โดย ELSTAT ได้รายงานว่าในเดือนสิงหาคม ๒๕๕๔ ยอดขายปลีกทั้งในด้านปริมาณและรายได้ลดลง ซึ่งเป็นผลจากมาตรการรัดเข็มขัดของรัฐบาลและการว่างงานที่เพิ่มขึ้นที่ทำให้ประชาชนลดการใช้จ่ายลง แต่ดีขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า (กรกฎาคม ๒๕๕๔ ลดลง ๔.๓% และ ๒.๕% ตามลำดับ) เนื่องจากได้รับผลกระทบทางบวกจากการท่องเที่ยวและการลดราคาช่วงฤดูร้อน อย่างไรก็ดี ELSTAT คาดว่าในช่วงหลังของปี ๒๕๕๔ การค้าปลีกจะมีการขยายตัวติดลบ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและความสามารถด้านรายได้เพี่อใช้จ่ายที่ลดลงอาจเป็นผลเนื่องจากมาตรการรัดเข็มขัดนั่นเอง
๒.๑ การว่างงาน ในเดือนกรกฎาคม ๒๕๕๔ กรีซมีอัตราการว่างงานเท่ากับ ๑๖.๕% ของกำลังแรงงาน เพิ่มสูงขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนที่เท่ากับ ๑๒.๐ % และเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าที่เท่ากับ ๑๖.๐% โดยมีจำนวนคนงาน ๘๒๐,๒๗๖ คน เพิ่มขึ้น ๒๑๓,๒๔๑ คน (+๓๕.๑%) เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน และเพิ่มขึ้น ๒๖,๕๙๑ คน (+๓.๔%) เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า
๒.๒ การจ้างงาน ณ เดือนกรกฎาคม ๒๕๕๔ กรีซมีจำนวนการจ้างงาน ๔,๑๔๐,๐๐๗ คน ลดลง ๒๒๙,๑๑๘ คน (-๐.๕% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า)
๒.๓ ภาวะเงินเฟ้อ ในเดือนกันยายน ๒๕๕๔ อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นเป็น ๓.๑% จาก ๑.๗% ในเดือนสิงหาคม ๒๕๕๔ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านบ้านพักอาศัยและการคมนาคมขนส่ง แยกรายละเอียดได้ดังนี้
- อาหาร/เครื่องดื่ม +๒.๒ % - สุรา/ยาสูบ +๕.๘ % - เสื้อผ้า/รองเท้า +๒.๘ % - บ้านพักอาศัย +๘.๓ % - การคมนาคมขนส่ง +๔.๘ % - การสื่อสารโทรคมนาคม +๐.๖ % - โรงแรม/ร้านอาหาร +๒.๙ % - สินค้าและบริการอื่นๆ +๒.๗ % - ด้านสุขภาพ -๐.๗ % - การพักผ่อนหย่อนใจ -๐.๓ % - การศึกษา -๐.๔ %
๒.๔ การผลิตภาคอุตสาหกรรม ในเดือนสิงหาคม ๒๕๕๔ การผลิตภาคอุตสาหกรรมลดลง ๑๑.๗% แยกเป็นการผลิตด้านเหมืองแร่ลดลง -๐.๕% การผลิตด้านโรงงาน (โดยเฉพาะสินค้าน้ำมัน ผลิตภัณฑ์ยา เครื่องจักร) ลดลง -๑๑%การผลิตไฟฟ้าลดลง -๑๖.๗% และการผลิตน้ำลดลง -๒.๓%
๒.๕ ยอดการจดทะเบียนรถยนต์ ในช่วง ๑๐ เดือน (มกราคม -ตุลาคม) ของปี ๒๕๕๔ มียอดการจดทะเบียนรถยนต์ (รถใหม่และรถที่ใช้แล้ว) จำนวน ๑๖๘,๙๘๑ คัน และมียอดการจดทะเบียนรถจักรยานยนต์ใหม่จำนวน ๕๖,๔๐๙ คัน ลดลง ๓๑.๗% และ ๑๔.๑% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
