รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจและภาวะการค้า ภูมิภาคละตินอเมริกา (1-30 ก.ย. 54)

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday November 17, 2011 11:48 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ประเมินสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและภาวะการค้าระหว่างวันที่ 1-30 ก.ย. 54

1. ภาวะการค้ากับประเทศไทย

1.1 ในช่วงเดือนมกราคม-สิงหาคม 2554 การส่งออกจากไทยไปตลาดชิลี โคลัมเบีย เอกวาดอร์ และเปรู โดยรวมมีมูลค่า 1,007.31 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้าร้อยละ 0.34

1.2 ตลาดที่มีสถานะการณ์การส่งออกของไทยในช่วงมกราคม-สิงหาคม 2554 ที่เพิ่มขึ้นจากการส่งออกในช่วงมกราคม-สิงหาคม 2553 ได้แก่

  • ชิลี มูลค่าการส่งออก 357.84 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดือนมกราคม-สิงหาคม 2553 ร้อยละ 3.86
  • เปรู มูลค่าการส่งออก 206.82 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดือนมกราคม-สิงหาคม 2553 ร้อยละ 4.12

ตลาดที่มีสถานะการณ์การส่งออกของไทยในช่วงมกราคม-สิงหาคม 2554 ที่ลดลงจากการส่งออกในช่วงมกราคม-สิงหาคม 2553 ได้แก่

  • โคลัมเบีย มูลค่าการส่งออก 254.54 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงจากช่วงเดือนมกราคม-สิงหาคม 2553 ร้อยละ -0.007
  • เอกวาดอร์ มูลค่าการส่งออก 188.11 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงจากช่วงเดือนมกราคม-สิงหาคม 2553 ร้อยละ -8.76

1.3 ในเดือนสิงหาคม 2554 สินค้าส่งออกของไทยรายการที่มีมูลการส่งออกสูงสุดไปยังตลาดดังกล่าว ยังคงเป็น รถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ ซึ่งในเดือนสิงหาคม 2554 การส่งออกไปชิลีมีมูลค่า 39.48 ล้านเหรียญสหรัฐเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า 21.61% ไปเปรู 22.14 ล้านเหรียญสหรัฐเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า 55% ไปโคลัมเบีย 16.92 ล้านเหรียญสหรัฐเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า 3.91% ไปเอกวาดอร์ 21.86 ล้านเหรียญสหรัฐเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า 11.24% ส่วนสินค้าส่งออกรายการสำคัญอื่นๆไปตลาดเหล่านี้ ได้แก่ ตลาดชิลี สินค้ารายการที่การส่งออกเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ได้แก่ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป เพิ่มขึ้น 14.78% เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่นๆ เพิ่มขึ้น 289% เครื่องซักผ้า เพิ่มขึ้น 142% ผลไม้กระป๋อง เพิ่มขึ้น 24% ส่วนสินค้ารายการที่การส่งออกลดลงจากเดือนก่อนหน้า ได้แก่ ปูนซีเมนต์ ลดลง -37% ผลิตภัณฑ์พลาสติก ลดลง -39% เครื่องนุ่งห่ม ลดลง -54% เม็ดพลาสติก ลดลง -31% ตลาดโคลอมเบีย สินค้ารายการที่การส่งออกเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ได้แก่ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เพิ่มขึ้น 42% ผลิตภัณฑ์ยาง เพิ่มขึ้น 16% ด้ายและเส้นใยประดิษฐ์ เพิ่มขึ้น 38% เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่นๆ เพิ่มขึ้น 129% ส่วนสินค้ารายการที่การส่งออกลดลงจากเดือนก่อนหน้า ได้แก่ เครื่องยนต์สันดาปภายใน ลดลง -6% เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ ลดลง -10% ตลาดเอกวาดอร์ สินค้ารายการที่การส่งออกเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ได้แก่ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เพิ่มขึ้น 161% ผลิตภัณฑ์ยาง เพิ่มขึ้น 55% เครื่องยนต์สันดาปภายใน เพิ่มขึ้น 8% ด้ายและเส้นใยประดิษฐ์ เพิ่มขึ้น 104% เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เพิ่มขึ้น 103% ตลาดเปรู สินค้ารายการที่การส่งออกเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ได้แก่ เครื่องซักผ้า เพิ่มขึ้น 47% ผลิตภัณฑ์ยาง เพิ่มขึ้น 51% อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป เพิ่มขึ้น 18% เม็ดพลาสติก เพิ่มขึ้น 159% ส่วนสินค้ารายการที่การส่งออกลดลงจากเดือนก่อนหน้า ได้แก่ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ ลดลง -69%

2. ประเมินสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ

2.1 หลังจากที่การขยายตัวของการส่งออกของไทยไปยังตลาดนี้ซึ่งมีการขยายตัวในอัตราที่สูงมากในช่วงปี 2553 มี Momentum อ่อนตัวลงเรื่อยๆ เนื่องจากตลาดอิ่มตัว การขยายตัวของการส่งออกของไทยไปยังตลาดดังกล่าวรายการสำคัญๆที่เป็นสินค้าเครื่องอุปโภค รวมทั้งสินค้าในหมวดรถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ จึงค่อยๆชะลอตัวลง ตามที่สำนักงานฯได้เคยคาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้แล้ว ยกเว้นสินค้ารายการที่เป็นปัจจัยการผลิต ได้แก่ เม็ดและผลิตภัณฑ์พลาสติก ผลิตภัณฑ์ยาง ยางพารา เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ ซึ่งตลาดกำลังมีความต้องการนำเข้าเพิ่มขึ้น เพื่อขยายการผลิตในประเทศอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากเศรษฐกิจของตลาดกลุ่มนี้กำลังขยายตัว รวมทั้งสินค้าอาหารทะเลกระป๋องและผลไม้กระป๋องซึ่งตลาดชิลีมีอัตราการขยายตัวของการนำเข้าจากไทยเพิ่มขึ้น อันเป็นผลมาจากการจัดกิจกรรมเชิญคณะผู้แทนการค้าระดับ VIP จากชิลีจำนวนหกรายมาเยือนงาน Thaifex 2011 และการจัดกิจกรรมเทศกาลอาหารไทยร่วมกับไฮเปอร์มาร์เก็ต TOTTUS ระหว่างวันที่ 2-22 สิงหาคม 2553 แต่ต่อมาในช่วงประมาณเดือนกรกฎาคม 2554 สินค้าน้ำเข้าจากไทยหลายรายการมีสต๊อคสินค้าลดลงยังผลให้การนำเข้าจากไทยเริ่มขยายตัวในอัตราที่เพิ่มขึ้น และสินค้าส่งออกรายการสำคัญหลสยรายการเริ่มมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนๆ อย่างต่อเนื่อง

2.2 สำนักงานฯ มีความเห็นว่า เศรษฐกิจของตลาดยังคงมีเสถียรภาพ ยังผลให้ค่าของเงินตราสกุลท้องถิ่นของตลาดยังค่อนข้างมีเสถียรภาพ มีผลกระทบต่ออำนาจซื้อสินค้าจากต่างประเทศไม่เปลี่ยนแปลงไปมาก ดังนั้น หากราคาสินค้าส่งออกของไทยคิดเป็นเงินเหรียญสหรัฐไม่ปรับตัวสูงขึ้นมาก วิกฤติการเรื่องการอ่อนตัวของเงินเหรียญสหรัฐก็จะไม่ส่งผลกระทบต่อการส่งออกของไทยไปยังชิลีมากนัก แต่หากราคาสินค้าส่งออกของไทยไปตลาดนี้ปรับราคาสูงขึ้นมาก การนำเข้าของตลาดก็มีแนวโน้มชะลอตัว เนื่องจากสินค้าที่นำเข้าส่วนใหญ่มิใช่สินค้าที่เป็นสิ่งจำเป็นในชีวิตประจำวัน (มี Price Elasticity of Demand ในระดับปานกลางถึงสูง) ยกเว้นสินค้าปูนซีเมนต์ ซึ่งชิลีมีความจำเป็นต้องใช้ในการบูรณะประเทศจากอุบัติภัยแผ่นดินไหว และสินค้าประเภทวัสดุในการผลิต เช่น เม็ดพลาสติก ผลิตภัณฑ์ยาง ยางพารา เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์ ซึ่งตลาดมีความต้องการนำเข้าเนื่องจากเศรษฐกิจของตลาดมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งสินค้าในกลุ่มอาหารซึ่งชิลีนำเข้าจากไทยเพิ่มขึ้นเนื่องจากราคาสินค้าอาหารในตลาดชิลีกำลังสูงขึ้น อันเนื่องมาจากการผลิตของโลกลดลงจากภาวะแห้งแล้งในประเทศผู้ผลิตหลายประเทศ รวมทั้งภาวะภูมิอากาศที่แห้งแล้งในชิลีเองในปัจจุบัน อีกทั้งในปีนี้ เปรูก็กลับมาเริ่มนำเข้าอาหารกระป๋องจากไทยเนื่องจากแหล่งอุปทานสำคัญ คือ เอกวาดอร์ผลิตปลากระป๋องได้ไม่พอกับความต้องการของตลาดแถบนี้

