ตลาดสินค้าเครื่องปรับอากาศในสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday November 15, 2011 14:59 —กรมส่งเสริมการส่งออก

1. การผลิต

อุตสาหกรรมการผลิตอุปกรณ์ เครื่องใช้ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการระบายอากาศ ปรับอากาศ ตู้เย็น ตู้แช่แข็งตลอดจนการทำน้ำร้อนหรือไออุ่น เป็นธุรกิจที่สำคัญอีกแขนงหนึ่งของเยอรมนี ในระยะ 3 ปีที่ผ่านมา (ปี 2551 - 2553) มีการผลิตสินค้าเหล่านี้ในเยอรมนีเป็นมูลค่าโดยเฉลี่ยปีละ 10,836 ล้านยูโร (ประมาณ 455,123 ล้านบาท) เฉพาะเครื่องปรับอากาศในรูปแบบต่างๆ มีการผลิตในระยะ 3 ปีที่ผ่านมา (ปี 2551 - 2553) เป็นมูลค่าปีละ 1,380 ล้านยูโร (ประมาณ 57,953 ล้านบาท) และในช่วง 6 เดือนแรกปี 2554 นี้มีการผลิตเป็นมูลค่ารวมทั้งสิ้น 4,981.4 ล้านยูโร (ประมาณ 209,217 ล้านบาท) เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 9.87 สำหรับเครื่องปรับอากาศชนิดต่างๆ มีการผลิตเป็นมูลค่า 853.1 ล้านยูโร (ประมาณ 35,831 ล้านบาท) เพิ่มขึ้นจากปีก่อนระยะเดียวกันร้อยละ 22.26 เครื่องปรับอากาศที่มีการผลิตในประเทศมากสูงสุดจะเป็นชนิดที่ใช้ติดตั้งในยานพาหนะ เป็นมูลค่าโดยเฉลี่ยปีละ 553 ล้านยูโร (ประมาณ 23,256 ล้านบาท) และในช่วง 6 เดือนแรกปี 2554 ผลิตเป็นมูลค่า 356.1 ล้านยูโร (ประมาณ 14,958 ล้านบาท) เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.56

2. การนำเข้าเครื่องปรับอากาศ

2.1 แหล่งนำเข้า ในระยะ 3 ปีที่ผ่านมา (ปี 2551 - 2553) เยอรมนีนำเข้าเครื่องปรับอากาศเป็นมูลค่าโดยเฉลี่ยปีละ 1,837 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 55,110 ล้านบาท) และในช่วง 6 เดือนแรกปี 2554 (มค.-มิย.) มีการนำเข้าเป็นมูลค่า 1,135.4 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 34,062 ล้านบาท) มูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.3 แหล่งนำเข้าสำคัญๆ ได้แก่ สาธารณรัฐเช็ก มีการนำเข้าในปี 2554 (มค.มิย.) เป็นมูลค่า 253.8 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 22.4 มูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.4 รองลงมานำเข้ามากจากฝรั่งเศส มูลค่า 172.1 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 15.2 มูลค่าเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 45.1 จากเบลเยี่ยม มีการนำเข้าในปี 2546 (มค.-มิย.) เป็นมูลค่า 87.1 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 2,613 ล้านบาท) เพิ่มขึ้นร้อยละ 39.8 คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 7.7 จากไทย มีการนำเข้ามากเป็นอันดับที่ 9 เป็นมูลค่า 47.6 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 1,428 ล้านบาท) มูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 84.0 คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 4.2