ได้รายงานผลการวิจัยเรื่องการส่งเสริมกิจกรรมทางธุรกิจในกรีซซึ่งได้สำรวจเมื่อเดือนตุลาคม ๒๕๕๔ โดยการสอบถามจากผู้ประกอบการ ๑,๑๐๔ บริษัท สรุปผลการสำรวจได้ดังนี้
- ๘๒% ของผู้ตอบแบบสอบถามแจ้งว่าอัตราภาษีและการจ่ายประกันสังคมที่สูง และภาระภาษีอื่นๆมีผลกระทบทำให้ค่าใช้จ่ายของผู้ประกอบการเพิ่มขึ้นอย่างมาก ส่งผลให้กำไรลดลงและบั่นทอนกิจกรรมทางธุรกิจ
- ปัญหาที่สำคัญที่สุดได้แก่ อุปสรรคในการเข้าถึงโครงการช่วยเหลือด้านการเงินจากรัฐทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ ระบบราชการที่ยุ่งยากและล่าช้า การคอรัปชั่นสูง การหลบเลี่ยงภาษีสูง และการค้าแบบใต้ดิน
- ปัญหาสำคัญในระดับรองลงมาได้แก่ ต้นทุนค่าจ้าง ต้นทุนด้านค่าเช่าและการค้า การขาดสภาพคล่องของตลาดในการดำเนินธุรกิจเนื่องจากระบบธนาคารที่ไม่ได้รับเงินทุนจากแหล่งเงินทุนต่างๆ ซึ่งเป็นผลจากภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ
นอกจากนี้ปัญหาความล่าช้าในการแปรรูปวิสาหกิจและการเปิดเสรีด้านวิชาชีพให้เป็นสากล รวมทั้งกำลังซื้อของผู้บริโภคที่ลดลงก็เป็นปัญหาสำคัญเช่นกัน
กระทรวงการคลังกรีซได้รายงานว่าในช่วง ๙ เดือน (มกราคม - กันยายน) ของปี ๒๕๕๔ กรีซขาดดุลงบประมาณ ๑๙.๑๖๑ พันล้านยูโร เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนซึ่งขาดดุล ๑๖.๖๕๐ พันล้านยูโร (ลดลงเมื่อเทียบกับเป้าหมายที่คาดไว้ที่ ๑๙.๒๔๒ พันล้านยูโร) โดยมีรายได้งบประมาณสุทธิ ๓๔.๙๘๐ พันล้านยูโร ลดลง ๔.๒% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน และลดลง ๕.๓% เมื่อเทียบกับช่วงก่อนหน้า (มกราคม - สิงหาคม ๒๕๕๔) รวมทั้งรายได้จากโครงการลงทุนสาธารณะที่เพิ่มขึ้น ๓.๒% (หรือเพิ่มขึ้น ๕๒๙ ล้านยูโร)
ด้านงบประมาณรายจ่ายปกติในช่วง ๙ เดือน (มกราคม - กันยายน) ของปี ๒๕๕๔ กรีซใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ๗.๐% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ซึ่งสะท้อนให้เห็นภาระการจ่ายดอกเบี้ย, การอุดหนุนให้กองทุนประกันสังคม และผลประโยชน์ต่างๆที่ให้แก่ผู้ตกงานรวมทั้งการสนับสนุนทางการเงินให้แก่โรงพยาบาลของรัฐในจำนวนที่เพิ่มสูงขึ้น
ส่วนข้อมูลจาก ELSTAT รายงานว่าในปี ๒๕๕๓ กรีซขาดดุลงบประมาณสูงถึง ๑๐.๖% ของ GDP (ประมาณการไว้ ๑๐.๕%) หรือเท่ากับ ๒๔.๑ พันล้านยูโร และมีหนี้สาธารณะเพิ่มสูงขึ้นถึง ๑๔๔.๙% ของ GDP (เดิมเท่ากับ ๑๔๒.๘% ของ GDP)
ทั้งนี้ กรีซจะต้องลดการขาดดุลงบประมาณลงให้ได้ตามที่ตกลงกับสหภาพยุโรปคือไม่เกิน ๓% ของ GDP ในปี ๒๕๕๗ และได้งบประมาณเบื้องต้นเกินดุลย์ในปี ๒๕๕๕
