1.สถานการณ์ทางเศรษฐกิจของบราชิล
1.1. ญี่ปุ่นนำค่ายรถต่างประเทศตรวจสอบบราชิลเรียกเก็บภาษีอุตสาหกรรม (IPI) เพิ่มขึ้นร้อยละ 30 กับอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ค้านระเบียบ WTO หรือไม่
ตามที่เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2554 ที่ผ่านมารัฐบาลบราชิลประกาศมาตราการเพิ่มเติมในการเรียกเก็บภาษีอุตสาหกรรมหรือ IPI (Tax on industrialized products) สำหรับรถยนต์และรถบรรทุก โดยเพิ่มขึ้นจากอัตราเดิมที่เรียกเก็บร้อยละ 30 ทั้งนี้ ขึ้นอยู่ประเภทและขนาดของรถยนต์ โดยมีเงื่อนไขสำคัญ ได้แก่ จะเรียกเก็บเพิ่มขึ้นเฉพาะรถยนต์ที่ผลิตโดยที่ใช้วัตถุดิบในการผลิตในประเทศ (Local content) น้อยกว่าร้อยละ 65 ของวัตถุดิบและส่วนประกอบในการผลิต ทั้งนี้ มาตราการดังกล่าวเป็นเพียงการดำเนินการเฉพาะการเท่านั้นโดยมีผลตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน 2554 ถึง 31 ธันวาคม 2555
สถานฑูตญี่ปุ่น ณ กรุงบราชิเลีย ได้กล่าวว่า รัฐบาลญีปุ่นเตรียมการนำเรื่องการขึ้นภาษีดังกล่าว เข้าหารือในการประชุมที่ WTO โดยญี่ปุ่นเชื่อว่าการออกมาตราการดังกล่าว อาจส่งผลกระทบต่อการผลิตของอุตสาหกรรมรถยนต์ของญี่ปุ่นทั้งในบราชิลและที่ประเทศอื่นๆ เนื่องจากอุตสาหกรรมรถยนต์ญี่ปุ่นนั้น พึงพาการนำเข้าวัตถุดิบและชิ้นส่วนต่างๆระหว่างกัน ซึ่งอาจมีความเสี่ยงหรือความไม่พร้อมของบริษัทรถยนต์ของญี่ปุ่นจะทำตามข้อกำหนดของบราชิลได้ ซึ่งอาจส่งผลให้ราคารถยนต์ที่ผลิตในบราชิลของ HONDA TOYOTA ราคาสูงขึ้นได้ อย่างไรก็ดี นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าการออกมาให้ความเห็นในเรื่องดังกล่าวของญี่ปุ่น ตลอดจนค่ายรถยนต์อื่นๆ เช่น KIA หรือ ค่ายรถยนต์ยุโรปที่ไม่เห็นด้วยกับมาตราการดังกล่าว เป็นเพียงการการขู่และแสดงให้รัฐบาลบราชิลทำความเข้าใจกับโครงสร้างการผลิตรถยนต์ของบริษัทต่างๆมากขึ้น และอยากให้รัฐบาลบราชิลเข้มวงดในเรื่องนี้น้อยลง
สำหรับประเทศไทยนั้น การส่งออกสินค้าดังกล่าวมาบราชิล ส่วนหญ่จะเป็นชิ้นส่วนที่เกี่ยวกับยางและชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ก็คงได้รับผลกระทบบ้างแต่ไม่น่าจะมากนักเนื่องจาก บราชิลเองยังไม่สามารถผลิตชิ้นส่วนต่างๆโดยเฉพาะชิ้นส่วนที่ทำจากยางได้ ทำให้การนำเข้าสินค้าดังกล่าวคงได้รับผลกระทบที่จะลดลงบ้างแต่คงไม่รุนแรงมากนัก
1.2. บราชิลประกาศลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.50 สะท้อนให้เห็นถึงการเติบโตที่น้อยลง
บราชิลประกาศลดดอกเบี้ยเงินกู้นโยบายจากร้อยละ 12.0 เป็นร้อยละ 11.50 หรือลดลงร้อยละ 0.50 ซึ่งนับเป็นครั้งที่ 2 ที่มีการลดดอกเบี้ยดังกล่าวหลังจากมีการขึ้นมาตลอดในรอบ 7 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งเป็นผลมาจากค่าเงินเฮฮัลที่แข็งค่ามากเกินไป และการที่การส่งออกและการผลิตภายในประเทศได้รับผลกระทบจากการนำเข้าสินค้าที่มีราคาถูกกว่า นอกจากนั้น จากสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่มีความอ่อนไหว ทั้งปัญหาเศรษฐกิจของสหรัฐฯที่มีแนวโน้มจะทดถอยและปัญหาหนี้ของประเทศหลายในประเทศใน EUROZONE ทำให้รัฐบาลบราชิลตัดสินใจลดนโยบายดอกเบี้ยดังกล่าว เพื่อเตรียมรับมือกับภาวะเศรษฐกิจของโลกที่มีความเสี่ยงต่อความตกต่ำ
