1. สินค้า : ปลาทูน่ากระป๋อง (H.s. code 16041)
2.1. ภาวะการนำเข้า :
ยูเออีนำเข้าปลาทูน่ากระป๋องผ่านรัดูไบและเขตอุตสาหกรรมพิเศษจีเบลอาลี มูลค่าสูงสุด หรือคิดเป็นร้อยละ 75 ของการนำเข้าของประเทศ ในช่วงปี 3 ปี ที่ผ่านมายูเออีนำเข้าปลาทูน่ากระป๋อง จากทั่วโลกและจากไทย มีมูลค่าเปลี่ยนแปลง พอสรุปได้ดังนี้
มูลค่า ล้านเหรียญสหรัฐฯ
H.S. 16041400 2008 2009 ขยายตัว+-% 2010 ขยายตัว+-% มูลค่า มูลค่า มูลค่า นำเข้าจากโลกรวม 49.2 32 -35 43.7 36.7 นำเข้าจากไทย 35.3 19.1 -46 23.5 23.4
ชนิดปลาทูน่ากระป๋องที่นำเข้า ได้แก่ ปลาทูน่า White meat และ Light meat ชนิดชิ้นใหญ่ หรือ solid pack ชนิดชิ้นเล็ก หรือ chunk นิยมที่มีส่วนผสมน้ำมันพืช (เมล็ดทานตะวัน) น้ำมันมะกอก น้ำเกลือ Spring Water ขนาดบรรจุ ได้แก่ 100 กรัม 180 กรัม และ 200 กรัม และ 450 กรัม
2.2. การส่งออกต่อ(Re-export) :
ปลาทูน่ากระป๋องเป็นอาหารที่มีโปรตีนสูง ไขมันและโคเลสเตอรอลต่ำ เป็นแหล่งของวิตามินและเกลือแร่ ทั้งวิตามิน B12 ไอโอดีน ฟอสฟอรัส ซิลิเนียม สังกะสี และแคลเซียม เนื้อปลามีไขมันต่ำ มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวหรือที่เรียกว่า โอเมก้า3 ซึ่งเป็นไขมันที่จำเป็นต่อร่างกาย แต่เราไม่สามารถสร้างเองได้ นอกจากกรดไขมันโอเมก้า3 ที่มีอยู่ในปลาช่วยป้องกันการสะสมตัวของไขมันอิ่มตัว หรือคลอเลสเตอรอล อันเป็นสาเหตุให้เส้นเลือดอุดตัน ซึ่งนำไปสู่โรคหัวใจ และเส้นเลือดในสมองแตกได้ จากการศึกษาวิจัยพบว่ากรดไขมันโอเมก้า-3 ในสัตว์น้ำทุกชนิดมีปริมาณสูงกว่าในสัตว์บกและสัตว์ปีก ดังนั้นปลาทูน่าจึงเป็นอาหารเพื่อสุขภาพที่มีราคาถูก จึงได้ความนิยมและรู้จักบริโภคกันทั่วไป
ยูเออีมีรัฐดูไบเป็นแหล่งที่ตั้งสำคัญของผู้นำเข้าที่เป็นผู้ดำเนินการสั่งซื้อสินค้าปลาทูน่า กระป๋อง แล้วจัดส่งไปยังประเทศอื่นๆในภูมิภาคตะวันออกกลางและอัฟริกา โดยมีมูลค่าการส่งออกต่อในช่วง 3 ปี ที่ผ่านมา พอสรุปได้ ดังนี้
H.S. 1604 2008 2009 ขยายตัว+-% 2010 ขยายตัว+-% ปริมาณ(ตัน) 3,037 1,319 208 2,741 8.3 มูลค่า (ล้านเหรียญสหรัฐฯ) 12.8 7.5 217 7.3 -10.5
ประเทศที่ส่งออกต่อมูลค่ามากในปี 2010 ได้แก่ โซมาเลีย (25%) อิหร่าน (16%) อังโกล่า (12%) เยเมน (10%) กาตาร์ (9%) เคนย่า (7%) โอมาน (6%) เกาหลี (4%) อิรัคและนามีเบีย (2%) สินค้าบางส่วนนำเข้าผ่านเขตอุตสาหกรรมพิเศษจีเบลอาลี เพื่อกระจายส่งออกต่อไป ประเทศอื่นโดยเฉพาะตลาดซาอุดิอาระเบียซึ่งมีการนำเข้าปลาทูน่ากระป๋องประมาณปีละ 20 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สินค้ากว่าร้อยละ 50 ของการนำเข้าในประเทศ ซาอุดิอาระเบียจะดำเนินการโดยผู้นำเข้าในรัฐดูไบ (เขตอุตสาหกรรมพิเศษจีเบลอาลี)
