ในปี 2010 อุตสาหกรรมอัญมณีในออสเตรเลีย มีดุลการค้า 6.5 พันล้านเหรียญสหรัฐเพิ่มขึ้น 51% จากปีที่ผ่านมา (สถิติปี 2010) โดยมีมูลค่าการส่งออกทั้งสิ้น 14.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ สินค้าการส่งออกสูงสุด ได้แก่ ทอง (สัดส่วน 88.8% จากมูลค่าการส่งออกทั้งหมดของ สินค้ากลุ่มอัญมณี) เหรียญกษาปณ์ (3.6%) และเงิน (1.4%) มีการนำเข้ารวมมูลค่า 8.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ สินค้านำเข้าสูงสุด ได้แก่ ทอง (สัดส่วน 78% จากมูลค่าการนำเข้าสินค้ากลุ่มอัญมณีทั้งหมด) เครื่องเพชรพลอยที่ทำด้วยโลหะมีค่า (9%) และ เพชร (4.8%)
ในช่วงเดือน ม.ค.-ส.ค. ปี 2011 ออสเตรเลียมีการส่งออกเพิ่มขึ้น 19.5% จากช่วงเดียวกันของปี 2010 รวมเป็นมูลค่ากว่า 11.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ สินค้าที่ส่งออกอันดับแรก ได้แก่ ทอง มูลค่า 9.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ (สัดส่วน 88.1% จากมูลค่าการส่งออกทั้งหมดของสินค้ากลุ่มอัญมณี) รองลงไปได้แก่ เหรียญกษาปณ์ (4.7%) และเครื่องเพชรพลอยที่ทำด้วยโลหะมีค่า (1.6%) ขณะที่การนำเข้าโดยรวมเพิ่มขึ้น 14.11% มีมูลค่า 6 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยมีการนำเข้าทองลดลง 8.3% มีมูลค่า 3.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนอัญมณีประเภทเงินถูกนำเข้าเพิ่มมากขึ้นเป็นมูลค่าถึง 948 ล้านเหรียญสหรัฐโดยเพิ่มขึ้นถึง 1,730% จากปี 2010 ซึ่งนำเข้ามูลค่า 52 ล้านเหรียญสหรัฐ สินค้านำเข้าอันดับสามคือ เครื่องพลอยทำด้วยโลหะ มีมูลค่า 466 ล้านเหรียญสหรัฐ
สำหรับการส่งออกสินค้าอัญมณีไปไทยมีแนวโน้มที่สูงขึ้น โดยสินค้าอัญมณีเป็นสินค้าที่ออสเตรเลียส่งออกไปไทยในอันดับต้นๆ มาโดยตลอด ในช่วงเดือน ม.ค. — ส.ค. ปี 2011 การส่งออกอัญมณีไปไทยมีมูลค่า 1.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มมากถึง 70.78% จากปีที่ผ่านมา สินค้าที่ส่งออกไปไทยมากที่สุด คือ ทอง โดยคิดเป็น 99.7% ของสินค้าส่งออกไปไทยทั้งหมด รองลงมา ได้แก่ เงิน (0.3%) และเครื่องเพชรพลอยทำด้วยโลหะมีค่า (0.3%)
การนำเข้าสินค้าอัญมณีจากไทยในเดือน ม.ค. — ส.ค. ปี 2011 ลงถึงจากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2010 ถึง 44% มูลค่านำเข้า 628.9 ล้านเหรียญสหรัฐ สินค้านำเข้าจากไทยมากที่สุดคือ ทอง (สัดส่วน 77.7% จากมูลค่าสินค้าอัญมณีนำเข้าจากไทยทั้งหมด) มีมูลค่าการนำเข้า 489 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงจากปี 2010 มากถึง 51.8% สินค้านำเข้าจากไทย ถัดมาได้แก่ เครื่องเพชรพลอยทำด้วยโลหะมีค่า มูลค่า 128 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 21%
ออสเตรเลียมีโรงงานผลิตเครื่องประดับใหญ่ๆ 3 โรงงาน ได้แก่
1. Michael Hill International Limited
เป็นร้านค้าปลีกและผู้ผลิตเครื่องประดับรายใหญ่ ซึ่งมีร้านทั้งในออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ แคนาดา และสหรัฐอเมริกา รวมทั้งหมด 240 ร้าน และจำนวนร้านในออสเตรเลีย ทั้งหมด 146 ร้าน โดยผลประกอบการครึ่งปี 2011 บริษัทมียอดขายสูงขึ้น 10.3% กว่าปีที่ผ่านมา โดยมียอดขายทั้งกลุ่มรวมเป็นมูลค่า 372,943 ล้านเหรียญออสเตรเลีย (ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่www.michaelhill.com.au)
