รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจและภาวะการค้าระหว่างประเทศ ประเทศบราซิล ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2554

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday December 14, 2011 14:39 —กรมส่งเสริมการส่งออก

1.สถานการณ์ทางเศรษฐกิจของบราซิล

1.1. S&P ปรับเพิ่มระดับความสามารถในการชำระหนี้ของพันธบัตรของรัฐบาลบราซิลเป็นระดับ BBB

เมื่อวันที่ 17 พ.ย. 2554 ที่ผ่านมา Standard and Poor ได้ปรับระดับเครติดพันธบัตรของรัฐบาลบราซิลจากระดับ BBB- เป็น BBB เนื่องจากมีความเชื่อมั่นในความสามารถของบราซิลในการชำระหนี้ในอนาคตได้ ซึ่งจะมีผลต่อความเชื่อมั่นต่อนักลงทุนต่างประเทศหรือเจ้าหนี้ต่างประเทศที่จะทำสัญญาหรือก่อหนี้กับรัฐบาลบราซิลมากขึ้น ซึ่งหากบราซิลยังคงมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ดีอย่างต่อเนื่องเช่นในปัจจุบันคาดการณ์ว่าไม่นานระดับเครติดดังกล่าวจะถูกปรับ A ซึ่งเป็นระดับที่แสดงว่าเป็นประเทศที่มีความสามารถในการลงทุนมากเพราะสามารถมีความสามารถในการชำระหนี้ในระดับดีมาก

การปรับระดับครั้งนี้เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 3 ปีหลังจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ตกต่ำในปี 2009 ที่บราซิลมีพัฒนาการทางด้านเศรษฐกิจที่ดีมากตามลำดับ แม้ในขณะนี้ทั่วโลกจะมีความเสี่ยงที่จะพบกับภาวะเศรษฐกิจทดถอยอันเนื่องมาจากปัญหาเศรษฐกิจของสหรัฐฯที่ยังไม่ฟื้นตัวอย่างชัดเจนและภาวะปัญหาหนี้สาธารณะที่หลายประเทศในสหภาพยุโรปกำลังเผชิญอยู่ โดยในปี 2553 ที่ผ่านมาบราซิลมีเศรษฐกิจเติบโตร้อยละ 7.5 ของGDP ในปี 2554 นี้ คาดการณ์ว่าอัตราการเจริญเติบโตจะอยู่ที่ร้อยละ 4.2-3.8 ลดลงจากการประมาณการเมื่อต้นปี 2554 ที่คาดการณ์ว่าจะสูงถึงร้อยละ 4.8-5.0 แต่บราซิลก็คาดการณ์ว่าจะขยายตัวอย่างต่อเนื่องต่อไป เนื่องจากแม้หากโลกประสบปัญหาเศรษฐกิจทดถอยแล้ว โครงสร้างทางเศรษฐกิจของบราซิล ก็จะได้รับผลกระทบบ้างแต่ไม่รุนแรงนักเนื่องจาก บราซิลพึงพารายได้ในการส่งออกเพียงร้อยละ 15-20 ของGDP ดังนั้นบราซิลเพียงแต่มีมาตราการทางการเงินควบคุมมิให้การบริโภคลดลงมากนักหรือเสียหายน้อยได้ โดยหากทั่วโลกมีปัญหาบราซิลก็สามารถใช้นโยบายการเน้นการบริโภคในประเทศแทนการส่งออกเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของตนให้ขยายตัวได้ต่อไป

นอกจากนั้น หากบราซิลสามารถแก้ไขปัญหาการกระจายรายได้ที่ยังมีคนยากจนอยู่มากและปรับปรุงกฎระเบียบภาษีของตนให้มีความเป็นสากลให้มากขึ้น ก็จะยิ่งทำให้การขยายตัวของบราซิลมีมากขึ้นตามไปด้วย โดยในปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงของพันธบัตรรัฐบาลบราซิลแบบ 30 ปี ที่จ่ายให้เจ้าหนี้อยู่นั้นอยู่ที่ระดับประมาณ 5% ต่อปี

