ปี 2553 เมื่อผู้ส่งออกทูน่ารายใหญ่ที่สุดของโลกได้ประกาศว่าจะซื้อ บริษัท John West ซึ่งทำธุรกิจมากว่า 143 ปีและ 3 แบรนด์ดังสินค้าอาหารทะเลของยุโรปรวมเป็นมูลค่า 833 ล้านเหรียญสหรัฐ ตอนนั้นบริษัทในยุโรปน้อยรายเคยได้ยินชื่อของบริษัท Thai Union Frozen กรรมการผู้จัดการใหญ่ Mr.Thiraphong Chansiri กล่าวว่า“ความจริงแล้วแม้แต่คนไทยน้อยคนที่รู้จักบริษัทเราและมันเป็นวัตนธรรมและบุคลิกของเรา ที่ไม่เคยให้ความสำคัญกับการออกข่าว” หลายปีที่ผ่านมาบริษัทเป็นผู้ผลิตให้แบรนด์ในต่างประเทศและมีรายได้มากกว่าร้อยละ 90 จากตลาดต่างประเทศ ซึ่งก็เพียงพอแล้วที่จะเป็นที่ยอมรับโดยนักลงทุน นักวิเคราะห์ และลูกค้าขนาดใหญ่ที่ในประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศญี่ปุ่น
นั่นคือการเปลี่ยนแปลงภายใต้การบริหารของ Mr.Thiraphong อายุ 46 ปี ลูกชายคนโตของผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท Thai Union Frozen เป็นเจ้าของแบรนด์ปลาทูน่าที่เป็นที่นิยมอันดับสาม คือตรา Chicken of the Sea มาตั้งแต่ปี 2000 ปัจจุบันจากการซื้อ John West, Hyacinthe Parmentier ของประเทศฝรั่งเศส, แบรนด์ Petit Navire และแบรนด์ Mareblu ของอิตาลี บริษัทได้ใช้กำลังการผลิต 67% ในการผลิตสินค้ายี่ห้อของบริษัทเอง และส่งสินค้าปริมาณหนึ่งในสามไปยังบริษัทอื่นๆ บริษัทต้องเพิ่มซื่อเสียงต่อสาธารณชนเช่นเดียวกับการเพิ่มสายการผลิต, การเข้าตลาดใหม่และการหาผู้จัดการทีเป็นชาติตะวันตกและคนไทยที่จบการศึกษาเก่งๆ เข้ามาทำงานกับบริษัท
Mr. Thiraphong ได้เข้ามาบริหารบริษัทในฐานะประธานบริษัทเมื่ออายุเพียง 30 ปี ค่อยๆ ผ่องถ่ายความรับผิดชอบจากพ่อ Mr.Kraisorn Chansiri ซึ่งปัจจุบันอายุ 77 ปี และเป็นประธานกรรมการของบริษัท (Chairman) ซึ่งมีบทบาทในการเป็นที่ปรึกษษและผู้วางกลยุทธ์ขณะเดียวกันก็เน้นทำงานด้านการเงินของบริษัท ภายใต้การบริหารของ Mr. Thiraphong บริษัทได้มีรายได้เพิ่มขึ้น 3 เท่า คาดว่าในปีนี้อยู่ที่ 3.1 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งปัจจุบันมีส่วนแบ่งการตลาดอยู่ในตลาดยุโรปร้อยละ 34 และในตลาดอเมริการ้อยละ 36 บริษัทเป็นผู้ผลิตทูน่าร้อยละ 21 ของโลก Mr. Thiraphong กล่าวว่า “ตอนนี้เรากล่าวได้ว่าเราเป็น บริษัททูน่ารายเดียวในระดับโลกและเป็นบริษัทที่มีฐานการผลิตระดับโลกด้วย”
