ความรับผิดชอบต่อสินค้า เป็นการกีดกันทางการค้า หรือ ภาระที่แก้ไขได้

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday November 29, 2011 10:48 —กรมส่งเสริมการส่งออก

Product Responsibility - a solvable Challenge?

บริษัท take-e-way GmbH ได้จัดสัมมนาเรื่อง "Product Responsibility - a solvable Challenge?" (ความรับผิดชอบต่อสินค้า เป็นการกีดกันทางการค้า หรือ ภาระที่แก้ไขได้) เมื่อวันที่ ๑๗พฤศจิกายน ๒๕๕๔ ณ โรงแรมเบอร์ลิน ภายใต้การสนับสนุนของกระทรวงกระทรวงสิ่งแวดล้อม กระทรวงเศรษฐกิจและเทคโนโลยี่ และสถาบัน Elektro-Altgeraete Register (Foundation EAR) ซึ่งสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงเบอร์ลิน ได้เข้าร่วมสัมมนาดังกล่าว และเห็นว่ามีข้อมูลที่น่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการไทย จึงขอรายงานผลโดยสรุป ดังนี้

๑. บริษัท take-e-way GmbH ตั้งอยู่ในนครฮัมบูร์ก ก่อตั้งเมื่อปี ๒๐๐๔ เป็นผู้ประกอบการด้านการให้บริการแบบครบวงจรสำหรับผู้ค้า ผู้นำเข้าและผู้จำหน่ายสินค้า เครื่องใช้ไฟฟ้าและเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ได้แก่

  • การจดทะเบียนกิจการตามกฎหมายอิเล็กทรอนิกส์ กฎหมายแบตเตอรี่ และระเบียบบรรจุภัณฑ์
  • ให้ความร่วมมือ ช่วยเหลือด้านกฏหมายในเรื่องความรับผิดชอบต่อสินค้า
  • ดูแลระบบ recycle จัดทำระเบียนแจ้งปริมาณขยะเครื่องไฟฟ้ารายเดือนและรายปี โดยทำงานร่วมกับสมาคมรับคืนและแปรสภาพเครื่องไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ใช้แล้ว (vere verband Verband zur Ruecknahme und Verwertung von Elektro- und Elektronikaltgeraeten e. V.)

ปัจจุบันบริษัทฯ ดูแลกิจการที่จดทะเบียนรวม ๒,๓๐๐ ราย ในจำนวนนี้เป็นผู้ผลิต แบบB2C ๓๖ ราย หรือร้อยละ ๓๖ ของกิจการประเภทนี้ในเยอรมนี

๒. บริษัทฯ จัดสัมมนาเรื่อง ความรับผิดชอบต่อสินค้า เป็นการกีดกันทางการค้า หรือ ภาระที่แก้ไขได้ (Product Responsibility - a solvable Challenge?) โดยเชิญตัวแทนจากส่วนราชการเยอรมัน และองค์กรมาให้ข้อมูล ความรู้ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการบริหาร จัดการสินค้า ดังนี้

๒.๑ ดร. โธมัส รุมม์เลอร์ ผอ. แผนกบริหารจัดการขยะ กระทรวงสิ่งแวดล้อม ฯ ได้ให้ข้อมูลด้านกฎหมาย ระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการรับผิดชอบต่อสินค้า การบริหารจัดการทรัพยากร วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต การนำกลับมาใช้ใหม่ การลดปริมาณแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ การบริหารจัดการขยะเครื่องไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ ในส่วนของเครื่องไฟฟ้า มีกฎ ระเบียบเกี่ยวข้อง ที่สำคัญๆ คือ

  • กฎหมายเครื่องไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์
  • กฎหมายแบตเตอรรี่
  • ระเบียบบรรจุภัณฑ์
  • REACH
  • RoHS
  • การออกแบบสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
  • ตรา CE

