สินค้า: ไม้กฤษณาเจริญเติบโตได้ดีในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นไม้เศรษฐกิจที่สร้างรายได้อย่างจริงจังให้กับเกษตรกร จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับเกษตรกรไทย ปัจจุบันมีการปลูกเป็นสวนป่า มีกรรมวิธีใช้สารบังคับทำให้เกิดน้ำมัน หรือสารกฤษณานำไปกลั่นเป็นน้ำหอม มีการจัดตั้งโรงกลั่นไม้กฤษณาในจังหวัดตราด และจันทบุรี เพื่อส่งออกไปทั่วโลกแต่ตลาดหลักเป็นประเทศอาหรับภูมิภาคตะวันออกกลาง หรือกลุ่มผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ของโลก ซึ่งมีความต้องการผลิตภัณฑ์จากไม้หอมกฤษณาสูงมาก เช่น ซาอุดิอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อิสราเอล ลิเบีย ฯลฯ นอกจากนั้นยังมีการใช้น้ำมันกฤษณา ผงไม้ ผลิตผงธูป และไม้แก่น ในการทำยาสมุนไพร และทำกำยาน ประเทศยุโรปใช้น้ำมันกฤษณาเป็นหัวเชื้อน้ำหอม และที่ประเทศญี่ปุ่น ได้มีการใช้น้ำมันกฤษณาเป็นตัวยารักษามะเร็งในลำไส้ กระเพาะอาหาร และมะเร็งในตับ
ในรายงานฉบับนี้จะกล่าวครอบคลุมเฉพาะไม้หอมกฤษณา (Agarwood) เป็นเศษ /ชิ้น (HS. : 1211) ต้น/ส่วนของต้นไม้สำหรับใช้ทำน้ำหอม ยา และอื่นๆจากกลุ่มข้างต้น ประเทศแถบอ่าวอาระเบียนเรียก Oudh และเป็นตลาดใหญ่ทั้งเพื่อนำเข้าและส่งออกต่อ (Re-export)
2.1 การนำเข้าของยูเออี: จากสถิติการนำเข้าของล่าสุดที่แสดงมูลค่าการนำเข้าของกลุ่มสินค้าข้างต้นดังนี้
ปี 2551 มูลค่า 18.6 ล้านเหรียญสหรัฐ ปริมาณ 4,982 ตัน
ปี 2552 มูลค่า 20.3 ล้านเหรียญสหรัฐ ปริมาณ 4,731 ตัน ขยายตัวในเชิงมูลค่า 9.0%
ปี 2553 มูลค่า 21.6 ล้านเหรียญสหรัฐ ปริมาณ 5,296 ตันขยายตัวในเชิงมูลค่า 6.8%
มูลค่านำเข้ามากน้อยจากประเทศอินเดีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ไทย ออสเตรเลีย โอมาน อียิปต์ สหรัฐฯ ซีเรีย และจีน ตามลำดับ (รายละเอียดปรากฏตามสถิติแนบ)
2.2. การนำเข้าจากไทย:
ปี 2551 มูลค่า 299,754 เหรียญสหรัฐ สัดส่วนตลาด 1.6%
ปี 2552 มูลค่า 354,384 เหรียญสหรัฐ สัดส่วนตลาด 1.7% ขยายตัวในเชิงมูลค่า 18.2%
ปี 2553 มูลค่า 1.2 ล้านเหรียญสหรัฐ สัดส่วนตลาด 5.6% ขยายตัวในเชิงมูลค่า 244.0%
ไม่มีการผลิตในประเทศ แต่มีโรงงานผลิตน้ำหอม เครื่องสำอาง สเปรย์ดับกลิ่น และกระดาษทิชชู
นำเข้าชิ้นไม้หอม /เศษไม้หอมเป็นวัตถุดิบผลิตสินค้า เศษไม้อัดแท่งเป็นกำยาน
ยูเออีมีรัฐดูไบเป็นศูนย์กลางการส่งออกต่อไม้/ส่วนของต้นไม้สำหรับใช้ทำน้ำหอม ยา และอื่นๆ ตลอดปีมีพ่อค้าจากประเทศอาหรับอิ่นๆและจากกลุ่มประเทศอัฟริกาเข้าไปเลือกซื้อสินค้า ยูเออีส่งออกต่อสินค้ากลุ่มนี้ทั้งสิ้นเมื่อปี 2553 ปริมาณ 1,579 ตัน มูลค่า 5.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยส่งออกไปประเทศอิหร่าน ซาอุดิอาระเบีย คูเวต ฮ่องกง อัลจีเรีย บาห์เรน ซูดาน และกาตาร์
