รายงานการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประเทศอินโดนีเซียในปีนี้ถูกจัดอันดับอยู่ที่ 124 จาก 185 ประเทศทั่วโลก ถึงแม้จะอยู่เหนือกว่าประเทศเวียดนาม ลาว กัมพูชา และพม่า แต่ก็ยังเป็นประเทศที่ถูกจัดอันดับต่ำสุดในกลุ่มประเทศที่ร่วมก่อตั้งอาเซียน โดยประเทศสิงคโปร์อยู่ ในอันดับที่ดีที่สุดในกลุ่มอาเซียน ตามด้วยประเทศบรูไน มาเลเซีย ไทย และฟิลิปปินส์
2011 HDI rank Asean Countries 2011 HDI score 26 สิงคโปร์ 0.866 33 บรูไน 0.836 61 มาเลเซีย 0.761 103 ไทย 0.682 112 ฟิลิปปินส์ 0.644 124 อินโดนีเซีย 0.617 128 เวียดนาม 0.593 138 ลาว 0.524 139 กัมพูชา 0.523 149 พม่า 0.483
ผลชี้วัดนี้พิจารณาจากการพัฒนาทางเศรษฐกิจและคุณภาพของทรัพยากรมนุษย์ในประเทศ ซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงกับการศึกษาและสุขภาพอนามัย ดังนั้น การที่อินโดนีเซียได้รับการจัดอันดับ เช่นนี้จึงสะท้อนถึงสภาพเศรษฐกิจในประเทศที่ไม่เอื้อต่อสวัสดิการแก่ประชาชน
อย่างไรก็ดี อินโดนีเซียมีประชากรที่มากที่สุดในกลุ่มประเทศอาเซียน และเขตเศรษฐกิจมี อยู่เพียงบนเกาะชวา ดังนั้น หากรัฐบาลต้องการเพิ่มผลชี้วัดดังกล่าว รัฐบาลต้องพัฒนาคุณภาพ ประชาชนบนเกาะอื่นด้วย เพื่อลดความเหลื่อมล้ำของคุณภาพชีวิต เช่น สร้างโครงสร้างพื้นฐานบน เกาะกาลิมันตัน หรือมีการสนับสนุนภาคเกษตรกร เนื่องจากเป็นอาชีพของคนส่วนใหญ่ในประเทศ
ในระหว่างประเทศอาเซียน-5 ประเทศสิงคโปร์มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจมากที่สุด โดยระหว่างปี 1989 — 2009 (6.73%) ตามด้วยมาเลเซีย (6.15%) อินโดนีเซีย (5.16%) ไทย (5.02%) และฟิลิปปินส์ (3.79%)
ถึงแม้ผลชี้วัดของอินโดนีเซียพัฒนาขึ้นจาก 0.613 ในปีก่อน แต่อันดับประเทศจากผลชี้วัด ตกลงมาจากอันดับ 108 ในปีก่อน ทั้งนี้ พิจารณาจากการที่อินโดนีเซียขาดแคลนแหล่งน้ำและ สาธารณสุขที่ไม่มีคุณภาพ ซึ่งจะนำไปสู่ปัญหาหลายประการ เช่น ผลผลิตอาหารลดลง ราคาอาหาร เพิ่มขึ้น และความยากจน
อย่างไรก็ดี อินโดนีเซียจะดำเนินการเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชากรต่อไปตามเป้า หมายที่วางไว้ในปี 2015
ที่มา: The Jakarta Post ฉบับวันที่ 4 พฤศจิกายน 2554
แปลและรวบรวม : สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงจาการ์ตา
ที่มา: http://www.depthai.go.th