รัฐบาลอินเดียเดินหน้าผ่อนคลายระเบียบการลงทุนค้าปลีกจากต่างประเทศ

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday December 1, 2011 14:28 —กรมส่งเสริมการส่งออก

รัฐบาลอินเดียโดยกระทรวงพาณิชย์และอุตสาหกรรมอินเดีย กำลังจะเสนอเรื่องให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาผ่อนคลายให้บริษัทค้าปลีกต่างชาติเข้าไปลงทุน (FDI: Foreign Direct Investment) ในอินเดียได้มากขึ้นในสัปดาห์นี้ โดยจะอนุญาตให้บริษัทค้าปลีกต่างชาติประเภทที่จำหน่ายสินค้ายี่ห้อเดียว (Single-Brand Retailers) สามารถถือหุ้นจากเดิมที่อนุญาตให้มีสัดส่วนไม่เกิน ๕1% เพิ่มขึ้นได้เป็น 100% และบริษัทค้าปลีกต่างชาติประเภทที่จำหน่ายสินค้าหลายยี่ห้อ (Multi-Brand Retailers) ซึ่งจากเดิมกฎหมายของอินเดียห้ามเข้าไปดำเนินธุรกิจค้าปลีกในอินเดีย ก็จะสามารถเข้าไปดำเนินธุรกิจค้าปลีกได้ โดยมีสัดส่วนในการถือหุ้นได้สูงสุดไม่เกิน 51%

จากปกป้องสู่เสรี

ที่ผ่านมารัฐบาลอินเดียมีนโยบายปกป้องอุตสาหกรรมภายในประเทศเป็นอย่างมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมค้าปลีก ทำให้ร้านค้าปลีกขนาดเล็กของอินเดียยังคงสามารถดำเนินธุรกิจอยู่ได้ แม้ว่าจะมีรูปแบบเป็นเพียงร้านค้าขนาดเล็กชนิดที่เรียกว่า Micro Businesses ประเภทห้องแถวจำหน่ายสินค้าซึ่งสามารถพบได้ทั่วไป ส่วนสินค้ายี่ห้อระดับโลกโดยเฉพาะสินค้าแฟชั่นและอุปกรณ์กีฬา เช่น Nike, Adidas, Arrow, Puma, Reebok ฯลฯ ซึ่งไม่สามารถหาบริษัทค้าปลีกขนาดใหญ่ระดับโลกมาจัดจาหน่ายสินค้าของตนได้ เนื่องจากกฎหมายของอินเดียห้ามบริษัทค้าปลีกต่างชาติประเภท Multi-Brand Retailers เช่น Wal-Mart, Carrefour, Tesco ฯลฯ เข้าไปประกอบธุรกิจในอินเดีย บริษัทผู้ผลิตสินค้าดังกล่าวแต่ละยี่ห้อจึงเข้าตลาดอินเดียด้วยการเปิดร้านจำหน่ายสินค้าของตนเองในลักษณะ Stand-Alone Shops ซึ่งต้องปฏิบัติตามกฎหมายของอินเดีย คือ บริษัทต่างชาติถือหุ้นได้ไม่เกิน 51% ร้านค้าปลีกของสินค้ายี่ห้อดังระดับโลกจึงมีปรากฎให้เห็นทั่วไปในย่านธุรกิจการค้าของอินเดียปะปนอยู่กับร้านค้าปลีกท้องถิ่น

การค้าเสรีสไตล์อินเดีย

แม้ว่าการผ่อนคลายระเบียบการลงทุนค้าปลีกจากต่างประเทศของรัฐบาลอินเดียจะมีสัญญาณไปในทิศทางที่ดีว่ามีความเป็นไปได้สูงที่การผ่อนคลายนี้จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ อย่างไรก็ตาม พรรคฝ่ายค้านกลับมีความคิดเห็นไปในทิศทางตรงกันข้าม ด้วยเชื่อว่าการผ่อนคลายระเบียบดังกล่าวเพื่อดึงดูดเงินลงทุนจากต่างชาติ (FDI) ให้เข้ามาในภาคอุตสาหกรรมค้าปลีกของอินเดียซึ่งมีมูลค่าสูงถึงกว่าปีละ 450 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ และคาดว่าจะขยายตัวถึง 675 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2016 จะส่งผลกระทบต่อผู้ค้าปลีกท้องถิ่นรายเล็กของอินเดียอย่างรุนแรงจนอาจจะถึงขั้นต้องออกจากธุรกิจไปเลยจานวนมาก หรือแม้แต่ธุรกิจค้าปลีกประเภทสหกรณ์อย่าง Sahakari Bhandar ซึ่งถือว่าเป็นสหกรณ์ค้าปลีกขนาดใหญ่ที่ประสบความสาเร็จ ก็อาจจะไม่สามารถแข่งขันกับบริษัทค้าปลีกต่างชาติได้ ข้อเสนอของรัฐบาลในการผ่อนคลายจึงมีความเป็นไปได้สูงว่าจะถูกคัดค้านจากฝ่ายค้านอย่างรุนแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากมุขมนตรีของรัฐเบงกอลตะวันตกและผู้นาพรรค Trinamool Congress ซึ่งประกาศชัดเจนว่าการต่อต้านการรุกเข้ามาของบริษัทค้าปลีกต่างชาติเป็นเป้าหมายหลักของพรรค