มีบริษัทขนาดใหญ่นำเข้าไม้หอม น้ำมันและผลิตภัณฑ์เพื่อจำหน่ายผ่านOutlet ที่ตั้งอยู่ห้างสรรพสินค้าทั่วประเทศ นอกจากนั้นมีจำหน่ายในร้านค้าปลีกและ Kiosk อยู่ในแหล่งชุมชนทั่วไป การนำเข้าพอสรุปได้ดังนี้
- ผู้นำเข้า ร้อยละ : 60 - ผู้ค้าปลีก ร้อยละ : 40 6. ฤดูกาลสั่งซื้อ ฤดูกาลจำหน่าย :
ตลอดปี
ไม้หอมจากรัฐอัสสัมอินเดียจัดว่าเป็นไม้หอมที่ดีกลิ่นนุ่มนวลที่สุด แต่ปัจจุบันไม่พบไม้หอมจากอินเดียนัก ส่วนใหญ่มักจะเป็นไม้หอมจากพม่าขนส่งผ่านรัฐอัสสัมของอินเดียเพื่อส่งออก นอกจากนั้นเป็นไม้หอมจากกัมพูชาที่ได้รับการยอมรับในยูเออีมาก ส่วนไม้หอมจากเกาะบอร์เนียวของอินโดนีเซียส่วนใหญ่ส่งออกผ่านสิงคโปร์ (ขณะนี้สิงคโปร์เป็นศูนย์กลางส่งออกต่อไม้หอมที่มีปริมาณและมูลค่าอันดับต้น) มาเลเซีย แต่กลิ่นไม้หอมจากอินโดนีเซียจะไม่นุ่มนวลเทียบกับของอินเดีย นอกจากนั้นเป็นไม้หอมจากจีน และปาปัวนิวกีนี
เนื่องจากไม้หอมกฤษณาเป็นสินค้าควบคุมการส่งออก สินค้านี้บางส่วนส่งออกจากไทย
ไปดูไบ เป็นลักษณะ Cash & Carry โดยพ่อค้าจากดูไบมาเลือกซื้อสินค้าและขนกลับไปเอง หรือจัดส่งทางพัสดุไปรษณีย์ที่มีบริษัทรับจ้างขนส่งพิเศษ บางครั้งมีพ่อค้าไทยลักลอบนำไม้หอมจากไทยไปจำหน่ายที่ดูไบ แต่หลายครั้งจึงถูกพ่อค้าดูไบกดราคา
ปัจจุบันรัฐบาลยูเออีออกกฎหมายควบคุมการนำเข้าไม้กฤษณา ภายใต้บทบัญญัติ หรือ UAE’s Federal Law No.11. โดยผู้นำเข้าจะต้องมีหนังสือรับรอง CITES ระบุสายพันธุ์ไม้หอม และยูเออีให้ความคุ้มครองไม้กฤษณาสายพันธุ์ Aquilaria (ยกเว้นสายพันธุ์ Aquilaria malaccensis) และสายพันธุ์ Gyrinops แสดงต่อเจ้าหน้าที่ศุลกากรและเจ้าหน้าที่กักกันพืชสัตว์
ไม้หอมมีหลายคุณภาพและราคา ขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำมันในเนื้อไม้สีและขนาดของไม้ ราคาไม้กฤษณากิโลกรัมละ 7,000-200,000 บาท น้ำมันกฤษณามีราคา 5,000-10,000 บาทต่อโตล่า (Toula หน่วยวัดปริมาตร เท่ากับ 11.62 กรัมหรือ 12 ลูกบาศก์เซนติเมตร) หากชิ้นใหญ่เป็นรูปต่างๆ เช่น รูปเขากวางอาจมีราคากิโลละหลายหมื่นเหรียญสหรัฐฯ แต่ปัจจุบันพบหายากมาก สินค้าที่จำหน่ายในตลาดขณะนี้เป็นไม้ Aquilaria, Gyrinops chips และเศษ/ผงไม้อัดก้อน (Bakhoor)
ในตลาดยังมีไม้ปลอมหลอกขายผู้ซื้อ วิธีทำจะใช้ไม้กฤษณาคุณภาพต่ำเคลือบด้วยผงไม้ผสมกับแว๊กซ์หรือวัสดุเกาะแน่นเคลือบชั้นนอกแล้วผ่านกระบวนความร้อนให้เนื้อเสมอกัน อีกชนิดเป็นไม้ปลอมที่รู้จักในตลาดว่า “BMW”(black magic wood) วิธีทำจะใช้ไม้กฤษณาคุณภาพต่ำหรือไม้ชนิดอื่นชุบด้วยน้ำมันกฤษณาผสมกับแอลกอฮอล์ สำหรับใช้ซื้อขายในตลาดล่างมีราคาถูก สินค้าถูกซื้อไปใช้ในครัวเรือน อาทิ ใช้ควันเพื่อแต่งกลิ่นอาหาร เป็นต้น
ร้อยละ 5 จากราคาซีไอเอฟ
ไม่มี