2.2 ชนิดของสินค้าที่นำเข้าในกลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องปรับอากาศ สินค้าที่เยอรมนีนำเข้ามากที่สุดจะเป็นส่วนประกอบและอาหลั่ยของเครื่องปรับอากาศ โดยในช่วง 6 เดือนแรกปี 2554 นี้ มีการนำเข้าเป็นมูลค่า 604.2 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 53.2 ของการนำเข้าเครื่องปรับอากาศทั้งสิ้น มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 32.3 แหล่งนำเข้าสำคัญๆ ได้แก่ สาธารณรัฐเช็ก ฝรั่งเศส และเบลเยี่ยม มีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 30.6, 18.4 และ 13.6 ตามลำดับ จากไทยมีการนำเข้าเป็นอันดับที่ 6 เป็นมูลค่า 18.4 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 3.0 รองลงมาเป็น เครื่องปรับอากาศใช้ในยานพาหนะ เป็นมูลค่า 140.5 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 12.4 ของการนำเข้าเครื่องปรับอากาศทั้งสิ้น มูลค่าลดลงร้อยละ 2.9 แหล่งนำเข้าสำคัญๆ ได้แก่ สาธารณรัฐเช็ก เนเธอร์แลนด์ และฝรั่งเศส มีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 48.7, 25.1 และ 15.0 ตามลำดับ จากไทยมีการนำเข้าเป็นมูลค่าเล็กน้อยสำหรับเครื่องปรับอากาศ แบบมีหน่วยทำความเย็น มีการนำเข้าเป็นมูลค่า 140.2 ล้านเหรียญสหรัฐมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 49.1 แหล่งนำเข้าที่สำคัญๆ ได้แก่ ฝรั่งเศส อิตาลี และจีน มีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 26.2, 20.8 และ 11.0 ตามลำดับ จากไทยมีการนำเข้าเป็นอันดับที่ 10 เป็นมูลค่า 2.5 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 1.8

2.3 การนำเข้าจากไทย ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา (2551 - 2553) เยอรมนีนำเข้าสินค้าเครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบจากไทยเป็นมูลค่าโดยเฉลี่ยปีละ 45.2 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 1,356 ล้านบาท) และในช่วง 6 เดือนแรกปี 2554 (มค.-มิย.) มีการนำเข้าเป็นมูลค่า 47.6 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 1,428 ล้านบาท) มูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 84.0 สินค้าที่เยอรมนีนำเข้าจากไทยมากสูงสุดจะเป็นส่วนประกอบและอาหลั่ยของเครื่องปรับอากาศ โดยในช่วง 6 เดือนแรกปี 2554 นี้ มีการนำเข้าเป็นมูลค่า 18.4 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 38.7 ของการนำเข้าเครื่องปรับอากาศทั้งสิ้น มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 97.2 สินค้าไทยมีส่วนแบ่งในตลาดเยอรมนีร้อยละ 3.0 จัดเป็นอันดับที่ 10 แหล่งนำเข้าสำคัญอื่นๆ ได้แก่ สาธารณรัฐเช็ก ฝรั่งเศส และเบลเยี่ยม มีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 30.6, 18.4 และ 13.6 ตามลำดับ สินค้าที่นำเข้าจากไทยมากรองลงมาเป็น เครื่องปรับอากาศแบบเปลี่ยนวงจรความเย็นหรือความร้อน ในช่วง 6 เดือนแรกปี 2554 มีการนำเข้าเป็นมูลค่า 12.8 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 26.9 ของการนำเข้าเครื่องปรับอากาศ

ทั้งสิ้น มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 85.4 สินค้าไทยมีส่วนแบ่งสูงสุดในตลาดเยอรมนีร้อยละ 18.9 แหล่งนำเข้าสำคัญรองลงมา ได้แก่ จีน ออสเตรียและไอร์แลนด์ มีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 18.5, 18.0 และ 13.2 ตามลำดับเครื่องปรับอากาศ แบบแยกหน่วยทำความเย็น ในช่วง 6 เดือนแรกปี 2554 นี้ มีการนำเข้าเป็นมูลค่า 11.1 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 23.2 ของการนำเข้าเครื่องปรับอากาศทั้งสิ้น มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 79.5 สินค้าไทยมีส่วนแบ่งในตลาดเยอรมนีร้อยละ 9.4 จัดเป็นอันดับที่ 3 แหล่งนำเข้าสำคัญอื่นๆ ได้แก่ ฮังการี อิตาลีและเนเธอร์แลนด์ เบลเยี่ยม มีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 45.6, 12.0 และ 7.0 ตามลำดับ