อย่างไรก็ตาม รัฐบาลอินเดียโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์และอุตสาหกรรมอินเดียได้ออกมาเปิดเผยว่าได้เตรียมการสาหรับรองรับปัญหาดังกล่าวไว้แล้ว โดยได้กำหนดมาตรการต่างๆ คือ

1.ได้สงวนสิทธิไว้สำหรับรัฐบาลในการกาหนดให้บริษัทค้าปลีกต่างชาติต้องรับซื้อและจัดจาหน่ายผลิตผลทางการเกษตรจากเกษตรกรและสินค้าจากผู้ประกอบการขนาดเล็กของอินเดียตามลาดับ เพื่อเป็นการสนับสนุนเกษตรกรและผู้ประกอบการขนาดเล็ก

2.กำหนดให้บริษัทค้าปลีกต่างชาติกันเงินลงทุนไว้อย่างน้อย 50% สำหรับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (Back-End Infrastructure) ซึ่งหมายถึง การพัฒนาด้านการออกแบบ การควบคุมคุณภาพ และการพัฒนาหีบห่อสินค้า แต่ไม่รวมถึงค่าที่ดินและค่าเช่า ทั้งนี้ บริษัทค้าปลีกต่างชาติจะต้องทาการรับรองตนเองว่าได้ปฏิบัติตามระเบียบแล้ว (Self-Certification Basis)

3.กำหนดให้บริษัทค้าปลีกต่างชาติแต่ละบริษัทต้องนำเงินลงทุนเข้าไป (FDI) อย่างน้อย 100 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

4.บริษัทค้าปลีกต่างชาติที่เข้าไปลงทุนในอินเดียจะต้องอนุญาตให้ผลิตผลทางการเกษตรของเกษตรกรเข้าไปวางจำหน่ายในร้านค้าปลีกโดยไม่ต้องติดตรายี่ห้อ (Unbranded) ซึ่งรวมถึงปลา เนื้อสัตว์ และสัตว์ปีก

5.บริษัทค้าปลีกต่างชาติที่เข้าไปลงทุนในอินเดียจะต้องทำการจัดซื้อจัดจ้าง (Procurement) เป็นมูลค่าอย่างน้อย 30% จากผู้ประกอบการขนาดย่อมของอินเดีย (เงินลงทุนน้อยกว่า 250,000 เหรียญสหรัฐฯ)

6.ร้านค้าปลีกของบริษัทค้าปลีกต่างชาติจะได้รับอนุญาตให้เปิดได้เฉพาะในเมืองที่มีประชากรเกิน 1 ล้านคนเท่านั้น (สามะโนประชากรปี 2011) ซึ่งจะมีอยู่ไม่กี่เมือง ได้แก่ อักรา (Agra) นาสิก (Nashik) ฟาริดาบัด (Faridabad) ดันบัด (Dhanbad) อินโดร์ (Indore) ไวสัก (Vizag) โกจิ (Kochi) ลุดิอานา (Ludhiana) และราชโกฏ (Rajkot) ซึ่งมีประชากรรวมกันคิดเป็น 11.5% ของประชากรทั้งประเทศ (สามะโนประชากรปี 2001) ทั้งนี้ ไม่รวมเมืองขนาดใหญ่ 6 เมืองที่กำหนดไว้แต่เดิมว่าไม่อนุญาตให้เปิด คือ มุมไบ (Mumbai) เดลี (Delhi) เจนไน (Chennai) บังกาลอร์ (Bangalore) และกอลกัตตา (Kolkata) หรือให้ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของแต่ละรัฐว่าจะอนุญาตให้เปิดหรือไม่