บราชิลมีปัญหากับการควบคุมเงินเฟ้อของประเทศที่ในปีนี้มีความรุนแรงว่าจะสูงมากเป็นประวัติการณ์ในรอบ 5 ปี โดยทีอัตราเงินเฟ้อที่ปัจจุบันมีอัตราร้อยละ 7.32 มากกว่าที่รัฐบาลได้ตั้งเป้าหมายที่ร้อยละ 4.5-6.5 อยู่มาก อย่างไรก็ดี เมื่อมีการลดดอกเบี้ยในครั้งนี้ ซึ่งคาดการณ์ว่าจะมีการลดอีกในการประชุมครั้งหน้าร้อยละ 0.25 จะทำให้รัฐบาลควบคุมเงินเฟ้อได้ ซึ่งใน 2 สัปดาห์ที่ผ่านมาหลังจากมีการลดดอกเบี้ยแล้ว ค่าเงินเฮฮัลก็มีแนวโน้มอ่อนค่าลงจากเดิม 1.55 เฮฮัลต่อ 1 เหรียญสหรัฐ เป็น 1.8 เฮฮัลต่อ 1 เหรียญสหรัฐในปัจจุบัน
นาย Montega รัฐมนตรีคลังของบราชิล ได้ให้ความเห็นว่าตัวการที่ทำให้เศรษฐกิจโลกมีปัญหานั้น น่าจะมาจากนโยบายค่าเงินเหรียญสหรัฐฯ อ่อนของรัฐบาลสหรัฐนั่นเอง โดยบราชิลมีแนวคิดที่จะเสนอให้มีการปรับหลักเกณฑ์ในการควบคุมเงินตราระหว่างประเทศโดยผ่านเวทีการตกลง WTO เพื่อให่ค่าเงินต่างๆ มีความเหมาะสมมากขึ้น
ในปัญหาด้านปัญหาหนี้ของประเทศในสหภาพยุโรปนั้น บราชิลมีท่าทีในการสนับสนุนไม่ว่าจะเป็นเงินกู้ (หากมีการร้องขอและมีความจำเป็นจากสหภาพยุโรป) และได้ประกาศในการประชุมประเทศเศรษฐกิจใหม่ BRIC ว่าประเทศทุกประเทศต้องให้ความช่วยเหลือในปัญหานี้ อย่างไรก็ดี ก็เห็นว่าสหภาพยุโรปควรช่วยตัวเองให้ถึงที่สุดก่อนที่จะขอความช่วยเหลือจากประเทศอื่นเพราะประเทศต่างๆในยุโรปถือเป็นประเทศเดียวกันแล้วภายใต้ประชาคมยุโรป
นอกจากนั้น ยอดขายปลีกของบราชิลในเดือนกรกฎาคมขยายตัวลดลงร้อยละ 0.4 ซึ่งแย่ที่สุดตั้งแต่เดือนมีนาคมปี 2553 ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการขยายตัวที่ลดลงนี้ เป็นการขยายตัวลดลงครั้งที่รุนแรงที่สุดรองจากการขยายตัวลดลงในเดือนกันยายน 2553 เป็นต้นมา ในปีนี้ภาคการค้าปลีกคาดว่าจะเติบโตประมาณร้อยละ 3.3 ลดลงจากการเติบโตของปีที่แล้วที่ขยายตัวขึ้นถึงร้อยละ 7.5 ซึ่งการขยายตัวที่ลดลงดังกล่าว น่าจะมีสาเหตุจากค่าเงินที่แข็งค่ามากขึ้นของเงินเฮฮัลของบราชิล และการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าต่างๆตามเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้นกว่าการคาดการณ์ของรัฐบาล นอกจากนั้น การคาดการณืและกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจโลกก็ส่งผลให้ความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจในบราชิลลดลงตามไปด้วย
1.3. ค่ายรถฝรั่งเศสเตรียมบุกยึดตลาดบราชิล
บริษัทรถยนต์ยักษ์ใหญ่ของฝรั่งเศสได้แก่ PEUGEOT และ CITROEN ต่างประกาศแผนการขยายการลงทุนเพิ่มขึ้นในบราชิล โดยประกาศว่าจะลงทุนในปี 2012 และ 2015 เป็นเงินจำนวน 240 ล้านยูโร เพื่อขยายฐานการผลิตที่เคยลงทุนไปแล้วในรัฐริโอเดอจาร์เนโร เพื่อให้สามารถผลิตรถยนต์ป้อนตลาดบราชิลได้จากเดิมที่มีกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าของปัจจุบันโดยสามารถผลิตรถยนต์ได้ 300,000 คันต่อปีและเครืองยนต์ 400,000 เครื่องต่อปี ภายในปี 2015