3. การส่งออก

ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา (2551 - 2553) เยอรมนีส่งออกสินค้าเครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบไปต่างประเทศเป็นมูลค่าโดยเฉลี่ยปีละ 1,470 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 44,100 ล้านบาท) และในช่วง 6 เดือนแรกปี 2554 (มค.-มิย.) มีการส่งออกเป็นมูลค่า 951 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 148,530 ล้านบาท) มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 44.9 ตลาดส่งออกส่งออกสำคัญๆ จะเป็น รัสเซีย ฝรั่งเศส และเนเธอร์แลนด์ มีสัดส่วนของการส่งออกร้อยละ 9.5, 9.0 และ 8.8 ตามลำดับ สินค้าที่เยอรมนีส่งออกมากจะเป็น ส่วนประกอบและอาหลั่ยของเครื่องปรับอากาศ โดยใน ช่วง6 เดือนแรกปี 2554 นี้ มีการส่งออกเป็นมูลค่า 393.6 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 41.4 ของการส่งออกเครื่องปรับอากาศทั้งสิ้น มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 39.0 ตลาดส่งออกสำคัญๆ ได้แก่รัสเซียเนเธอร์แลนด์ และจีน คิดเป็นส่วนแบ่งร้อยละ 14.4, 10.7 และ 8.2 ตามลำดับ รองลงมาส่งออกมาก เครื่องปรับอากาศแบบแยกหน่วยทำความเย็น ในช่วง 6 เดือนแรกปี 2554 ส่งออกเป็นมูลค่า 200.4 ล้านเหรียญสหรัฐหรือร้อยละ 21.7 ของการส่งออกเครื่องปรับอากาศทั้งสิ้น การส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 70.5 โดยส่งไปยัง ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ และรัสเซีย คิดเป็นส่วนแบ่งร้อยละ 19.7, 13.7 และ 9.9 ตามลำดับ

4. นโยบายและกฎระเบียบที่สำคัญศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมที่ http://exporthelpeuropa..eu

การปกป้องรักษาสิ่งแวดล้อม การไม่ทำลายธรรมชาติและใช้ทรัพยากรให้น้อยที่สุด ตลอดจนการนำกลับมาใช้ใหม่ เป็นนโยบายที่สำคัญของเยอรมนี กฏระเบียบที่เกี่ยวข้องกับเครื่องปรับอากาศจึงต้องคำนึงถึงมาตรการต่างๆ เหล่านี้ด้วย ปัจจุบันให้ถือปฏิบัติตามระเบียบ EU 2037/2000 ควบคุมการใช้สารเคมี น้ำยาทำความเย็นที่ใช้ในอุตสาหกรรมนี้ โดยมีข้อสรุปสำคัญ ได้แก่

1. ลดการรั่วไหลของสารและแก๊สที่ใช้ โดยให้ติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับการรั่วไหลในเครื่อง/ระบบปรับอากาศที่มีแก๊สในระบบเกิน 300 กิโลกรัม

2. ทำการตรวจสอบมิให้มีการรั่ว ซึมอย่างสม่ำเสมอ

3. ทำบัญชีการบำรุงรักษา ดูแลสำหรับระบบที่ใช้แก๊สเกิน 3 กิโลกรัม

4. กำหนดการนำกลับมาใช้ การ recycling ที่เหมาะสม

5. ผู้ผลิต ผู้ค้า รวมทั้งผู้นำเข้า/ส่งออก จะต้องทำบัญชีแจ้งปริมาณ จำนวนของสารและแก๊สต่างๆ เมื่อในปีนั้นๆ มีมากกว่า 1,000 ตัน

6. ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมที่ http://ec.europe.eu/environment/ozone/community-action.html

เกี่ยวกับน้ำยาระบายความร้อนที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน (R12 และ R22) ที่ถึงแม้ว่าโดยทั่วไปเป็นที่ยอมรับว่าปลอดภัย ไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ก็ตาม แต่ยังคงมีผลในการทำลายโอโซน และทำให้โลกร้อนขึ้น จึงได้มีการกำหนดให้ใช้น้ำยาตัวใหม่แทนของเดิม เช่น R134a แทน R12 และ R407C แทน R22 ที่จะห้ามใช้ตั้งแต่ปี 2558 และสำหรับน้ำยาแอร์ H-FKW 134a ที่ใช้ในยานพาหนะ ตั้งแต่ปี 2554 ถูกห้ามมิให้ใช้อีกต่อไป ให้เปลี่ยนใช้น้ำยา R744 แทน

