วิกฤตเศรษฐกิจถดถอยเมื่อปี 2552 ส่งผลให้ภาวะการส่งออกต่อ (Re-export) ของรัฐดูไบ ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ไปตลาดในภูมิภาคตะวันออกกลาง และประเทศรองรับอื่นๆทั่วโลกลดลง ซึ่งเป็นภาวะถดถอยที่เกิดขึ้นครั้งแรกในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา ต่อมาเมื่อปี 2553 สถานการณ์ได้คลี่คลายลง ทำให้การส่งออกต่อสามารถปรับขึ้นได้เท่าๆกับมูลค่าที่รัฐดูไบสามารถส่งออกต่อเมื่อปี 2551
สำหรับมูลค่าการนำเข้านั้นไต่ระดับขึ้น แต่อย่างไรก็ตามยังน้อยกว่ามูลค่าที่รัฐดูไบได้เคยนำเข้าเมื่อปี 2551 และมีสัดส่วนสำหรับใช้เพื่อส่งออกต่อประมาณ 40% จากมูลค่าที่นำเข้า
ภาวะการนำเข้าและส่งออกต่อของรัฐดูไบระหว่างปี 2551-2553 พอสรุปได้ดังนี้
มูลค่า ล้านเหรียญสหรัฐฯ อัตราขยายตัว% 2551 2552 2553 2551-2551 2552-2553 การนำเข้า 120.6 86.9 99.3 -27.80% 14.6% การส่งออกต่อ 35.1 32.1 39.3 -8.60% 22.4% สัดส่วนการส่งออกต่อ 29.1% 27.1% 39.6% .- .- นำเข้าสุทธิ 85.5 54.9 60.0 -35.8% 9.3% ภาวะถดถอยและการขยายตัว
มูลค่าส่งออกต่อปี 2552 ประมาณ 32.1 ล้านเหรียญฯ หรือคิดเป็นอัตราลดลง 8.6% หลังจากนั้นรัฐดูไบสามารถขยายมูลค่าการส่งออกต่อที่มูลค่า 39.2 ล้านเหรียญฯหรือขยายตัว 22.4% ซึ่งการหดตัวลงเนื่องมาจากเหตุการณ์วิกฤตเศรษฐกิจทั่วโลก หลายประเทศทั่วโลก บริษัทต่างๆไม่ว่าจะเป็นขนาดใหญ่ ขนาดกลาง หรือขนาดเล็ก ได้รับผลกระทบโดยถ้วนหน้า จากสาเหตุอำนาจซื้อที่ลดลงของประชาชน และด้วยสาเหตุนี้เองที่ส่งผลลูกโซ่ต่อการผลิตและการซื้อที่ลดลงอย่างต่อเนื่องอัตโนมัติ ส่งผลกระทบต่อธุรกิจการส่งออกต่อ ซึ่งเป็นธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กเป็นภาคธุรกิจที่สำคัญของยูเออีโดยเฉพาะในรัฐดูไบ
สินค้าส่งออกต่อของรัฐดูไบศูนย์กลางกระจายสินค้าของประเทศและภูมิภาคตะวันออกกลางปี 2552 รวมทั้งสิ้น 21 กลุ่ม (Sector) มีสินค้า 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มสัตว์มีชีวิต กลุ่มสินค้าแปรรูป กลุ่มสินค้าเครื่องจักร์และเครื่องใช้ไฟฟ้า ไม่ได้รับผลกระทบและมูลค่าขยายเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน
เครื่องจักร์และเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเลคโทรนิคส์ซึ่งเป็นกลุ่มสินค้าสำคัญสำหรับเพื่อส่งออกต่อนั้นสามารถขยายตัวในภาวะวิกฤต 3% และเพิ่มเป็น 10% เมื่อปี 2553 ที่ผ่านมา
สินค้าที่มีมูลค่าลดลงมากคือโลหะและผลิตภัณฑ์สำหรับวัสดุก่อสร้างที่ปริมาณความต้องการลดลงทั่วภูมิภาค อย่างไรก็ตามเมื่อปี 2553 ก็สามารถขยายการส่งออกต่อเพิ่มขึ้น 7.1%