แต่ความท้าทายของบริษัทคือรัฐบาลไทยมีแผนที่จะเริ่มขึ้นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำร้อยละ 40 ในวันที่ 1 เมษายน 2555 ถึงแม้ต้นทุนแรงงานการผลิตในประเทศจะเป็นเพียงร้อยละ 10 ของค่าใช้จ่าย ราคาวัตถุดิบทูน่ามีความผันผ่วน : ปลา Skipjack สายพันธ์ที่แพร่หลายในสินค้าของสหรัฐอเมริกา ขึ้นราคาจาก 1,500 เหรียญสหรัฐต่อเมตริกตัน ในเดือนกรกฏาคม เป็น 2,000 เหรียญสหรัฐต่อเมตริกตัน ในเดือนกันยายน แล้วยังมีหนี้สินจำนวนมากที่ทางบริษัทต้องรีบจัดการ Mr. Simon Chan Tin-King, หัวหน้าฝ่ายการเงินของบริษัทกล่าวว่า “อาจจะต้องใช้ระยะเวลา 5-6 ปีในการชำระหนี้ให้ลดลง” บริษัทเป็นหนี้เจ้าหนี้อยู่ 1.65 บาท ต่อทุก 1 บาทที่ได้มาจากนักลงทุน เป้าหมายของบริษัทคือการผลักดันสัดส่วนของหนี้สินต่อทรัพท์สินของบริษัทกลับมาอยู่ในสัดส่วน (1/1) ภายใน 3 ปี โดยการใช้เงินสดหมุนเวียนอย่างเข้มแข็ง สัดส่วนหนี้สินต่อทรัพท์สินของบริษัทอยู่ที่ 0.6 ก่อนที่จะซื้อบริษัทและแบรนด์ของยุโรป Mr. Simon Chan ให้ความเห็นว่าหนี้สินที่ 4 แบรนด์มีอยู่ถ้ามีการไม่ชำระหนี้ ทางบริษัท Thai Union จะไม่ต้องมีความรับผิดชอบทางกฎหมายกับเงินส่วนนั้น
สำหรับนักลงทุนที่ผ่านมาเป็นช่วงทะเลมรสุม ไตรมาสที่ 3 และ 4 ของปีที่ผ่านมา กำไรสุทธิลดลงมากกว่าครึ่ง แต่ในปีนี้นักวิเคราะห์คาดว่าจะมีกำไรที่ 136 ล้านเหรียญสหรัฐฯเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 50 จากปีที่ผ่านมา (รายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 36) ราคาหุ้นของบริษัทก็มีการปรับตัวไปในทิศทางเดียวกัน ราคาหุ้นของบริษัทตกลงมาที่ 40 บาท/หุ้น ในเดือนมีนาคม และเริ่มขยับตัวเพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ จากนั้นหุ้นของบริษัทเริ่มกระหน่ำดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทยและเร็วๆ นี้ราคาหุ้นอยู่ที่ 53 บาทเกือบกลับไปเท่ากับราคาหุ้นในปีก่อน Ms. Jitima Ratnatam, ผู้ช่วยประธานผ่ายวิจัยของบริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย กล่าวว่า “เป็นช่วงเวลาที่ดีที่จะซื้อหุ้นของบริษัท Thai Union Frozen” และยังคาดว่าจะมีเซอร์ไพรส์ ในทางบวกเมื่อ รายงานผลประกอบการในไตรมาสที่ 3 ออกมาในเดือนนี้
บริษัทอาจจะได้รับประโยชน์จากอุทกภัยน้ำท่วมในประเทศไทยทั้งในภาคเหนือและภาคกลางตั้งแต่เดือนสิงหาคมที่ผ่านมา Ms. Jitima Ratnatam กล่าวว่า คนไทยกำลังเริ่มที่จะกักตุนสินค้าอาหารกระป๋องเนื่องมาจากสถานการณ์ภัยธรรมชาติใหญ่ในครั้งนี้ ในช่วงเดือนที่ผ่านมาน้ำได้ท่วมเขตนิคมอุสหกรรมทางตอนเหนือของกรุงเทพมหานครฯ ทำให้โรงงานหลายร้อยโรงงานต้องปิดลง แต่โรงงานของบริษัท Thai Union น่าจะเป็นหนึ่งในผู้ส่งออกรายใหญ่น้อยรายซึ่งไม่กระทบกระเทือนมากเนื่องจากโรงงานของบริษัททั้งสองโรงงานตั้งอยู่ชายฝั่งทะเล ทั้งยังไม่ต้องกังวลกับปัญหาเรื่องน้ำท่วมถนนที่ทำให้การส่งสินค้าล่าช้าด้วย
