สถานการณ์เศรษฐกิจอิตาลีประจำเดือนตุลาคม 2554

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday November 29, 2011 15:20 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ภาพรวมเศรษฐกิจประเทศอิตาลี

จากเหตุการณ์ที่นายแบร์ลุสโคนี นายกรัฐมนตรีอิตาลี ได้ลาออกจากตำแหน่งในวันที่ 12 พฤศจิกายน 2554 ที่ผ่านมา ซึ่งประธานาธิบดี จอร์โจ นาโปลีตาโน ได้แต่งตั้งให้นายมาริโอ มอนติ นักเศรษฐศาสตร์ และอดีตกรรมาธิการยุโรปเข้ารับตำแหน่งผู้นำรัฐบาลชั่วคราว ด้วยนายมอนติเป็นนักเจรจาและมีความสัมพันธ์อันกว้างขวางในสหภาพยุโรป จึงเป็นที่เชื่อว่าจะช่วยให้อิตาลีสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุดอย่างรวดเร็ว แนวทางของกฎหมายปฎิรูปเศรษฐกิจมีวัตถุประสงค์เพื่อลดค่าใช้จ่ายของภาครัฐ และเพิ่มภาษี โดยได้รวมมาตรการที่สภายุโรปเรียกร้องเข้าไว้ด้วย เช่น การแปรรูปรัฐวิสาหกิจและแก้ไขสิทธิเกษียณ คาดว่าจะส่งผลให้ภาวะการขาดดุลการคลังในปี 2013 คงเหลือเพียงศูนย์ โดยประชาชนส่วนใหญ่ให้ความเชื่อมั่นและคาดหวังต่อรัฐบาลของนายมอนติ ในการที่จะสามารถลดหนี้สาธารณะที่มีจำนวนมหาศาลได้อย่างรวดเร็ว

ตารางเครื่องชี้วัดเศรษฐกิจอิตาลีรายเดือน ปี 2554

                                 ช่วงเวลา            อัตราเปลี่ยนแปลง                   อัตราเปลี่ยนแปลง
                                              เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันปีก่อนหน้า(%)     เทียบกับช่วงเวลาก่อนหน้า (%)GDP                            (ไตรมาส 2)                +0.8                            +0.3
การผลิตภาคอุตสาหกรรม             (กันยายน)                  -2.7                            -4.8
ผลประกอบการ                    (กันยายน)                  +1.9                            -5.4
คำสั่งซื้อ                         (กันยายน)                  -3.6                            -8.3
ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ผลิต            (ตุลาคม)                      -                            -0.5 จุด
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค             (พฤศจิกายน)                   -                            +3.2 จุด
การนำเข้า                       (กันยายน)                  +3.6                            -1.3
การส่งออก                       (กันยายน)                 +10.3                            +2.0
อัตราการว่างงาน                  (กันยายน)                  +0.3 จุด                         +0.3 จุด
อัตราเงินเฟ้อ                     (ตุลาคม)                   +3.8                            +0.9
อัตราการจ้างงาน                  (กันยายน)                  -0.1 จุด                         -0.2 จุด
ดัชนีราคาผู้บริโภค                  (กันยายน)                  +3.0                            +0.2 จุด
ดัชนีราคาผู้ผลิตภาคอุตสาหกรรม        (กันยายน)                  +4.5                            +0.2
หนี้สาธารณะ (%/GDP)*             (ปี 2554)                 120.3
*ตัวเลขคาดการณ์ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ
ที่มา : องค์การว่าด้วยความมั่นคงและความร่วมมือในยุโรป, CSC, และ Istat

ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP)

เทียบกับไตรมาส 2 ปี 53 เทียบกับไตรมาส 1 ปี 54

ไตรมาส 2 ปี 54 (%)                               +0.8                      +0.3

ที่มา : สถาบันสถิติแห่งชาติ (Istat)

GDP อิตาลี ไตรมาส 2 ของปี 2554 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 เปรียบเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า และมีอัตราเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 เปรียบเทียบจากช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า จากการประมาณการ GDP เป็นครั้งแรก ของ Euro Area และ Eu 27 ของไตรมาส 3 ปี 2554 เพิ่มขึ้นเหมือนกันร้อยละ 0.2 คงที่เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า และเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงระยะเวลาเดียวกันปีก่อนหน้า เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 ทั้งใน Euro Area และ Eu 27 หลังจากที่ได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 ใน Euro Area และร้อยละ 1.7 ใน Eu 27 ในไตรมาสที่ผ่านมา