1.2. ค่าแรงในการก่อสร้างของบราซิลสูงขยายขึ้นถึง 10.22% มากเป็นประวัติการณ์

จากการเปิดเผยของสำนักงานสถิติแห่งชาติของบราซิล (IBGE) ได้ประกาศว่าค่าแรงของแรงงานด้านก่อสร้าง (Consturction Labour Force) ปรับตัวสูงขึ้นระหว่างเดือน ม.ค.-ส.ค. 2554 สูงถึง 10.22% ซึ่งเป็นการขยายตัวสูงขึ้นมากที่สุดหลังจากปี 2008 เป็นต้นมา โดยน่าจะมีสาเหตุมาจากการขยายตัวเศรษฐกิจของบราซิลที่ร้อนแรงจากปี 2009 และ 2010 ที่ผ่านมาประกอบกับโครงการที่จะเกิดขึ้นตามโครงการพื้นฐานต่างๆในการรองรับฟุตบอลโลกปี 2014 และโอลิมปิกปี 2016 ซึ่งคาดว่าจะเริ่มก่อสร้างในปี 2012

แรงงานด้านก่อสร้างซึ่งเชื่อว่ามีประมาณ 2.5 ล้านคนในบราซิลคาดว่าจะมีการจ้างงานเพิ่มขึ้นอีกกว่า 1.5 ล้านคนในอีก 2-3 ปีข้างหน้า โดยค่าแรงโดยเฉลี่ยของแรงงานปัจจุบันอยู่ที่ 1,398.80 เฮฮัล (ประมาณ 26,000 บาท) ต่อเดือน โดยวิศวะกรคุมงานก่อสร้างมีเงินเดือนเฉลี่ย 12,000-18,000 เฮฮัล (ประมาณ 240,000-360,000 บาท) และแรงงานฝีมือด้านก่ออิฐอยู่ที่ 4,000-5,000 เฮฮัล (ประมาณ 80,000-100,000 บาท)

การเพิ่มขึ้นของค่าแรงดังกล่าว จะก่อให้เกิดปัญหาด้านเงินเฟ้อซึ่งเป็นสิ่งที่รัฐบาลบราซิลกลัวและพยายามที่จะควบคุมมาตลอดโดยใช้นโยบายดอกเบี้ยสูง แต่อย่างไรก็ดีก็แสดงให้เห็นถึงความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจของบราซิลที่จะมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องต่อไป

1.3. เกาหลีใต้ลงทุนในบราซิลเพิ่มกว่า 200 เปอร์เซนต์

นักลงทุนจากประเทศเกาหลีใต้ เพิ่มการลงทุนในประเทศบราซิล เพิ่มขึ้นมากเป็น 3 เท่า ในระยะเวลา 6 เดือนแรกของปี 2011 เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2010 มูลค่าการลงทุน เพิ่มจาก 194 ล้านเหรียญสหรัฐ เป็นมูลค่า 608 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 213.4 ส่งผลให้ประเทศเกาหลีใต้ติดอันดับ 1 ใน 10 ของประเทศที่มีการลงทุนสูงในประเทศบราซิล ขยับจากอันดับที่ 21 ในปี 2010

แม้ว่านักลงทุนเกาหลีจะใช้เวลาในการพิจารณาโครงการเป็นระยะเวลายาวนาน แต่เมื่อตัดสินใจในการลงทุนดำเนินโครงการแล้ว การดำเนินการจะกระทำโดยรวดเร็วตามแผนงานที่วางไว้อย่างมีประสิทธิภาพ

บริษัท Hyundai Heavy Industries ใช้เวลาในการพิจารณาโครงการการลงทุนสร้างโรงงานผลิตเครื่องมืออุตสาหกรรมหนัก ณ เมือง Itatiaia ในรัฐ Rio de Janeiro นานกว่า 1 ปี ณ ปัจจุบัน โรงงานมูลค่า 150 ล้านเหรียญสหรัฐ มีกำหนดแล้วเสร็จในปลายปี 2012 ซึ่งจะเป็นโรงงานต่อเรือที่ใหญ่ที่สุดในโลก ที่มีการลงทุนนอกทวีปเอเซีย โรงงานจะมีพื้นที่ 300,000 ตารางเมตร ในพื้นที่ 600,000 ตารางเมตร ในระยะแรกจะเป็นโรงงานผลิตเครื่องจักรสำหรับอุตสาหกรรมการก่อสร้าง สำหรับการต่อเรือจะเป็นในเฟสต่อไป ทั้งนี้ บริษัทได้ร่วมทุนกับบริษัท Eike Batista's OSX ซึ่งเป็นบริษัทก่อสร้างรายใหญ่

