าสูงสุด (20 อันดับแรก) มีเพียง 4 รายการ ได้แก่เครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ (-28.21%) ข้าว (-8.66%) เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัฌฑ์(-3.29%) เลนซ์(-11.96%)
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครแวนคูเวอร์
ที่มา: http://www.depthai.go.th