การผลิตภาคอุตสาหกรรม (Industrial Production)

เทียบกับกันยายน ปี 53 เทียบกับสิงหาคม ปี 54

กันยายน ปี 54 (%)                                -2.7                   -4.8

ที่มา : Istat

การผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนกันยายน 2554 เทียบกับเดือนก่อนหน้ามีอัตราลดลงร้อยละ 4.8 และเทียบกับช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้ามีอัตราลดลงร้อยละ 2.7 (โดยวันทำงานในเดือนกันยายน 54 และ 53 มีจำนวนวันทำงาน 22 วัน) ในขณะที่การผลิตภาคอุตสาหกรรมใน Euro Area และ Eu 27 มีอัตราลดลงร้อยละ 2.0 และ 1.3 ตามลำดับ เทียบกับเดือนก่อนหน้า และเพิ่มขึ้นเหมือนกันร้อยละ 2.2 เทียบกับช่วงระยะเวลาเดียวกันปีก่อนหน้า สำหรับการผลิตภาคอุตสาหกรรมของอิตาลี 9 เดือนแรกของปี 2554 มีการอัตราขยายตัวร้อยละ 1.3 เทียบกับช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า

โดยการผลิตของกลุ่มสินค้าพลังงานมีอัตราเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.7 และกลุ่มสินค้าที่มีอัตราลดลงได้แก่ กลุ่มสินค้าเพื่ออุปโภคและบริโค กลุ่มสินค้าขั้นกลาง และกลุ่มสินค้าเครื่องมือ ร้อยละ 7.1, 2.5 และ 0.2 ตามลำดับ เทียบกับช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า

ในส่วนภาคอุตสาหกรรมที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ภาคอุตสาหกรรมการผลิตพลังงาน (+7.4%) และภาคอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรกลและส่วนประกอบ (+3.7%) สำหรับภาคอุตสาหกรรมที่มีการขยายตัวลดลงได้แก่ ภาคอุตสาหกรรมสิ่งทอ เครื่องแต่งกายและเครื่องประดับ (-10.1%) และภาคอุตสาหกรรมสารเคมี (-9.3%) ผลประกอบการและคำสั่งซื้อของภาคอุตสาหกรรม

1. ผลประกอบการ

เทียบกับกันยายน ปี 53 เทียบกับสิงหาคม ปี 54

กันยายน ปี 54 (%)                               +1.9                 -5.4

จากข้อมูลของสถาบันสถิติแห่งชาติอิตาลี เปิดเผยว่า เดือนกันยายน 2554 ผลประกอบการของภาค อุตสาหกรรมอิตาลีเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้ามีอัตราลดลงร้อยละ 5.4 (-5.4% จากตลาดภายในประเทศและ -5.3% จากตลาดต่างประเทศ) โดยระหว่างเดือนกรกฎาคม-กันยายน กับมีอัตราเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 เทียบกับช่วง 3 เดือนก่อนหน้า

สำหรับผลประกอบการของภาคอุตสาหกรรมอิตาลีเปรียบเทียบกับช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้ามีอัตราเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 (+12.3% จากตลาดภายในประเทศและ +6.2% จากตลาดต่างประเทศ)

จากข้อมูลของสถาบันสถิติแห่งชาติอิตาลี พบว่าภาคอุตสาหกรรมการผลิตที่มีผลประกอบการเพิ่มขึ้นของเดือนกันยายน 2554 เทียบกับปีก่อนหน้าได้แก่ ภาคการผลิตถ่านโค้ก น้ำมันเชื้อเพลิง 12.9%

2. คำสั่งซื้อ

เทียบกับกันยายน ปี 53 เทียบกับสิงหาคม ปี 54

กันยายน ปี 54 (%)                               -3.6                 -8.3

ที่มา : Istat

เดือนกันยายน 2554 คำสั่งซื้อของภาคอุตสาหกรรมเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้ามีอัตราลดลงร้อยละ 8.3 (-10.1% จากตลาดภายในประเทศและ -5.5% จากตลาดต่างประเทศ) ส่วนเทียบกับช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้ามีอัตราลดลงร้อยละ 3.6% โดยระหว่างเดือนกรกฎาคม-กันยายน 54 คำสั่งซื้อมีอัตราลดลงร้อยละ 0.8 เทียบกับช่วง 3 เดือนก่อนหน้า