2.3. ช่องทางการนำเข้า/การตลาด/การจัดจำหน่าย
การนำเข้าปลากระป๋องในยูเออีมีช่องทางการจำหน่ายที่ไม่สับสน โดยผู้นำเข้า และบางส่วนจะเป็นผู้นำเข้าดำเนินการในลักษณะ Commission Agent และในขณะ เดียวกันก็เป็นผู้ค้าส่งอีกด้วย โดยนำเข้ามาจำหน่ายผ่านห้างซูปเปอร์มาร์เก็ต ที่มีสาขาหรือ Co-operative ที่มีกระจายอยู่ทุกรัฐในประเทศ เพื่อจำหน่ายต่อให้กับผู้บริโภค
2.4. ขนาดตลาด :
ยูเออีมีประชากรทั้งสิ้นประมาณ 6.1 ล้านคน เป็นชาวอินเดียและปากีสถานร้อยละ 60 ร้อยละ 20 เป็นชาวต่างชาติอื่นๆ และชาวอาหรับพื้นเมืองอีกร้อยละ 20
2.5. การผลิต : ไม่มีสินค้าปลา
ยูเออีนำเข้าปลาทูน่า/ปลาสคิปแจ็ก/ปลาโบนิโต/ปลาแมคเคอเรลกระป๋องจากไทย ฟิลิปปินส์ ในขณะที่นำเข้าปลาซาร์ดีนกระป๋องจากโมร๊อกโก และตูนีเซีย ไทยเป็นผู้ส่งออกปลากระป๋องไปยูเออีมูลค่ามากเป็นอันดับหนึ่งติดต่อกันมาหลายปีและมีเชิงส่วนแบ่งตลาดมากกว่าร้อยละ 70 แต่หลังจากปี 2008 ที่ผ่านมาจะเห็นว่าปลาทูน่ากระป๋องจากประเทศอื่นๆมีส่วนแบ่งตลาดเพิ่มมากขึ้น เช่น
- ฟิลิปปินส์ เป็นผู้ผลิตปลากระป๋องมากเป็นอันดับสองของโลกรองจากไทย การส่งออกไปยูเออี ปี 2008 มีสัดส่วนตลาด 5.5% เพิ่มเป็น 12.3% เมื่อปี 2009 และล่าสุดปี 2010 มีสัดส่วนตลาดเพิ่มเป็น 14.4% อัตราการขยายตัวเพิ่มในเชิงมูลค่าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปลาทูน่ากระป๋องที่วางจำหน่ายในยูเออี เป็นปลาทูน่าในน้ำเกลือ/น้ำมัน/ซอสมะเขือเทศ และอีกจำนวนหนึ่งเป็นปลาปรุงรสแบบอาหารฟิลิปปินส์ สำหรับจำหน่ายให้กับชาวฟิลิปปินส์จำนวนหลายแสนคนที่ทำงานอยู่ในภูมิภาคตะวันออกกลาง เช่น รส Calamansi, Caldereta, Adoba และ Hot & Spicy เป็นต้น
- อังกฤษ เป็นประเทศผู้บริโภคปลาทูน่ากระป๋องปริมาณมากเป็นอันสองของโลก ปลากระป๋องยี่ห้อของอังกฤษและส่งออกไปจำหน่ายในยูเออีมากคือ ยี่ห้อ John West ได้แก่ ปลาทูน่ากระป๋อง ปลาแซลมอน ในน้ำมัน น้ำเกลือ น้ำแร่ เป็นต้น สินค้ามักจะระบุว่าปลาที่ผลิตนั้นไม่เป็นทำลายธรรมชาติ รวมทั้งประกาศจะใช้วัตถุดิบปลาที่ใช้เครื่องมือประมงเพื่อจับปลาที่ไม่ทำอันตรายต่อสัตว์น้ำอื่น (100 per cent Fad-free ) ในปี 2016 นี้
- อินโดนีเซีย รัฐบาลอินโดนีเซียเรียกเก็บภาษีนำเข้าวัตถุดิบปลาทูน่าต่ำกว่าไทย ปัจจุบันมีผู้ประกอบการแปรรูปสัตว์น้ำของไทยเข้าไปตั้งโรงงานในอินโดนีเซียมากขึ้น เพราะเป็นประเทศที่มีทรัพยากรสัตว์น้ำอุดมสมบูรณ์ และเป็นแหล่งจับปลาทูน่าน้ำลึกที่สำคัญ นอกจากนี้การที่เป็นประเทศมุสลิมเช่นเดียวกับยูเออี จึงมีความได้เปรียบทำให้สินค้าจากอินโดนีเซียมีโอกาสเติบโตได้โดยสะดวกและชิงส่วนแบ่งตลาดของไทยในระยะต่อไป