บริษัท Hyundai Motor ลงทุนสร้างโรงงานประกอบรถยนต์ มูลค่า 600 ล้านเหรียญสหรัฐ ณ เมือง Piracicaba รัฐ Sao Paulo กำลังการผลิต 150,000 คันต่อปี เริ่มผลิตได้ในครึ่งปีหลังของปี 2012

บริษัท Samsung Electronics ลงทุนขยายโรงงานในรัฐ Manaus จากพื้นที่ 50,000 ตารางเมตร เป็น 120,000 ตารางเมตร ในปี 2011 โดยจะเป็นโรงงานที่ทันสมัยที่สุดในโลกของบริษัท สำหรับบริษัท Samsung Electronics บราซิล เป็นตลาดที่สร้างผลตอบแทนสูงสุดเป็นลำดับที่ห้า และคาดการณ์ว่าภายใน 18 เดือนข้างหน้า จะเป็นตลาดที่สร้างผลตอบแทนสูงสุดเป็นลำดับที่สาม รองจากประเทศจีน และสหรัฐอเมริกา

นักลงทุนเกาหลีขยายการลงทุนในประเทศบราซิล เพราะเชื่อมั่นว่า เศรษฐกิจของบราซิลจะเติบโตอย่างยั่งยืน และได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนสูง

1.4. บราซิลมองตลาดใหม่ ขยายการค้า การลงทุนไปในอาฟริกา

ในสภาวะที่ประเทศเศรษฐกิจที่มั่งคั่ง ประสบปัญหาวิกฤตทางเศรษฐกิจ ประเทศเศรษฐกิจใหม่ ที่มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจสูง หันมาทำการค้า และการลงทุนระหว่างกันเพิ่มมากขึ้น

ปัญหาเศรษฐกิจถดถอยของประเทศในยุโรป และสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นตลาดส่งออกที่สำคัญของบราซิล ส่งผลกระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศที่คาดว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นได้เพียงร้อยละ 3-4 ในปี 2011 ลดลงเกือบครึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับการขยายตัวร้อยละ 7.5 ในปี 2010 ที่ผ่านมา

จากการเยือน 3 ประเทศในทวีปอาฟริกา ได้แก่ อาฟริกาใต้ โมแซมบิก และแองกอรา ของประธานาธิปดี Dilma Rousseff ของบราซิล ในเดือนตุลาคม 2011 ทำให้เห็นศักยภาพในการขยายตลาดการค้า และการลงทุนไปยังประเทศในอาฟริกา ซึ่งมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจเฉลี่ยร้อยละ 6.6 ในทศวรรษที่ผ่านมา เช่นเดียวกับการขยายตัวของประเทศในกลุ่ม BRIC ทั้งนี้ ประเทศแองกอรามีการขยายตัวทางเศรษฐกิจมากกว่าร้อยละ 10 ในช่วงเวลาห้าปีที่ผ่านมา และมีสถิติการขยายตัวสูงสุดในปี 2007 ที่ร้อยละ 22.7 ประเทศโมแซมบิก ในปี 2011 มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจร้อยละ 11.9 และในระยะเวลา 5 ปี ที่ผ่านมามีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องที่ประมาณร้อยละ 6-9

ปัจจุบันแม้สัดส่วนการค้าระหว่างประเทศของบราซิล กับอาฟริกาจะมีเพียงร้อยละ 5 ของการค้าระหว่างประเทศของบราซิล แต่อัตราการขยายตัวทางมูลค่าการค้าเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด จากมูลค่า 4,200 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2002 เป็นมูลค่า 20,600 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2010 และคาดว่าจะขยายตัวมีมูลค่าถึง 60,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ภายในปี 2017 โดยการขยายค้า การลงทุน ในอุตสาหรรมเหมืองแร่ อุตสาหกรรมน้ำมัน และการเกษตรเขตร้อน ที่บราซิลมีความเชี่ยวชาญเป็นสำคัญ

