รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจและการค้าเดือนพฤศจิกายน 2554 ภูมิภาค เอเชียตะวันออก ประเทศญี่ปุ่น(โตเกียว)

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday December 8, 2011 11:09 —กรมส่งเสริมการส่งออก

1.GDP ของญี่ปุ่นในช่วงกรกฎาคม-กันยายน 2554 เพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 4 ไตรมาส โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 จากไตรมาสก่อน หรือร้อยละ 6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีปัจจัยหลักมาจากการฟื้นตัวของการผลิตรถยนต์ซึ่งทำให้การบริโภคภายในประเทศเพิ่มมากขึ้นและการส่งออกรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.2 ในขณะที่การนำเข้ารวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4 ซึ่งเป็นผลมาจากการฟื้นตัวของการผลิตภายในประเทศทำให้เกิดการนำเข้าวัตถุดิบ และความต้องการพลังงานเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้นเพื่อทดแทนพลังงานนิวเคลียร์

2.อย่างไรก็ดี นักวิเคราะห์มองว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นกำลังเข้าสู่ทิศทางที่แย่ลงอันเนื่องมาจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกจากปัญหาวิกฤตหนี้เสียในยุโรป การแข็งค่าของเงินเยน และอุทกภัยในประเทศไทยที่ทำให้โรงงานของญี่ปุ่นต้องปิดตัวลงชั่วคราว

3.การส่งออกสินค้าเกษตรและประมงของญี่ปุ่นลดลงร้อยละ 9.4 เหลือ 209.4 พันล้านเยนในครึ่งแรกของปีงบประมาณ 2554 (มี.ค.- ก.ย. 54) โดยมีสาเหตุหลักมาจากความกังวลเกี่ยวกับการปนเปื้อนสารกัมมันตภาพรังสี สินค้าที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดคือข้าวและแอปเปิ้ลซึ่งส่งออกลดลงร้อยละ 79 และ 73 ตามลำดับ โดยกว่า 40 ประเทศและเขตเศรษฐกิจทั่วโลกประกาศห้ามนำเข้าหรือใช้มาตรการตรวจสอบสินค้าเกษตรนำเข้าจากญี่ปุ่นอย่างเข้มงวด

4.วุฒิสภาญี่ปุ่นมีมติรับร่างงบประมาณเพิ่มเติมครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 21 พ.ย. 2554 เป็นเงินจำนวน 12.1 ล้านล้านเยนซึ่งนับเป็นงบประมาณเพิ่มเติมที่สูงมากเป็นลำดับที่ 2 ในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น เพื่อใช้ในการดำเนินนโยบายที่สำคัญเช่น การฟื้นฟูพื้นที่ประสบภัยจากเหตุการณ์ภัยพิบัติแผ่นดินไหว สึนามิ 9.2 ล้านล้านเยน จัดสรรพิเศษให้เทศบาลท้องถิ่นที่ประสบภัยฯ 1.56 ล้านล้านเยน ค่าใช้จ่ายในการกำจัดสารกัมมันตภาพรังสี 0.24 ล้านล้านเยน และค่าใช้จ่ายในการดำเนินนโยบายป์องกันการแข็งค่าของเงินเยนและป์องกันการย้ายกิจการไปต่างประเทศของเอกชนญี่ปุ่น 2 ล้านล้านเยน ค่าเงินเยนที่ทำสถิติแข็งค่าอย่างต่อเนื่องกระตุ้นให้เกิดการควบรวมกิจการ (M&A) โดยบริษัทญี่ปุ่นเข้าซื้อกิจการของบริษัทต่างชาติทั้งในญี่ปุ่นและในต่างประเทศ โดยในปี 2554 มี M&A แล้วกว่า 500 รายการ ซึ่งสูงเป็นประวัติการณ์และมีมูลค่าสูงกว่าในช่วง 1980's ยุคเฟื่องฟูยุคแรกของเศรษฐกิจญี่ปุ่น (Bubble Economy) และช่วงระหว่างปี 2000 ยุคเฟื่องฟูยุคที่สอง (IT Bubble) โดย M&A ในครั้งนี้ส่วนใหญ่แล้วเป็นการทำร่วมกับบริษัทในเอเชีย เช่น จีน เกาหลีใต้ อินเดีย และไทย

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงโตเกียว

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