ส่วนรถยนต์นั้นมูลค่านำเข้าเมื่อปี 2552 ลดลงมาก การส่งออกต่อก็ลดลงเล็กน้อยหรือ 4% และสามารถขยายมูลค่าการส่งออกต่อ 10% เมื่อปี 2553
สินค้าอื่นๆที่ส่งออกต่อลดลง ได้แก่ อาวุธ น้ำมันปรุงอาหาร รองเท้า แต่เนื่องจากมีมูลค่าน้อยจึงไม่ส่งผลกระทบต่อภาพรวมของการส่งออกต่อมากเท่าไดนัก
สินค้าสำหรับส่งออกต่อส่วนใหญ่เป็นสินค้าบริโภค (Consumer goods) ตามด้วยสินค้าขั้นกลาง(Intermediate goods) ที่ซื้อไปเพื่อผลิตแล้วขายต่อ และสินค้าทุน (Capital goods)
เครื่องจักร์และเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเลคโทรนิคส์ซึ่งเป็นกลุ่มสินค้าสำคัญสำหรับเพื่อส่งออกต่อนั้นสามารถขยายตัวในภาวะวิกฤต 3% และเพิ่มเป็น 10% เมื่อปี 2553 ที่ผ่านมา
ส่วนสินค้าอาหารที่ส่งออกมูลค่ามากนั้น ได้แก่ สัตว์มีชีวิต ผักสดและผลิตภัณฑ์ น้ำมันปรุงอาหาร และอาหารแปรรูป ที่ขยายตัวขึ้นเมื่อปี 2552 ประมาณ 2% และประมาณ 9% เมื่อปี 2553
อิหร่านเป็นตลาดรองรับที่ใหญ่ที่สุดติดต่อกันมาหลายปี และหากรวมมูลค่าที่ส่งออกต่อผ่านเขตอุตสาหกรรมพิเศษ Jebel Ali Free Zoneของรัฐดูไบ มูลค่าการส่งออกไปไปกลุ่มประเทศ GCC มีมูลค่ามากรองอิหร่าน
ตลาดรองรับสินค้าส่งออกต่อและสัดส่วนตลาดที่ดูไบส่งออกมูลค่าเมื่อปี 2553 ได้แก่ อิหร่าน (สัดส่วน 34.8%) อิรัค (10.4%) อินเดีย (7.4%) ฮ่องกง (6.2%) เบลเยี่ยม (5.2%) ซาอุดิอาระเบีย (4.8%) สวิตเซอร์แลนด์ (4.3%) สหรัฐฯ (3.2%) กาตาร์ (3.0%) ลิเบีย (2.6%)
1. อัตราการขยายตัวของตลาดส่งออกมีแนวโน้มขยายตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง หลังจากที่ซบเซาลงเมื่อปี 2552 ตลาดรองรับหลายประเทศมีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ และศักยภาพในการเติบโตมากยิ่งขึ้น สินค้าสำหรับส่งออกต่อจะมีความหลากหลายมากขึ้น มูลค่าสินค้าที่ส่งออกต่อจะมีปริมาณต่อครั้งจะไม่มากเหมือนที่ผ่านมา แต่ความถี่ในการสั่งซื้อจะมีมากขึ้น
2. หลายประเทศในตะวันออกกลางที่เกิดเหตุการณ์ไม่สงบทางการเมืองคลี่คลายลง ได้มีการเลือกตั้งและเริ่มจัดตั้งรัฐบาลใหม่เพื่อบูรณะประเทศ รวมทั้งมีการการนำเข้าสินค้าที่ขาดช่วงไป และตลาดรองรับสินค้าของดูไบส่วนใหญ่มีรายได้จากน้ำมัน ซึ่งจะนำไปใช้จ่ายในทันที หรือนำไปใช้ในโครงการที่จำเป็นเพื่อเร่งสร้างเสริมสถานะเศรษฐกิจของประเทศอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ สินค้าไทยยังคงเป็นที่ต้องการของตลาดโลก มีความได้เปรียบสินค้าจากจีนที่ยังคงประสบปัญหาในเรื่องคุณภาพ มาตรฐาน
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองดูไบ
ที่มา: http://www.depthai.go.th