เงินรูปีของอินเดียอ่อนค่าลงสูงสุดในรอบหลายปีที่ผ่านมา เมื่อเทียบกับเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐฯ โดยอัตราแลกเปลี่ยนเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา (21 พฤศจิกายน 2554) อยู่ที่ 52.15 รูปีต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือลดลง 14.3% มากที่สุดในทวีปเอเชีย อยู่ในระดับใกล้เคียงกับค่าเงินรูปีที่อ่อนค่ามากที่สุดในเดือนมีนาคม 2552 ซึ่งอัตราแลกเปลี่ยนอยู่ที่ 52.20 รูปีต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ สาเหตุสำคัญของการอ่อนค่าของเงินรูปีในครั้งนี้ เกิดจากการที่นักลงทุนต้องการเก็บเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ไว้เพื่อความปลอดภัย ทาให้อุปสงค์ (Demand) ของเงินดอลลาร์สหรัฐฯ สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่ที่สำคัญคือ นักลงทุนประเภทสถาบันจากต่างประเทศ (FIIs: Foreign Institutional Investors) ต่างพากันย้ายเงินลงทุนในตลาดหลักทรัพย์อินเดียออกไปลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลของสหรัฐอเมริกา (US T-Bills: US Treasury Bills) ซึ่งในทางการเงินถือว่าเป็นหลักทรัพย์ที่ไม่มีความเสี่ยง (Default-Free Security) จึงส่งผลให้เงินสกุลอื่นๆพากันอ่อนค่าลงอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะอย่างยิ่งเงินสกุลรูปีของอินเดีย ทั้งนี้ ผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินเชื่อว่าในปีนี้ เงินรูปีจะอ่อนค่าลงไปจนถึง 52.50 รูปีต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ และในปีหน้าอาจจะอ่อนค่าลงไปอีกจนถึง 55 รูปีต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศได้ การอ่อนค่าของเงินรูปีในครั้งนี้ส่งผลกระทบทั้งทางบวกและทางลบต่อฝ่ายต่างๆ คือ
1.ครอบครัวคนอินเดียที่ทำงานในต่างประเทศและมีรายได้เป็นเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (หรือเงินสกุลต่างชาติอื่น) จะได้รับเงินรูปีมากขึ้นเมื่อโอนกลับไปประเทศอินเดีย
2.ผู้ส่งออกอินเดีย จะได้รับเงินรูปีเพิ่มขึ้นจากการส่งออกในราคาเดิมที่เป็นสกุลดอลลาร์สหรัฐฯ และจะสามารถส่งออกสินค้าได้เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากราคาสินค้าส่งออกในสกุลดอลลาร์สหรัฐฯ จะถูกลง ทำให้มีความได้เปรียบในเชิงแข่งขัน (Competitive Advantage) ด้านราคา
3.การท่องเที่ยวของอินเดียจะสามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติได้มากขึ้น เนื่องจากนักท่องเที่ยวเหล่านี้จะสามารถแลกเงินเป็นเงินสกุลรูปีไว้จับจ่ายใช้สอยในการท่องเที่ยวได้มากขึ้น หรือจะกล่าวว่านักท่องเที่ยวต่างชาติสามารถเดินทางท่องเที่ยวในอินเดียได้ในราคาที่ถูกลง
4.อุตสาหกรรมภายในประเทศจะถูกปกป้องจากการนำเข้าสินค้าราคาถูกเข้าไปจำหน่ายในอินเดีย เนื่องจากสินค้านำเข้าจะมีราคาสูงขึ้น ทำให้สินค้าที่ผลิตในประเทศมีความได้เปรียบเชิงแข่งขันด้านราคา