บริษัท Vale ซึ่งเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ในอุตสาหกรรมเหมืองแร่ของบราซิล ลงทุนมูลค่า 1,700 ล้านเหรียญสหรัฐ ในการทำเหมืองแร่ถ่านหินในประเทศโมแซมบิก ซึ่งจะสร้างมูลค่าการค้าเพิ่มขึ้นถึง 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐในปีหน้า

บริษัท Odebrecht ซึ่งเป็นบริษัทก่อสร้างรายใหญ่ของบราซิล ได้มีการดำเนินธุรกิจด้านการผลิตอาหาร เอทานอล โรงงานอุตสาหกรรม และซุปเปอร์มาเก็ตในประเทศแองกอรา ปัจจุบันเป็นบริษัทเอกชนที่มีการจ้างงานมากที่สุดของประเทศแองกอรา

บริษัท Ptrobras รัฐวิสาหกิจของบราซิลที่ดำเนินธุรกิจด้านน้ำมัน มีความร่วมมือกับรัฐบาลแองกอรา ในการขุดเจาะน้ำมันในทะเลลึก

โอกาสในการขยายการส่งออกสินค้าอุปกรณ์ เครื่องมือการเกษตรเขตร้อน ที่บราซิลมีความเชี่ยวชาญ และได้เปรียบประเทศสหรัฐอเมริกา หรือประเทศในยุโรป

เพื่อกระชับความสัมพันธ์ และส่งเสริมโอกาสในการค้า การลงทุนให้เพิ่มมากยิ่งขึ้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาอุตสาหกรรม และการค้าระหว่างประเทศ (นาย Fernando Pimentel) จะเป็นผู้นำคณะภาครัฐ (Brazilian Trade and Investment Promotion Agency: APEXBrazil) และเอกชน เดินทางไปเยือนประเทศอาฟริกาใต้ โมแซมบิก และแองกอรา ในปลายเดือนพฤศจิกายน 2011 นี้ อีกครั้งหนึ่ง

ประเทศคู่แข่งสำคัญของบราซิลในภูมิภาคนี้ ได้แก่ ประเทศจีน ซึ่งได้แผ่อิทธิพลด้านการค้า และการลงทุนมาก่อนหน้านี้ โดยในปัจจุบัน ประเทศจีนมีสัดส่วนการค้าประมาณร้อยละ 17 ของภูมิภาคนี้ ในเดือนมีนาคม 2011 บริษัท Jinchuan Group ผู้ผลิตนิคเกิ้ลรายใหญ่ของจีน ชนะการประมูล เหนือบริษัท Vale ของบราซิล ในการซื้อบริษัท Metorex ที่ดำเนินธุรกิจเหมืองแร่ของประเทศอาฟริกาใต้ ในมูลค่า 1,300 ล้านเหรียญสหรัฐ ภายใต้การสนับสนุนด้านการกู้เงินทุนจากรัฐบาลจีน ทำให้รัฐบาลบราซิลต้องคิดทบทวนแนวทางในการสนับสนุนบริษัทของประเทศตนเอง ให้มีความสามารถในการแข่งขันมากยิ่งขึ้น

นโยบายในการส่งเสริมการค้า การลงทุนในอาฟริกาของบราซิล คือการพัฒนาอาฟริกาให้ดีขึ้น ในขณะที่ประเทศจีนเน้นแต่การแสวงหาผลประโยชน์เพียงอย่างเดียว เช่น บริษัทของจีนละเลยการปฎิบัติตามกฎหมายรคุ้มครองความปลอดภัยของแรงงานในบางประเทศของอาฟริกา และเน้นที่จะนำแรงงานมาจากประเทศจีน แทนที่จะจ้างแรงงานในท้องถิ่น สิ่งที่รัฐบาลบราซิลคิดว่าน่าจะเป็นจุดแข็งในการเพิ่มความสัมพันธ์ทางการค้า การลงทุนในภูมิภาคอาฟริกา ได้แก่

