Blogger เป็นเครื่องมือใหม่สุดของสินค้าแฟชั่นแบรนด์ที่ใช้โปรโมทสินค้าของตนเองและยังเป็นมากกว่าการร่วมมือที่ให้มีผลเป็นทวีคูณ การที่บางแบรนด์ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดีในการใช้ blogger เป็นการพิสูจน์ว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องจริง
ที่ผ่านมาหลายเดือน ทั้งแบรนด์ขนาดใหญ่และขนาดเล็กได้เพิ่มการใช้วิธีการ blogger โดยหวังว่าจะเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้มากกว่าคู่แข่งขันและความพยายามในการร่วมมือกับ blogger จะเห็นได้ทุกแห่ง ในเดือนสิงหาคมบริษัทเครื่องประดับ DanniJo ได้ทำการเปิดตัวผลิตภัณฑ์สินค้าเครื่องประดับตกแต่งที่ร่วมกับออกแบบโดย blogger ด้านสไตล์ ที่มีชื่อเสียง Ms. Leandra Medine เขียน blog ชื่อว่า The Man Repeller
ห้างสรรพสินค้า Macy’s เปิดตัวแนวคิดเสื้อผ้าในช่วงต้นปีนี้ เรียกว่า Bar III โดยการช่วยเหลือของ Elizabeth Spiridakis เขียนใน blog ชื่อว่า Feels Like White Lightning
Joshua Kissi และ Travis Gumbs เขียนเรื่องสไตล์ของผู้ชาย ใน blog ชื่อ Street Etiquette Rumi Neely เขียนใน blog ชื่อ Fashion Toast
Jan Aldridge เขียนเกี่ยวกับเรื่องรองเท้าและแฟชั่นใน blog Sea of Shoes
แม้แต่ Kmart ก็ยังลงในเกมส์ blogger นี้ด้วย
เมื่อเร็วๆ นี้มีการรณรงค์โฆษณาสินค้าของนางแบบแฟชั่นชื่อ Christina Caradona เขียนอยู่ใน blog ชื่อ Trop Rouge เรื่องสินค้าเสื้อผ้าสำหรับใส่ในห้องนอนในตราของห้างค้าปลีก (Retailer’s private label) ข้อความโฆษณาใน Tagline คือ “เงินซื้อสไตล์ไม่ได้ - Money Can’t Buy Style”
แต่นอกเหนือไปจากความร่วมมือและการสนับสนุนซึ่งเห็นได้ชัดแล้ว ไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะเห็น Blogger ทำงานกับสินค้าแฟชั่นแบรนด์ บางครั้งหุ้นส่วนชั่วคราวพวกนี้ก็ไม่ได้ทำอะไรมากไปกว่าเป็นเจ้าภาพงานปาร์ตี้ เหมือนกับ Blogger ด้านแฟชั่น ชื่อ Tavi Gevinson อายุ 15 ปี เขียน Blog ให้แบรนด์ Miu Miu ในช่วง Fashion’s Night Out ในเดือนกันยายนที่ผ่านมา
บางครั้ง blog อาจจะเป็นรูปภาพ 2-3 รูปที่นำไปโพสทางอินเตอร์เน็ต (online) เหมือนวิธีของ Unabashedly Prep’s F.E. Castleberry ทำให้กับ Ralph Lauren’s Rugby ในฤดูร้อนนี้ และในบางครั้งบางคราว การทำโปรโมชั่นทางดิจิตอล สามารถทำได้ง่ายแค่กล่าวถึงชื่อแบรนด์หรือสินค้าที่นำมาโพสใน Tweet และ Facebook บางครั้งพวก Bloggeres ด้านแฟชั่นทำแบบนี้เกือบทุกวัน
ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลกันระดับไหนก็ตาม สิ่งหนึ่งที่ชัดเจนคือตราบใดที่ยังเกี่ยวกับสินค้าแฟชั่นแบรนด์, Blogger ก็ยังคงอยู่ด้วย
ถึงแม้ว่าการใช้ blog ไม่ใช่วิธีการใหม่ การใช้ blog มีความนิยมอย่างมากมาตั้งแต่ช่วงปลายทศวรรษ 1990 ประชาชนแลกเปลี่ยนข้อมูลกันทางอินเตอร์เน็ต ว่าเขาคิดอย่างไรเกี่ยวกับสินค้าและบริษัทที่ผลิตสินค้า แค่ช่วงเวลา 2-3 ปีที่ผ่านมา blogger สามารถเจาะเข้าไปในการพูดคุยทางเวปและเปลี่ยนความสนุกสนานและรสนิยมส่วนตัวไปสู่การมีอิทธิพลได้ ต้องขอบคุณเครื่องมือ Social Network เช่น Twitter และ Facebook ทำให้ทุกคนสามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของตัวเองกับคนหลายล้านคนได้ (สำเร็จด้วยการเชื่อมโยงกับ blog) นัก blogger ด้านแฟชั่นบางคนทำตัวเองให้แตกต่างออกไปเป็น “ผู้สร้างรสนิยม - Tastemakers”