๒.๒ นายอเล็กซานเดอร์ กอล์ดแบร์ก stiftung elektro-altgerไte register (EAR) มูลนิธิจดทะเบียนเครื่องไฟฟ้าใช้แล้ว เมืองเฟือร์ท เป็นองค์กรเอกชน จัดตั้งตามกฎหมายเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ เมื่อเดือนกันยายน ๒๐๐๔ เพื่อบริหารจัดการขยะไฟฟ้า ที่ตามกฎหมายกำหนดให้ผู้ผลิต ผู้ค้า ตลอดจนผู้นำเข้าต้องรับผิดชอบต่อผลผลิต สินค้าเครื่องใช้ ไฟฟ้าที่ได้นำเข้าสู่ตลาด จะต้องรับผิดชอบ มีการบริหารจัดการขยะของสินค้าเหล่านี้ มูลนิธิ EAR จะเป็นองค์กรช่วยดำเนินการในเรื่องนี้ ปัจจุบันมีผู้ประกอบการ ๑๑,๒๓๙ รายเป็นสมาชิกให้ช่วยดำเนินการในเรื่องนี้ นอกจากนี้ยังมีหน้าที่คอยดูแล สอดส่องแจ้งจับกิจการที่ไม่ยอมปฏิบัติตาม ซึ่งในแต่ละปีจะมีราว ๑,๕๐๐ กิจการที่ทำไม่ถูกต้อง (www.stiftungear.de)

๒.๓ นางยานา เดิร์ชเชิ่ล เจ้าหน้าที่แผนก IV B3 การปกป้องทรัพยากรธรรมชาติ การบริหารจัดการขยะ กระทรวงเศรษฐกิจและเทคโนโลยี ให้ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตสินค้าเครื่องไฟฟ้าอิเล็คทรอนิกส์ที่มีจำกัดและลดน้อยลง การจัดทำระบบรีไซเคิ่ล เพื่อนำวัตถุดิบสำคัญๆ เหล่านี้ เช่น ทองแดง อลูมิเนียม เหล็ก น้ำมัน เป็นต้น กลับเข้าสู่วงการผลิตเป็นสินค้าอีกครั้ง กฎ ระเบียบเกี่ยวข้องที่สำคัญๆ คือ WEEE และ RoHS ในด้านการปฏิบัติงานมีการปรับปรุงกฎ ระเบียบ มาตรการและข้อบังคับต่างๆ ให้เหมาะสม หากยังคงทำไม่ได้ หรือไม่สะดวก จะแก้ไข เช่น ลดขั้นตอนส่วนราชการ ทำให้ง่ายขึ้นโดยเฉพาะสำหรับกิจการ SME เป็นต้น

๒.๔ ดร.มาร์ติน บึชเช่อร์ ผู้จัดการบริษัท Hansecontroll GmbH นครฮัมบูร์ก ประกอบธุรกิจให้บริการ ด้านการตลาด การนำเข้าสินค้า การขนส่ง คลังสินค้า ตรวจสอบคุณภาพสินค้า ความเป็นไปได้ของการเข้าสู่ตลาด จัดทำคู่มือการใช้สินค้า ไปจนถึงการออกหนังสือ เอกสารรับรองสินค้า ตามกฎ ระเบียบ และข้อบังคับต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสินค้า ได้แก่

  • กฎหมายความรับผิดชอบต่อสินค้า (๙๕/๒๐๐๑ EU)
  • เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีหม้อแปลง (๙๕/๒๐๐๖ EU)
  • ของเด็กเล่น (๔๘/๒๐๐๙ EU)
  • เครื่องจักรกล (๔๒/๑๙๙๓ EU)
  • เครื่องสื่อสารคมนาคม (๕/๑๙๙๕ EU)
  • คลื่นไฟฟ้า แม่เหล็ก (๑๐๘/๒๐๐๗ EU)
  • RoHS (๙๕/๒๐๐๒ EU ปรับปรุง ๖๕/๒๐๑๑)
  • การถนอมทรัพยากร (๑๒๕/๒๐๐๙ EU)
  • ตรา CE (๗๖๔, ๗๖๕ และ ๗๖๘/๒๐๐๘ EU)