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกรีซ ( นาย Evangelos Venizelos) คาดการณ์ว่าในช่วง ๔ เดือนหลังของปี ๒๕๕๔ การคลังของประเทศจะอ่อนไหวอย่างมาก เนื่องจากคาดว่าเศรษฐกิจกรีซจะถดถอยมากกว่าที่คาดไว้ โดยมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจติดลบที่ - ๔.๕% (เดิมคาดไว้ -๓%)
เมื่อ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๕๔ ที่ประชุมได้ตกลงเห็นชอบมาตรการแก้ไขปัญหาหนี้สาธารณะของกรีซ โดยการให้ผู้ลงทุนเอกชนที่สมัครใจ ( Private sector involvement- PSI) เข้าร่วมมาตรการตัดลดหนี้ โดยการนำพันธบัตรเงินกู้ที่ถือไว้มาแลกพันธบัตรใหม่ที่ลดมูลค่าลง ๕๐% การลดอัตราดอกเบี้ยลง ๔% และขยายเวลาครบกำหนดชำระคืนออกไป ๑๕-๓๐ ปี ซึ่งคาดว่าจะลดหนี้ที่สะสมลงได้ ๒๖ พันล้านยูโร (หรือคิดเป็น ๑๒% ของ GDP) และทำให้หนี้สาธารณะกรีซลดลงเหลือ ๑๒๐% ของ GDP ในปี ๒๕๖๓ ก่อนหน้านี้กรรมาธิการยุโรปได้คาดว่าหนี้สาธารณะของกรีซจะเพิ่มสูงขึ้นจาก ๑๔๒.๘% ของ GDP ในปี ๒๕๕๓ เป็น ๑๕๗.๗% ของ GDP ในปี ๒๕๕๔ และ ๑๖๖.๑% ของ GDP ในปี ๒๕๕๕ รายละเอียดมาตรการดังกล่าวจะเสร็จสิ้นเป็นรูปธรรมในปลายปี ๒๕๕๔ และสามารถเปิดให้นักลงทุนนำพันธบัตรเดิมมาแลกพันธบัตรใหม่ได้ในช่วงต้นปี ๒๕๕๕
นอกจากนี้ เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดความยุ่งเหยิงของตลาดการเงินในปีหน้า ประเทศยูโรโซนและ IMF ก็จะให้เงินกองทุนเพื่อช่วยเหลือกรีซเพิ่มเติมอีก ๑๓๐ พันล้านยูโร (สำหรับมาตรการ PSI วงเงิน ๓๐ พันล้านยูโร และวงเงิน ๑๐๐ พันล้านยูโร สำหรับการเพิ่มทุนของธนาคารเพื่อป้องกันการขาดทุนจากการปรับโครงสร้างหนี้ และการจำกัดไม่ให้เกิดวิกฤตการเงินต่อเนื่องในภูมิภาค)
กรีซจำเป็นจะต้องได้รับเงินกู้งวดต่อไปจากสหภาพยุโรปและ IMF จำนวน ๘ พันล้านยูโร (วงเงินทั้งสิ้น ๑๑๐ พันล้านยูโร) เนื่องจากคาดว่าเงินสดสำรองฉุกเฉินของประเทศจะหมดลงในเดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๔ ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากภาระการจ่ายค่าจ้าง เงินเดือน และเงินบำนาญแก่ข้าราชการ, หนี้สินกว่า ๖ พันล้านยูโร สำหรับค่าเครื่องมือ/อุปกรณ์และสัญญาจ้างตามโครงการของรัฐ รวมทั้งการจ่ายคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่ผู้ส่งออกกรีซด้วย
ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกรีซได้กล่าวย้ำว่ามาตรการดังกล่าวช่วยสร้างความมั่นใจต่อความยั่งยืนของหนี้สาธารณะกรีซในระยะยาว รวมทั้งเป็นการรับประกันสภาพคล่องของเงินทุนและระบบธนาคารของกรีซมิให้เกิดการขาดทุน และเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของประเทศที่มีเป้าหมายจะลดหนี้สาธารณะลงเหลือ ๑๒๐% ของ GDP ในปี ๒๕๖๓ ซึ่งหากไม่มีมาตรการตัดลดหนี้ดังกล่าว กรีซจะมีหนี้สาธารณะในปี ๒๕๖๓ สูงถึง ๑๗๓% ของ GDP และเน้นย้ำว่ารัฐบาลจะไม่ออกมาตรการรัดเข็มขัดที่ส่งกระทบต่อประชาชนนอกเหนือจากที่ได้ออกมาตรการมาแล้วตามแผนมาตรการรัดเข็มขัดสำหรับปี ๒๕๕๔- ๒๕๕๕ โดยแผนมาตรการรัดเข็มขัดด้านงบประมาณในปี ๒๕๕๕ ซึ่งอยู่ระหว่างการนำเสนอเข้าสู่พิจารณาของรัฐสภา งบประมาณจะถูกตัดลง ๒๗ ล้านยูโร เมื่อเทียบกับงบประมาณปี ๒๕๕๔
๗. ธนาคารกรีซได้แข่งกันเสนออัตราดอกเบี้ยเงินฝากในอัตราที่สูงขึ้นตั้งแต่ระดับ ๑% - ๕% เพื่อจูงใจลูกค้าให้กลับมาฝากเงินและหยุดยั้งแนวโน้มที่จะเกิดภาวะเงินฝากหดตัวอันเป็นผลจากวิกฤตเศรษฐกิจ, โดยเงินฝากที่สูงกว่า ๕,๐๐๐ ยูโร อัตราดอกเบี้ยไม่เกิน ๔.๘% (หรือดอกเบี้ยประมาณ ๒๒๐ ยูโรต่อปี) ส่วนเงินฝากที่เกินกว่า ๒๕,๐๐๐ ยูโร อัตราดอกเบี้ยจะอยู่ที่ ๕% (คิดเป็นดอกเบี้ย ๑,๒๐๐ ยูโรต่อปี) ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยของแต่ละธนาคารจะแตกต่างกันระหว่าง ๒-๕%
ทั้งนี้ ฝ่ายจีน (นาย Jia Qinglin ประธานสภาแห่งจีน) ได้เน้นว่าจีนสนใจที่จะนำเข้าหินอ่อน, น้ำมันมะกอก และไวน์จากกรีซ รวมทั้งการส่งเสริมการลงทุนของจีนในกรีซในสาขาพลังงานท่าเรือและสาธารณูปโภคต่างๆ และในด้านการค้าก็มีความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกันมายาวนาน โดยในปี ๒๕๕๓ มีมูลค่าการค้าระหว่างกันถึง ๔.๓๕ พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นถึง ๑๘.๔% ตั้งแต่ปี ๒๕๕๒ เป็นต้นมา ส่วนในด้านการลงทุนกรีซได้มีการลงทุนในจีนมูลค่า ๑๐๐ ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในขณะที่จีนมีการลงทุนในกรีซมูลค่า ๕๐๐ ล้านเหรียญสหรัฐฯ
๙.๑ กรีซมีการส่งออกเฉลี่ยปีละ ๒๐ พันล้านยูโร หรือคิดเป็นสัดส่วนมากกว่า ๑๐% ของ GDP โดยข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติกรีซ (The Helenic Statistical Authority - ELSTAT) ได้รายงานดุลการค้าของกรีซ ในช่วง ๘ เดือน (มกราคม - สิงหาคม) และในเดือนสิงหาคม ๒๕๕๔ เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน (เป็นข้อมูลที่ไม่รวมสินค้าน้ำมัน)
๙.๒ ข้อมูลจาก EUROSTAT ล่าสุด (มกราคม - กรกฎาคม) ของปี ๒๕๕๔ ปรากฎดังนี้
(๑) การส่งออก กรีซส่งออกสินค้าไปสหภาพยุโรปเกือบ ๕๐% โดยมีประเทศที่กรีซส่งออกสำคัญได้แก่ อิตาลี (สัดส่วน ๙.๙๑%) เยอรมัน (๘.๐๙%) ตรุกี (๗.๗๑%) ไซบรัส (๖.๑๒%) สหรัฐอเมริกา (๖.๐๒%) บัลแกเรีย (๕.๕๓%) สหราช-อาณาจักร (๔.๑๖%) ฝรั่งเศส (๓.๒๘%) และโรมาเนีย (๒.๘๕%)
