ปัจจุบัน อินโดนีเซียเป็นผู้ผลิตกาแฟใหญ่เป็นอันดับสามของโลก รองจากประเทศบราซิล และประเทศเวียดนาม อย่างไรก็ดี อินโดนีเซียคาดว่าจะเป็นผู้ผลิตใหญ่เป็นอันดับสองของโลกได้ภาย ในปี 2016 โดยจะต้องเพิ่มผลผลิตเป็นสองเท่าหรือประมาณ 1.4 ล้านตัน
ทั้งนี้ สมาคมกาแฟจะต้องประสานงานร่วมกับเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟอย่างใกล้ชิดเพื่อเพิ่ม ผลผลิตในไร่กาแฟที่มีอยู่ โดยอินโดนีเซียได้รับความช่วยเหลือจากบราซิลเป็นอย่างดี
ในระยะเริ่มต้น สมาคมจะตรวจสอบพันธุ์กาแฟและสถานที่ปลูกว่ามีความเหมาะสมดีและ ได้รับผลตอบแทนสูงสุดหรือไม่ นอกจากนั้น จะคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ที่เหมาะสม สำหรับในระยะยาว เกษตรกรผู้ปลูกกาแฟจะต้องขยายพื้นที่การเพาะปลูกเพื่อให้อินโดนีเซียมีผลผลิตมากขึ้นเป็นอันดับหนึ่งของโลกภายใน 10 — 15 ปีข้างหน้า
อินโดนีเซียมีพื้นที่เพาะปลูกกาแฟประมาณ 1.3 ล้านเฮกเตอร์ทั่วประเทศ โดยมีเกษตรกร ดูแลอยู่ถึงประมาณ 2 ล้านคน ซึ่งสร้างผลผลิตเฉลี่ยต่อปีประมาณ 700 — 800 กิโลกรัมต่อ เฮกเตอร์ และประมาณ 690,000 ตันต่อปี โดย 78% เป็นกาแฟโรบัสตา และ 22% เป็นกาแฟ อราบิกา
จากผลผลิตทั้งหมด มีการส่งออกทั้งสิ้น 68% โดยส่งออกไปยังประเทศญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และเยอรมัน ขณะที่กาแฟที่เหลืออยู่จำหน่ายภายในประเทศ
การบริโภคกาแฟต่อหัวของชาวอินโดนีเซียรายปีคิดเป็น 0.8 กิโลกรัม ซึ่งต่ำกว่า ประเทศผู้ผลิตรายอื่น เช่น ประเทศบราซิล (6 กิโลกรัม) และประเทศโคลอมเบีย (1.8 กิโลกรัม)
นอกจากต้องเพิ่มผลผลิตในประเทศแล้ว อุตสาหกรรมท้องถิ่นควรจะเพิ่มผลผลิตสำหรับ พันธุ์กาแฟพิเศษที่ปลูกตามแหล่งภูมิศาสตร์ด้วย เช่น กาแฟ Gayo, Mandailing, Lampung, Java, Kintamani, และ Toraja ซึ่งปัจจุบันสร้างผลผลิตกว่า 15% จากผลผลิตทั้งหมดทั่วประเทศ
ทั้งนี้ อุตสาหกรรมกาแฟแปรรูปเป็นผงกาแฟและกาแฟสำเร็จรูปของอินโดนีเซียเติบ โต 3.5% ต่อปี หรือจำนวน 151,671 ตันในปี 2010 จาก 137,215 ตันในปี 2007 และมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้น 38.7% หรือ 114.47 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2010 จาก 52.9 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2007
ที่มา: The Jakarta Post ฉบับวันที่ 17 พฤศจิกายน 2554
แปลและรวบรวม : สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงจาการ์ตา
ที่มา: http://www.depthai.go.th