นี่เองเป็นสาเหตุให้บริษัท Coach ซึ่งเป็นบริษัทเครื่องหนังและ Accessories ของอเมริกาเข้าไปหา Mr. Danny Chung ซึ่งเป็น Social media strategist อายุ 24 ปี เขียนเกี่ยวกับเรื่องสไตล์ส่วนบุคคลและอุตสาหกรรมแฟชั่นใน blog ของเขาชื่อ the modman
Mr. Danny Chung กล่าวว่า “เราอยู่ในช่วงเวลาที่มีการแข่งขันอย่างมากระหว่างแบรนด์ที่อยู่ในความสนใจของผู้บริโถค โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเป็นเรื่องของ Digital หรือ Social Media” เขาอธิบายว่าแบรนด์อย่าง Coach เหมาะกับการใช้ blogger “เพราะว่าโดยส่วนใหญ่แล้วบริษัทต้องการที่จะติดตามผู้เข้าชมของตัวเองและเข้าถึงกลุ่มลูกค้าใหม่”
ในช่วงปลายเดือนมีนาคม Mr. Danny Chung ได้ประกาศว่าเขาจะเป็น Coach Guest blogger ซึ่งระยะเวลาหนึ่งเดือนก่อนหน้านี้ ดำเนินการโดยอีก 11 blogger, กลุ่มbloggerนี้ ได้ใช้กระเป๋าและเครื่องประดับ Coach ในการสร้างสามมุมมองบนเวปไซด์ของแบรนด์และเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนกัน bloggers ก็จะโพสเกี่ยวกับสินค้า Coach ใน blog ของตัวเอง Mr. Danny Chung ใช้สินค้าชนิดต่างๆ ที่ยืมมาจาก Coach เพื่อที่จะแสดงให้ผู้ที่อ่าน blog ของตัวเองรู้ว่าจะทำอย่างไรให้กระเป๋า Coach เข้ากับเสื้อผ้าการแต่งตัวของตัวเองในตู้เสื้อผ้าได้และในเดือนกรกฎาคมก็ได้มีการPost การทำงานภายในโรงงานเครื่องหนัง Coach ด้วย
เป็นที่น่าสังเกตุว่า Mr. Chung เขียนเรื่องแบรนด์นี้ใน blog “the modman” ทั้งก่อนและหลัง ช่วงเวลาที่เขาจะมาเป็น Guest blogger เขากล่าวว่าการเป็นหุ้นส่วนกับแบบนี้เป็นสิ่งที่เหมาะสมอย่างยิ่งกับเขาเพราะว่าเขาซื้อสินค้า Coach มาใช้ก่อนที่จะมีการร่วมมือกันและเขาเห็นแม่ถือกระเป๋า Coach ตั้งแต่เขายังเด็ก
เขากล่าวว่า “มีแบรนด์สินค้าอื่นที่ติดต่อเข้ามาเหมือนกับที่ทำให้กับบริษัท Coach แต่เขาปล่อยโอกาสนั้นไปเพราะเขาไม่รู้สึกว่าผูกพันอย่างเต็มที่กับแบรนด์หรือสินค้านั้น”
เขาบอกว่าสไตล์ของเขามีลักษณะเฉพาะ blogger ส่วนใหญ่จะมีสไตล์เป็นของตัวเองและถ้าเขาทำงานกับสินค้าที่เขาไม่รู้สึกผูกพันมันจะแสดงออกมาให้เห็น เขาไม่ต้องการให้เป็นเรื่องของผลประโยชน์ของการให้ค่าตอบแทน
Mr. Chung ปฎิเสธที่จะบอกว่าเขาได้รับเงินจากการทำงานกับ Coachหรือไม่ เขากล่าวว่าเขาคาดหวังว่าการนำเอาสินค้ามาเผยแพร่ใน blog ของเขาอันเป็นผลมาจากการเป็นหุ้นส่วนกับแบรนด์เป็นสิ่งที่คุ้มค่าแล้ว แต่มี Blogger บางคนไม่กลัวที่จะเรียกร้องเงินเพื่อแลกกับการให้บริการนี้ “Saucy Glossie” blogger ชื่อ Lindsay Calla ซึ่งเป็น Coach Guest blogger เหมือนกัน เขียนบทความใน New York Times เมื่อไม่นานนี้ว่า “ใครก็ตามที่ทำงานบริการให้นั้น ต้องการผลตอบแทนทั้งนั้น”