ตลาดค้าปลีกของอินเดีย

ตลาดค้าปลีกของอินเดียเป็นตลาดที่กระจายตัวอย่างมาก เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายในการปกป้องอุตสาหกรรมภายในประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งร้านค้าปลีกท้องถิ่นรายย่อยซึ่งมีจำนวนมหาศาล ทำให้ส่วนแบ่งตลาด (Market Share) ของบริษัทค้าปลีกรายใหญ่สุดของอินเดียสองรายแรกมีสัดส่วนเพียงรายละ 0.4% เท่านั้น คือ บริษัท Future Value Retail Ltd. และบริษัท Titan Industries Ltd. เมื่อรวมเฉพาะบริษัทค้าปลีกรายใหญ่ของอินเดีย 12 รายแรก ปรากฏว่ามีส่วนแบ่งตลาดรวมกันเพียง 2.2 % เท่านั้น ที่เหลืออีก 97.8% เป็นส่วนแบ่งตลาดของร้านค้าปลีกรายย่อยรวมกันทั้งหมด

สำหรับมูลค่าการค้าของบริษัทค้าปลีกของอินเดียที่เป็น Store-Based Retailers ในปี 2011 คาดว่าจะสูงถึง 14,486.5 พันล้านรูปี (ประมาณ 300 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ) โดยมูลค่าการค้าส่วนใหญ่จะมาจากกลุ่มบริษัทค้าปลีกประเภท Grocery ซึ่งมีมูลค่าถึง 9,495.3 พันล้านรูปี (ประมาณ 196 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ) หรือคิดเป็น 65.33% ของมูลค่าการค้าปลีกรวมของ Store-Based Retailers

มูลค่าการค้าของบริษัทค้าปลีกของอินเดียประเภท Store-Based Retailers ที่ไม่ใช่ร้าน Grocery ในปี 2011 ยอดขายส่วนใหญ่มาจากเสื้อผ้าและรองเท้า (Clothing and Footwear Specialist Retailers) มูลค่า 1,984.5 พันล้านรูปี (ประมาณ 41 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ) รองลงมา คือ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ มูลค่า 593.4 พันล้านรูปี (ประมาณ 12.24 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ) สุขภาพและความงาม มูลค่า 582.8 พันล้านรูปี (ประมาณ 12 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ) ของตกแต่งบ้านและสวน มูลค่า 519.6 พันล้านรูปี (ประมาณ 10.7 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ) ตามลำดับ ทั้งนี้ มีข้อสังเกตว่าสินค้าประเภทเสื้อผ้าและรองเท้าจะมีมูลค่ามากที่สุดในตลาดค้าปลีกของอินเดียประเภท Store-Based Retailers

ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นและโอกาสสาหรับประเทศไทย

1.บริษัทค้าปลีกท้องถิ่นหรือพ่อค้าปลีกท้องถิ่นรายย่อยที่มีร้านจำหน่ายสินค้าในรูปแบบตึกแถวจะถูกกระทบอย่างแน่นอน เพราะผู้บริโภคจะมีทางเลือกในการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้นรวมทั้งมีแนวโน้มว่าผู้บริโภคจะนิยมจับจ่ายใช้สอยในร้านค้าปลีกรูปแบบใหม่ซึ่งมีการจัดวางสินค้าอย่างเป็นระบบและทันสมัย (Organized Retail) และจากเดิมที่มักจะจับจ่ายใช้สอยในร้านค้าปลีกรูปแบบใหม่นี้เฉพาะสินค้าประเภทอาหารและเสื้อผ้าเป็นหลัก แต่ปัจจุบันมีแนวโน้มว่าผู้บริโภคจะจับจ่ายใช้สอยเพิ่มขึ้นสาหรับสินค้ากลุ่ม Lifestyle เช่น เครื่องใช้อิเลคทรอนิกส์ (Consumer Electronics) เฟอร์นิเจอร์และเครื่องตกแต่งบ้าน สินค้าเกี่ยวกับโทรศัพท์ เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันร้านค้าปลีกรูปแบบใหม่นี้มีมูลค่าประมาณ 26 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ (จากมูลค่าตลาดค้าปลีกรวม 450 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ) และมีอัตราการเจริญเติบโตถึงปีละ 26% ท งนี้ คาดว่าตลาดค้าปลีกกลุ่มนี้จะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นถึง 84 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2016 และหากนโยบายการผ่อนคลายการลงทุนค้าปลีกต่างชาติเป็นไปตามที่รัฐบาลเสนอ คาดว่าตลาดค้าปลีกส่วนนี้ (Organized Retail) จะเจริญเติบโตยิ่งกว่านี้ไปอีก โดยมีการคาดการณ์ว่าน่าจะมีสัดส่วนถึง 15-16% ของมูลค่าตลาดค้าปลีกรวมในปี 2020