ประเทศบราซิลมีภาพลักษณ์ที่ดี ในสายตาของชาวอาฟริกา ที่จะมาช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิต หน่วยงานวิจัย พัฒนาการเกษตรของบราซิล (Embrapa) มีสำนักงาน 4 แห่ง ในทวีปอาฟริกา เพื่อถ่ายทอด และพัฒนาเทคโนโลยี่ ความเชี่ยวชาญ ด้านการเพิ่มผลผลิตการเกษตรให้สูงขึ้น การให้การสนับสนุนด้านการเงินเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมยารักษาโรคเอดส์ ในโมแซมบิก

ความสำเร็จของประเทศบราซิลด้านนโยบายการยกระดับประชาชนให้พ้นจากความยากจน ซึ่งจะเป็นแนวทางในการพัฒนาประเทศในอาฟริกา

การใช้ภาษาโปตุเกส เช่นเดียวกับประเทศบราซิล เช่น ประเทศโมแซมบิก แองกอรา ซึ่งมีประวัติศาสตร์ เคยเป็นเมืองขึ้นของโปตุเกส ทำให้มีความคล้ายคลึงกันในด้านชนชาติ และแนวทางในการดำเนินชีวิต

ประชากรมากกว่าครึ่งหนึ่งของบราซิลมีบรรพบุรุษมาจากอาฟริกา บราซิลเป็นประเทศที่มีคนผิวดำมากเป็นอันดับสองของโลก รองจากประเทศไนจีเรีย ความเติบโตด้านเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติของอาฟริกา จะเป็นโอกาสในการขยายเศรษฐกิจ อย่างไม่มีขอบเขตจำกัด

1.5. อาการป่วยของอดีตประธานาธิบดี Lula อาจส่งผลต่อความมั่นคงของรัฐบาลบราซิลและการเลือกตั้งประธานาธิบดีในสมัยหน้า

มีรายงานข่าวเมื่อวันที่ 1 พ.ย. 2554 ที่ผ่านมาว่า อดีตประธานาธิบดี Lula Da Sliva ป่วยเป็นโรคมะเร็งและต้องส่งตัวเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลที่รัฐเซาเปาโลนั้นทำให้ความหวังของพรรคแรงงาน(PT) ที่จะให้เขากลับมารับตำแหน่งประธานาธิบดีหลังจากการหมดวาระของการดำรงตำแหน่งของนาง Rossoff Dlima ประธานาธิบดีของบราซิลในปัจจุบันหมดลง เนื่องจากนาย Lula เป็นผู้ที่พลักดันนาง Dilma ขึ้นสู่ตำแหน่งดังกล่าวในการเลือกตั้งที่ผ่านมาอาจไม่แน่นอน ซึ่งหากนาย Lula ไม่สามารถลงสมัครได้แล้ว พรรคแรงงานก็อาจไม่ได้รับการเลือกตั้งให้เป็นรัฐบาลอีกเนื่องจาก ปัจจุบันรัฐบาลบราซิลประสบปัญหาด้านความเชื่อมั่นลดลงอันเนื่องจากกรณีการทุจริตของรัฐมนตรีในรัฐบาลของนาง Dilma ที่ต้องลาออกไปแล้วถึง 6 คนและคาดว่าจะมีอีกมากในอนาคต ทำให้หากนาย Lula ไม่หายทันหรือไม่สามารถลงสมัครเป็นตัวแทนพรรคได้ก็อาจส่งผลให้พรรครัฐบาลอาจได้รับเสียงไม่พอที่จะเป็นรัฐบาลในสมัยหน้าได้ เนื่องจากนาย Lula ถือเป็นคนสำคัญในพรรคที่เป็นประธานาธิบดีที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในบราซิลและสนับสนุนนาง Dilma สู่ตำแหน่งประธานาธิบดีดังกล่าวโดยได้รับคะแนนเสียงอย่างท่วมท้นในการเลือกตั้งเมื่อปลายปี 2553 ที่ผ่านมานั่นเอง โดยการเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งต่อไปจะมีขึ้นในปี 2014

