เศรษฐกิจยูเออีชะลอตัว ....ปีหน้าโต 3.0%

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday December 7, 2011 14:44 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ต้นเหตุแห่งความกังวล

จากปัญหาหนี้สาธารณะของยูโรกำลังลุกลามคุกคามภาคการเงินของภูมิภาค สร้างความวิตกว่า

วิกฤติหนี้ยูโรจะกระจายมากขึ้นทำให้เกิดความเสี่ยง สร้างความกังวลให้กับนักลงทุนที่บางรายต้องการถือเงินเก็บไว้รอดูสถานการณ์ จึงทำให้กลายเป็นผลร้ายต่อระบบทุนนิยม ที่จำเป็นต้องให้มีเงินทุนหมุนเวียน เพื่อให้เกิดสภาพคล่องเกื้อหนุนให้เศรษฐกิจเดินหน้ามีการเติบโตต่อไป

นอกจากนี้การที่หุ้นของสหรัฐฯร่วงลงอย่างหนัก ด้านตลาดน้ำมันปรับตัวลงตามการเทขายในตลาดหุ้น จะส่งผลกระทบให้เศรษฐกิจยูเออีปี 2555 ถดถอยลง 3%

ผลกระทบต่อโลกและยูเออี

Mr. Sultan Bin Nasser Al Suwaidi, ผู้ว่าการธนาคารสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์กล่าวว่าปัญหาใน

ยุโรปเป็นสาเหตุที่สร้างความกังวลให้กับทั่วโลกและยูเออีเช่นกัน เพราะยุโรปเป็นคู่ค้าสำคัญของยูเออีที่ทำการค้าด้วย เมื่อสถานการณ์เกิดขึ้น ยูเออีจึงไม่สามารถหลีกเลี่ยงจากผลกระทบดังกล่าวได้

สถานการณ์วิกฤตการเงินที่เกิดขึ้นเมื่อปี 2552 ได้ทำให้เศรษฐกิจยูเออีหดตัวลงลง 1.6% ต่อมาปี 2553 เศรษฐกิจของยูเออีกระเตื้องขึ้น 1.4% ซึ่งเป็นผลพวงจากราคาน้ำมันสูงขึ้น แต่ธุรกิจที่เกี่ยวกับ Hydrocarbon นั้นยังอยู่ในสภาพย่ำแย่โดยเงินมูลค่า 25 ล้านเหรียญสหรัฐฯได้ถูกใช้สำหรับการปรับโครงสร้างหนี้ของบริษัทยักษ์ใหญ่ของดูไบ

จากการสำรวจของสำนักข่าวรอยเตอร์พบว่าหากราคาน้ำมันดิบรักษาอยู่ที่ระดับ 100 เหรียญสหรัฐฯ/บาเรล กระแสธุรกิจการค้าของยูเออีกับกลุ่มประเทศเอเซียหมุนเวียนอย่างต่อเนื่อง ภาครัฐใช้นโยบายการคลังเพื่อกระตุ้นการเติบโตภาคเศรษฐกิจ ก็จะสามารถช่วยให้เศรษฐกิจของยูเออีปีปัจจุบันและปีต่อไป จะสามารถขยายตัวที่ประมาณ 3.8%

Mr. Sultan กล่าวต่อไปว่าหากสถานการณ์ในยุโรปและสหรัฐฯยังขึ้นๆลงๆอยู่แบบปัจจุบัน คาดว่าอัตราการขยายตัว GDP ของยูเออีจะอยู่ที่ระดับ 3% ทั้งนี้ยังขึ้นอยู่กับระดับราคาน้ำมัน รวมทั้งสถานการณ์การเมืองในตะวันออกกลางอีกด้วย

แต่หากปัญหาในยุโรปสามารถคลี่คลายลงตามที่ได้ประกาศไว้ และเศรษฐกิจของสหรัฐฯ สามารถ

บ่งชี้มีแนวโน้มที่ดีขึ้น ก็จะช่วยเสริมความมั่นใจต่อภาวะเศรษฐกิจโลก และจะส่งผลให้เศรษฐกิจยูเออีสามารถเติบโตได้ถึง 4%

อย่างไรก็ตามขณะนี้ยูเออียังไม่ต้องใช้นโยบายฟื้นฟูสภาพคล่องของระบบการเงินการธนาคาร เพราะธนาคารในประเทศสามารถดำเนินธุรกิจอย่างคล่องตัวและเป็นอิสระ สภาพคล่องพื้นฐานของภาคธนาคารยังคงแข็งแกร่ง

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองดูไบ

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