ระหว่างเดือนมกราคมถึงสิงหาคม 2554 ออสเตรเลียนำเข้าจากทั่วโลกมูลค่า 151.19 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.87 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันกับปีที่ผ่านมา โดยนำเข้าจากประเทศไทยเป็นลำดับที่ 6 นำเข้าลดลงร้อยละ 10.50 คิดเป็นมูลค่านำเข้า 6.12 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ มีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 4.05 เป็นรองจากจีน (17.98%) สหรัฐฯ (11.11%) ญี่ปุ่น (8.21%) ตามลำดับ
ระหว่างเดือนมกราคมถึงสิงหาคม 2554 สินค้านำเข้าสำคัญจากไทย ได้แก่
- สินค้าในหมวดยานยนต์ คิดเป็นมูลค่ารวมกว่า 2,257.14 ล้านเหรียญฯ หรือร้อยละ 36.90 ของมูลค่าการนำเข้าทั้งหมดจากไทย ลดลงจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 11.72
- อันดับสองได้แก่ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ (พิกัด 84) ซึ่งสินค้าสำคัญในหมวดนี้ ได้แก่ เครื่องปรับอากาศ อุปกรณ์เครื่องกรองฯ (centrifuge) คอมพิวเตอร์ และชิ้นส่วนมี มูลค่านำเข้า 762.24 ล้านเหรียญฯ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 12.50 ของการนำเข้าจากไทยทั้งหมดโดยลดลงจากระยะเวลาเดียวกันในปี 2553 ร้อยละ 29.61 โดยเป็นการลดลงของการนำเข้าเครื่องกรองร้อยละ 95.40
- อันดับสามได้แก่ อัญมณี (หินและโลหะมีค่า) มีมูลค่านำเข้าในหมวดนี้ 628.92 ล้านเหรียญฯ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 10.30 ของการนำเข้าจากไทยทั้งหมด ลดลงจากระยะเวลาเดียวกัน ในปี 2553 ถึงร้อยละ 44.14 โดยเป็นการลดลงของการนำเข้าทองคำร้อยละ 51.80 และเครื่องประดับที่ทำจากทองและเงินร้อยละ 80.26 แต่การนำเข้าอัญมณีพร้อมโลหะมีค่าและเครื่องประดับเทียมมีมูลค่าเพิ่มขึ้น ร้อยละ 21.36 และ 160.73 ตามลำดับ
- เครื่องจักร ไฟฟ้าและส่วนประกอบ (พิกัด 85) ออสเตรเลียนำเข้าจากไทยเป็นมูลค่า 323.64 ล้านเหรียญฯ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 5.29 ของการนำเข้าจากไทยทั้งหมด ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.05 เทียบกับปีที่ผ่านมา โดยเป็นการนำเข้าเครื่องรับโทรทัศน์และวิทยุกระจายเสียงเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 128.56
- กลุ่มอาหาร มีหมวดผลิตภัณฑ์ปลา/อาหารทะเลแปรรูป (พิกัด 16) ข้าว (พิกัด 10) และอาหารทะเล (พิกัด 03) เป็นสินค้านำเข้าสำคัญ โดยการนำเข้าผลิตภัณฑ์ปลา/อาหารทะเลแปรรูป มีมูลค่า 196.15 ล้านเหรียญฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 21.71 นำเข้าข้าวเป็นมูลค่า 52.27 ล้านเหรียญฯ ลดลงร้อยละ 15.14 และอาหารทะเลประเภทกุ้ง ปู นำเข้าเป็นมูลค่า 32.22 ล้านเหรียญฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.89 โดยการนำเข้ากุ้งแช่แข็ง มีมูลค่า 17.71 ล้านเหรียญฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.95 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว
ระหว่างเดือนมกราคมถึงสิงหาคม 2554 ไทยเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับ 8 คิดเป็นมูลค่า 4,949.72 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือเท่ากับร้อยละ 2.82 ของการส่งออกทั้งหมดของออสเตรเลียไปยังตลาดโลก (มูลค่า 175,550.62 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 44.06 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา โดยตลาดส่งออกหลักของออสเตรเลียยังคงเป็นจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย สหรัฐฯ ไต้หวัน และ นิวซีแลนด์ ตามลำดับ