2. Gold Corporation
เป็นบริษัทที่ตั้งขึ้นโดยรัฐบาลของรัฐเวสเทอร์นออสเตรเลีย โดยจัดตั้งขึ้นเพื่อบริหารธุรกิจ The Perth Mint เพื่อซื้อขายทองคำ พลาตินั่ม และเงินที่นำมาทำเครื่องประดับต่างๆ หรือเพื่อลงทุน เหรียญกษาปณ์ รวมถึงจำหน่ายเครื่องประดับที่ทำจากแร่ธาตุเหล่านี้ เช่นสร้อยคอ สร้อยข้อมือ โดยไม่มีการประดับอัญมณี
3. Johnson Matthey Holdings Ltd
เป็นบริษัทลงทุนจากต่างประเทศ สินค้าหลักคือ Basic Non-Ferrous Metal หรือโลหะมีค่า เช่น ทองคำ พลาตินั่ม เป็นต้น
นอกจากนี้ยังมีผู้ผลิตซึ่งผลิตเครื่องประดับจากอัญมณีมีค่าในประเทศ เช่น จากไข่มุกทะเลใต้ (Parspaley, Autora) จากโอปอล โดยมีศูนย์กลางที่ Lightning Ridge นอกนั้นจะเป็นโรงงานผลิต ขนาดกลางและเล็ก ประมาณ 750 โรงงานทั่วประเทศ นอกจากนั้นร้านค้าปลีกหลายแห่งจะมีการผลิต ภายในร้านตนเอง เช่น ใช้ช่างผลิตเพียง 2-3 คน ซึ่งได้รับค่าจ้างตามชิ้นงานที่ตนผลิต
ประเภทของร้านค้าปลีกรายย่อย / รายใหญ่ มีดังนี้
ประเภทร้านค้าปลีก ชนิดสินค้าที่ขาย ตัวอย่าง 1. Discount Stores ขายสินค้าราคาถูก ราคาส่วนใหญ่จะไม่เกิน $ AUS 100 (ส่วนใหญ่เป็นของเทียม) BIG W, K MART, TARGET 2. Discount Jewellery Stores ขายสินค้าราคาถูก Kleins 3. Department Stores สินค้าราคาถูก ถึงปานกลาง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสินค้าของเทียม Myers, David Jones 4. Jewellery Chain Stores สินค้าระดับกลาง ถึง สูง Angus & Coote, Goldmark และ Prouds 5. Independent Jewellery Stores สินค้าระดับกลาง ถึงสูง JR Farren Price 6. Boutique Jewellery Specialists สินค้าระดับสูง (ส่วนใหญ่ จะเป็นการออกแบบและผลิตเอง) House of Cerrone,
Tiffany & Co., Parspaley Mark & Maker
ผู้ค้าปลีกรายใหญ่ ส่วนใหญ่จะมีการซื้อผ่านเอเจนต์ หรือผู้นำเข้า ซึ่งผู้นำเข้าที่สำคัญใน ออสเตรเลีย ได้แก่ Angus & Coote (Holdings) Ltd และ Michael Hill Intl’ Ltd
การ Mark up สำหรับสินค้าอัญมณี
- ราคาขายปลีกในตลาดออสเตรเลียค่อนข้างสูง เนื่องจากการ mark up ในแต่ละระดับของ ช่องทาง การจัดจำหน่าย
- ราคาขายปลีกโดยเฉลี่ยในออสเตรเลียจึงมีราคาสูงกว่าในสหรัฐอเมริกา
- เนื่องจากเป็นตลาดที่มีการแข่งขันสูง ผู้นำเข้าพยายามที่จะหาสินค้าราคาต่ำ
- ผู้ค้าปลีกจำนวนไม่น้อยที่ประสงค์จะนำเข้าโดยตรง เพื่อลดต้นทุนจากการซื้อผ่านผู้ค้าส่ง แต่ยังคง มีข้อจำกัด เนื่องจาก ผู้ค้าปลีก
- ปกติมักจะมีปริมาณการสั่งซื้อที่น้อย
ภายใต้ข้อตกลงการค้าเสรีไทย — ออสเตรเลีย (TAFTA) สินค้าประเภทอัญมณีทุกราย การที่นำเข้าจากไทย จะไม่ต้องเสียภาษีนำเข้าตั้งแต่ วันที่ 1 มกราคม 2548
HS CODE ประเภทสินค้า อัตราภาษีทั่วไป อัตราภาษีสำหรับสินค้าประเทศไทย
(ตั้งแต่ 1 มกราคม 2548)
