๑. เศรษฐกิจอิตาลีในช่วง ๒ สัปดาห์หลังของเดือนกันยายน ๒๕๕๔ ค่อนข้างซบเซา เพราะผลกระทบจากการปรับลดระดับความน่าเชื่อถือของความเป็นไปได้ในการชำระหนี้สาธารณะของอิตาลีจาก A+ เป็น A ของสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ Standard & Poor เนื่องจากเล็งเห็นว่ารัฐบาลอิตาลีเป็นรัฐบาลผสมที่อ่อนแอ และมีท่าทีไม่จริงจังในการแก้ปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจ ซึ่งภายหลังจากการปรับลดระดับความไม่น่าเชื่อถือ ตลาดหุ้นมิลานก็ปรับตัวลดลงทันที นอกจากนี้สถาบัน Moody's ก็ยังปรับลดระดับความน่าเชื่อถือของบริษัทรถยนต์ยักษ์ใหญของอิตาลี FIAT จากระดับ BA1 เป็น BA2 สืบเนื่องจากภาพลบของหนี้สินคงค้างจำนวน ๘.๓ พันล้านยูโร ทำให้หุ้นบริษัทตกลง ๓.๐๒%
อย่างไรก็ดี ภาคอุตสาหกรรมท่องเที่ยวยังคงมีความหวัง หลังจากการเปิดเผยของรัฐมนตรีกระทรวงท่องเที่ยวของอิตาลี (นาง Maria Victoria Brambilla) ว่าธุรกิจท่องเที่ยวอิตาลีในช่วง ๖ เดือนแรกของปี ๒๕๕๔ สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติเพิ่มขึ้น ๖.๖% และหน้าร้อนที่ผ่านมา (มิถุนายน - สิงหาคม ๒๕๕๔) นักท่องเที่ยวอิตาลีที่เดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศมีจำนวนถึง ๒๔.๕ ล้านคน ส่วนภาคการท่องเที่ยวเพื่อสิ่งแวดล้อม (Green Tourism) ก็มีผู้สนใจเพิ่มขึ้น (เดือนกันยายน ๑๑% และสิงหาคม ๑๓%) ซึ่งสอดคล้องกับรายงานจากสมาพันธ์โรงแรมแห่งอิตาลีว่ามีนักท่องเที่ยวต่างชาติพำนักเพิ่มขึ้น ๘.๔% และนักท่องเที่ยวอิตาลี ๐.๖%
๒. จากผลสำรวจความนิยมในตัวนายกรัฐมนตรี Berlusconi จัดทำโดยนสพ.รายวัน La Repubblica เผยว่ามีผู้ที่ไม่พอใจการทำงานของนายกรัฐมนตรีถึง ๖๔% ของผู้ที่ตอบแบบสอบถาม และคะแนนความนิยมลดลงเหลือ ๒๔% ซึ่งลดลงจากเดือนมิถุนายน ๕%
๓. สำนักงานวิจัยเกี่ยวกับสังคม (CENSIS) คาดการณ์แนวโน้มของประเทศอิตาลีในปี ๒๐๓๐ ไว้ดังนี้
- ประชากรทางใต้ของประเทศอิตาลีจะลดลงประมาณ -๔.๓% และยากจน ขณะที่ตอนกลาง-เหนือ ประชากรจะเพิ่มขึ้นประมาณ +๗.๑% จากการอพยพเข้า