ความก้าวหน้าในการทำงานเพื่อรวม 4 แบรนด์ยุโรปที่เรียกรวมกันว่าแบรนด์ MW (Marine World) ให้เข้ากับระบบส่วนอื่นของบริษัท นั้นหมายความถึงการรวมศูนย์กระบวนการด้าน จัดซื้อ, ด้านการบริหารจัดการคนงานที่เพิ่มขึ้น 5,000 คนและด้านการลดต้นทุน ที่โรงงานแปรรูปสินค้าทูน่า MW ในประเทศเซเชลส์และกานา ผู้จัดการไทยกำลังทำงานปรับปรุงประสิทธิภาพในการผลิต ด้วยเรือ 5 ลำจาก MW ตอนนี้บริษัทมีเรือจับปลาทูน่า 9 ลำ ที่สามารถส่งปลาทูน่าให้กับโรงงานในประเทศกานา Mr. Thiraphong กล่าวว่า “เราได้ตั้งเป้าหมายรายรับไว้ที่ 4 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ภายในปี 2015” หมายถึงว่ารายได้ของบริษัทเพิ่มขึ้นหนึ่งในสาม Mr. Thiraphong ได้แสดงความชัดเจนว่าจะสามารถทำตามที่ได้ตั้งเป้าไว้อย่างไร “ยุโรปเป็นเหมือนท้องทุ่งอันเขียวขจี(greenfield) ของเรา”
โดยความเป็นจริงแล้วในอีก 2-3 ปีข้างหน้าบริษัท Thai Union มีแผนว่าจะขยาย John West seafood ซึ่งเป็นปลาทูน่า ปลาแมคเคอเรลและปลาซาร์ดีนกระป๋องที่ขายดีอันดับสูงสุดใน British Isles ไปยังสแกนดิเนเวียโปแลนด์และรัสเซีย ส่วนประเทศอดีตอาณานิคมของฝรั่งเศสในแอฟริกาเหนือและแอฟริกาตะวันตกเป็นตลาดใหม่ของสินค้ายี่ห้อ Hyacinthe Parmentier ซึ่งเป็นแบรนด์ปลาซาร์ดีนและแมคเคอเรลที่ขายดีอันดับหนึ่งในฝรั่งเศสและสินค้ายี่ห้อ Petit Navire ซึ่งเป็นแบรนด์สินค้าทูน่าที่ขายดีอันดับหนึ่งในฝรั่งเศสเช่นกัน
จากนั้นบริษัทคาดว่าจะขยายแบรนด์ออกไปยังกุ้ง เนื้อปูและสินค้าอาหารทะเลแช่แข็งอื่นๆ โดยจะเอาแบบอย่างความสำเร็จของสินค้าอาหารทะเลแช่แข็ง Chicken of the sea ในประเทศสหรัฐอเมริกา หลังจากนั้นปราการสุดท้ายที่มี Margin สูงในทั้งยุโรปและอเมริกาคือการทำแบรนด์อาหารสัตว์เลี้ยง
Mr. Thiraphong ได้ให้เครดิตกับคุณพ่อ Mr. Kraisorn ในเรื่องนโยบายการเติบโตของบริษัท ทั้งในการขยายแนวตั้งและแนวข้าง (Vertical and lateral expansion) การเปิดตลาดใหม่และความโปรงใสของนโยบาย การบริหารจัดการนโยบายการเงินอย่างอนุรักษนิยม ในปีนี้ Mr. Kraisorn และครอบครัวได้รับการจัดอันดับอยู่ที่ 21 ของ FORBES ASIA Thailand’s richest โดยมีทรัพย์สินที่ 460 ล้านเหรียญสหรัฐ