2.นโยบายผ่อนคลายการลงทุนให้บริษัทค้าปลึกต่างชาติเข้าไปถือหุ้นในธุรกิจ Multi-Brand Retailers ได้มากถึง 51 % จะส่งผลให้อุตสาหกรรมค้าปลีกของอินเดียพลิกโฉมอย่างสิ้นเชิง เนื่องจาก บริษัทค้าปลีกท้องถิ่นซึ่งเป็น Multi-Brand Retailers อยู่แล้ว (โดยไม่เคยมีคู่แข่ง) จะต้องรีบพัฒนาตนเองอย่างรวดเร็วเพื่อให้สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ ในขณะเดียวกันบริษัทค้าปลีกต่างชาติ (Multi-Brand Retailers) ที่รอคอยจะเข้าตลาดอินเดียอยู่นานแล้ว เช่น Wal-Mart, Tesco, Carefour, IKEA ฯลฯ ก็จะเร่งเข้าไปแข่งขันในตลาดอย่างรวดเร็ว ซึ่งจะทำให้ตลาดมีการพัฒนาอย่างมาก ซี่งน่าจะส่งผลดีต่ออินเดียโดยรวม

3.การเข้าตลาดอินเดียของบริษัทค้าปลีกต่างชาติในระยะแรกอาจจะประสบกับอุปสรรคหลายอย่าง เช่น ตลาดแรงงานยังขาดแคลนแรงงานมีฝีมือ ทำเลที่ดีในการประกอบธุรกิจอาจจะหายากเพราะถูกคู่แข่งขันท้องถิ่นครอบครองไปหมดแล้ว เงื่อนไขในการเข้าตลาดที่รัฐบาลกำหนดเพิ่มเติม เป็นต้น

4.อย่างไรก็ตาม มีความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญด้านค้าปลีกของอินเดียบางคน (Mr. Purnendu Kumar, Vice President - Retail, Technopak Advisors) ที่เห็นว่านโยบายผ่อนคลายเรื่องการลงทุนค้าปลีกต่างชาติ (FDI) ดังกล่าว ไม่น่าจะส่งผลกระทบต่อผู้ค้าปลีกท้องถิ่นรายเล็ก (Unorganized Retails) มากนัก เนื่องจากการค้าปลีกอย่างเป็นระบบและทันสมัย (Organized Retails) ในอินเดีย ยังมีสัดส่วนไม่มากนักเมื่อเทียบกับผู้ค้าปลีกรายย่อย (Unorganized Retails)

ซึ่งปัจจุบัน Organized Retailers มีสัดส่วนเพียง 5% ของตลาดค้าปลีกรวม และคาดว่าจะมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นเป็น 15-16% ในปี 2020 เท่านั้น

5. การเข้าตลาดค้าปลีกของอินเดียโดยบริษัทค้าปลีกต่างชาติประเภท Multi-Brand Retailers จะทำให้สินค้าไทยมีช่องทางในการกระจายสินค้าเพิ่มมากขึ้นสู่ผู้บริโภคคนสุดท้าย (Ultimate Consumers/End Users) และจะมีสถานที่ (Venue) ในการทำการส่งเสริมการตลาด (Promotion) สินค้าไทยเพิ่มมากขึ้นด้วย ซึ่งในท้ายที่สุดก็ย่อมจะส่งผลต่อมูลค่าการค้าระหว่างไทย-อินเดีย โดยเฉพาะการส่งออกจากไทยไปยังอินเดีย

6.ตลาดอินเดียเป็นตลาดขนาดใหญ่ที่มีความหลากหลาย มีหลาย Segments และมีศักยภาพสูง บริษัทค้าปลีกชั้นนาของไทยที่เป็น Multi-Brand Retailers เช่น Central Department Store หรือ The Mall Group น่าจะพิจารณาเข้าไปขยายตลาดได้ ซึ่งจะส่งผลดีต่อการส่งออกสินค้าไทยในฐานะที่จะเป็น Platform สำหรับสินค้าไทยในตลาดอินเดียได้

7.สำหรับผู้ส่งออกไทยที่เป็นเจ้าของตราสินค้าของตนเอง ก็สามารถเข้าตลาดอินเดียในฐานะSingle-Brand Retailer ได้ เนื่องจากระเบียบใหม่จะอนุญาตให้บริษัทค้าปลีกต่างชาติถือหุ้นได้ถึง 100% แต่การเข้าตลาดอินเดียไม่ได้ง่ายเหมือนอย่างที่คิด ฉะนั้น ผู้ประกอบการไทยควรศึกษากฎระเบียบและข้อมูลตลาดเชิงลึกให้ลึกซึ้งและแน่ใจเสียก่อนที่จะตัดสินใจเข้าไปลงทุน

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองมุมไบ

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