- ๒๖.๕% ของประชากรอยู่ในวัยเกิน ๖๕ ปี เนื่องจากอายุขัยเฉลี่ยของผู้หญิงเพิ่มขึ้นเป็น ๘๗.๕ ปี ผู้ชาย ๘๒.๒ ปี และอัตราส่วนจำนวนประชากรวัยรุ่น ๑๗.๔% ของจำนวนประชากรทั้งหมด ขณะที่ประเทศอื่นในยุโรปมีอัตราส่วนที่สูงกว่า เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส และสเปน (๒๐.๘%, ๒๐.๓% และ ๑๙% ตามลำดับ) อัตราการเกิดลดน้อยลงเพราะจำนวนผู้ครองสถานภาพโสดเพิ่มขึ้น ๓๙% (นับตั้งแต่ปี ๒๐๐๐-๒๐๑๐)
๔. ISTAT ได้รายงานตัวชี้วัดเศรษฐกิจดังนี้
๔.๑ ดัชนีความเชื่อมั่นในตลาดภาคบริการ ในเดือนกรกฎาคม ๒๕๕๔ เท่ากับ ๙๔.๓ จุด (ลดลงจากเดือนมิถุนายน ๒๕๕๔ ที่เท่ากับ ๑๐๐.๙ จุด) แยกเป็นลดลง -๘ จุด ในการประเมินความต้องการ, เพิ่มขึ้น ๑ จุด ในด้านความคาดหวังต่อความต้องการ และลดลง -๒๑ จุด ในด้านความสมหวังต่อสถานการณ์เศรษฐกิจ
๔.๒ ดัชนีความเชื่อมั่นในตลาดการค้าปลีก ในเดือนกรกฎาคม ๒๕๕๔ เท่ากับ ๑๐๓.๓ จุด(เพิ่มขึ้นจากเดือนมิถุนายน ๒๕๕๔ ที่เท่ากับ ๙๙.๕ จุด) แยกเป็นลดลง -๑๐ จุด ในด้านสถานะทางธุรกิจปัจจุบัน, และเพิ่มขึ้น ๑๒ จุด ในด้านความคาดหวังต่อสถานะทางธุรกิจ และเพิ่มขึ้น ๖ จุด ในด้านปริมาณสินค้าคงคลัง
๔.๓ จำนวนกลุ่มผู้ประกอบการ ISTAT ได้รายงานว่าในช่วงระหว่างปี ๒๕๕๑-๒๕๕๓ อิตาลีมีจำนวนกลุ่มผู้ประกอบการเพิ่มขึ้น ๕% ในขณะที่มีจำนวนคนงานลดลง ๐.๕% ทั้งนี้ ปัจจุบันมีจำนวนผู้ประกอบการมากกว่า ๘๐,๐๐๐ กลุ่ม ประกอบด้วยผู้ประกอบการมากกว่า ๑๘๓,๐๐๐ บริษัท และการจ้างงานมากกว่า ๕.๗ ล้านคน
๕. ตัวชี้วัดเศรษฐกิจอิตาลี ณ วันที่ ๙ สิงหาคม ๒๕๕๔
จำนวน เปลี่ยนแปลง เปลี่ยนแปลง
เมื่อเทียบกับเดือนไตรมาส เทียบกับช่วงเดียวกันปี
ก่อนหน้า ก่อน ๑. การผลิตภาคอุตสาหกรรม - ๐.๔% +๐.๑% (ก.ค. ๕๔) ๒. คำสั่งซื้อภาคอุตสาหกรรม - ๐.๒% - ๑.๙% (ก.ค.๕๔) ๓. การบริโภค - ๐.๑% +๑.๑% (พ.ค. ๕๔) ๔. อัตราเงินเฟ้อ +๐.๓% +๒.๗% (ก.ค ๕๔) ๕. อัตราการจ้างงาน ๕๖.๙% ๐% ๐% (มิ.ย ๕๔) (ของกำลังแรงงานทั้งหมด) (จำนวนลูกจ้าง : คน) (๒๒,๙๑๗,๐๐๐) ๕.อัตราการว่างงาน ๘.๐% ๐% -๐.๓% (มิ.ย ๕๔) (จำนวนคนว่างงาน : คน) (๒,๐๐๑,๐๐๐ ) ๖. การนำเข้า - ๐.๓% +๑๘.๙% (พ.ค. ๕๔) ๗.การส่งออก +๐.๑% +๑๙.๙% (พ.ค. ๕๔) ๘. หนี้สาธาณะ (พันล้านยูโร) ๑,๘๙๗ +๐.๓% +๓.๖% (พ.ค.๕๔) ๖. GDP ๓๐๗,๔๐๔ +๐.๓% +๐.๘% (ไตรมาส ๒ ของปี ๕๔) (ล้านยูโร) ที่มา: Confindustria, ConFcommercio, ISTAT * หมายเหตุ: รัฐบาลอิตาลีได้คาดการณ์ GDP ปี ๒๕๕๔ = ๑.๑%
ที่มา: http://www.depthai.go.th