Ms.Calla และอีก 50 blogger ทิ้งรายละเอียดไว้ใน blog ชื่อ The Digital Brand Architects ซึ่งเป็นเอเยนซี่ ที่ให้คำปริกษาทางด้าน Social media และเป็นบริษัทบริหารจัดการคนมีความสามารถ (Talent Management Firm) เพื่อให้แน่ใจว่า blogger ได้รับผลตอบแทนที่ควรจะเป็น ในบทความเดียวกัน Karen Robinovitz ผู้ร่วมก่อตั้งเอเยนซี่นี้ในเดือนสิงหาคม 2010 กับ Kendra Bracken-Ferguson กล่าวว่า “เราเข้าถึงสิ่งเหล่านี้จากมุมมองแบบเดียวกับเอเยนชี่ด้านวรรณกรรมทำกับนักเขียนคือ เราให้ความสำคัญในความสามารถของเขา”
สิ่งที่ไม่เหมือนกับงานทางวรรณกรรมคือสถาปนิทางด้านแบรนด์ดิจิตอล (Digital Brand Architects - DBA) ได้รับเงินตามความสามารถที่ตนมี ขอบคุณการนำเสนอของ DBA ที่ทำให้ Ms. Calla ได้รับบทบาทในฐานะ “เสียงของผู้หญิงที่แท้จริง - The voice of the real girls" จากร้านขายปลีกแห่งหนึ่งของ TJ Maxx’s ในโฆษณาช่วงฤดูใบไม้ร่วง
Blogger มีอิทธิพลเพียงพอจริงๆ หรือไม่ (และได้เงินเพียงพอหรือไม่?) ที่จะรับประกันการบริหารจัดการแบบมืออาชีพ Blogger บางคนก็ได้รับอย่างนั้นจริง Blogger ที่รู้จักในชื่อว่า BryanBoy เพิ่งจะเซ็นสัญญากับCreative Artists Agency, บริษัทเอเยนซี่ ซึ่งมี Mery Streep และ Jamie Foxx ที่เคยได้รับรางวัลออสการ์มาแล้ว เป็นลูกค้า
Mr. Chung ซึ่งบรรยายลักษณของการใส่ข้อความ On-line ของเขาว่า ค่อนข้างสุภาพและเป็นกลาง ได้กล่าวว่าการหาหุ้นส่วนเป็น blogger ไม่ค่อยมีชื่อเสียงนั้นเป็นสิ่งที่ดีเพราะ bloggers จะมีแนวโน้มที่จะมีสายสัมพันธ์กับกลุ่มผู้อ่านที่แบรนด์ไม่สามารถสร้างขึ้นมาได้จากการโฆษณาหรือการส่งเสริมการขายแบบเดิม
คนที่อ่านติดต่อกับ Blogger “เพราะเขามีความสนใจที่เหมือนกันหรือมีสไตล์เดียวกัน เมื่อเขาได้รับการแนะนำแบรนด์โดยวิธีนี้เขาจะพิจารณาที่จะซื้อมัน มากกว่าการที่เห็นดาราใช้แบรนด์นั้น”
เขาระวังที่จะกล่าวว่าไม่ใช่ทุกแบรนด์ที่จำเป็นต้องวิ่งหา Blogger มาเป็น partner เมื่อเขาไม่ได้เขียน blog, Mr. Chung ให้คำปรึกษาแบรนด์สินค้าความงามและแฟชั่นว่าจะทำอย่างไรจึงจะสร้าง digital footprint ของตัวเองรวมถึงการหา blogger มาเป็น partner
อย่างไรก็ตาม Mr. Chung กล่าวว่าเขาแค่ให้คำแนะนำให้ทำงานกับ blogger ถ้าจุดมุ่งหมายของแบรนด์นั้นคือการหาลูกค้าที่มีศักยภาพหรือลูกค้าใหม่ๆ และได้เพิ่มอีกว่าถ้าจุดประสงค์แตกต่างไปจากนี้โดยสิ้นเชิงเช่น เรื่องธุรกิจ Ecommerce ก็แน่นอนว่าต้องหาเวทีอย่างอื่นเล่น
ปัจจุบันเมื่อเป็นเรื่องในการสร้างแบรนด์และผลตอบรับกลับมา(Feedback)ของผู้บริโภค การทำงานร่วมกับ Blogger เป็นวิธีการที่น่าสนใจสำหรับสินค้าแบรนด์ที่จะเข้าสู่ตลาดที่ยังไม่ได้เข้าไปสำรวจหรือแค่เปลี่ยนวิธีการในการให้ผู้คนได้รับรู้โดยใช้พื้นที่ในดิจิตอล
“เมื่อทำงานกับ Blogger คุณต้องให้อิสระพวกเขาในการสื่อสารด้วยเสียงของเขาเองและมันจะเป็นธรรมชาติ (organic) อย่างมากในวิธีการนี้” Mr. Chung กล่าวว่า “มันจะถูกใส่เข้าไปในเนื้อหาของชีวิตของ Blogger, แทนที่จะดูว่าแบรนด์เห็นเป็นอย่างไร”
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครนิวยอร์ก
ที่มา: http://www.depthai.go.th