- เวียตนาม ในภูมิภาคตะวันออกกลางมีประเทศยูเออีเป็นตลาดรองรับรับสินค้าอาหารทะเลมูลค่ามากเป็นอันดับสามรองจากอียิปต์และซาอุดิอาระเบีย สินค้าที่ส่งออกมากอันดับต้นคือปลาสวายแช่แข็ง กุ้งแช่แข็ง และปลาทูน่ากระป๋องซึ่งมีอัตราการขยายตัวและสัดส่วนตลาดที่ยูเออีนำเข้าจากเวียตนามขยายตัวขึ้นทุกปี
ตัวอย่างราคาขายปลีกปลาทูน่ากระป๋องมีดังนี้
ชนิดสินค้า ส่วนผสม ประเทศผู้ผลิต ราคา:หน่วย น้ำหนักสุทธิ ($US ) (กรัม) Tuna Chunk pack ในน้ำเกลือ อินโดนีเซีย 1.5 185 Chunk pack ในน้ำเกลือ " 2 185 Chunks Adobo suace " " 0.7 " Chunks In Caldereta " " 0.7 " Chunks Meat Spring Water " 1.16 200 Chunks With Calamansi ในน้ำมันพืช ฟิลิปปินส์ 0.7 180 Light meat solid pack " " 2.05 200 Light Meat " " 2.08 195 Light meat ในน้ำมัน ฟิจิ 2.05 100 Light meat Sunflower Oil " 2.16 200 Light meat chunks " " 2.2 200 Light meat fancy pack ในน้ำเกลือ " 2.15 185 Light Meat Flake ในน้ำมัน ไทย 2.15 185 Light meat flake " " 2 185 Light meat flakes " " 2.05 200 Light meat flakes " " 2.7 185 Light meat solid pack " " 2.85 200 Light meat solid pack ในน้ำมันพืช " 2.15 200 Light meat tuna steak " " 2.63 200 Tuna Flake " " 2.4 185 Tuna steak น้ำมันเม็ดทานตะวัน ไทย 2.45 " White meat ในน้ำมัน " 2.15 185 White Meat ในน้ำมัน " 2.1 200 White meat " " 2.3 200 White meat solid pack ในน้ำมัน " 2.15 200 White meat solid pack " " 2.5 200 White meat solid pack ในน้ำเกลือ " 2.15 200 White meat solid pack " " 2.78 200 White meat solid pack " " 2.1 200 White meat ในน้ำเกลือ " 2.1 200 " น้ำมันมะกอก - 2.85 " " Spring water - 2.72 " " Olive Oil " 2.5 200 5. เงื่อนไขและกฎระเบียบการนำเข้า
ยูเออีได้กำหนดมาตรการการนำเข้า และมาตรการคุ้มครองผู้บริโภคที่เข้มงวดมากอาหารที่จำหน่ายในยูเออีจะต้องปฏิบัติตามระเบียบในการกำหนดฉลากสินค้า โดยเฉพาะอาหารที่มีภาชนะบรรจุจะต้องแสดงประเทศผู้ผลิต ชื่อ ที่อยู่ของบริษัทผู้ผลิตหรือผู้จัดจำหน่าย รวมทั้งชื่อสามัญของผลิตภัณฑ์ สารเสริมแต่ง (Food additive) ใช้ตามปริมาณสัดส่วนที่กำหนด
- บนฉลากปลากระป๋องต้องระบุวันผลิตและวันหมดอายุสินค้านับแต่วันผลิต 24 เดือน
- หากปลากระป๋องบรรจุในน้ำมันพืชหรือมีส่วนผสมน้ำมันผู้ผลิตจะต้องระบุว่าใช้น้ำมันพืชหรือชนิดของน้ำมันที่ใช้