7113 เครื่องเพชรพลอย และรูปพรรณ และส่วนประกอบ 5% Free 7114 เครื่องทอง เครื่องเงิน หรือส่วนประกอบดังกล่าว 5% Free 7115 โลหะมีค่าต่างๆ (เช่น แพททินัม) 5% Free 7116 ของประดับทำด้วยไข่มุกธรรมชาติ หรือไข่มุกเลี้ยง 5% Free 7117 เครื่องเพชรพลอย และรูปพรรณที่เป็นของเทียม 5% Free เงื่อนไขการนำเข้า
กระทรวงสาธารณะสุขของออสเตรเลียไม่มีการออกกฎ/ระเบียบสำหรับการนำเข้าสินค้า ประเภทอัญมณี/ เครื่องประดับ ยกเว้นสินค้าที่สามารถติดเชื้อได้ (เช่น Rheumatic bracelets) รัฐบาลออสเตรเลียมีการควบคุมการนำเข้าสินค้าที่ทำจากส่วนต่างๆของพืชและสัตว์ (เช่น กระดูก, เขา/งา หรือฟัน เป็นต้น) โดยสินค้าเหล่านี้ จะต้องผ่านการตรวจสอบจาก Australian Quarantine Inspection Service (AQIS) ก่อนอนุญาตินำเข้า ทั้งนี้เงื่อนไขการนำเข้าโดยทั่วไป ได้แก่
1. การบรรจุสินค้า และภาหนะที่ใช้ขนส่ง ต้องสะอาดและบรรจุอย่างดีปราศจาก เมล็ดพืช, เศษดิน ทราย และแมลงทุกชนิด
2. สินค้าทุกชนิดต้องผ่านการตรวจสอบ ว่าปราศจากสารปนเปื้อนหรือสิ่งที่อาจ ก่อให้เกิดการติดเชื้อ เมื่อถึงออสเตรเลีย ก่อนนำออกสู่ตลาด ถ้าตรวจพบสารปนเปื้อน หรือสิ่งที่อาจก่อให้เกืดการติดเชื้อ สินค้าดังกล่าวจะถูกค่าเชื้อด้วยวิธีของ AQIS
3. บรรจุภัณท์ที่มีการชำรุด เสียหาย จะต้องมีการซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ ก่อนผ่านการตรวจสอบ
4. สินค้าที่มีมูลค่าสูง จะถูกตรวจสอบ ที่ พิพิทธภัณท์ โดยผู้เชี่ยวชาญ
5. ประเภทบรรจุภัณท์ หากเป็นไม้ จะต้องผ่านการตรวจ ประเภทผลิตภัณท์นั้นๆ ซึ่งการส่งออกครั้งต่อๆไป ไม่จำเป็นต้องขออนุญาติใหม่ อย่างไรก็ตาม ยังคงมีการตรวจสอบสภาพบรรจุภัณท์ทุกครั้งที่นำเข้า
สินค้าที่ไม่อนุญาติให้นำเข้า:
- เครื่องประดับที่ทำจากงาช้าง (ยกเว้น สินค้าจากฮ่องกง ซึ่งจัดอยู่ในประเภท ของเก่า หายาก สินค้าดังกล่าวจะต้องมีเอกสาร Certificate to Export จากรัฐบาลฮ่องกง และ Certificate to Import จากรัฐบาลออสเตรเลีย)
- สินค้าที่ผลิตจากสัตว์สงวน (เช่น กระดอกเต่า หนังงู และหนังจรเข้ เป็นต้น) แต่อาจมีสินค้าบางชนิดที่แม้ว่าไม่ได้ผลิตจากสัตว์สงวน แต่ยังต้องขออนุญาตินำเข้า (เช่นสินค้าที่ทำจากกระดูก/ ฟัน สัตว์) สินค้าดังกล่าวจะต้องผ่านการตรวจสอบ จาก Australian Custom Service และ The National Parks and Wildlife
ชาวออสเตรเลียส่วนใหญ่ จะนิยมแฟชั่นอัญมณีตาม ตลาดอเมริกา และยุโรป โดยคำนึงถึง
- รูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์ คุณภาพของอัญมณี และอนามัยในการสวมใส่ (เช่น ห่วง ที่ติดกับตุ้มหู ควรจะเป็นทอง หรือ เงินแท้ เป็นต้น)
- ฤดูในการสวมใส่ ในฤดูร้อนจะนิยมเครื่องประดับที่สวมใส่สบาย ไม่ระคายเคืองต่อผิว และดูแลรักษาง่าย
- เน้นที่คุณภาพ และความปราณีตในการผลิตเป็นหลัก
- การออกแบบ ขณะนี้แนวโน้มที่ได้รับความนิยมอย่างสูง ได้แก่ เครื่องประดับที่ดีไซน์ที่แปลกตา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแนวของยี่ห้อ Pandora ซึ่งเป็นแบรนด์จากเดนมาร์ค มีโรงงานผลิตในไทย เครื่องประดับส่วนใหญ่ในออสเตรเลียขณะนี้จะดีไซน์เลียนแบบหรือใกล้เคียงกับยี่ห้อนี้ http://www.pandora-jewelry.com
- การผกผันของราคาทองคำทำให้ผู้บริโภคหันไปสนใจอัญมณีประเภทต่างๆ เช่น Sterling silver หรือ พลาตืนั่ม
สินค้าที่สำคัญ ได้แก่
