- จีนเป็นประเทศที่ปลูกข้าวได้มากที่สุดในโลก ชาวจีนบริโภคข้าวมากถึงร้อยละ ๓๒ ของผลผลิตข้าวโลก หรือในแต่ละปี จะบริโภคเฉลี่ยมากถึง ๒๐๐ ล้านตัน
- ปัจจุบันข้าวในจีนมีหลากหลายสายพันธุ์ รวมทั้งข้าวพันธุ์ไฮบริด (Hybrid) ซึ่งเป็นพันธ์ข้าวที่ให้ผลผลิตจำนวนมาก การเพาะปลูกข้าวไฮบริด (Hybrid) หรือ Super Rice นี้สามารถให้ผลผลิตมากถึง ๑๓.๙ ตันต่อเฮกเตอร์ (ในแปลงทดลองปี ๒๐๑๑) โดยมีข้อมูลอย่างไม่เป็นทางการเกี่ยวกับพื้นที่เพาะปลูกข้าวไฮบริด (Hybrid) หรือ Super Rice อาจจะมากถึงครึ่งของพื้นที่เพาะปลูกข้าวทั้งหมด
- มณฑลที่มีการปลูกข้าวมากคือ เหลียวหนิง จี้หลิน เฮยหลงเจียง เจียงซู อันฮุย เจียงซี เหอหนาน หูเป่ย หูหนาน กวางซี และซื่อชวน
- จีนมีการเพาะปลูกข้าวทั้งเมล็ดสั้น (Japonica) และข้าวเมล็ดยาว (Indica) พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศสามารถเพาะปลูกข้าวได้ปีละ ๒ ครั้ง ส่วนข้าว Hybrid หรือ super rice อาจปลูกได้ถึงปีละ ๓ ครั้ง
- ข้าวเมล็ดสั้น จะปลูกมากบริเวณภาคอีสาน ในมณฑล เหลียวหนิง จี้หลิน เฮยหลงเจียง พื้นที่ที่เพาะปลูกข้าวได้ดีคือมณฑลที่อยู่ด้านใต้ของแม่น้ำแยงซีเกียง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นข้าวเมล็ดยาว
- ข้าวเป็นอาหารหลักที่สำคัญของชาวจีน ข้าวจึงมีความสำคัญมากกับประชาชน ในอดีต จีนเคยประสพกับปัญหาการอดหยากและไม่มีข้าวเพียงพอให้กับประชาชน (ประมาณปี ๑๙๕๐-๑๙๖๑) ทำให้รัฐบาลมีความจำเป็นต้องสำรองข้าวเพื่อเป็นหลักประกันให้กับประชาชน โดยการจัดซื้อข้าวเข้าเก็บในคลังสินค้า รัฐบาลจีนได้กำหนดมาตรการด้านราคาในการรับซื้อข้าวในแต่ละฤดูกาลผลิต ซึ่งราคาข้าวดังกล่าวจะเป็นราคาข้าวที่ชาวนาต้องได้รับผลตอบแทนอย่างเพียงพออีกด้วย รัฐบาลจีนจะออกประกาศราคารับซื้อข้าวของฤดูการผลิตปีละ ๒ ครั้ง สำหรับปี ๒๐๑๑ ผลผลิตของฤดูเพาะปลูก ช่วงกลางถึงปลายฤดู
- สถิติการประกาศรับซื้อข้าวของจีน
หน่วย : หยวน/๕๐ ก.ก.
ปี ราคาผลผลิตข้าวต้นปี ราคาผลผลิตข้าวปลายปี ราคาผลผลิตข้าวเมล็ดสั้น (เมล็ดยาว) (เมล็ดสั้น) ๒๐๐๔ ๗๐ ๗๒ ๗๕ ๒๐๐๕ ๗๐ ๗๒ ๗๕ ๒๐๐๖ ๗๐ ๗๒ ๗๕ ๒๐๐๗ ๗๐ ๗๒ ๗๕ ๒๐๐๘ ๗๗ ๗๙ ๘๒ ๒๐๐๙ ๙๐ ๙๒ ๙๕ ๒๐๑๐ ๙๓ ๙๗ ๑๐๕ ๒๐๑๑ ๑๐๒ ๑๐๗ ๑๒๘
- ตั้งแต่ปลายปีผลผลิต ๒๐๑๐ เป็นต้นมา รัฐบาลประกาศยกเลิกการให้เงินคืน (Rebate) เพื่อการส่งข้าวออกนอกประเทศ เพื่อรักษาปริมาณข้าวในคลังสินค้าไว้ ซึ่งตลาดหรือนักวิชาการไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่า รัฐบาลมีการเก็บข้าวไว้ในคลังสินค้าจำนวนมากน้อยเพียงใด
- รัฐบาลจีนมีแผนจะปลูกข้าว GMO (อย่างเป็นทางการ) ในอีก ๒-๓ ปีข้างหน้า เนื่องจากจำนวนประชากรมากขึ้น พื้นที่เพาะปลูกลดลง