- มาตรการกีดกันทางการค้า : ไม่มี
- วิธีการชำระเงิน : L/C
- การขนส่ง : ขนส่งทางเรือ
- ภาษีนำเข้าร้อยละ 5
- ผู้ซื้อนิยมให้เสนอราคา C&F เป็นเงินเหรียญสหรัฐฯ
1. ปัญหาตลาดปลาทูน่ากระป๋องขณะนี้คือราคาปลาทูน่าวัตถุดิบมีราคาสูงขึ้น ปัญหาความไม่สงบในตะวันออกกลาง นอกจากนี้กลุ่มนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม Greenpeace ขอความร่วมมือให้รัฐบาลประเทศต่างๆกำหนดนโยบายให้จำหน่ายสินค้าปลาทูน่ากระป๋องที่วัตถุดิบได้จากการทำประมงแบบยั่งยืน “sustainable” เพื่อเป็นการรับประกันว่าปลาทูน่าและผลิตภัณฑ์ปลาทูน่าที่วางตลาดมาจากการประมงที่ไม่ทำลายสัตว์น้ำอื่นๆ และเพื่อยุติการประมงที่ผิดกฎหมาย เพื่อขจัดการทำประมงเกินขนาด (Over Fishing) อันเป็นปัญหาใหญ่ของการจัดการประมงของโลกให้มีความยั่งยืน ปรากฎการณ์อันเป็นกระแสเช่นนี้ย่อมสร้างผลกระทบต่อการทำประมงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
2. ตลาดปลาทูน่ากระป๋องยังเปิดกว้างแม้ว่าจะไม่มีการประชาสัมพันธ์ขยายตลาด แต่ผู้ซื้อสามารถนำไปปรุงอาหารได้หลายประเภทรับประทานได้ทุกศาสนา ใช้ทดแทนอาหารสด เป็นอาหารที่สามารถกักตุนไว้รับประทานในทุกสภาวะ ผู้จ้างงานนิยมซื้อปลากระป๋องปรุงเป็นอาหารให้คนงานในแคมป์
3. ในขณะที่มีการเน้นกระแสรักษาสุขภาพที่กำลังมาแรง แนวโน้มว่าความต้องการปลาทูน่าในน้ำเกลือจะเพิ่มขึ้นมากกว่าในน้ำมัน หากใช้น้ำมันควรเป็นน้ำมันเมล็ดดอกทานตะวัน หรือบรรจุในน้ำมันมะกอก และ spring water เป็นต้น
4. ปัญหาสำคัญประการหนึ่งในการส่งออกสินค้าอาหาร ไปกลุ่มประเทศ GCC คือ ความเข้มงวดในการตรวจสอบมาตรฐานด้านสุขอนามัยของประเทศคู่ค้า ซึ่งมักจะมีการใช้เป็นข้ออ้างในการกีดกันการนำเข้า และส่งผลกระทบอย่างมากต่อธุรกิจ การส่งออกสินค้าอาหาร ผู้ผลิตไทยจะต้องรักษาคุณภาพและมาตรฐานสินค้าให้คงที่ เพราะกลุ่มประเทศอ่าวอาหรับค่อนข้างเข้มงวดเกี่ยวกับคุณภาพของอาหารที่นำเข้า และให้ความ สำคัญกับฉลากอาหารที่จะต้องระบุข้อมูลตามกฏระเบียบที่กำหนดไว้
6.4. การออกแบบฉลากบรรจุภัณฑ์ที่แสดงรูปสินค้าสวยงามน่ารับประทาน ระบุ ข้อมูลผลิตภัณฑ์ ได้แก่ ส่วนผสมในอาหาร ชื่อ/ประเทศผู้ผลิต และข้อมูลโภชนาการที่ได้รับจากอาหาร รวมถึงจะเน้นคุณสมบัติอื่นๆเพิ่มอีก เช่น สินค้าอุดมด้วย Omega 3, High in Protine, Rich in DHA เป็นต้น ทุกข้อความเป็น ภาษาอังกฤษเพื่อให้เป็นไปตามกฎระเบียบการนำเข้าและเพื่อส่งเสริมการตลาดอีกด้วย
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองดูไบ
ที่มา: http://www.depthai.go.th