โดยภาคการผลิตที่ได้รับคำสั่งซื้อลดลงเทียบกับกันยายน 53 ได้แก่ ภาคการผลิตคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ไฟฟ้าฯ และภาคการผลิตยานพาหนะเพื่อการขนส่ง 28.5% และ 15.8% ตามลำดับ ความเชื่อมั่นของผู้บริโภค

1. ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคอิตาลี

                                            ตุลาคม ปี 54          พฤศจิกายน ปี 54          เปลี่ยนแปลง
ดัชนีความเชื่อมั่น (จุด)                            93.3                   96.5                 +3.2 จุด

ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคอิตาลีเดือนพฤศจิกายนได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นหลังจากลดลงอย่างต่อมาหลายเดือนจาก 93.3 จุด เป็น 96.5 จุด (ขยายตัวเพิ่มขึ้น 3.2 จุด) เนื่องจากประชาชนเริ่มให้ความเชื่อมั่นต่อสถานการณ์ในประเทศ

2. ความเชื่อมั่นของบริษัทผู้ผลิตอิตาลี

                                           กันยายน ปี 54          ตุลาคม ปี 54         เปลี่ยนแปลง
ดัชนีความเชื่อมั่น (จุด)                            94.5                94.0                -0.5 จุด

ที่มา : สถาบันเพื่อการวิเคราะห์และศึกษาเศรษฐกิจ (ISAE)

ดัชนีความเชื่อมันของบริษัทผู้ผลิตอิตาลีเดือนตุลาคม 2554 มีการปรับตัวลดลงจาก 94.5 จุด เป็น 94.0 จุด (ลดลง 0.5 จุด) โดยมีสาเหตุจากคำสั่งซื้อที่มีแนวโน้มแย่ลง แต่ส่วนการรอการผลิตของผู้ผลิตและสินค้าในสต็อกยังมีไม่เปลี่ยนแปลง

การค้าระหว่างประเทศ
(%)                                   เทียบกับกันยายน ปี 53               เทียบกับสิงหาคม ปี 54
การส่งออก
กันยายน ปี 54                               +10.3                            +2.0
การนำเข้า
กันยายน ปี 54                                +3.6                            -1.3
ขาดดุลการค้า                                  1,8 พันล้านยูโร

การขยายตัวของการส่งออกในเดือนกันยายน 54 มีปัจจัยมาจากการส่งออกในปริมาณที่มากของผลิตภัณฑ์โลหะที่ส่งออกให้แก่ฝรั่งเศส และสวิตเซอร์แลนด์ และผลิตภัณฑ์ยานพาหนะที่ส่งออกให้แก่ ฝรั่งเศส

การส่งออกและการนำเข้าในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2554 มีอัตราเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.5 และ 13.2 ตามลำดับ เทียบกับช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยส่วนใหญ่เป็นการค้าระหว่างประเทศที่ไม่ใช่สมาชิกสหภาพยุโรป

 (%)                                     เทียบกับกันยายน ปี 53       เทียบกับสิงหาคม ปี 54
การส่งออกสู่ประเทศที่ไม่ใช่สมาชิกสหภาพยุโรป
กันยายน ปี 54                                   +18.7                     +4.1
การนำเข้าจากประเทศที่ไม่ใช่สมาชิกสหภาพยุโรป
กันยายน ปี 54                                    +3.9                     -2.8
ขาดดุลการค้า                                      1,5 พันล้านยูโร

ที่มา : Istat

การส่งออกและการนำเข้าของอิตาลีแก่ประเทศที่ไม่ใช่สมาชิกสหภาพยุโรปในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2554 พบว่า การส่งออกมีอัตราเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.8 การนำเข้ามีอัตราเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.7 เทียบกับช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า

ตลาดส่งออกที่สำคัญได้แก่ สวิสเซอร์แลนด์ (+48.5%) ญี่ปุ่น (+29.0%) กลุ่มประเทศ EDA (+26.8%) กลุ่มประเทศ Asean (+25.4%) และกลุ่มประเทศ Mercosur (+23.5%)

แหล่งนำเข้าที่สำคัญได้แก่ รัสเซีย (+38.3%) สหรัฐอเมริกา (+18.7%) อินเดีย (+14.8%) กลุ่มประเทศ Asean (+9.5%) และกลุ่มประเทศ Mercosur (+7.2%)

1. การส่งออกของอิตาลี

ระหว่างเดือนมกราคม-สิงหาคม 2554 อิตาลีส่งออกไปทั่วโลกคิดเป็นมูลค่า 349,227 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขื้นร้อยละ 22.9

