ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา อุตสาหกรรมรองเท้าในไต้หวันถือเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่ผู้ประกอบการโยกย้ายฐานการผลิตไปยังต่างประเทศมากที่สุด ด้วยเหตุผลด้านต้นทุนค่าแรง แต่จากการที่หลายปีมานี้รัฐบาลไต้หวันพยายามส่งเสริมตราสัญญลักษณ์ MIT (Made in Taiwan) ทำให้ชาวไต้หวันมีความตื่นตัวในการใช้แบรนด์ท้องถิ่นมากขึ้น นักท่องเที่ยวต่างชาติโดยเฉพาะจากจีนและญิ่ปุ่นที่เดินทางมาท่องเที่ยวในไต้หวันมากเป็นอันดับหนึ่งและสอง (1.63 ล้านคนและ 1.08 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วนรวมกันร้อยละ 48.69 จากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติทั้งหมด) ต่างก็สนใจจะซื้อหาสินค้าที่ผลิตในไต้หวันติดมือกลับบ้าน แน่นอนว่ากระแสความนิยมเช่นนี้จะส่งผลดีต่อสินค้ารองเท้าด้วยเช่นกัน
โดยหลังจากที่มูลตลาดรองเท้าของไต้หวันลดลงตลอดช่วงสองปีที่ผ่านมาอันเนื่องจากภาวะซบเซาทางเศรษฐกิจ อย่างไรก็ดีในปี 2010 ซึ่งเป็นช่วงภาวะตลาดโดยรวมได้รับอานิสงส์จากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ทำให้ประชาชนหันมาจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น และจากสถิติของ Euromonitor International ชี้ว่า มูลค่าตลาดรองเท้าไต้หวันคิดเป็นมูลค่า 56,916.8 ล้านเหรียญไต้หวัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 จากปี 2009 โดยในจำนวนนี้ สินค้าWomen's Non-sports footware เป็นประเภทสินค้าที่มีมูลค่าตลาดสูงสุด คิดเป็นมูลค่า 28,152.7 ล้านเหรียญไต้หวัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าร้อยละ 2.4 ในขณะที่สินค้า Men's Non-sports footware เป็นสินค้าที่มีอัตราการปรับตัวเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้ามากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 3.1
สินค้ารองเท้าเคยเป็นหนึ่งในสินค้าส่งออกที่สำคัญของไต้หวันมาก่อน แต่จากปัญหาด้านต้นทุนการผลิตทำให้ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ทยอยย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศที่ต้นทุนในการประกอบการถูกกว่าโดยเฉพาะอย่างยิ่งต้นทุนด้านค่าแรง ซึ่งในปี 2553 ไต้หวันส่งออกสินค้ารองเท้าไปยังต่างประเทศคิดเป็นมูลค่ารวม 303.91 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.32 จากปี 2552 โดยเป็นการส่งออกไปยังจีนมากที่สุดด้วยมูลค่า 75.36 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.06 รองลงมาได้แก่ฮ่องกง (มูลค่า 46.22 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.33) และเวียตนาม (มูลค่า 40.44 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.37)
โดยไทยเป็นตลาดส่งออกลำดับที่ 6 ด้วยมูลค่า 14.23 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 45.92 จากช่วงเดียวกันของปี 2552
จากการที่ผู้ประกอบการไต้หวันส่วนใหญ่ย้ายฐานการผลิตไปยังต่างประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งไปยังจีนเวียตนามและอินโดนีเซีย ทำให้มีการนำเข้าสินค้ารองเท้าจากทั้งสามประเทศนี้เป็นจำนวนไม่น้อยในแต่ละปี โดยในปี 2553 ไต้หวันนำเข้าสินค้ารองเท้าจากต่างประเทศคิดเป็นมูลค่ารวม 303.42 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2552 ร้อยละ 27.16 โดยแหล่งนำเข้าสำคัญอันดับ 1 คือจีน ด้วยมูลค่านำเข้ารวม 160.46 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าร้อยละ 22.32 รองลงมาได้แก่จากเวียตนาม (มูลค่า 46.73 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 30.91) อิตาลี (มูลค่า 36.68 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 32.05) และเยอรมันนี (มูลค่า 5.80 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.82) โดยไทยเป็นแหล่งนำเข้าลำดับที่ 6 ด้วยมูลค่า 5.10 ล้านเหรียญไต้หวัน เพิ่มขึ้นจากปี 2009 ร้อยละ 28.98