ในด้านการประหยัดการใช้พลังงานไฟฟ้า สหภาพยุโรปได้มีระเบียบ 2002/31 ออกประกาศให้ใช้ตั้งแต่เดือนมกราคม 2546 เป็นต้น กำหนดให้ติดป้ายฉลากแจ้งหน่วยการใช้ไฟฟ้าเป็นกิโลวัต เป็นต้น

5. อัตราภาษี

5.1 ภาษีนำเข้า

สินค้าในรายการนี้ (พิกัด H.S. 8415.. ) ที่นำเข้าจากประเทศที่สามที่มิได้เป็นสมาชิกประเทศสหภาพยุโรป ปัจจุบันทางการเยอรมนันจะเรียกเก็บภาษีนำเข้าในอัตราร้อยละ 2.7 ของมูลค่าสินค้านำเข้า หากมีสารเคมีหรือน้ำยาที่มีส่วนทำลายโอโซนจะไม่อนุญาตให้นำเข้า

5.2 ภาษีมูลค่าเพิ่ม

ปัจจุบันมีอัตราร้อยละ 19.0

6. สรุป

6.1 เยอรมนีเป็นตลาดสินค้าเครื่องปรับอากาศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในยุโรป ผู้ใช้ส่วนใหญ่จะเป็นสถานประกอบการ ร้านค้าหรือที่ทำงาน เป็นระบบระบาย/ควบคุม ปรับอากาศให้เหมาะสมสำหรับการทำงาน สำหรับการใช้ตามบ้านเรือน ที่อยู่อาศัยยังมีน้อยมาก โดยจะนิยมใช้เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วนมากกว่าแบบเคลื่อนที่หรือแบบอื่นๆ เครื่องปรับอากาศที่ใช้ตามบ้านเรือนส่วนใหญ่จะเป็นสินค้ามียี่ห้อของเยอรมัน สหรัฐอเมริกา หรือญี่ปุ่น เช่น Stiebel Eltron, Linde, Siemens, Einhell, Carier, Honeywell, Daikin, Hitachi, Mitsubishi, Delonghi เป็นต้น

6.2 การผลิตสินค้าเครื่องปรับอากาศในเยอรมนีส่วนใหญ่จะเป็นการนำเข้าอุปกรณ์ ชิ้นส่วนที่สำคัญๆ ได้แก่ คอมเพรสเซอร์ มอเตอร์ มาประกอบเป็นเครื่องสำเร็จรูป ใช้ติดตั้งตามอาคารสถานที่ทำงาน ห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ เป็นต้น และประมาณว่าปีนี้จะมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยระหว่างร้อยละ 2 - 5

6.3 เครื่องปรับอากาศที่ใช้ในเยอรมนีจะมีทั้งระบบทำความร้อน ความเย็นและการควบคุมความชื้นของอากาศในตัว นอกจากนี้แล้วยังมีการคิดค้น พัฒนาการใช้พลังความร้อนของโลก (Geothermal) เป็นส่วนประกอบ เชื่อมประสานกับระบบการปรับอากาศอีกด้วยเพื่อการใช้เป็นเครื่องทำความร้อนในฤดูหน้า หรือการทำน้ำอุ่น เป็นต้น

6.4 ตลาดเครื่องปรับอากาศในเยอรมนียังมีความต้องการเพิ่มสูงขึ้นตามลำดับเนื่องจากสภาพอากาศร้อน มีอุณหภูมิเพิ่มสูงมากขึ้นตลอดมาและยาวนานมากขึ้น จึงทำให้เครื่องปรับอากาศได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ โดยเฉพาะในสถานที่ทำงานขนาดใหญ่ที่มีระเบียบกำหนดให้มีการควบคุม ปรับการถ่ายเทอากาศที่ดี ให้มีอุณหภูมิสูงไม่เกิน 26 ซ. เป็นต้น ทำให้ตลาดมีความต้องการชิ้นส่วนและส่วนประกอบเครื่องปรับอากาศ เช่น คอมเพรสเซอร์ มอเตอร์ เป็นต้น เพื่อใช้ในการผลิตระบบปรับอากาศตามสถานที่ทำงานเหล่านี้ต่อเนื่อง นอกจากนี้ไทยยังส่งออกเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วนและแบบเคลื่อนที่ได้มากขึ้นอีกด้วย เนื่องจาก มีคุณภาพดี เป็นที่ยอมรับของตลาด ถึงแม้ว่าจะมีแนวโน้มราคาค่อนข้างสูงกว่าสินค้าจากแหล่งอื่นๆ เช่น จีน และ มาเลเชีย ก็ตาม

