รายงานการเข้าพบผู้นำเข้า บริษัท Associazione D-come Design วันที่ ๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๔

ข่าวเศรษฐกิจ Friday November 18, 2011 14:30 —กรมส่งเสริมการส่งออก

๑. ข้อมูลบริษัท

๑.๑ ชื่อบริษัท Associazione D-come Design

๑.๒ ที่อยู่ Via Volta, ๑๒ - ๒๐๑๒๑, Milan

โทรศัพท์ +๓๙ ๐๒ ๒๙๐๐๐๘๔๕

โทรสาร +๓๙ ๐๒ ๒๙๐๐๐๘๔๕

เว็บไซด์ www.dcomedesign.org

อีเมล์ info@dcomedesign.org

๑.๓ ประเภทของกิจการ

สมาคม

๑.๔ ปีที่ก่อตั้ง

๒๐๑๐

๑.๕ ผู้ที่เข้าเยี่ยมพบ

Ms. Patrizia Scarzella (Marketing and Communication)

๒. ข้อมูลที่ได้รับ

๒.๑ ข้อมูลทั่วไปของบริษัท

สมาคม D-come Design ก่อตั้งขึ้นปี ๒๐๑๐ จากดีไซน์เนอร์อิตาลี ๔ ท่านคือ Anty Pansera, Luisa Bocchietto, Loredana Sarti และ Patrizia Scarzella โดยการก่อตั้งสมาคมฯได้รับแรงบันดาลใจจากงานแสดง Torino World Design Capital ๒๐๐๘ ซึ่งการต่อตั้งสมาคมฯมีวัตถุประสงค์เพื่อประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ความสามารถของผู้หญิงทั่วโลกโดยเฉพาะประเทศที่สาม ผ่านการแสดงผลงานตามงานแสดงและโชว์ต่าง ๆ

๒.๒ การเข้าหารือ

โดยสมาคม D-come Design ร่วมกับ Fondazione Internazionale Buon Pastore ONLUS ซึ่งเป็นองค์กรที่ไม่หวัผลตอบแทนก่อตั้งขึ้นเพื่อให้ความช่วยเหลือผู้หญิงภายใต้ชื่อ Good Shepherd Sisters Handicraft ใน ๗๓ ประเทศทั่วโลกได้แก่ แอฟริกา อาเชีย และอเมริกาลาติน ที่ตกเป็นเหยื่อความรุนแรงและความยากจน ซึ่งเป็นการร่วมงานระหว่างผู้เชี่ยวชาญทางด้านดีไซน์ที่มีความรู้และประสบการณ์ กับผู้หญิงจากประเทศที่สามที่ผลิตสินค้าหัตถกรรม เพื่อช่วยพัฒนาเศรษฐกิจ คุณภาพสินค้า และการมีอาชีพที่สามารถพัฒนาความเป็นอยู่ของผู้หญิงให้ดีขึ้น

ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่ทางสมาคมฯและ ONLUS ได้เข้าไปให้ความช่วยเหลือผู้หญิงกว่า ๖๐๐ ชีวิตตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ๒๕๕๔ ใน ๓ จังหวัดของไทย ได้แก่

๑) กรุงเทพฯ ศูนย์ช่วยเหลือ Fatima ของ Good Shepherd Sisters ให้ความช่วยเหลือผู้หญิงจำนวนมากที่อาศัยอยู่ในบริเวณชุมชนแออัด โดยให้ความรู้ในด้านการตัด เย็บปักถักร้อยเสื้อผ้าเด็ก ของเล่น และเครึ่องประดับสำหรับเครื่องแต่งกาย

๒) หนองคาย โดยในปี ๑๙๘๑ ทาง Good Shepherd Sisters เคยให้ความช่วยเหลือภายใต้โครงการ Isan Weaving (คลื่นอีสาน) ในการทำผ้ามัดหมี่เพื่อใช้ผลิตเครื่องประดับตกแต่งภายในบ้านและสำหรับบุคคลที่ทำจากมือ ซึ่งในครั้งนี้ศูนย์ช่วยเหลือ Regina Women's Self Help Center ได้จัดทำโครงการ Hands of Hope เพื่อให้การสนับสนุนการทำกระดาษจากมือ เครื่องปั้นดินเผา และเครึ่องประดับภายในบ้านและส่วนประกอบของเครื่องประดับอัญมณี เพื่อเป็นการช่วยเหลือแก่ผู้ที่ติดเชื้อเอดส์

๓) เชียงราย ภายใต้โครงการงานหัตถกรรมเชียงรายช่วยเหลือผู้หญิงและเด็กผู้หญิง (Chiang Rai Handicrafts sostiente ragazze e donne) ที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านยากจนบนภูเขาทางตอนเหนือของไทย ได้แก่ ชาวเขาเผ่าลาหู่ ลีซอ อีก้อ โม้ง และกะเหรียง โดยให้ความรู้ในด้านการเย็บปักถักร้อยและสิ่งทอสำหรับ เครื่องประดับ

๓. สรุปผลการหารือ

ทางสมาคมฯ ได้จัดเตรียมโครงการภายใต้ชื่อ "MILANO VS THE WORLD FOR SOCIAL DESIGN"เพื่อสนับสนุนและผลักดันให้สินค้าหัตถกรรมที่ได้พัฒนาคุณภาพและคุณค่าจากผู้หญิงในประเทศที่สาม ถูกเผยแพร่สู่สายตาประชาชนผ่านงานแสดงสินค้าเครื่องประดับ-ของตกแต่งบ้าน Macef เดือนกันยาน ๒๕๕๕ ณ เมืองมิลาน โดยทางสมาคมฯ ได้ขอความช่วยเหลือจากสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองมิลาน ในการให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนการนำสินค้าหัตถกรรมของกลุ่มผู้หญิงใน 3 จังหวัดของไทยมาจัดแสดงในงานดังกล่าว ทั้งนี้ ทางสคต. มิลานจะประสานงานกับทางศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (SACICT) เพื่อขอแบ่งพื้นที่ เนื่องจากศูนย์ส่งเสริมฯมีแผนที่จะมาแสดงสินค้าหัตถกรรมในงานแสดงสินค้า Macef กันยายน ๒๕๕๕

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองมิลาน

ที่มา: http://www.depthai.go.th


แท็ก marketing   อีเมล์   dcom  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