อัตราภาษีนำเข้า
- HS-Code: 64 ร้อยละ 0-7.5
อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ร้อยละ 5
ไต้หวันไม่มีการกำหนดข้อห้ามหรืออุปสรรคใดๆ ในการนำเข้า
ตลาดไต้หวันถือเป็นตลาดที่ผู้บริโภคมีกำลังซื้อค่อนข้างสูง (GDP per Capita in 2010 : US$18,588) โดยในปี 2010 การแข่งขันด้านราคาของตลาดรองเท้าในไต้หวันไม่เข้มข้นเหมือนในปี 2009 ความถี่ในการการจัดโปรโมชั่นลดราคาสินค้าก็ลดจากปีก่อนหน้ามาก อันเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโดยรวมที่ดีขึ้นมาก ทำให้ราคาสินค้าต่อหน่วยในปี 2010 จะสูงกว่าในปี 2009 เล็กน้อย แต่ยังคงต่ำกว่าในปี 2008 อยู่ สาเหตุสำคัญคือการจัดแคมเปญลดราคาสินค้าบ่อยๆ ในปี 2009 ทำให้ผู้บริโภคมีความอ่อนไหวต่อราคามากขึ้น ดังนั้นแม้พฤติกรรมจับจ่ายซื้อของจะเริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติในปี 2010 แต่จากการที่ความอ่อนไหวนี้ยังคงมีอยู่ ทำให้มีความพยายามในการเลือกหาสินค้าจากช่องทางที่ราคาถูกกว่า ประกอบกับการใช้ชีวิตของชาวไต้หวันที่มีอินเตอร์เน็ตถือเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันไปแล้ว ทำให้ข่าวสารต่างๆของสินค้าแพร่กระจายอย่างรวดเร็วในหมู่ผู้บริโภค ทั้งผ่านทาง Web-blog,Social-Web, Fan-page, Groupon และเวปแนะนำสินค้า รวมไปจนถึง Shopping-Web ต่างๆ
สำหรับส่วนแบ่งตลาดนั้น แบรนด์รองเท้าท้องถิ่นสามารถครองใจผู้บริโภคไต้หวันได้ค่อนข้างมาก จากความต่อเนื่องของโครงการโปรโมทตรา MIT (Made in Taiwan) ของรัฐบาล ทำให้ 5 อันดับแรกของแบรนด์ที่ครองส่วนแบ่งตลาดมากที่สุดต่างก็เป็นแบรนด์ไต้หวันทั้งนั้น โดยมี La New แบรนด์รองเท้าท้องถิ่นชื่อดัง ที่มี Outlet จำนวนมากกว่า 150 แห่งทั่วไต้หวัน ยังรักษาตำแหน่งผู้นำในตลาดรองเท้าของไต้หวันต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 ติดต่อกันด้วยยอดขายในปี 2010 ประมาณ 4,014.42 ล้านเหรียญไต้หวัน คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดประมาณร้อยละ 6.7 โดยอันดับสองได้แก่ Aso แบรนด์ไต้หวันอีกยี่ห้อหนึ่งที่เป็นคู่แข่งขับเคี่ยวกันมาตลอดกับ La New โดย Aso เป็นแบรนด์รองเท้าที่มีจำนวน Outlet มากถึง 220 กว่าแห่ง ถือว่ามากที่สุดในไต้หวันมียอดขาย 3,415.25 ล้านเหรียญไต้หวัน คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 5.7 ถัดมาในอันดับ 3 คือ Miss Sofi ซึ่งก็ยังคงเป็นแบรนด์ไต้หวัน และมียอดขาย 3,115.67 ล้านเหรียญไต้หวัน (ส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 5.2) ส่วนสำหรับอันดับ 4 และ อันดับ 5 คือ Daphne (ยอดขาย 2,816.08 ล้านเหรียญไต้หวัน ส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 4.7) และ AS (ยอดขาย 2,756.17 ล้านเหรียญไต้หวัน ส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 4.6)
อย่างไรก็ดี ในส่วนของรองเท้ากีฬาที่มีสัดส่วนตลาดรวมร้อยละ 11 ของมูลค่าตลาดทั้งหมดนั้น 5 แบรนด์อันดับแรกเป็นแบรนด์ข้ามชาติซึ่งต่างก็เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปคือ adidas (ส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 3.9), New Balance (ส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 3.2), Puma (ส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 3.0), Reebok (ส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 1.3) และ Nike (ส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 0.6)
