อินโดนีเซียเรียกร้องการคุ้มครองการค้า แต่สะท้อนกลับนโยบายประเทศ

ข่าวเศรษฐกิจ Friday November 18, 2011 14:25 —กรมส่งเสริมการส่งออก

นักธุรกิจไม่แน่ใจความสามารถในการคุ้มครองสินค้าอินโดนีเซียของรัฐบาลเนื่องจากประเทศคู่แข่งทางการค้าไม่อนุญาตให้มีการนำเข้าสินค้าอินโดนีเซีย เพราะกลัวผลกระทบต่อสินค้าภายใน ประเทศ

ปัจจุบัน สินค้าอินโดนีเซียประสบกับปัญหาการผูกขาดทางการค้า และมาตรการกีดกันทาง การค้าจาก 13 ประเทศ ได้แก่ สหภาพยุโรป อินเดีย สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย ตุรกี แอฟริกาใต้ ฟิลิปปินส์ นิวซีแลนด์ มาเลเซีย จีน บราซิล ไทย และเม็กซิโก

สมาคมสิ่งทออินโดนีเซียกล่าวว่า รัฐบาลอินโดนีเซียไม่มีนโยบายเชิงรุกและอ่อนข้อกับ ประเทศคู่แข่ง เช่น บราซิลและตุรกี มากเกินไป จนทำให้ถูกกีดกันทางการค้า โดยเฉพาะสินค้าสิ่งทอ และเสื้อผ้า ซึ่งเป็นตลาดส่งออกรายใหญ่ของอินโดนีเซีย

มาตรการที่ถูกกีดกันประกอบด้วยการเพิ่มภาษีนำเข้าและมีมาตรการตรวจสอบสินค้าเพิ่มขึ้น มาตรการเหล่านี้รัฐบาลมักนำมาใช้เมื่อสินค้าที่นำเข้ามีราคาต่ำกว่าสินค้าภายในประเทศหรือการนำ เข้าสินค้าเหล่านั้นไม่สามารถอธิบายได้ภายใต้กฎการแข่งขันที่เป็นธรรม

ยกตัวอย่างเช่น ประเทศตุรกีใช้มาตรการเพิ่มภาษีนำเข้าสำหรับสินค้าอินโดนีเซียทั้งสิ้น 17 ชนิดตั้งแต่ปี 2006 ได้แก่ สินค้าผ้าขนสัตว์ เสื้อผ้า รองเท้า ยางรถจักรยานและจักรยานยนต์ อุปกรณ์ท่อ บานพับ เฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น อย่างไรก็ดี มีการยกเลิกการกีดกันสินค้าบางชนิดแล้ว เช่น สินค้ากระเป๋า เนื่องจากมีส่วนแบ่งตลาดในตุรกีเพียง 3%

ดังนั้น ในระหว่างการประชุม APEC ที่ฮาวายปีนี้ รัฐมนตรีกระทรวงการค้าอินโดนีเซียพยา ยามผลักดันให้สมาชิกรับรองการประชุมรอบโดฮาที่มีมาตรการป้องกันการผูกขาดทางการค้า อย่างไร ก็ดี การเรียกร้องเพื่อรักษาผลประโยชน์ของสินค้าอินโดนีเซีย กลับสะท้อนให้เห็นถึงนโยบายการค้า ของอินโดนีเซียเอง เนื่องจากอินโดนีเซียก็เป็นหนึ่งในหลายประเทศที่มีมาตรการกีดกันการนำเข้ามาก หากพิจารณาจากข้อมูลองค์การการค้าโลกปี 2010 อินโดนีเซียติดอันดับ 3 ของประเทศที่มีมาตรการ กีดกันทางการค้าสูงมาก รองจากประเทศอินเดียและตุรกี

ที่มา: The Jakarta Post ฉบับวันที่ 14 พฤศจิกายน 2554

แปลและรวบรวม : สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงจาการ์ตา

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