1. Costume jewellery
- ลูกค้าที่ซื้อสินค้าประเภทนี้ จะเน้นราคาถูก ความหลากหลายในรูปแบบ และนิยม สินค้าตามแฟชั่น ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มวัยรุ่น ภายในปี 2014 ยอดขายสินค้าประเภทนี้มีแนวโน้มที่เพิ่มสูงถึง 174 ล้านเหรียญออสเตรเลีย จาก 160 ล้านเหรียญในปี 2009
2. Sterling silver / 9 carat gold
- สินค้าประเภทนี้ เป็นที่นิยมมากในออสเตรเลีย โดยส่วนมากจะเป็นเครื่องประดับ ในรูปแบบแหวน, ตุ้มหู (Stud, chain และ Sleeper), สร้อยคอ และกำไรข้อมือ ในปี 2010 ผู้ค้ากว่า 87% จากทั้งหมดในออสเตรเลียกล่าวว่า ยอดขายและความนิยมของสินค้าประเภทนี้เพิ่มมากขึ้น และเป็นที่นิยมมากในขณะนี้คือ Blackened sterling silver jewellery
3. 18 carat gold
เป็นที่นิยมในรูปแบบของแหวนแต่งงาน (ทอง 18กะหรัต กับหัวแหวนเพชร) หรือ เครื่องประดับมีค่าแก่การสะสม ซึ่งกลุ่มเป้าหมายจะเป็นผู้ที่มีรายได้ปานกลาง — สูง เน้นสินค้าที่มีความปราณีต และคุณภาพที่ดี
4. Diamond
จะนิยมเครื่องประดับเพชรที่เป็นเซท (แหวน สร้อยคอ และตุ้มหู) เพื่อเป็นของขวัญในโอกาสพิเศษต่างๆ (เช่น วันเกิด วันครบรอบแต่งงาน เป็นต้น) โดยขนาดเพชรที่นิยม คือ 1/2 ถึง 1 กะหรัต
5. Pearl
นิยม ไข่มุกธรรมชาติ คุณภาพที่ดี สีขาว ทรงกลม เพราะเป็นรูปทรงที่หาได้ยาก
- JAA International Jewellery Fair
ประมาณเดือน สิงหาคม ในแต่ละปี
Organiser: Expertise Events Pty Ltd
PO Box 6053 Frenchs Forest, NSW 2086
Tel: +61 2 9452 7575
Fax: +61 2 9452 7500
Email: davidm@expertiseevents.com.au
Website: http://internationaljewelleryfair.com.au/
- Gift & Homeware Australia
Organiser: Gift & Homeware Australia
Unit 58 11-21 Underwood Road
Homebush NSW 2140
Tel: (02) 9763 3222
Email: tradefairs2@agha.com.au
Website: www.agha.com.au
- Jewellery Association of Australia Ltd (JAA)
เป็นสมาคมที่ก่อตั้งเพื่อปกป้องผู้ประกอบการธุรกิจเครื่องประดับและอัญมญีที่เก่าแก่ ก่อตั้งเมื่อปี 1931 ปัจจุบันมีสมาชิกมากกว่า 2000 ราย (ทั้งผู้ค้าส่ง ค้าปลีก และผู้ผลิต)
Suite 106, 270 Pacific Highway, Crows Nest NSW 2065
Tel: +61 2 9437 4522
Fax: +61 2 9437 4533
Email: info@jaa.com.au
Website: www.jaa.com.au
- Showcase Jewellers
เป็นสมาคมผู้ค้าปลีกเครื่องประดับ และอัญมณีทั่วประเทศ ซึ่งมีสมาชิกทั้งหมดประมาณ 250 ราย
Suite 1, Level 5, Office Tower Westfield Shoppingtown, Miranda NSW 2228
Mailing Address: PO Box 384, Miranda NSW 2228
Tel +61 2 9525 4499
Fax + 61 2 9525 5032
Email: merch@showcasejewellers.com.au
Website: www.showcasejewellers.com.au
- Nationwide Jewellers
เป็นสมาคมร้านค้าปลีกอิสระ (Independent store) สินค้าอัญมณีเครื่องประดับ สมาชิกประมาณ 500 ราย ทั่วออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์
Tel +61 2 9983 9111
Fax + 61 2 9983 9138
Email: info@jgbs.com
Website: www.nationwidejewellers.com.au
สำนักงานส่งเสริมการค้าฯ ณ นครซิดนีย์
ที่มา: http://www.depthai.go.th