2.สถิติการค้าระหว่างประเทศของบราซิล

สถิติการค้าระหว่างประเทศของบราซิล

1) มูลค่าการส่งออก นำเข้าและดุลการค้าระหว่างประเทศของบราซิลระหว่างปี 2004-2011

ตลาดส่งออกที่สำคัญ 5 ลำดับแรก (ส่วนแบ่งตลาด%)

จีน (15.25%) สหรัฐฯ (9.56%) อาร์เจนติน่า (9.17%) เนเธอร์แลนด์ (5.07%) เยอรมนี (4.03%) ไทย (อันดับที่ 33, 0.70%)

สินค้าส่งออกสำคัญ 5 ลำดับแรก

แร่และเชื้อเพลิง เมล็ดพืชและถั่ว เนื้อสัตว์ (ไก่สดแช่แข็ง และเนื้อสดแช่แข็ง) และยานยนต์

แหล่งนำเข้าที่สำคัญ 5 ลำดับแรก

สหรัฐฯ (14.89%) จีน (14.09%) อาร์เจนติน่า (7.94%) เยอรมนี (6.91%) เกาหลีใต้ (4.64%) ไทย (อันดับที่ 22, 1.01%)

สินค้านำเข้าที่สำคัญ 5 ลำดับแรก

แร่และเชื้อเพลิง เครื่องยนต์และเครื่องจักร อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ และเคมีภัณฑ์ (ที่มาจากวัสดุธรรมชาติ)

โดยบราซิลได้คาดการณ์ว่าในปี 2554 จะสามารถส่งออกเป็นมูลค่ารวม 220,000-240,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยขยายตัวเพิ่มขึ้นประมาณ 15-20% จากปี 2553 ส่วนการนำเข้าปี 2554 คาดการณ์จะมีการนำเข้าประมาณ 210,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯหรือขยายตัวถึง 12-13 % อันเป็นผลมาจากจากการที่มีความต้องการวัตถุดิบในการผลิตจากต่างประเทศเป็นจำนวนมากเนื่องการขยายตัวทางเศรษฐกิจในประเทศ ทำให้อัตราการขยายตัวของการนำเข้าสูงในอัตราที่ใกล้เคียงกับการส่งออก ตลอดจนปัญหาด้านเงินเฟ้อที่เริ่มจะสูงเกินกว่าเป้าหมายที่รัฐบาลต้องการ (ปี 2553 คาดการณ์ 4.5-6.5% ตัวเลขจริง 7.3 %) และอัตราเงินเฮฮัลที่แข็งค่าตั้งแต่กลางปีที่แล้วถึง 17-20 %(รัฐบาลต้องการ 1.70 เฮฮัลต่อ 1 USD ปัจจุบันอยู่ที่ 1.64-1.66 เฮฮัลต่อ 1 USD) ทำให้การส่งออกขยายตัวน้อยกว่าที่คาดไว้ รัฐบาลจึงพยายามควบคุมโดยขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่สูงคือ 12.00 ในปัจจุบัน ทำให้ต้นทุนในการดำเนินธุรกิจของภาคเอกชนสูงขึ้น นอกจากนั้น ผลจากการที่การส่งออกขยายตัวน้อยกว่าที่คาดนั้น ทำให้บราซิลได้ดุลการค้าลดลงตามไปด้วย อย่างไรก็ดี ในปี 2554 รัฐบาลได้มีการคาดการณ์ว่าบราซิลจะได้ดุลการค้าประมาณ 30 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งเพิ่มขึ้น จากปี 2553 ที่บราซิลได้ดุลการค้าเพียง 20 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ จากสถานการณ์ในทางตรงกันข้ามที่กำลังเป็นอุปสรรคของทั้งการส่งออกและการขยายตัวทางเศรษฐกิจของบราซิลดังกล่าว น่าจะส่งผลให้บราซิลพยายามลดการนำเข้าด้วยการออกมาตราการกีดกันการค้าต่างๆ เช่น การขึ้นภาษีสินค้าเพื่อสนับสนุนการผลิตในประเทศ การเพิ่มขั้นตอนการอนุญาตนำเข้าให้ยุ่งยากขึ้น การเข้มงวดในการเข้าออกของเงินตราต่างประเทศ เป็นต้น

