- ประเทศแคนาดามีประชากร ประมาณ 34 ล้านคน โดยประมาณร้อยละ 75 ของประชากร อาศัยอยู่ในมณฑล Ontario มณฑล Quebec และมณฑล British Columbia
- กลุ่มผู้บริโภคข้าวเป็นหลักในแคนาดา ได้แก่กลุ่มผู้บริโภคชาวเอเชีย และชาวตะวันตกในเมืองสำคัญๆ ของประเทศ โดยกลุ่มผู้บริโภคข้าวที่ใหญ่ที่สุดในแคนาดา คือ จีน รองลงมาได้แก่ผู้บริโภคจากกลุ่มประเทศเอเชียใต้ทั้งนี้ ประเทศแคนาดามีชาวเอเชียที่โอนสัญชาติเข้ามาอาศัยในประเทศแคนาดามากขึ้นทุกปีส่งผลให้การบริโภคข้าวเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายในแคนาดามากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม การที่ผู้บริโภคชาวเอเชียนิยมอาศัยในบริเวณเขตเมืองสำคัญๆ ของประเทศ ส่งผลให้การประชาสัมพันธ์ข้าวเป็นไปได้ช้า เนื่องจากชาวแคนาดา (ชาว Caucasian) ในเมืองรอบนอกไม่มีโอกาสเรียนรู้วัฒนธรรมการบริโภคข้าวอย่างถูกต้องได้
ประเทศแคนาดามีการผลิตข้าวน้อยมาก โดยข้าวที่ผลิตได้เป็นพันธุ์ที่เรียกว่า Wild Rice (ภาพประกอบ) ซึ่งถือกันว่าเป็นอาหารชนิดพิเศษที่มีราคาแพง มีไฟเบอร์สูง และปลูกได้ในประเทศเมืองหนาวเท่านั้น ฤดูเก็บเกี่ยวข้าว Wild Rice ในแคนาดา คือเดือนสิงหาคม — กันยายนของทุกปี ทั้งนี้แคนาดาไม่มีการผลิตข้าวหอมมะลิ หรือข้าวขาวอื่นแต่อย่างใด
แคนาดานำเข้าข้าวระหว่าง ม.ค. — ส.ค. 2554 ทั้งสิ้นเป็นมูลค่า 192.627 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยแหล่งนำเข้าสำคัญได้แก่ สหรัฐฯ รองลงมาได้แก่ ไทย อินเดีย ปากีสถาน และอิตาลี ตามลำดับ
แคนาดาส่งออกข้าวระหว่าง ม.ค. — ส.ค. 2554 ทั้งสิ้นเป็นมูลค่า 3.315 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยแหล่งส่งออกที่สำคัญได้แก่ สหรัฐฯ รองลงมาได้แก่คิวบา อินเดีย สหราชอณาจักร และ สวีเดน ตามลำดับ
จากการตรวจสอบราคาค้าปลีกจากผู้ประกอบการค้าข้าวรายสำคัญในเขตแคนาดาตะวันตก สคร. ขอสรุปราคาข้าว ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2554 ในนครแวนคูเวอร์ ดังนี้
- ข้าวหอมมะลิไทย: ขนาดถุง 40 lb — ราคาประมาณ 32 เหรียญแคนาดา
- ข้าวหอมมะลิไทย: ขนาดถุง 18 lb — ราคาประมาณ 13.99 — 19.99 เหรียญแคนาดา
- ข้าวเหนียว : ขนาดถุง 2 กิโลกรัม — ราคาประมาณ 5.99 เหรียญแคนาดา
- ข้าว Indian Basmati: ขนาดถุง 10 lb — ราคา ประมาณ 9-10 เหรียญแคนาดา
- ข้าว Long Grain (White) เวียดนาม: ขนาดถุง 40 lb — ราคาประมาณ 18 เหรียญแคนาดา
ในภาพรวมนั้นไม่มีการกีดกันทั้งภาษี หรือ NTB เนื่องจากเป็นสินค้าที่ประเทศแคนาดาไม่สามารถผลิตได้ภายในประเทศ
- Consumer Packaging and Labeling Act: กฎระบียบเกี่ยวกับข้อกำหนดด้านบรรจุภัณฑ์ และป้ายสินค้า ตลอดจนภาษา และเครื่องหมายการค้าต่างๆ ที่ใช้ ผู้สนใจสามารถตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกฏระเบียบดังกล่าว ได้ที่ http://laws.justice.gc.ca/en/showdoc/cs/C-38///en?page=1
- Canadian Food and Drug Act/ Regulation: กฎระบียบเกี่ยวกับสินค้าอาหารและยา ซึ่งมีจุดประสงค์หลักในการคุ้มครองผู้บริโภคชาวแคนาดา ทั้งนี้ กฏระเบียบดังกล่าว มีการระบุค่าของสารเคมี/ สารปรุงแต่ง/ สี/ และสารกันเสียประเภทต่างๆ สำหรับสินค้านำเข้าไว้อย่างละเอียด โดยหน่วยงาน Health Canada และ CFIA จะทำการปรับค่ากำหนดของสารต่างๆ เป็นระยะๆ ผู้สนในสามารถตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกฏระเบียบดังกล่าว ได้ที่ http://laws.justice.gc.ca/en/F-27 http://laws.justice.gc.ca/en/F-27/C.R.C.-c.870
ผู้บริโภคชาวแคนาดา (Caucasian) ยังไม่คุ้นเคยกับการบริโภคข้าวมากนัก จึงต้องประชาสัมพันธ์ให้ข้าวหอมมะลิไทยเป็นที่รู้จักมากขึ้น ผู้บริโภคชาวแคนาดาไม่สามารถบอกถึงความแตกต่างระหว่างข้าวแต่ละประเภทได้ ทั้งนี้ชาวแคนาดาเริ่มให้ความสำคัญกับคุณค่าทางอาหารมากขึ้น และนิยมหันมาบริโภคข้าวเป็นอาหารหลักเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นผลดีต่อการส่งออกข้าวของไทย โดยในปัจจุบัน มีข้าวหลายประเภทวางจำหน่ายในห้างซุปเปอร์มาร์เก็ตทั่วไป อาทิ ข้าวขาว (White rice) ข้าวกล้อง (Brown rice) ข้าวหอมมะลิไทย และข้าวบาสมาติของอินเดีย ทั้งนี้ข้าวกล้องเริ่มเป็นที่นิยมในหมู่ผู้บริโภคชาวแคนาดาที่ให้ความสำคัญกับสุขภาพมากขึ้น เนื่องจากให้คุณค่าทางอาหารมากกว่าข้าวขาวทั่วไป แม้ว่าจะมีราคาที่สูงกว่าก็ตาม
สคต. แวนคูเวอร์
ที่มา: http://www.depthai.go.th