2.3 สถานการณ์ที่ค่าของเงินบาทแข็งค่าขึ้นมาก จะส่งผลกระทบในเชิงลบ ต่อศักยภาพการแข่งขันของสินค้าไทยในตลาดดังกล่าว แต่อย่างไรก็ดี ตลาดนี้มีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจพอสมควร ยังผลให้ค่าของเงินตราสกุลท้องถิ่นของตลาดค่อนข้างแข็งค่าเช่นกัน ทำให้ตลาดยังคงมีอำนาจซื้อ ประกอบกับประเทศคู่แข่งขันรายสำคัญของไทยหลายประเทศก็ประสบปัญหามีค่าของเงินตราสกุลท้องถิ่นของตนแข็งค่าขึ้นมากเมื่อเทียบกับเงินเหรียญสหรัฐเช่นกัน สำนักงานฯ จึงคาดว่า ผลกระทบจากการที่ค่าของเงินบาทแข็งค่าขึ้น ที่จะมีต่อการส่งออกของไทยไปยังตลาดนี้จะไม่ถึงขั้นรุนแรงมาก

2.4 ข้อเสนอแนะคือ ทางฝ่ายไทยจะต้องติดตามความเคลื่อนไหวของค่าของเงินตราสกุลท้องถิ่นของประเทศคู่แข่งขันในตลาดการเงินระหว่างประเทศอย่างใกล้ชิด และควรนำมาตรการทางการเงิน การคลัง มาช่วยรักษาค่าของเงินบาทไทยให้ปรับตัวอยู่ในระดับที่ไม่มากไปกว่าอัตราการแข็งค่าขึ้นของเงินตราสกุลท้องถิ่นของประเทศคู่แข่งขัน โดยเฉพาะประเทศในภูมิภาคเอเซียด้วยกัน ได้แก่ ญี่ปุ่น จีน เกาหลีใต้ ไต้หวัน มาเลเซีย อินโดนีเซีย และเวียดนาม เป็นต้น ซึ่งจะเป็นการบรรเทาผลกระทบในทางลบต่อศักยภาพทางการแข่งขันทางการค้าของไทย นอกจากนี้ ไทยควรหาลู่ทางในการเพิ่มการลงทุนในต่างประเทศในลักษณะ Internationalization ให้มากยิ่งขึ้น เพื่อสนับสนุนให้มีเงินทุนไหลออกไปนอกประเทศ รวมทั้งสนับสนุนให้มีการนำเข้าเครื่องจักร อุปกรณ์ และวัสดุในการผลิต จากต่างประเทศ เพื่อขยายกำลังการผลิตในช่วงนี้ เพื่อบรรเทาภาวะที่มีเงินทุนไหลเข้าประเทศมากจนเกินไป และในส่วนของมาตรการทางการค้า สำนักงานฯ เห็นว่า ควรเร่งรัดการจัดทำความตกลงการค้าเสรีกับประเทศคู่ค้าในตลาดนี้ ให้มีผลอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อเสริมศักยภาพในการส่งออกของไทยสู่ตลาด การจัด Business Summit Forum ระหว่างนักธุรกิจนักลงทุนของไทยและของตลาดต่างประเทศ เพื่อสร้างโอกาสทางการค้าและการลงทุนให้ไทย การจัดกิจกรรมผลักดันส่งเสริมการส่งออกสินค้าที่ไทยมีศักยภาพในตลาด ได้แก่ การจัด In-coming Mission และ Out-going Mission ในกลุ่มสินค้าชิ้นส่วนอะไหล่ยานยนต์ อาหาร เครื่องใช้ในบ้าน ไปเจาะและขยายตลาดละตินอเมริกา