1.นักเรียนนักศึกษาที่เดินทางไปศึกษาในต่างประเทศ ครอบครัวจะต้องจ่ายค่าเล่าเรียน ค่าครองชีพและค่ารักษาพยาบาลเป็นเงินสกุลรูปีที่สูงขึ้น
2.ผู้ที่ต้องเดินทางไปต่างประเทศจะต้องจ่ายเงินสกุลรูปีเพิ่มมากขึ้นเมื่อเทียบกับเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐฯ ในการเดินทางไปต่างประเทศ
3.ผู้นำเข้าจะต้องจ่ายเงินรูปีมากขึ้นในการนำเข้าสินค้าเข้าไปจำหน่ายในประเทศอินเดีย รวมทั้งผู้นำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศเพื่อผลิตสินค้าก็จะต้องมีต้นทุนวัตถุดิบสูงขึ้นด้วยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
4.ผู้บริโภคคนสุดท้าย (Ultimate Consumers/End Users) จะได้รับผลกระทบจากราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้โดยเฉพาะสินค้านำเข้าและสินค้าที่ผลิตจากวัตถุดิบนำเข้า จากการสำรวจในเบื้องต้นพบว่า มีสินค้าบางรายการได้เริ่มปรับราคาขึ้นแล้ว ดังนี้
สินค้า ปรับราคาเพิ่มขึ้น ตู้เย็น +2-5% เครื่องซักผ้า +2-5% เตาอบไมโครเวฟ +2-5% เครื่องโทรศัพท์ +5-10% คอมพิวเตอร์แล็ปท็อป +3-5%
นอกจากนั้น บริษัทผู้ผลิตน้ำมันพืชโดยเฉพาะน้ำมันปาล์ม ก็กำลังพิจารณาที่จะปรับราคาน้ำมันพืชเพิ่มขึ้นอีกเช่นกัน เนื่องจากต้องนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศในราคาที่สูงขึ้น
5.รัฐบาลอินเดียก็จะได้รับผลกระทบด้วย เนื่องจากที่ผ่านมารัฐบาลอินเดียมีนโยบายที่ใช้การนำเข้ามาเป็นเครื่องมือในการแก้ไขปัญหาเงินเฟ้อของประเทศ แต่ถ้าหากการนำเข้ามีต้นทุนสูงขึ้น รัฐบาลอาจจะไม่สามารถประสบความสำเร็จจากนโยบายนี้ได้
6.บริษัทเอกชนที่กู้เงินจากต่างประเทศจะถูกกระทบอย่างรุนแรงถ้าหากไม่มีการทำ Hedging ที่เหมาะสมและทันเวลา
7.รัฐบาลอินเดียจะต้องจ่ายเงินในการนำเข้าน้ามันมากขึ้นซึ่งนอกจากจะกระทบต่อสถานะทางการเงินแลการคลังของประเทศแล้ว รัฐบาลอาจจะได้รับการร้องขอจากประชาชนให้ Subsidy ราคาน้ามันอีกด้วย
1.อุตสหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) อุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Outsourcing Businesses จะได้ประโยชน์จากเงินรูปีที่อ่อนค่าลง เนื่องจากอุตสาหกรรมนี้มีรายได้เป็นเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐฯ จากต่างประเทศ ทั้งในธุรกิจ Software และ Outsourcing รายได้ที่ได้รับเป็นเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อแปลงเป็นเงินสกุลรูปีแล้วจะทำให้บริษัทมีรายได้เพิ่มขึ้นทันที
2.อุตสาหกรรมผลิตยา (Pharmaceutical Industry) อุตสาหกรรมผลิตยาซึ่งมีรายได้หลักจากการส่งออกในรูปเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐฯ จะได้รับประโยชน์อย่างมากจากค่าเงินรูปีที่อ่อนตัวลง ทั้งในแง่รายได้ที่เป็นเงินสกุลรูปีที่เพิ่มขึ้นและความได้เปรียบเชิงแข่งขันด้านราคา แต่ในอีกด้านหนี่งบริษัทในอุตสาหกรรมนี้ที่ระดมทุนด้วยการออกพันธบัตรเป็นเงินสกุลต่างประเทศ (FCCB: Foreign Currency Convertible Bond) หรือกู้เงินจากต่างประเทศเป็นสกุลดอลลาร์สหรัฐฯ ก็จะได้รับผลกระทบจากการที่ต้องจ่ายเงินสกุลรูปีเพิ่มขึ้นในการซื้อคืนพันธบัตรและการชำระหนี้เงินกู้
