พิธีการทางศุลกากรสินค้านำเข้า เมืองเซี่ยเหมิน

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday November 15, 2011 15:30 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ขั้นตอนปฏิบัติพิธีการนำเข้าสินค้า
  • ผู้นำเข้าหรือตัวแทนบันทึกข้อมูลต่างๆมายังระบบเครื่องคอมพิวเตอร์ของกรมศุลกากร
  • เครื่องคอมพิวเตอร์ของกรมศุลกากรจะตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้นในใบขนสินค้าที่ส่งเข้ามา
  • หน่วยงานศุลกากรที่รับผิดชอบทำหน้าที่ตรวจสอบข้อมูล
  • เจ้าหน้าที่ศุลกากรในพื้นที่จัดเก็บภาษี
  • ตรวจสินค้า
  • ปล่อยสินค้า
  • รับหนังสือรับรองการเสียภาษี
ข้อควรระวังสำหรับการปฏิบัติพิธีนำเข้า
  • คูณสมบัติของผู้ยืนเรื่อง

(กฎหมายศุลกากร)มาตราที่10 ผู้รับและผู้ส่งสินค้าทั้งสินค้านำเข้าและส่งออก ผู้ทำหน้าที่ดำเนินพิธีการทางศุลกากร จะต้องเคารพกฎของ ศุลกากรและต้องจดทะเบียนกับศุลกากร

ในด้านการปฏิบัติงาน ศุลกากรจีนได้แบ่งประเภทของบริษัทนำเข้าและส่งออกตามความน่าเชื่อถือของบริษัทคือ มีตั้งแต่ AA ,A.B,C,D เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการปฏบัติตามกฎระเบียบของศุลกากร ศุลกากรจะอำนวยความสะดวกให้กับผู้ประกอบการตามลำดับ กล่าวคือบริษัทนำเข้าและส่งออกที่มีเครดิตดีระดับ AA,A จะได้รับการอำนวยความสะดวกเป็นอย่างดี ประเภทB ปฏิตามกฎและระเบียบที่กำหนดไว้ ส่วน ประเภท CและD จะถูกควบคุมอย่างเคร่งครัด

  • เวลายื่นเรื่อง

ผู้รับสินค้า หรือตัวแทนต้องยื่นเรื่องขอดำเนินพิธีการนำเข้าสินค้ากับศุลกากรภายใน 14 วันหลังจากที่สินค้าเข้ามาถึง หากเกินระยะเวลาที่กำหนดไว้ศุลกากรจะเรียกเก็บค่าปรับ เรียกเก็บค่าปรับเป็นรายวัน ในอัตราวันละ0.05 เปอร์เซ็นต์ของราคาสินค้าที่รวมภาษีอากรแล้ว

เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับสินค้านำเข้า หลังจากที่สินค้าออกจากฝั่งและยังไม่ถึงท่า สามารถแจ้งข้อมูลการนำเข้าสินค้าให้กับศุลกากรทราบล่วงหน้าได้ เมื่อศุลการกรได้บันทึกข้อมูลการนำเข้าเรียบร้อยแล้ว ผู้นำเข้าหรือตัวแทนก้สามารถยื่นเรื่องเพื่อขอปฏิบัตพิธีการนำเข้าได้

  • เอกสารที่ต้องจัดเตรียมในการนำเข้าสินค้า
  • สัญญา
  • ใบเสร็จ
  • บัญชีรายละเอียดหีบห่อ
  • ใบตราส่งสินค้า
  • หนังสือมอบหมายให้เป็นตัวแทน
  • ใบอนุญาตนำเข้า
  • การเรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าตามข้อตงลงการค้า China-Asian

หลังจากที่ประเทศไทยและประเทศจีนได้ทำความตกลงในการเปิดเสรีทางการค้าร่วมกันภายใต้กรอบข้อตกลง China-Asian เมื่อปี พ.ศ.2546 ส่งผลให้สินค้าไทยหลายประเภทที่ส่งมาจำหน่ายที่ประเทศจีนได้รับกรยกเว้นภาษีขาเข้า หรือเรียกเก็บในอัตราที่ต่ำลง แต่ทั้งนี้สินค้าต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่ได้ตกลงร่วมกัน

  • สินค้าที่จะได้รับสิทธิประโยชน์ตามกรอบข้อตกลงการค้าเสีอาเซียน-จีน จะต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่ตกลงกันไว้ดังนี้คือ

1.ตรงกับมาตรฐานที่กำหนดทุกประการและบางประการ

2.ตรงกับข้อกำหนดการขนส่งสินค้าโดยตรง

“การขนส่งสินค้าโดยตรง”มีนัยว่าในบางรายการ (ตามข้อตกลง) สินค้านำเข้าจากประเทศในกลุ่มอาเซียนผ่านการขนส่งตรงเข้ามายังประเทศจีน หรือสินค้านำเข้าจากประเทศในกลุ่มอาเซียนที่มีการทำข้อตกลงเขตเสรีทางการค้ากับจีน เข้ามายังประเทศจีน แต่ระหว่างการขนส่งไม่ได้ผ่านไปยังประเทศที่ไม่ได้เป็นประเทศสมาชิกที่ร่วมเปิดเสรีทางการค้ากับจีน

ในกรณีสินค้าที่ขนส่งผ่านเข้าไปยังประเทศที่ไม่ได้อยู่ในข่ายสมาชิกที่ร่วมเปิดการค้าเสรีกับจีน (รวมถึงกรณีที่มีการเปลี่ยนถ่ายพาหนะขนส่งหรือการพักเก็บสินค้าชั่วคราว)ก่อนเข้ามายังจีน จะต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนด(ตามรายละเอียดด้านล่าง) ถึงจะถือว่าเป็นการขนส่งโดยตรงเข้ามาจากประเทศในกลุ่มอาเซียน

  • เนื่องจากมีข้อจำกัดในการขนส่งและเหตุผลทางด้านภูมิศาสตร์
  • ระหว่างที่สินค้าผ่านไปยังประเทศข้างต้น มิได้มีการซื้อขายหรือบริโภค
  • นอกเหนือจากมีความจำเป็นในด้านลำเลียงขนถ่ายพาหนะการขนส่งและการพักเก็บรักษาสินค้าแล้วนั้น สินค้าที่ส่งผ่านไปยังประเทศอื่นจะต้องไม่มีการแปรรูปสินค้าเกิดขึ้น

เอกสารที่ขอยื่นขอปฏิบัติพิธีการนำเข้าสินค้า ที่ใช้กรอบอัตราภาษีที่กำหนดระหว่างจีนและประเทศในอาเซียนมีดังนี้คือ

  • ใบรับรองแหล่งผลิตสินค้าที่ออกโดยหน่วยงานที่เกี่ยวของด้านการส่งออก
  • ใบอนุญาตขนส่งโดยตรง

สินค้าที่ผ่านประเทศที่ไม่ได้อยู่ในข่ายสมาชิกประเทศร่วมเปิดเสรีทางการค้ากับจีน ผู้นำเข้าสินค้าต้องยื่นเอกสารเหล่านี้แก่ศุลกากรจีน

  • BL
  • Commercial Invoice
  • ใบรับรองว่าสินค้ายังไม่ได้ผ่านการแปรรูป

หาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.customs.gov.cn

http://xiamen.custom.gov.cn

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