Invoice, Certificate of Origin ประทับตรารับรองจากหอการค้าไทย และ Legalize จากสถานทูตประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ในประเทศไทย Bill of Lading และ Packing List
ไม้หอมถูกจัดอยู่ในกลุ่มไม้อนุรักษ์หายาก ภายใต้อนุสัญญา Convention on Trade in Endangered Species ของ Wild Fauna and Flora (CITES) และประเทศยูเออีก็เป็นสมาชิก อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ the Federal Environment Agency, Ministry of Environment and Water ดังนั้นการส่งออกและนำเข้าไม้หอมนี้จะต้องมีใบรับรอง CITES แสดง จากประเทศไทยที่จะต้องได้รับอนุญาตจากกรมอุทธยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธ์พืช ที่ยูเออีจะต้องได้รับอนุญาตจาก Ministry of Environment and Water และโดยมีเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานศุลกากรและหน่วยงานกักกันพืชสัตวเป็นผู้ปฎิบัติใช้ตรวจสอบการนำเข้าส่งออก
1. ไม้กฤษณาจากธรรมชาติมีราคาสูงขึ้นเพราะมีจำนวนลดเหลือน้อยมาก ทำให้ผู้ซื้อหันมาซื้อไม้กฤษณาจากสวนป่าซึ่งสามารถเก็บเกี่ยวมาผลิตเป็นน้ำมันกฤษณาได้มากขึ้น จนทำให้ปัจจุบันราคาน้ำมันในตลาดมีราคาถูกลง
2. บริษัทจำหน่ายไม้กฤษณาและผู้ผลิตสินค้าจากไม้กฤษณารายสำคัญของยูเออี มีสวนป่าปลูกไม้กฤษณาประมาณ 3 ล้านต้น รวมทั้งสวนป่าในประเทศไทยเพื่อผลิตสินค้าสำหรับส่งออกไปตะวันออกกลาง โดยเฉพาะตลาดซาอุดิอาระเบียเป็นตลาดใหญ่รองรับสินค้านี้
3. เพื่อสร้างความมั่นใจสินค้า ผู้นำเข้ารายใหญ่หรือโรงงานที่ผลิตสินค้าทำจากไม้หอม มักจะมีตัวแทนของบริษัทอยู่ในประเทศแหล่งนำเข้าไม้หอม เพื่อเลือกซื้อสินค้าและส่งให้บริษัทที่ดูไบ โดยเฉพาะในประเทศที่มีไม้กฤษณาธรรมชาติที่ยังเหลืออยู่มาก เช่น ในประเทศอินโดนีเซีย กัมพูชา เป็นต้น
4. นอกจากชิ้นไม้กฤษณาสำหรับใช้จุด ผงไม้อัดก้อน เศษ/ผงไม้ถูกนำเข้ามาขึ้นเพื่อสำหรับใช้เป็นวัตถุดิบผลิตน้ำหอม เครื่องสำอาง สบู่ ครีมทาผิวและอื่นๆ
5. ปัจจุบันชาวอาหรับนิยมใช้น้ำมันกฤษณาปรุงแต่งร่างกายแทนน้ำหอมทั่วไปเนื่องจากมีกลิ่นติดทนนานอีกทั้งมีความสะดวก ส่วนชิ้นไม้หอมสำหรับใช้กลิ่นควันก็ยังใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น จุดให้เกิดกลิ่นหอมภายในบ้าน เพื่อใช้ในพิธีกรรม ไล่สิ่งชั่วร้าย ใช้ในงานเลี้ยงรับรองแขกสำคัญ
6. ด้วยลู่ทางการตลาดที่มีทิศทางสดใสดังกล่าว ประกอบกับไทยเป็นประเทศหนึ่งที่มีศักยภาพเพราะมีการปลูกสวนป่าไม้กฤษณาจำนวนมาก โดยเฉพาะสวนป่าบริเวณเขาใหญ่ กลิ่นไม้เป็นที่ยอมรับในตลาด หากได้รับการสนับสนุนอย่างจริงจัง คาดว่าไทยจะสามารถพัฒนาให้ไม้กฤษณาเป็นหนึ่งในสินค้าส่งออกสำคัญที่สร้างรายได้ให้แก่ประเทศ
7. รายชื่อผู้ค้าไม้หอมในรัฐดูไบตามเอกสารแนบ
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองดูไบ
ที่มา: http://www.depthai.go.th