๒.๕ นายคริสต๊อฟ เบร็ลลิงเก้อร์ หัวหน้าด้านการตลาด บริษัท take-e-way GmbH ได้ชี้แจงการทำงานของกิจการ และแนะนำโฮมเพจใหม่ของบริษัท (www.make-e-business.de) ที่จัดทำขึ้นสำหรับการหาตลาด เสนอขายสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ โดยเน้นเป็นสินค้าที่มีมาตรฐานถูกต้องครบถ้วนตามกฎ ระเบียบข้อบังคับต่างๆ มากมายที่ใช้ในปัจจุบัน

๒.๖ นายโธมัส โครเนอร์ เจ้าหน้าที่บริษัท Donner & Reuschel Treuhand - GmbH นครฮัมบูร์ก ก่อตั้งครั้งแรกในปี ค.ศ. ๑๗๙๘ ประกอบธุรกิจด้านด้านการเงิน ธนาคาร ปัจจุบนับเป็นกิจการในเครือธุรกิจประกันภัย Signal Iduna ได้มาเสนอบริการ การประกันด้านการเงินระหว่างผู้ส่งออกและผู้ประกอบการต่างๆ ที่ต้องการติดต่อกับบริษัท take-e-way GmbH ในเรื่องการจำหน่ายสินค้าหรือการว่าจ้างจัดการด้านการรับรอง ออกหนังสือรับรองสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้า

๒.๗ ที่อยู่ องค์กรเอกชนที่เข้าร่วมสัมมนา

ที่อยู่ องค์กรเอกชนที่เข้าร่วมสัมมนา
1. take-e-way GmbH
Christoph Brellinger
Liebigstra฿e 64
22113 Hamburg
Telefon:+49 (0)40/219010-74
Telefax:+49 (0)40/219010-66
E-Mail:presse@take-e-way.de
Internet:http://www.take-e-way.de
2.      VERE e.V.                                                  สมาคมรับคืนและแปรสภาพเครื่องไฟฟ้า
        Verband zur Ruecknahme und Verwertung                      อิเล็กทรอนิกส์ใช้แล้ว
von Elektro- und Elektronikaltgeraeten e. V.
Liebigstra฿e 64
22113 Hamburg
Deutschland
Telefon:+49 (0)40/219010-64
Telefax:+49 (0)40/219010-66
E-Mail:info(at)vereev.de
Internet:http://www.vereev.de
3.      stiftung elektro-altgerไte register  (EAR)                 มูลนิธิจดทะเบียนเครื่องไฟฟ้าใช้แล้ว
Benno-Strau฿-Str. 1
90763 Frth
Deutschland
Telefon: +49 911 76 66 50
Telefax: +49 911 76 66 599
E-Mail: info@stiftung-ear.de
Internet: www.stiftung-ear.de
4.      Hermes Europe GmbH
Essener Stra฿e 89
D-22419 Hamburg
Telefon: +49 (0)40 537 55-0
Telefax: +49 (0)40 537 54-870
E-Mail: impressum@hermesworld.com
Internet:https://www.hermesworld.com
5.      DONNER & REUSCHEL Aktiengesellschaft
Ballindamm 27
20095 Hamburg
Telefon:+49-(0)40 30217-0,
Telefax:+49-(0)40 30217-354
E-Mail: bankhaus@donner-reuschel.de
Internet:http://www.donner-reuschel.de
6.      Bundesministerium fr Wirtschaft                            กระทรวงเศรษฐกิจและเทคโนโลยี
und Technologie
Scharnhorststr. 34-37
10115 Berlin
Telefon:+49 30 18 615-0
Telefax:+49 30 18 615-7010
E-Mail:info@bmwi.de
Internetwww.bmwi.de
7.      Bundesministerium fr Umwelt,                               กระทรวงสิ่งแวดล้อม ป้องกันธรรมชาติ
Naturschutz und Reaktorsicherheit
Robert-Schuman-Platz 3
53175 Bonn
Telefon: 022899 305-0
Telefax: 022899 305-3225
E-Mail:info@bmu.de
Internetwww.bmu.de

สคต.เบอร์ลิน

ที่มา: http://www.depthai.go.th


แท็ก GIS  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