Mr. Kraisorn เกิดที่แต้จิ๋วจังหวัด Guangdong ประเทศจีน และมาอยู่กับญาติในกรุงเทพฯ ตั้งแต่ยังหนุ่มหลังจากไปอยู่ประเทศฮ่องกงได้สักพัก Mr. Kraisorn ได้ทำงานหลายอย่างเช่นเคยเป็นครูสอนภาษาไทย-จีน ทำการค้าข้าว เหล้าและเสื้อผ้า ก่อนที่จะมาเป็นเจ้าของใบอนุญาติเป็นโบรกเกอร์ปลาในท่าเรือกรุงเทพฯ ทำหน้าที่เหมือนพ่อค้าคนกลางระหว่างชาวประมงและผู้ซื้อ
ในปี 1977 เขาและน้องชาย(Mr.Cheng Niruttinanon) และเพื่อนได้ซื้อโรงงานปลาทูน่ากระป๋องเล็กๆ ที่ท่าเรือจังหวัดสมุทสาคร ทางตะวันออกเฉียงใต้ของเมืองกรุงเทพฯ 30 กิโลเมตรและยังเป็นที่ตั้งของโรงงานหลักในการผลิตในปัจจุบัน ดำเนินงานในนามโรงงานผู้ผลิต Thai Union มีคนงานจำนวน 200 คน แปรรูปปลา Tongol และ Bonito ที่จับมาโดยชาวประมงท้องถิ่นและส่งออกต่างประเทศ ผู้บริโภคคนไทยก็เช่นเดียวกับประเทศกำลังพัฒนาทั่วไปคือมองว่าปลาทูน่าเป็นอาหารโปรตีนที่มีราคาแพง แม้กระทั่งในปัจจุบันถ้าคนไทยจะซื้ออาหารทะเลกระป๋องก็ยังคงซื้อ Sardines หรือ Mackerel บรรจุกระป๋อง ซึ่งบริษัท Thai Union ผลิตในยี่ห้อ Selects ที่มีราคาแค่ 1 ใน 3 ของปลาทูน่าและบริษัทยังผลิตสินค้าทูน่ากระป๋องแบรนด์ Select ด้วย
เหตุการณ์ในสหรัฐอเมริกา ผลักดันให้ Thai Union และอุตสาหกรรมทูน่าของไทยประสบความสำเร็จในช่วงต้นปี 1980 “The boom Time” การที่ต้องเผชิญกับกฎหมายสิ่งแวดล้อมและค่าจ้างแรงงานที่สูงขึ้นทำให้โรงงานแปรรูปทูน่าที่แซนดีเอโก ยี่ห้อ Starkit Bumble Bee และ Chicken of the Sea หันไปหาประเทศไทย บริษัท Thai Union ได้เทคโนโลยีใหม่และระบบการจัดการจากประเทศอเมริกา เรือจับทูน่าจากประเทศญี่ปุ่น ไต้หวัน เกาหลี มาที่ท่าเรือด้วยปลา Skipjack Yellowfin และ Albacore และ Buyer ชาวญี่ปุ่นต้องการเลือกซื้อสินค้าทะเลที่ดีที่สุด
หลังจากจบปริญญาด้านธุรกิจ(โปรแกรมภาษาอังกฤษ)มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำในประเทศไทยแล้ว จากนั้น Mr. Thiraphong ได้รับปริญญาโทด้านบริหารธุรกิจจากมหาวิทยาลัยซานฟรานซิสโก ในปี 1988 แต่เขาไม่ได้หางานและมองหาธุรกิจในสหรัฐอเมริกา ในฐานะที่เป็นลูกคนโตของ 3 คนในครอบครัวคนจีน Mr. Thiraphong รู้สึกว่าเป็นพันธกรณีที่ต้องมาช่วยธุรกิจของพ่อ นอกจากนั้นบริษัท Thai Union ก็กำลังอยู่ในช่วงเติบโตอย่างรวดเร็วและมีความตื่นเต้นที่ได้มาร่วมทำธุรกิจ (ไม่มีลูกคนไหนเลยที่มาทำงานในธุรกิจนี้- คนหนึ่งอยู่ในธุรกิจด้านอสังหาริมทรัพย์ อีกคนเป็นอาจารย์ด้านกฎหมาย- แต่สมาชิกอีก 13 คนของครอบครัวที่ขยายออกไป ได้มาทำงานกับ Thai Union)