3.อุตสาหกรรมเครื่องหนัง (Leather Industry) อุตสาหกรรมเครื่องหนังจะได้รับประโยชน์ในระยะสั้นจากค่าเงินรูปีที่อ่อนตัวลงในแง่รายได้เป็นเงินสกุลรูปีที่เพิ่มขึ้น และความได้เปรียบเชิงแข่งขันด้านราคา แต่ในระยะยาวอุตสาหกรรมนี้จะได้รับผลกระทบจากราคาวัตถุดิบนำเข้าที่เพิ่มขึ้น
4.อุตสาหกรรมเสื้อผ้าสำเร็จรูป (Apparel Industry) อุตสาหกรรมเสื้อผ้าสำเร็จรูปของอินเดียได้รับผลกระทบไม่มากนักจากค่าเงินรูปีที่อ่อนตัวลง เนื่องจากบริษัทใหญ่ๆในอุตสาหกรรมนี้ได้ทำ Hedging ไว้ล่วงหน้าในระดับอัตราแลกเปลี่ยน 48 รูปีต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ บริษัทเหล่านี้จึงไม่ได้รับประโยชน์จากค่าเงินรูปีทีอ่อนตัวลงแต่อย่างใด ยกเว้นบริษัทรายเล็กที่ไม่ได้ทำ Hedging ไว้เท่านั้นที่จะได้รับประโยชน์จากรายได้ที่เป็นเงินสกุลรูปีเพิ่มขึ้น และมีความได้เปรียบเชิงแข่งขันด้านราคาสามารถแข่งขันกับสินค้าราคาถูกจากจีนและบังคลาเทศได้ ย่างไรก็ตาม จากการเปิดเผยของ Mr. Premal Udani ประธานสภาส่งเสริมการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูป (Apparel Export Promotion Council) ระบุว่าปัจจัยเชิงลบที่อุตสาหกรรมนี้กำลังประสบอยู่ในขณะนี้กลับเกี่ยวข้องกับอุปสงค์ในสินค้าเสื้อผ้าสำเร็จรูปในตลาดยุโรปที่หดตัวลง
5.อุตสาหกรรมเพชรและอัญมณี (Diamond and Gems Industry) อุตสาหกรรมเพชรและอัญมณีของอินเดียเป็นอีกอุตสาหกรรมหนึ่งที่ได้รับประโยชน์จากค่าเงินรูปีที่อ่อนตัวลง เนื่องจากช่วงนี้อุปสงค์ของเพชรและอัญมณีในตลาดทั่วโลกกำลังเพิ่มขึ้นสูงสุด อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากเทศกาลสำคัญ คือ คริสต์มาสและปีใหม่ที่กำลังจะมาถึง จะทำให้ยอดส่งออกสินค้ากลุ่มนี้เพิ่มขึ้นอย่างมากรวมทั้งจะทำให้บริษัทมีรายได้เป็นเงินสกุลรูปีเพิ่มขึ้นอีกด้วย สำหรับอุตสาหกรรมนี้มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองสุรัติ รัฐคุชราต ซึ่งปัจจุบันเป็นแหล่งเจียระไนเพชรที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยผู้ประกอบการจะนำเข้าเพชรดิบ/พลอยดิบเข้ามาจากต่างประเทศเพื่อทำการเจียระไน แล้วจึงทำการส่งออก อย่างไรก็ตาม ในระยะสั้นการอ่อนตัวของค่าเงินรูปีจะยังไม่ได้ส่งผลกระทบในทางลบต่ออุตสาหกรรมนี้แต่อย่างใด เนื่องจากตามปกติของอุตสาหกรรมนี้ ผู้ประกอบการจะนำเข้าวัตถุดิบ (เพชรดิบ/พลอยดิบ) และจ่ายเป็นเงินสดทันที ดังนั้นสินค้าที่จะส่งออกไปจำหน่ายสำหรับช่วงเทศกาลคริสต์มาสและปีใหม่ที่จะถึงนี้ จึงยังไม่ได้รับผลกระทบในเชิงลบในแง่การนำเข้าวัตถุดิบมาแปรรูปและจำหน่าย สำหรับในระยะยาวถ้าหากค่าเงินรูปียังคงอ่อนตัวอยู่ในระดับปัจจุบันหรืออ่อนตัวกว่านี้ อุตสาหกรรมนี้ก็จะได้รับผลกระทบในแง่การนำเข้าวัตถุดิบที่แพงขึ้นกว่าเดิม
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองมุมไบ
ที่มา: http://www.depthai.go.th