7. งานแสดงสินค้าที่เกี่ยวข้อง

7.1 ชื่องาน bautec

Trade Fair for Building and Construction Technology

              วันที่         04.02.2012 - 25.02.2012

สถานที่จัดงาน Berlin

ผู้จัดงาน Messe Berlin GmbH

              Messedamm 22                    Project team
              14055 Berlin                    Fon: +49 30 3038 2115
              Fon: +49 30 30380               Fax:  +49 30 3038 2069
              Fax: +49 30  3038 2325          bautec@messe-berlin.de
              central@messe-berlin.de         www.bautec.com

www.messe-berlin.de

          7.2 ชื่องาน           International Hardware Fair
              วันที่             04.03.2012 - 07.03.2012

สถานที่จัดงานเมือง Cologne

              ผู้จัดงาน          Koelner Messe GmbH

Messeplatz 1

              50679 Cologn                       Project team
              Fon: +49 221 821-0                 Fon: +49 211 821 2476
              Fax: +49 221 821-2574              Fax:  +49 211 821 3006
              info@koelnmesse.de                 eisenwarenmesse@koelnmesse.de
              www.koelnmesse.de                  www.eisenwarenmesse.de

7.3 ชื่องาน IFH/Intherm

Trade Fair for Sanitation, Heating, Air-conditioning, Renewable Energies

              วันที่         18. 04. 2012 -  21. 04. 2012

สถานที่จัด เมือง Nuremberg

ผู้จัดงาน GHM Gesellschaft fr

              Handwerksmessen mbH                project team
              Willy-Brandt-Allee 1               Fon: 089 94955-120
              81829 Mnchen                      Fax: 089 94955-129
              Fon: +49 89 94955-0                gossmann@ghm.de
              Fax:  +49 89 94955-239             www.ifh-intherm.de

info@ghm.de

www.ghm.de

7.4 ชื่องาน AMI

Trade Fair for Vehicle Components

              วันที่         02.06.2012 - 10.06.2012

สถานที่จัดงาน Leipzig

ผู้จัดงาน Leipziger Messe GmbH Project team

              Messe Allee 1                    Fon: +49 341 678 8220
              04356 Leipzig                    Fax:  +49 341 678 8222
              Fon: +49 341 678 0               ami@leipziger-messe.de

Fax: +49 341 678 8762

              info@leipziger-messe.de          www.ami-leipzig.de
          7.5 ชื่องาน          Chillventa

Intern'l Trade Fair Refrigeration, Air Conditioning, Ventilation & Heat Pumps

              วันที่            09. 10. 2012 -  11. 10. 2012

สถานที่จัดงานเมือง Nuremberg

              ผู้จัดงาน    NrnbergMesse GmbH        Project team
              Messezentrum                       Fon: +49 911 8606-8109
              90471 Nrnberg                      Fax:  +49 911 8606-8246
              Fon: +49 911 8606-0                chillventa@nuernbergmesse.de
              Fax:  +49 911 8606-8228            www.chillventa.de

info@nuernbergmesse.de

www.nuernbergmesse.de

8. สมาคมที่เกี่ยวข้อง

Verband deutsche Kaelte -

Klima - Fachbetriebe e.V. (VDKF)

Josef-Biber-Haus

Kaiser-Friedrich-Str. 7

53113 Bonn

Fon. +49 [0] 228 / 249 890

Fax. +49 [0] 228 / 249 8940

E-Mail:info@vdkf.org

Web:www.vdkf.org

Fachinstitut Gebaeude - Klima e.V. (FGK)

Danziger Str. 20

74321 Bietigheim-Bissingen

Fon.+49 [0] 7142 / 788 899 0

Fax.+49 [0] 7142 / 788 899 19

E-Mail:fgk-ev@t-online.de

Web:www.fgk.de

Zentralverband Sanitaer Heizung Klima e.V.

(ZVSHK)

Rathausallee 6

53757 St. Ausgutin

Fon. +49 [0] 2241 / 290 56

Fax. +49 [0] 2241 / 213 51

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงเบอร์ลิน

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