2.5 สถานการณ์ทางเศรษฐกิจและการค้าที่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจของตลาดและมีผลกระทบต่อการนำเข้าสินค้าจากไทยที่สำคัญในช่วงเดือนสิงหาคม 2554 ได้แก่ การที่ค่าของเงินตราสกุลท้องถิ่นของตลาด อ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่องเมื่อเปรียบเทียบกับเงินเหรียญสหรัฐ ณ วันที่ 29 สิงหาคม 2554 ค่าของเงินเหรียญสหรัฐในตลาดเงินของชิลีอยู่ที่ประมาณ 1 เหรียญสหรัฐ เท่ากับ 518.47 เปโซของชิลี เพิ่มขึ้นจากอัตรา 1 เหรียญสหรัฐ เท่ากับ 462 เปโซชิลี ในวันที่ 29 สิงหาคม 2554 อันเป็นผลมาจากการโจมตีค่าของเงินโดยกองทุน hedge fund ในตลาดการเงินโลก และการที่ราคาตลาดโลกของทองแดงซึ่งเป็นสินค้าส่งออกหลักของชิลีลดลงมาก ทั้งนี้ การที่ค่าเงินชิลีเปโซอ่อนค่าลงทำให้อำนาจซื้อของชิลีลดลง

กิจกรรมที่ดำเนินการระหว่างวันที่ 1-30 ก.ย. 54

1. การวิจัยและวิเคราะห์ตลาดเชิงลึก (1) รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจและภาวะการค้าภูมิภาคละตินอเมริกา ระหว่างวันที่ 1-31 ส.ค. 54 (2)-(11) รายงานผลการปฏิบัติงานตามตัวชี้วัดผลผลิตเดือนตุลาคม 53 - สิงหาคม 54

2. การรักษาลูกค้าเดิมและแสวงหาลูกค้าใหม่ ประกอบด้วย (2.1) การติดต่อลูกค้าเก่าและลูกค้าใหม่เพื่อชักชวนให้เข้าร่วมกิจกรรมการค้าระหว่างประเทศของกรมฯและสำนักงานฯ (2.2) การจัดลูกค้าต่างประเทศมาเข้าร่วมกิจกรรมของกรมฯ และ (2.3) การจัดลูกค้าต่างประเทศมาเข้าร่วมกิจกรรมการค้าระหว่างประเทศของสำนักงานฯ สำนักงานฯ ได้ดำเนินการ (1) การเชิญนักธุรกิจ 46 ราย มาเยือนงาน BKK RHVAC 2011 & BKK E&E 2011 (2) เชิญนักธุรกิจ 32 ราย มาเยือนงานแสดงสินค้า Education Expo 2011 (3) จัดคณะผู้แทนการค้าเป็นแขก EX2 จำนวน 9 คน เดินทางมาเยือนงานแสดงสินค้า BKK Gems & Jewelry Fair Sep. 2011 (4) การเชิญผู้นำเข้า 1 ราย เพื่อพิจารณามาพบปะเจรจาธุรกิจกับผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารจากไทยรายบริษัท Kodanmal Group ที่จะเดินทางไปเยือนชิลีในเดือน พ.ย. 54

3. การให้บริการนักธุรกิจ (1) ให้บริการผู้นำเข้าชิลี 7 ราย สินค้าครื่องประดับทำจากเหล็กกล้า สิ่งทอ ซีเมนต์ ยางรถยนต์ เครื่องประดับเครื่องแต่งกาย ชิ้นส่วนอะไหล่ยานยนต์ (2)ให้บริการผู้ส่งออกไทย 9 ราย สินค้าอาหารทั่วไป ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ของขวัญ ของประดับตกแต่งบ้าน ยางรถยนต์ สินค้าด้านสุขอนามัยต่างๆ สิ่งทอ ข้าว

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