ตั้งแต่แรกเริ่ม Mr. Thiraphong ต้องเจรจาธุรกิจกับผู้บริหารอาวุโสของ Mr. H.J Heinz (อดีตเจ้าของ 4 แบรนด์ MW), Nestle, Purina, Unilever, Costco, Safeway, Mitsubishi และ Hagoromo บริษัทชั้นนำระดับโลกดังกล่าวได้สอนเขาเรื่องการมองธุรกิจและตลาดโลก ซึ่งมีผลทำให้เขามีโลกทรรศน์ในระดับโลกและจะมองหา แบรนด์เพื่อมาต่อยอดการควบรวมธุรกิจในแนวตั้งอยู่เสมอ Mr. Thiraphong กล่าวว่า “โดยธรรมชาติในฐานะที่เป็นโรงงานผลิต (ตามสัญญา) เราก็อยากจะมีแบรนด์สินค้า เพราะถ้าไม่มีแบรนด์ เราก็จะไม่สามารถควบคุมอนาคตได้เลย”
Mr. Thiraphong เดินทางบ่อย และยังคงเดินทางไปต่างประเทศอย่างน้อยเดือนละครั้ง และรักษาร่างกายโดยการตื่น ตีห้า ทุกวันมาวิ่งตอนเช้า “ความมั่นใจ”เป็นคำที่นักวิเคราะห์ใช้บรรยายลักษณะของ Mr. Thiraphong Mr. Ravinder Singh, กรรมการผู้จัดการของ Standard Chartered Private Equity และเป็นสมาชิกใหม่ของ Board of Directors ของThai Union กล่าวว่า “Mr. Thiraphong จะเป็นคนสบายๆ กับความคิดใหม่และเมื่อเวลาจำเป็นมาถึง เขาจะกลายเป็นคนจริงจังที่จะลุย ซึ่งพวกเราเห็นมาแล้วจากการเข้าซื้อ MW เขาไม่อายที่จะตัดสินใจ หรือแสดงความรับผิดชอบต่อการตัดสินใจนั้น”
บริษัทธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ เป็นที่ปรึกษาในการซื้อ MW ช่วยจัดหาแพ็กเก็จเงินจำนวน 883 ล้าน เหรียญสหรัฐฯ เท่ากับเงินร้อยละ 80 ของ Market Capitalizationบริษัท Thai Union ในตอนนั้น และยังเป็นคนจัดการเงินกู้จำนวน 60 ล้านยูโรซึ่งจะเปลี่ยนเป็นสินทรัพย์ใน 4 ปี (ทุกวันนี้ผู้ถือหุ้นใหญ่สุดคือครอบครัว Chansiri 25%, ครอบครัว Nirutttinanons 8%, Mitsubishi Holding 5%)
นักลงทุนระหว่างชาติจับตาดู Thai Union และการบริหารจัดการด้านการเงินแบบอนุรักษนิยมในตอนเกิดวิกฤตการเงินในเอเชียปี 1997 ขณะที่ธนาคารไทยและบริษัทต่างๆ รวมทั้งเจ้าของ Bumble Bee ในตอนนั้นต่างก็ตะเกียกตะกายเพื่อความอยู่รอด แต่ Thai Union กลับลอยลำผ่านไปได้อย่างสบายๆ ในความเป็นจริงแล้วราคาหุ้นของบริษัทได้เพิ่มขึ้นถึงสามเท่า Mr. Thiraphong กล่าวว่า เป็นเพราะยุคแรกของเรา คุณพ่อเป็นคนที่มีวินัยมาก
ปัจจัยที่ช่วยอีกอย่างหนึ่งคืออาหารทะเลกระป๋อง ถึงแม้ว่าทูน่าจะถูกถือว่าเป็นอาหารโปรตีนราคาถูกในประเทศญี่ปุ่นและประเทศทางตะวันตก Mr. Thiraphong กล่าวว่า “ในช่วงวิกฤตทุกครั้งเราทำธุรกิจได้ดี เราเคยทำได้ดีในช่วงวิกฤตในเอเชีย เราเคยทำได้ดีในช่วงวิกฤตในอเมริกา (2008-09) และเรากำลังทำได้ดีในช่วงวิกฤตหนี้ในยุโรป เราซื้อบริษัทยุโรปในช่วงนั้น”
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครนิวยอร์ก
ที่มา: http://www.depthai.go.th