2. การนำเข้าของอิตาลี

ระหว่างเดือนมกราคม-สิงหาคม 2554 อิตาลีนำเข้าจากทั่วโลกคิดเป็นมูลค่า 381,909 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขื้นร้อยละ 24.3

3. การส่งออกมาไทย

ระหว่างเดือนมกราคม-สิงหาคม 2554 ไทยเป็นตลาดส่งออกอันดับที่ 51 ของอิตาลี อิตาลีส่งออกมาไทยมีมูลค่า 1,091 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 46.7% เปรียบเทียบจากช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยสินค้าที่อิตาลีส่งออกมาไทยเพิ่มขึ้น ได้แก่ เคมีภัณฑ์เบ็ดเตล็ด (+207.9%) ยานบก (+66.6%) เครื่องจักร (+47.3%) อุปกรณ์และเครื่องอุปกรณ์ที่ใช้ในทางทัศนศาสตร์ (+39.5%) และเครื่องจักรกลไฟฟ้า (+20.8%) เป็นต้น สินค้าที่อิตาลีส่งออกมาไทยลดลง ได้แก่ หนังดิบและหนังฟอก (-5.6%) อลูมิเนียม (-41.5%) และใยยาวประดิษฐ์ (-21.6%) เป็นต้น

4. การนำเข้าจากไทย

ระหว่างเดือนมกราคม-สิงหาคม 2554 ไทยเป็นแหล่งนำเข้าอันดับที่ 47 ของอิตาลี ซึ่งอิตาลีนำเข้าจากไทยมีมูลค่า 1,409 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 24.0% เปรียบเทียบจากช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า ซึ่งสินค้าที่อิตาลีนำเข้าเพิ่มขึ้นจากไทย ได้แก่ ยาง (+64.8%) เครื่องจักร (+13.1%) และอาหารทะเลและปลา (+35.1%) เป็นต้น สินค้าทิ่อิตาลีนำเข้าลดลงจากไทย ได้แก่ ยานบก (-7.4%) และของปรุงแต่งจากเนื้อสัตว์ ปลา (-1.5%) เป็นต้น อัตราเงินเฟ้อ (Inflation rate)

                                          เทียบกับตุลาคม ปี 53           เทียบกับกันยายน ปี 54
ตุลาคม ปี 54 (%)                                +3.8                        +0.9

ที่มา : Eurostat

จากข้อมูลของ Eurostat พบว่าเดือนตุลาคม 2554 อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นจากเดือนกันยายน 2554 ร้อยละ 0.9 และเพิ่มขึ้นจากเดือนตุลาคม 2553 ร้อยละ 3.8 สำหรับอัตราเงินเฟ้อโดยประมาณใน Euro Area และ Euro 27 มีอัตราเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.0 และ 3.4 ตามลำดับ เทียบกับช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า และมีอัตราเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 และร้อยละ 0.3 ตามลำดับ เทียบกับเดือนก่อนหน้า

ตลาดแรงงาน

1. อัตราการว่างงาน

กันยายน ปี 54 เทียบกับกันยายน ปี 53

อัตราการว่างงาน (%)                                       8.3                 +0.3 จุด

ที่มา : Istat

เดือนกันยายน 2554 มีอัตราร้อยละ 8.3 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 เทียบกับเดือนก่อนหน้า และช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า แต่ยังคงถือเป็นอัตราที่ต่ำกว่ามาตรฐานของ Euro Area และ EU 27 อยู่ประมาณ 1.9 จุด และ1.4 จุด ตามลำดับ โดยอัตราการว่างงานของ Euro AreaและEU 27 อยู่ที่ร้อยละ 10.2 และ 9.7 ตามลำดับ

โดยจำนวนคนว่างงานเดือนกันยายนมีจำนวน 2,080 พันราย เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.8 เทียบกับเดือนก่อนหน้า และเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5 เทียบกับช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า

2. อัตราการจ้างงาน

กันยายน ปี 54 เทียบกับกันยายน ปี 53

อัตราการจ้างงาน                                          56.9%                -0.1 จุด

ที่มา : Istat

เดือนกันยายน 2554 มีอัตราจ้างงานร้อยละ 56.9 โดยจำนวนคนจ้างงานเดือนกันยายนมีจำนวนประมาณ 23 ล้านราย ลดลงร้อยละ 0.4 เทียบกับเดือนสิงหาคม 2554

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองมิลาน

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