เห็นได้ชัดว่าในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ผู้ประกอบการไทยส่วนใหญ่ยังคงติดอยู่ในวังวนของการเป็นผู้ผลิตในแบบ OEM
แต่เมื่อพิจารณาจากการเติบโตของแบรนด์ไต้หวันทั้ง La New และ Aso ต่างก็พยายามสร้างเอกลักษณ์ให้กับตัวเองด้วยการนำเอาจุดเด่นด้าน R&D มาใช้ในการคิดค้นพื้นรองเท้าหนังหรือรองเท้าส้นสูงที่มีการประยุกต์นำเอาเทคโนโลยีแบบพื้นอัดลม (Air) ในรองเท้ากีฬาที่มีคุณสมบัติพิเศษในการช่วยให้รู้สึกสบายขึ้นขณะเดินมาใช้ แน่นอนว่าการที่มีวัตถุดิบที่หลากหลายนี้จะสามารถเป็นทางเลือกสำหรับดีไซน์เนอร์ที่จะนำมาประยุกต์ใช้ในการออกแบบได้ อันถือเป็นความสมบูรณ์ของห่วงโซ่อุปทานที่เข้มแข็งทั้งระดับต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ เห็นได้ชัดว่าตลาดสินค้ารองเท้าไม่ใช่เป็นเพียงการแข่งขันเพียงแค่แบรนด์ต่อแบรนด์ หากแต่เป็นการแข่งขันระหว่างSupply-chain กับ Supply-chain ด้วย ดังนั้นการจะพัฒนาตัวเองให้หลีกหนีจากสินค้าจีนหรือเวียตนามนั้น นอกจากสินค้าจะต้องผ่านการออกแบบมาเป็นอย่างดีแล้ว การเลือกใช้วัตถุดิบชั้นดีที่มีความแปลกใหม่ก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน
forecasts to 2014 โดยในรายงานของ Global market review of tomorrow's apparel industry - ชี้ว่า ปัจจัยสำคัญที่ผู้ประกอบการในตลาดสินค้าแฟชั่นให้ความสำคัญมิใช่ต้นทุนราคาถูก หากแต่คือความรวดเร็วในการซื้อขายและคุณค่าของสินค้า ดังนั้นประสิทธิภาพในการตอบสนองต่อความเปลี่ยนแปลงของตลาดของห่วงโซ่อุปทานจึงถือเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่ง จะเห็นได้ว่าในทุกวันนี้ ขั้นตอนต่างๆ ในการผลิตสินค้า ตั้งแต่การออกแบบก่อนจะผลิตเป็นสินค้าสำเร็จรูปโดยเฉลี่ยของสินค้าแฟชั่นแบรนด์ต่างๆ ได้ลดจากประมาณ 24-30 สัปดาห์เหลือเพียง 4-8 สัปดาห์เท่านั้น
นอกจากนี้ การเข้าร่วมในกิจกรรมด้านแฟชั่นเช่นการจัดแฟชั่นโชว์ ถือว่ามีความสำคัญมากในการขยายตลาด เพราะการสร้าง Brand Awareness และ Image ถือเป็นสิ่งสำคัญ แต่หากไม่มีกิจกรรมที่ช่วยในการเสริมสร้างภาพลักษณ์ก็จะทำให้การขยายตลาดทำได้เพียงในวงจำกัด อีกวิธีในการสร้าง Brand Awareness และ Image โดยลงทุนไม่มากแต่ได้ผลตอบแทนที่คุ้มค่าคือการอาศัยชุมชนออนไลน์เช่น Facebook (FB) ในการเป็นสื่อกลางติดต่อกับผู้บริโภคโดยตรง ซึ่ง Aso เป็นแบรนด์ที่ประสบความสำเร็จในการสร้างกลุ่ม Fan บน FB เป็นอย่างมาก ภายในเวลาหนึ่งปีสามารถสร้างกลุ่มสมาชิกได้มากถึง 8 หมื่นกว่าราย
ทั้งนี้ ต้องไม่ลืมว่าความสำเร็จจากการทำตลาดในไต้หวันนั้น จะทำให้สามารถต่อยอดเข้าสู่ตลาดที่ใหญ่กว่าเช่นตลาดจีนได้ง่ายกว่าด้วย เช่นเดียวกับที่แบรนด์ไต้หวันอย่าง La New, Aso, Daphne รวมไปจนถึง Miss Sofi ต่างก็ทำสำเร็จมาแล้ว จากการที่สามารถครองส่วนแบ่งตลาดในจีนได้เป็นจำนวนไม่น้อยเช่นกัน
รายชื่อผู้นำเข้าสินค้ารองเท้ารายสำคัญของไต้หวันปรากฏตามเอกสารแนบ
- Board of Foreign Trade (BOFT) http://www.trade.gov.tw
- Taiwan Textile Federation (TTF) http://www.ttf.org.tw
- Taiwan External Trade Development Council (TAITRA) http://www.taiwantrade.com.tw
- TIS 2011 http://www.taipeiinstyle.com
Oct 21-23, 2011
- TITAS 2011 http://www.titas.com.tw
Oct 12-14, 2011
E-Mail : thaicom.taipei@msa.hinet.net
Tel : (886 2) 2723-1800
Fax : (886 2) 2723-1821
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงมะนิลา (ส่วนที่ 2)
ที่มา: http://www.depthai.go.th