สินค้าส่งออกสำคัญได้แก่ สินแร่และน้ำมัน ผลิตภัณฑ์ยา อะลูมิเนียม พลาสติก เครื่องจักรไฟฟ้า อาหาร สำเร็จรูป เครื่องจักร และเหล็ก
(๒) การนำเข้า กรีซยังคงนำเข้าจากประเทศสหภาพยุโรปเป็นหลัก โดยมีประเทศที่กรีซนำเข้าสำคัญ ได้แก่ เยอรมัน (สัดส่วน ๑๑.๗๓%) อิตาลี (๑๐.๒๑%) รัสเซีย (๗.๗๐%) จีน (๖.๒๘%) ฝรั่งเศส (๕.๙๐%) เนเธอร์แลนด์ (๕.๘๔%) เบลเยี่ยม (๓.๙๕%) สเปน (๓.๕๐%) สหราชอาณาจักร (๓.๐๓%) และตรุกี (๒.๙๔%) เป็นที่น่าสังเกตว่าแม้ในภาพรวมกรีซจะนำเข้าลดลงถึง ๑๔.๓๙% โดยนำเข้าลดลงจากแทบทุกประเทศแต่กรีซยังคงนำเข้าจากจีนมากเป็นอันดับที่ ๔ (นำเข้าจากไทยอันดับที่ ๔๔) และมีประเทศคู่แข่งสำคัญ ได้แก่ อินเดีย (อันดับที่ ๒๑ สัดส่วน ๑.๑๕%) อินโดนีเซีย (อันดับที่ ๔๑ สัดส่วน ๐.๓๔%) ไต้หวัน (อันดับที่ ๔๒ สัดส่วน ๐.๓๓%) และมาเลเซีย (อันดับที่ ๕๐ สัดส่วน ๐.๒๒%)
สินค้านำเข้าสำคัญ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ยา เรือ เครื่องจักร เครื่องเรือจักร เครื่องจักรไฟฟ้า สินแร่และน้ำมัน ยานพาหนะ พลาสติก และเหล็ก
๑๐. ตัวชี้วัดเศรษฐกิจกรีซ ณ วันที่ ๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๔
จำนวน % เปลี่ยนแปลงเมื่อ % เปลี่ยนแปลง
เทียบกับเดือนก่อน/ เมื่อเทียบกับช่วง
ไตรมาสก่อน เดียวกันปีก่อน ๑. ผลผลิตอุตสาหกรรม (ส.ค. ๒๕๕๔) -๗.๗ % -๑๑.๗ % ๒. คำสั่งซื้อภาคอุตสาหกรรม (ส.ค. ๒๕๕๔) -๒๔.๒ % -๑.๙ % ๓. การบริโภค (ส.ค. ๒๕๕๔) -๖.๔ % -๑.๑ % ๔. ภาวะเงินเฟ้อ (ก.ย. ๒๕๕๔) +๓.๓ % +๓.๑ % ๕. อัตราการว่างงาน (ก.ค. ๒๕๕๔) ๑๖.๕ % +๐.๕ % +๔.๕ % (จำนวนคนว่างงาน) ๘๒๐,๒๗๖ คน ๖. จำนวนคนที่ได้รับการจ้างงาน(ก.ค. ๔,๑๔๐,๐๐๗ คน - - ๒๕๕๔) ๔๐,๙๐๘ +๘.๕ % -๖.๙ % ๗. GDP (ไตรมาสสองปี ๕๔/ล้านยูโร) ที่มา : Hellenic statistical Authority ๑๑. การค้าไทย- กรีซ
๑๑.๑ ในช่วง ๙ เดือนแรกของปี ๒๕๕๔ (มกราคม - กันยายน) ไทยส่งออกสินค้าไปกรีซทั้งสิ้นมูลค่า ๑๓๖.๙ ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนซึ่งส่งออกมูลค่า ๑๖๔.๒ ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ -๑๖.๖๕%
สินค้าส่งออกสำคัญ ๕ อันดับแรกได้แก่ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบมูลค่า ๑๔.๖ ล้านเหรียญสหรัฐฯ (-๒๗.๘๕%) เม็ดพลาสติกมูลค่า ๑๔.๐ ล้านเหรียญสหรัฐฯ (+๓๒๔.๒๕%) รถยนต์อุปกรณ์และส่วนประกอบมูลค่า ๑๒.๖ ล้านเหรียญสหรัฐฯ (-๗๘.๘๖%) รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบมูลค่า ๑๑.๘ ล้านเหรียญสหรัฐฯ(+๓.๗๖%) และเหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์มูลค่า ๘.๓ ล้านเหรียญสหรัฐฯ (+๕๓.๐๗%)