สินค้าส่งออกหลักของออสเตรเลีย (ประมาณร้อยละ 60 ของการส่งออกทั้งหมด) ได้แก่ แร่ธาตุและเชื้อเพลิง อาทิ ถ่านหิน แร่เหล็ก ทองคำ น้ำมันและแก๊ส อลูมิเนียม แร่ทองแดง เป็นต้น
ในส่วนของสินค้าที่ส่งออกไปไทยส่วนใหญ่จะอยู่ในหมวดอัญมณี (38.25%) เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันในปี 2553 ถึงร้อยละ 70.78 และแร่ธาตุและเชื้อเพลิง ได้แก่ น้ำมันดิบ (23.70%) เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.94 อลูมิเนียม (6.78%) ทองแดง (3.76%) ซึ่งเป็นการปรับตัวสูงขึ้นถึงร้อยละ 163.61 จากช่วงเวลา เดียวกันของปีที่แล้ว ตามด้วยเหล็กและเหล็กกล้า (3.76%) ส่งออกขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 113.06 ฝ้ายและเส้นใย (สัดส่วน 3.71%) ธัญพืช (3.45%) เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 85.62 และสินค้าประเภทยา (2.97%) ตามลำดับ
ระหว่างเดือนมกราคมถึงสิงหาคม 2554 ออสเตรเลียมีดุลการค้าเกินดุลกับทั่วโลก คิดเป็นมูลค่า 24.36 พันล้านเหรียญฯ โดยออสเตรเลียได้ดุลการค้ากับญี่ปุ่นกว่า 22.41 พันล้านเหรียญฯ จีนกว่า 19.38 พันล้านเหรียญฯ เกาหลีใต้ 10.92 พันล้านเหรียญฯ อินเดีย 9.15 พันล้านเหรียญฯ ไต้หวัน 4.37 พันล้านเหรียญฯ และฮ่องกง 1.30พันล้านเหรียญฯ
ในขณะเดียวกัน ประเทศที่ออสเตรเลียขาดดุลการค้าด้วยมากที่สุด ได้แก่ สหรัฐฯ 10.13 พันล้านเหรียญฯ เยอรมัน 5.66 พันล้านเหรียญฯ สิงคโปร์ 5.40 พันล้านเหรียญฯ มาเลเซีย 2.78 พันล้านเหรียญฯ และไทย 1.17 พันล้านเหรียญฯ โดยไทยได้ดุลการค้าลดลงจากปี 2553 ร้อยละ 65.57
5. ประเทศคู่แข่งสำคัญของไทย
(1) หมวดสินค้าอุตสาหกรรม
- ยานยนต์ ในหมวดนี้โดยรวม ออสเตรเลียนำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 2 โดยมีประเทศญี่ปุ่นเป็นอันดับ 1 และเยอรมันเป็นอันดับ 3 ระหว่างเดือนมกราคมถึงสิงหาคม 2554 ออสเตรเลียนำเข้า สินค้า ยานยนต์คิดเป็นมูลค่า 16.67 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ นำเข้าเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 4.60 คู่แข่งสำคัญของไทย ได้แก่ ญี่ปุ่น เยอรมนี สหรัฐฯ และเกาหลีใต้
ทั้งนี้ หมวดสินค้ารถบรรทุกปิกอัพ (HS 8704) ออสเตรเลียนำเข้าจากไทยเป็นลำดับที่ 1 มีมูลค่าการนำเข้า 1.68 พันล้านเหรียญฯ ลดลงร้อยละ 4 จากปีที่ผ่านมา มีสัดส่วนตลาดที่ร้อยละ 41.10 นำเข้าจากสหรัฐฯอันดับสองมูลค่า 938.86 ล้านเหรียญฯ โดยมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 87.12 และญี่ปุ่นอันดับสามมูลค่า 641.83 ลดลงร้อยละ 26.12
ในขณะที่หมวดสินค้ารถยนต์ส่วนบุคคล (HS 8703) ออสเตรเลียนำเข้ามูลค่าทั้งสิ้น 9.40 พันล้านเหรียญฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.43 แหล่งนำเข้าหลักได้แก่ ญี่ปุ่น (3.72 พันล้านเหรียญฯ) เยอรมนี (1.73 พันล้านเหรียญฯ) เกาหลีใต้ (1.31 พันล้านเหรียญฯ) นำเข้าจากไทยเป็นลำดับที่ 6 เป็นมูลค่า 422.57 ล้านเหรียญฯ ลดลงถึงร้อยละ 37.33 จากปีที่ผ่านมา มีสัดส่วนตลาดที่ร้อยละ 4.50
- เครื่องปรับอากาศ (HS 8415) ระหว่างเดือนมกราคมถึงสิงหาคม 2554 ออสเตรเลียนำเข้า สินค้านี้ทั้งสิ้น 564.85 ล้านเหรียญสหรัฐฯ นำเข้าลดลงร้อยละ 1.01 จากปีที่แล้ว ประเทศคู่แข่ง ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ และมาเลเซีย โดยออสเตรเลียนำเข้าจากไทยเป็นลำดับที่ 1 คิดเป็นมูลค่า 233.87 ล้านเหรียญฯ ลดลงร้อยละ 2.62 จากปีที่ผ่านมา มีสัดส่วนตลาดร้อยละ 41.40 โดยการนำเข้าจากจีนซึ่งเป็นคู่แข่งสำคัญหดตัวลงเช่นกันที่ร้อยละ 20.70 ในขณะที่ญี่ปุ่นขยายตัวร้อยละ 15.03 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา
- ชิ้นส่วนยานยนต์ (HS 8708) ระหว่างเดือนมกราคมถึงสิงหาคม 2554 ออสเตรเลียนำเข้า สินค้านี้ทั้งสิ้น 1.66 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ นำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.75 จากช่วงเดียวกันปีที่แล้ว โดยประเทศคู่แข่งสำคัญของไทย ได้แก่ สหรัฐฯ ญี่ปุ่น จีน เกาหลีใต้ เยอรมนี สวีเดน ฝรั่งเศส เม็กซิโก และไต้หวัน โดยออสเตรเลียนำเข้าจากไทยเป็นลำดับที่ 6 มีสัดส่วนตลาดอยู่ที่ร้อยละ 7.03 มูลค่า 116.91 ล้านเหรียญฯ เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วร้อยละ 13.55
- อัญมณีทำด้วยโลหะมีค่า (HS 7113) ระหว่างเดือนมกราคมถึงสิงหาคม 2554 ออสเตรเลียนำเข้าทั้งสิ้น 466.369 ล้านเหรียญฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.29 โดยนำเข้าจากไทยอันดับแรก มูลค่า 128.18 ล้านเหรียญฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.36 จีนมูลค่า 64.19 ล้านเหรียญฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 39.33 และอินเดียมูลค่า 67.74 ล้านเหรียญฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.97
Source of Data: Australian Bureau of Statistics
(2) หมวดสินค้าเกษตรและเกษตรอุตสาหกรรม
- เนื้อปลาที่ผ่านการแปรรูปแล้ว (HS : 1604) ระหว่างเดือนมกราคมถึงสิงหาคม 2554 ออสเตรเลียนำเข้าสินค้านี้ทั้งสิ้น 270.15 ล้านเหรียญสหรัฐฯ นำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 21 จากปีที่แล้ว ไทยเป็นผู้ครองตลาดอันดับหนึ่ง รวมเป็นมูลค่า 160.23ล้านเหรียญฯ นำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 28.59 จากปีที่แล้ว มีสัดส่วนตลาดร้อยละ 59.31 คู่แข่งที่สำคัญของไทยได้แก่ สหรัฐฯ นิวซีแลนด์ มาเลเซีย และจีน เป็นต้น
- ข้าวสาร (HS 1006) ระหว่างเดือนมกราคมถึงสิงหาคม 2554 ออสเตรเลียนำเข้า จากไทยเป็นอันดับหนึ่ง มูลค่า 56.27 ล้านเหรียญฯ ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 15.14 มีสัดส่วนตลาดร้อยละ 55.41 ตามด้วย อินเดีย ปากีสถาน สหรัฐอเมริกา และเวียดนาม
- กุ้งสดแช่เย็น/แช่แข็ง (HS 030613) ระหว่างเดือนมกราคมถึงสิงหาคม 2554 ออสเตรเลียนำเข้ากุ้งทั้งหมดคิดเป็นมูลค่า 85.30 ล้านเหรียญฯ เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วร้อยละ 19.23 โดยนำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 3 มูลค่า 17.71 ล้านเหรียญฯ เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 4.95 นำเข้าจากจีนเป็นอันดับ 1 เป็นมูลค่า 25.98 ล้านเหรียญฯ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 6.9 อันดับ 2 ได้แก่ มาเลเซีย เป็นมูลค่า 17.96 ล้านเหรียญฯ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาถึงร้อยละ 72.45 ตามด้วยเวียดนามเป็นอันดับที่ 4 ที่มูลค่า 14.29 ล้านเหรียญฯ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ร้อยละ 38.14
- กุ้งสุก/ปรุงแต่ง (HS 160520) ออสเตรเลียมีการนำเข้ามูลค่า 75.90 ล้านเหรียญฯ เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วร้อยละ 3.22 โดยนำเข้ามากที่สุดจากเวียดนามมูลค่า 29.20 ล้านเหรียญฯ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 0.64 อันดับ 2 จากไทยมูลค่า 27.90 ล้านเหรียญฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.9 อันดับ 3 จากจีน มูลค่า 15.91 ล้านเหรียญฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.41
สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ นครซิดนีย์
ที่มา: http://www.depthai.go.th