รายงานตลาดสินค้าอาหารในสเปน ตุลาคม ๒๕๕๔

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday November 10, 2011 14:15 —กรมส่งเสริมการส่งออก

๑. ภาพรวม
  • สเปนประสบปัญหาทางเศรษฐกิจต่อเนื่องเป็นปีที่สองจากปัญหาด้านการเงินการธนาคาร หนี้สินภาครัฐและปัญหาฟองสบู่แตกในภาคอสังหาริมทรัพย์ แต่อย่างไรก็ตาม การส่งออกสินค้าและบริการของสเปนโดยเฉพาะการท่องเที่ยวยังคงขยายตัวได้ดี
  • ตลาดส่งออกหลักของสเปน คือ ประเทศในสหภาพยุโรป ซึ่งมีสัดส่วนถึงร้อยละ ๖๖.๕ ตามด้วยประเทศในลาตินอเมริการ้อยละ ๕.๖ สหรัฐอเมริการ้อยละ ๔ ประเทศในกลุ่มโอเปคร้อยละ ๓.๗ รัสเซียร้อยละ ๑.๑ และญี่ปุ่นร้อยละ ๐.๘
  • ในปี ๒๕๕๓ สเปนมีมูลค่าการค้ารวม ๕๖๐,๑๒๒ ล้านเหรียญสหรัฐฯ แบ่งเป็นการส่งออก ๒๔๕,๗๒๐ ล้านเหรียญสหรัฐฯ นำเข้า ๓๑๔,๔๐๒ ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขาดดุลการค้า ๖๘,๖๘๒ ล้านเหรียญสหรัฐฯ
  • ในช่วง ๕ เดือนแรกของปีนี้ สเปนส่งออก ๑๒๒,๓๐๙ ล้านเหรียญสหรัฐฯ นำเข้า ๑๕๐,๓๖๒ ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขาดดุลการค้า ๒๘,๐๕๓ ล้านเหรียญสหรัฐฯ
  • สินค้าส่งออกหลักของสเปน ได้แก่ รถยนต์และส่วนประกอบ เครื่องจักร น้ำมันเชื้อเพลิง ผลิตภัณฑ์เวชกรรม พลาสติก เหล็กและเหล็กกล้า ผลไม้และถั่วชนิดต่างๆ และผักสด ตามลำดับ
  • สินค้านาเข้าหลักของสเปน ได้แก่ น้ามันเชื้อเพลิง รถยนต์และส่วนประกอบ เครื่องจักร เครื่องจักรไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์เวชกรรม เหล็กและเหล็กกล้า พลาสติก เคมีภัณฑ์ ตามลาดับ
๒. การส่งออก-นำเข้าสินค้าอาหารของสเปน
  • สเปนเป็นประเทศที่ส่งออกสินค้าอาหารมูลค่าสูงเป็นอันดับสามของสหภาพยุโรป รองจากฝรั่งเศสและอิตาลี โดยในปี ๒๕๕๓ ฝรั่งเศสส่งออกสินค้าอาหารมูลค่ารวม ๓๓,๙๒๗ ล้านยูโร อิตาลีส่งออก ๑๘,๕๒๕ ล้านยูโร และสเปนส่งออกมูลค่า ๑๖,๗๗๖ ล้านยูโรตามลาดับ โดยสินค้าส่งออกหลัก ได้แก่ อาหารทะเลแช่แข็งและแปรรูป ไวน์ น้ำมันมะกอก ผักและผลไม้สด เป็นต้น
  • สเปนนำเข้าสินค้าอาหารในปี ๒๕๕๓ มูลค่ารวม ๑๖,๐๑๒ ล้านยูโร โดยสินค้าอาหารที่สเปนนำเข้าหลัก ได้แก่ ถั่วเหลือง กาแฟ ชา โกโก้ น้ำตาล ผลไม้สด อาหารทะเลแปรรูป เป็นต้น
๓. ข้อมูลตลาด
  • ยอดขายปลีกสินค้าอาหารในประเทศสเปนปี ๒๕๕๓ มีมูลค่ารวม ๘๑,๓๖๙ ล้านยูโรขยายตัวร้อยละ ๐.๕๒ จากปี ๒๕๕๒ และมีสัดส่วนร้อยละ ๑๖ ของยอดขายปลีกสินค้าทั้งหมด และคิดเป็นร้อยละ ๗.๖ ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ
  • อุตสาหกรรมอาหารของสเปนประกอบด้วยบริษัทจำนวน ๓๐,๒๖๑ ราย ลดลงร้อยละ ๑.๒๗ จากปี ๒๕๕๒ จากจำนวนนี้ร้อยละ ๙๖ เป็นบริษัทขนาดกลางและเล็กซึ่งมีแรงงานน้อยกว่า ๕๐ คน มีการจ้างงาน ๔๔๕,๔๗๕ คน ลดลงร้อยละ ๓.๒๘ จากปี ๒๕๕๒ ขณะที่ในช่วงครึ่งปีแรกของปีนี้มีแรงงานตกงานในภาคอุตสาหกรรมอาหารเพิ่มขึ้นถึง ๘,๐๐๐ คนอันเป็นผลจากสภาพเศรษฐกิจ
  • สินค้าอาหารที่สเปนผลิตในประเทศแบ่งเป็น ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากเนื้อสัตว์ ร้อยละ ๒๑ เครื่องดื่มทีมีแอลกฮอล์ร้อยละ ๑๒.๖ ผลิตภัณฑ์นมร้อยละ ๑๑.๕ ซึ่งรวม ๓ รายการมีสัดส่งสูงถึงร้อยละ ๔๕.๑ นอกจากนี้สินค้าอาหารที่สเปนผลิตในประเทศยังประกอบด้วย อาหารทะเลแปรรูป อาหารสัตว์เลี้ยง น้ำมันพืช แป้งใช้ประกอบอาหาร น้ำดื่ม และเครื่องดื่มอื่นๆที่ไม่มีแอลกอฮอล์
๔. ช่องทางการจำหน่าย
  • ชาวสเปนซื้อสินค้าอาหารผ่านธุรกิจค้าปลีก ๓ ช่องทางหลัก ได้แก่ ซุปเปอร์มาเก็ตร้อยละ ๔๖.๒ ร้านค้าย่อยร้อยละ ๒๖ และ ไฮเปอร์มาเก็ตร้อยละ ๑๘ และช่องทางอื่นๆร้อยละ ๙.๙
  • ธุรกิจค้าปลีกส่วนใหญ่จัดซื้อสินค้าผ่านผู้ผลิตหรือผู้ค้าส่งในสเปนและสหภาพยุโรป ยกเว้นซุปเปอร์มาเก็ตขนาดใหญ่ เช่น Carrefour, Alcompo, El Corte Ingles ซึ่งจะนำเข้าตรงจากประเทศนอกสหภาพยุโรป
๕. ผู้บริโภคชาวสเปน
  • ชาวสเปนให้ความสำคัญต่อความสดของอาหารที่ตนเองบริโภค แต่เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจชาวสเปนจึงหันมาบริโภคอาหารแช่แข็งและอาหารกระป๋องมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้ตลาดสินค้าอาหารแปรรูปแช่เย็นแช่แข็งมียอดขายสูงขึ้น
  • ชาวสเปนบริโภคอาหารแยกเป็นสัดส่วนได้ดังนี้ เนื้อสัตว์แช่เย็นแช่แข็งร้อยละ ๒๓ ปลาชนิดต่างๆร้อยละ ๑๓ ผักและผลไม้สดร้อยละ ๙ มันฝรั่งร้อยละ ๑๑ ขนมปังร้อยละ ๗ และน้ำผลไม้ร้อยละ ๑๐ ผลิตภัณฑ์นมร้อยละ ๘ อาหารสำเร็จรูปร้อยละ ๓ และน้ำมันมะกอกร้อยละ ๑ นอกจากนี้ชาวสเปนนิยมบริโภคไข่ไก่ถึงคนละ ๑๗๑ กิโลกรัมต่อปี
  • ชาวสเปนนิยมบริโภคอาหารนอกบ้าน โดยนิยมอาหารสเปนร้อยละ ๖๐ อาหารอิตาเลี่ยนร้อยละ ๑๒ อาหารจีนร้อยละ ๗ แลอาหารญี่ปุ่นร้อยละ ๕ ขณะที่อาหารไทยยังเป็นที่รู้จักค่อนข้างน้อย โดยปัจจุบันมีร้านอาหารไทยในกรุงมาดริดเพียง ๕ ร้าน และ ๒๐ ร้านทั่วประเทศ
๖. สถิติการส่งออกสินค้าอาหารไทยไปยังสเปน