ปี ๒๐๑๑ พี้นที่เพาะปลูกในจีนประมาณ ๓๐.๔ ล้านเฮกตาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ ๑.๙ ประมาณการผลผลิตข้าว ๒๐๔ ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ ๒.๕ (เป็นผลผลิตข้าวเมล็ดสั้น ๖๒ ล้านตัน ข้าวเมล็ดยาว ๑๔๒ ล้านตัน)
หน่วย : ล้านตัน
ปี ๒๐๐๕ ๒๐๐๖ ๒๐๐๗ ๒๐๐๘ ๒๐๐๙ ๒๐๑๐ ผลผลิต ๑๘๐.๖๐ ๑๘๒.๖๐ ๑๘๖๐ ๑๙๑.๙๐ ๒๐๑.๙๐ ๑๙๙.๐๐ การค้าข้าว
- นำเข้าข้าวจากไทย
ปริมาณนำเข้าข้าวจากประเทศไทย ๓.๗ แสนตัน
ปริมาณนำเข้าข้าวจากประเทศไทย ๒๒๔,๒๐๐ ตัน (คิดเป็นร้อยละ ๕๕.๒ ของปริมาณนำเข้าข้าวทั้งหมด ปริมาณนำเข้าข้าวทั้งหมด ๔๐๗,๕๐๐ ตัน)
- ราคาข้าวขาวไทย ขายส่งภายในประเทศเฉลี่ย ๘๒๐ เหรียญสหรัฐฯ/ตัน
- ราคาข้าวหอมมะลิไทย ขายส่งภายในเฉลี่ย ๑,๒๐๐ เหรียญสหรัฐฯ/ตัน
- ราคาข้าวหอมมะลิไทย ขายปลีกเฉลี่ย ๑๖-๑๘ หยวน/ก.ก.
- ข้าวจีน
ราคาข้าวเมล็ดยาวปลีก สูงสุด ๖.๘๐ หยวน/ก.ก.
ราคาข้าวเมล็ดยาวขายส่ง ๓,๖๐๐ — ๔,๒๐๐ หยวน/ตัน
ราคาข้าวเมล็กสั้นขายส่งเฉลี่ย ๔,๘๐๐ หยวน/ตัน การบริโภค
ผู้บริโภคจีนนิยมบริโภคข้าวเมล็ดสั้นมากกว่าข้าวเมล็ดยาว ถือเป็นข้าวคุณภาพดี เช่นเดียวกับข้าวไทย ถือเป็นข้าวคุณภาพดีมาก ชาวจีนทางใต้ส่วนใหญ่นิยมข้าวหอมมะลิมากกว่าข้าวจีน ข้าวไทยที่มีการนำเข้ามาใช้ในร้านอาหาร ภัตตาคารระดับสูง และในครอบครัวที่มีรายได้สูง
ตั้งแต่เดือนม.ค. — ส.ค. ๒๐๑๑ ส่งออกรวม ๒๘๒,๖๕๙.๒ ตัน ลดลงร้อยละ ๓๒.๕ คิดเป็นมูลค่า ๒๐๖.๖๑ ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ ๒๗.๒ โดยส่งออกไปประเทศในเอเซีย ๒๔๕,๕๕๒ ตัน (ร้อยละ ๘๖) แอฟริกา ๓๑,๗๗๘.๑ ตัน (ร้อยละ ๑๑.๒) ยุโรป ๕,๓๒๘ ตัน (ร้อยละ ๑.๘๙) อื่นๆ (ร้อยละ ๐.๙๑)
๑. การรับจำนำข้าวไทย
ตลาดรับทราบข่าวเกี่ยวกับมาตรการของรัฐบาลไทยที่จะรับจำนำข้าว ในราคา ๑๕,๐๐๐ บาทและ ๒๐,๐๐๐ บาทต่อตัน โดยมีผลตั้งแต่ ๗ ตุลาคม ๒๕๕๔ ในวงการข้าวมีการคาดการณ์ว่า ข้าวจะมีราคาสูงขึ้น และอาจจะเป็นแรงจูงใจให้ผู้ส่งออกของจีนหันมาส่งข้าวออกมากขึ้น
๒. สภาพน้ำท่วม
รายงานข่าวภายในจีนเกี่ยวกับสภาพน้ำท่วมของไทยว่า ผลผลิตข้าวเปลือกที่เสียหายจากน้ำท่วม ประมาณ ๓ ล้านตันข้าวเปลือก (ปี ๒๐๑๑ จะมีผลผลิตข้าวเปลือก ๒๒.๓ ล้านต้นลดลงจากคาดการณ์ไว้ ๒๕.๘๗ ล้านตัน)
๓. COFCO (China National Cereal Oil and Foodstuffs Corporation) หน่วยงานภายใต้รัฐบาลจีน
ได้ลงนามในสัญญาซื้อข้าวจากประเทศกัมพูชาจำนวน ๑,๐๐๐ ตัน เป็นครั้งแรก
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครคุนหมิง
ที่มา: http://www.depthai.go.th