2.2.การค้าระหว่างบราซิลกับประเทศไทย

สถิติการค้าระหว่างไทยกับบราซิล (ข้อมูลจาก กระทรวงพาณิชย์ : ระบบ Menucom )

2.2.1.สถิติการส่งออกสินค้าจากไทยไปบราซิล ปี 2554 (ต.ค. 54)

สคต. คาดการณ์ว่าการส่งออกของไทยมายังบราซิลในปี 2554 จะมีมูลค่าประมาณ 2,100 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยขยายตัวสูงขึ้นจากปีที่แล้ว ร้อยละ 30 ซึ่งเป็นไปตามที่กระทรวงพาณิชย์วางเป้าหมายไว้ โดยมีปัจจัยหลักจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องของของบราซิลในปี 2554 ที่คาดว่าจะเติบโตร้อยละ 3.8 ทำให้มีอุปสงค์ความต้องการสินค้าเพิ่มขึ้นมาก ส่งผลให้มีการนำเข้าเพิ่มขึ้นมาก

โดยร้อยละ 80 ของสินค้าที่ไทยส่งออกมายัง บราซิลส่วนใหญ่เป็นสินค้าประเภทวัตถุดิบกึงสำเร็จรูปและส่วนประกอบเพื่อนำมาประกอบเป็นสินค้าสำเร็จรูปเพื่อจำหน่ายหรือส่งออกต่อไปยังประเทศในแถบลาตินอเมริกา อเมริกาและยุโรป นอกจากนั้น บราซิลยังเตรียมการเป็นเจ้าภาพการจัดการแข่งขันโอลิมปิกในปี 2012 และฟุตบอลโลกในปี 2014 ทำให้ สคต. มีความเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจของบราซิลจะขยายตัวอย่างต่อเนื่องอย่างน้อย 2-3 ปีข้างหน้า แม้อาจมีปัจจัยลบอื่นๆ เช่น อัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น การตัดรายจ่ายด้านงบประมาณของรัฐบาล การใช้นโยบายอัตราดอกเบี้ยสูง เป็นต้น

2.2.2.สถิติการนำเข้าสินค้าจากจากบราซิลมาไทย ปี 2554 (ต.ค. 54)

3.ข้อมูลทางเศรษฐกิจที่น่ารู้ของบราซิล

3.1.เครื่องชี้วัดเศรษฐกิจที่สำคัญ

3.2.การจำแนกกลุ่มผู้บริโภคและรายละเอียดแต่ละกลุ่ม (Market Segmentation)

Class A B หมายถึง ผู้ที่มีรายได้มากกว่า 10,200 เฮฮัล มีสัดส่วนร้อยละ 4.3 เช่น นักลงทุน เจ้าของกิจการ เป็นต้น

Class A B หมายถึง ผู้ที่มีรายได้มากกว่า 5,100-10,200 เฮฮัล มีสัดส่วนร้อยละ 7.0 เช่น นักการเมือง เจ้าของธุรกิจ ผู้บริหาร ทนายความ หมอ เป็นต้น

Class C หมายถึง ผู้ที่มีรายได้ประมาณ 2,040-5,100 เฮฮัลต่อเดือน มีสัดส่วนร้อยละ 65.9 เช่น อาจารย์ วิศวกร พยาบาล ช่างไฟฟ้า เป็นต้น

Class D หมายถึง ผู้ที่มีรายได้ประมาณ 1,020-2,040 เฮฮัลต่อเดือน มีสัดส่วนร้อยละ 46.3 เช่น แม่บ้าน บาร์เทนเดอร์ พนักงานขาย พนักงานขับรถ เป็นต้น

Class E หมายถึง ผู้ที่มีรายได้ต่ำประมาณน้อยกว่า 1,020 เฮฮัลต่อเดือน มีสัดส่วนร้อยละ 49.3 เช่น พนักงานทำความสะอาด คนกวาดถนน เป็นต้น

สคต. ณ นครเซาเปาโล

ที่มา: http://www.depthai.go.th


แท็ก บราซิล   S&P  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