สินค้าที่มีการส่งออกลดลงอย่างเป็นนัยสำคัญ ได้แก่ รถยนต์อุปกรณ์และส่วนประกอบ (-๗๘.๘๖%) อัญมณีและเครื่องประดับ (-๕๑.๗๔%) ตู้เย็น ตู้แช่แข็งและส่วนประกอบ (-๔๒.๓๙%) เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ (-๒๗.๘๕%) และเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ (-๑๕.๗๘%)
สินค้าที่ส่งออกเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญได้แก่ เม็ดพลาสติก (+๓๒๔.๒๕%) ผลิตภัณฑ์อลูมิเนียม (+๖๐,๒๒๕.๐%) อาหารสัตว์เลี้ยง (+๗๑๗.๒๙%) ยางพารา (+๑๘๘.๙๖%) และผลไม้กระป๋องและแปรรูป (+๗๙.๓๖%)
๑๑.๒ ในช่วง ๙ เดือนแรกของปี ๒๕๕๔ (ม.ค.-ก.ย.) ไทยนำเข้าสินค้าจากกรีซทั้งสิ้นมูลค่า ๒๖.๘ ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนซึ่งนำเข้ามูลค่า ๒๗.๑ ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็น -๐.๙๗%
สินค้านำเข้า ๕ อันดับแรกได้แก่ ผัก ผลไม้และของปรุงแต่งที่ทำจากผักผลไม้ มูลค่า ๑๕.๔ ล้านเหรียญสหรัฐฯ (+๑๘.๗๕%) สินแร่โลหะอื่นๆ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์ มูลค่า ๓.๐ ล้านเหรียญสหรัฐฯ (+๕๒.๗๙%) เครื่องจักรกลและส่วนประกอบมูลค่า ๒.๓ ล้านเหรียญสหรัฐฯ (-๕๘.๗๙%) แร่และผลิตภัณฑ์จากแร่ มูลค่า ๑.๑ ล้านเหรียญสหรัฐฯ (+๙๕.๔๓%) และเคมีภัณฑ์มูลค่า ๑.๑ ล้านเหรียญสหรัฐฯ (+๔.๓๕%)
สินค้านำเข้าที่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่ เสื้อผ้าสำเร็จรูป (-๖๒.๘๗%) ผลิตภัณฑ์ทำจากพลาสติก (-๖๒.๖๖%) ผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม (-๕๖.๕๓%) เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ (-๕๘.๗๙%) เครื่องเพชรพลอย อัญมณีเงินแท่งและทองคำ (-๕๖.๔๕%)
๑๑.๓ คาดว่าในช่วง ๓ เดือนหลังของปี ๒๕๕๔ การส่งออกสินค้าไทยไปกรีซยังคงชะลอตัว โดยมีมูลค่าการส่งออกทั้งสิ้น ๑๘๐ ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ต่ำกว่าประมาณการตั้งไว้ ๒๐๐ ล้านเหรียญสหรัฐฯ) เนื่องจากการที่รัฐบาลได้ออกแผนมาตรการรัดเข็มขัดด้านงบประมาณต่อไป ซึ่งจะส่งผลให้ความสามารถในการหารายได้และความต้องการซื้อของประชาชนลดลง รวมทั้งการว่างงานที่ยังคงเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งกระทรวงการคลังกรีซคาดว่าเศรษฐกิจกรีซในช่วง ๔ เดือนหลังของปี ๒๕๕๔ จะถดถอยมากขึ้น โดยมี GDP ติดลบที่ -๔.๕%
สินค้าที่คาดว่ายังคงมีแนวโน้มที่ดี ได้แก่ ยางพารา อาหารสัตว์เลี้ยง เม็ดพลาสติก ผลไม้กระป๋องและแปรรูป
สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ กรุงโรม
ที่มา: http://www.depthai.go.th