สินค้าอาหารที่ไทยส่งออกมายังสเปนประกอบด้วยสินค้าหลัก ๖ รายการ คือ กุ้งแช่แข็ง ผลไม้แปรรูป ปลากระป๋อง ข้าว อาหารทะเลแปรรูป และน้าผลไม้ ตามลาดับ โดยในปี ๒๕๕๓ สินค้าทั้ง ๖ รายการมียอดส่งออกรวม ๑๕๑.๗ ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปี ๒๕๕๒ ร้อยละ ๓๖.๔ ขณะที่ในช่วง ๘ เดือนแรกของปีนี้ สินค้าทั้ง ๖ รายการมีมูลค่าการส่งออก ๘๗.๔ ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยสินค้าที่ยังขยายตัวได้ดี ได้แก่ อาหารทะเลแปรรูป ผลไม้แปรรูป และปลากระป๋อง รายละเอียดในตาราง ๑

๗. มาตรการด้านการนำเข้าด้านภาษีและมิใช่ภาษี

มาตรการภาษี- ภาษีนำเข้าสินค้าอาหารของสเปนภายใต้สหภาพยุโรป เฉลี่ยร้อยละ ๐ เช่น ตับห่าน น้าดื่มบรรจุขวด ถึงร้อยละ ๒๔ เช่น ปลาทูน่ากระป๋อง ทั้งนี้แล้วแต่ประเภทสินค้า โดยสินค้าบางรายการได้ลดหย่อนภาษีภายใต้โครงการ

GSP และมีการกำหนดโควตาการนาเข้าในสินค้าบางรายการ เช่น ข้าว และมันสำปะหลัง เป็นต้น - ภาษีการค้า (VAT) เฉลี่ยร้อยละ ๑๘ ยกเว้นสินค้าอาหารบางประเภท เช่น ผักและผลไม้สดร้อยละ ๔ อาหารแปรรูปร้อยละ ๘ และเครื่องดื่มที่มีแอลกฮอล์ร้อยละ ๑๘

มาตรการที่มิใช่ภาษี - สเปนนับเป็นประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปที่มีความเข้มงวดด้านการนำเข้าสินค้าอาหารในระดับสูง สินค้าอาหารที่นำเข้าต้องผ่านการตรวจอย่างเข้มงวดและจะต้องมีเอกสารรับรองอย่างถูกต้อง ทั้งในด้านคุณภาพ สุขอนามัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าที่มีส่วนประกอบของเนื้อสัตว์ที่ผลิตสาหรับมนุษย์ ภายใต้ระเบียบทั้งของสเปนเองและระเบียบของสหภาพยุโรป

๘. SWOT ANALYSIS

Strengths - สินค้าอาหารไทยเป็นที่ยอมรับในด้านคุณภาพ และมีบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสม

  • ผู้ส่งออกไทยได้รับการยอมรับในด้านความน่าเชื่อถือ
  • มีสินค้าหลากหลาย

Weaknesses - ชาวสเปนยังคงรู้จักสินค้าอาหารจากไทยน้อยเนื่องจากมีสินค้าแบรนด์ไทยวางขายในธุรกิจค้าปลีกน้อย

  • ราคาค่อนข้างแพงเทื่อเทียบกับคู่แข่ง
  • ค่าขนส่งสูงโดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าผักและผลไม้สดซึ่งต้องส่งทางอากาศ

Opportunities - ชาวสเปนซึ่งแต่เดิมมีลักษณะนิสัยค่อนข้างอนุรักษ์นิยมได้เริ่มเปลี่ยนทัศนคติต่อการบริโภคสินค้าและบริการแปลก

ใหม่มากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นโอกาสของอาหารไทย

  • ธุรกิจค้าปลีกรายใหญ่ของสเปนเริ่มให้ความสนใจในการกิจกรรมส่งเสริมการขายสินค้าอาหารต่างชาติมากยิ่งขึ้น
  • ธุรกิจด้านอาหารยังคงไปได้ดีในสภาพเศรษฐกิจปัจจุบัน ส่งผลให้การลงทุนในด้านธุรกิจอาหารยังคงขยายตัว

ต่อเนื่อง

Threats - การแข่งขันสูงโดยเฉพาะอย่างยิ่งตลาดค้าปลีกสินค้าอาหาร

  • มาตราการด้านการนำเข้าโดยเฉพาะอย่างยิ่งมาตรการที่มิใช่ภาษี
  • สภาพเศรษฐกิจสเปนยังไม่มีแนวโน้มที่จะฟื้นตัวในระยะใกล้

สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ กรุงมาดริด

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