การประกาศดังกล่าวมีขึ้น เช่นเดียวกับค่ายรถยนต์หลายๆค่าย เช่น MERCEDEZ BENZ , VOLKSWAGENและ BMW ของเยอรมัน ค่าย JAC MOTOR และ CHERRY ของจีน ที่ต่างมีแผนงานเพิ่มการลงทุนและกำลังการผลิตในบราชิล โดยปัจจุบันบราชิลสามารถผลิตรถยนต์ใหม่ได้ 3.2-3.4 ล้านคันต่อปี ซึ่งเชื่อว่าเมื่อถึงปี 2015 บราชิลจะสามารถมีกำลังการผลิตรถยนต์ได้ถึง 5 ล้านคันต่อปี และกลายเป็นผู้ผลิตอันดับที่ 3 ของโลกต่อไป
2. สถิติการค้าระหว่างประเทศของบราชิล
สถิติการค้าระหว่างประเทศของบราชิล
1) มูลค่าการส่งออก นำเข้าและดุลการค้าระหว่างประเทศของบราชิลระหว่างปี 2004-2011
มูลค่าการค้า (พันล้าน US$)
ปี ค.ศ. ส่งออก นำเข้า ดุลการค้า 2004 96.7 62.8 33.9 2005 118.5 73.6 44.9 2006 137.8 91.4 46.4 2007 160.6 120.6 40 2008 197.9 173.0 24.9 2009 153.0 127.6 25.4 2010 201.9 181.6 20.3 2011* 226.0* 200.0* 26.0*
- เป็นการคาดการณ์ที่เศรษฐกิจบราชิลมี GDP ขยายตัวร้อยละ 4.5 ในปี 2011
ที่มา ธนาคารกลางบราซิล, สถาบันสถิติแห่งชาติบราซิล กองทุนการเงินระหว่างประเทศ และธนาคารโลก
ตลาดส่งออกที่สำคัญ 5 ลำดับแรก (ส่วนแบ่งตลาด%)
จีน (15.25%) สหรัฐฯ (9.56%) อาร์เจนติน่า (9.17%) เนเธอร์แลนด์ (5.07%) เยอรมนี (4.03%) ไทย (อันดับที่ 33, 0.70%)
สินค้าส่งออกสำคัญ 5 ลำดับแรก
แร่และเชื้อเพลิง เมล็ดพืชและถั่ว เนื้อสัตว์ (ไก่สดแช่แข็ง และเนื้อสดแช่แข็ง) และยานยนต์
แหล่งนำเข้าที่สำคัญ 5 ลำดับแรก
สหรัฐฯ (14.89%) จีน (14.09%) อาร์เจนติน่า (7.94%) เยอรมนี (6.91%) เกาหลีใต้ (4.64%) ไทย (อันดับที่ 22, 1.01%)
สินค้านำเข้าที่สำคัญ 5 ลำดับแรก
แร่และเชื้อเพลิง เครื่องยนต์และเครื่องจักร อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ และเคมีภัณฑ์ (ที่มาจากวัสดุธรรมชาติ)
ข้อมูลจาก World Trade Atlas (เดือนสิงหาคม 2554), *การคาดการณ์ของรัฐบาลบราชิล
โดยบราซิลได้คาดการณ์ว่าในปี 2554 จะสามารถส่งออกเป็นมูลค่ารวม 226,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยขยายตัวเพิ่มขึ้นประมาณ 12% จากปี 2553 ส่วนการนำเข้าปี 2554 คาดการณ์จะมีการนำเข้าประมาณ 200,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯหรือขยายตัวถึง 10-11 % อันเป็นผลมาจากจากการที่มีความต้องการวัตถุดิบในการผลิตจากต่างประเทศเป็นจำนวนมากเนื่องการขยายตัวทางเศรษฐกิจในประเทศ ทำให้อัตราการขยายตัวของการนำเข้าสูงในอัตราที่ใกล้เคียงกับการส่งออก ตลอดจนปัญหาด้านเงินเฟ้อที่เริ่มจะสูงเกินกว่าเป้าหมายที่รัฐบาลต้องการ (ปี 2553 คาดการณ์ 4.5-6.5% ตัวเลขจริง 7.3 %) และอัตราเงินเฮฮัลที่แข็งค่าตั้งแต่กลางปีที่แล้วถึง 17-20 %(รัฐบาลต้องการ 1.70 เฮฮัลต่อ 1 USD ปัจจุบันอยู่ที่ 1.64-1.66 เฮฮัลต่อ 1 USD) ทำให้การส่งออกขยายตัวน้อยกว่าที่คาดไว้ รัฐบาลจึงพยายามควบคุมโดยขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่สูงคือ 12.00 ในปัจจุบัน ทำให้ต้นทุนในการดำเนินธุรกิจของภาคเอกชนสูงขึ้น นอกจากนั้น ผลจากการที่การส่งออกขยายตัวน้อยกว่าที่คาดนั้น ทำให้บราชิลได้ดุลการค้าลดลงตามไปด้วย อย่างไรก็ดี ในปี 2554 รัฐบาลได้มีการคาดการณ์ว่าบราชิลจะได้ดุลการค้าประมาณ 26 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งเพิ่มขึ้น จากปี 2553 ที่บราชิลได้ดุลการค้าเพียง 20 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ จากสถานการณ์ในทางตรงกันข้ามที่กำลังเป็นอุปสรรคของทั้งการส่งออกและการขยายตัวทางเศรษฐกิจของบราชิลดังกล่าว น่าจะส่งผลให้บราชิลพยายามลดการนำเข้าด้วยการออกมาตราการกีดกันการค้าต่างๆ เช่น การขึ้นภาษีสินค้าเพื่อสนับสนุนการผลิตในประเทศ การเพิ่มขั้นตอนการอนุญาตนำเข้าให้ยุ่งยากขึ้น การเข้มงวดในการเข้าออกของเงินตราต่างประเทศ เป็นต้น
2.2.การค้าระหว่างบราชิลกับประเทศไทย
สถิติการค้าระหว่างไทยกับบราชิล (ข้อมูลจาก กระทรวงพาณิชย์ : ระบบ Menucom)
สคร. คาดการณ์ว่าการส่งออกของไทยมายังบราชิลในปี 2554 จะมีมูลค่าประมาณ 2,100 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยขยายตัวสูงขึ้นจากปีที่แล้ว ร้อยละ 30 ซึ่งเป็นไปตามที่กระทรวงพาณิชย์วางเป้าหมายไว้ โดยมีปัจจัยหลักจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องของของบราชิลในปี 2554 ที่คาดว่าจะเติบโตร้อยละ 4.2 ทำให้มีอุปสงค์ความต้องการสินค้าเพิ่มขึ้นมาก ส่งผลให้มีการนำเข้าเพิ่มขึ้นมาก โดยร้อยละ 80 ของสินค้าที่ไทยส่งออกมายัง บราชิลส่วนใหญ่เป็นสินค้าประเภทวัตถุดิบกึงสำเร็จรูปและส่วนประกอบเพื่อนำมาประกอบเป็นสินค้าสำเร็จรูปเพื่อจำหน่ายหรือส่งออกต่อไปยังประเทศในแถบลาตินอเมริกา อเมริกาและยุโรป นอกจากนั้น บราชิลยังเตรียมการเป็นเจ้าภาพการจัดการแข่งขันโอลิมปิกในปี 2012 และฟุตบอลโลกในปี 2014 ทำให้ สคร. มีความเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจของบราชิลจะขยายตัวอย่างต่อเนื่องอย่างน้อย 2-3 ปีข้างหน้า แม้อาจมีปัจจัยลบอื่นๆ เช่น อัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น การตัดรายจ่ายด้านงบประมาณของรัฐบาล การใช้นโยบายอัตราดอกเบี้ยสูง เป็นต้น
การจำแนกกลุ่มผู้บริโภคและรายละเอียดแต่ละกลุ่ม (Market Segmentation) Class A.มี 14 ผู้มีรายได้สูง เจ้าของธุรกิจ นักการเมือง Class B.มี 36 รายได้ระดับสูงถึงปานกลาง หมอ ทนายความ ผู้บริหาร เจ้าของกิจการ Class C.มี 47 ผู้มีรายไดปานกลางถึงต่ำ ผู้ใช้แรงงาน ตำรวจ ครู เลขานุการ ข้าราชการระดับกลาง พนักงานขาย พนักงานต้อนรับ Class A, B หมายถึง ผู้ที่มีเงินเดือนมากกว่า 10 เท่าของค่าแรงขั้นต่ำ หรือมากกว่า 5,400 เฮฮัล Class C หมายถึง ผู้ที่มีเงินเดือนระหว่าง 3 - 10 เท่าของค่าแรงขั้นต่ำ หรือประมาณ 1,620-5,400 เฮฮัล Class D หมายถึง ผู้ที่มีเงินเดือนระหว่าง 1 - 3 เท่าของค่าแรงขั้นต่ำ หรือ 540-1,620 เฮฮัล
สคร. ณ นครเซาเปาโล
ที่มา: http://www.depthai.go.th