รายงานสถานการณ์การผลิต การค้า การบริโภค การส่งออกและการนำเข้าข้าวของประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ระหว่างวันที่ 25 พฤศจิกายน - 1 ธันวาคม 2554

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday December 27, 2011 15:00 —กรมส่งเสริมการส่งออก

1. สถานการณ์การผลิต :

ไม่เปลี่ยนแปลง

2. การบริโภคข้าว :

ปริมาณการบริโภคข้าวของเวียดนามในปี 2553 มีจำนวนประมาณ 19,300,000 ตัน เปรียบเทียบกับปี 2552 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.38 หรือเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละประมาณ 150,000 ตัน

3. ราคาข้าวภายในประเทศ :

ราคาข้าวเปลือกท้องถิ่นในแหล่งผลิตบริเวณ Mekong River Delta (ข้าวเปลือกเมล็ดสั้น) จะอยู่ระหว่าง 7,000-7,1 00 เวียดนามด่ง/กิโลกรัม ในขณะที่ราคาข้าวเปลือกสำหรับสีเป็นข้าวเมล็ดยาว อยู่ระหว่าง 7,100-7,200 เวียดนามด่ง/กก. สำหรับราคาข้าวกล้องชนิดสีเป็นข้าวหัก 5 % จะอยู่ระหว่าง 9,350 - 9,450 เวียดนามด่ง/กก และข้าวกล้องชนิดสีเป็นข้าวหัก 25 % อยู่ระหว่าง 9,150-9,250 เวียดนามด่ง/กก. ทั้งนี้ ราคาข้าวเปลือกทุกชนิดลดลงประมาณกิโลกรัมละ 200-300 เวียดนามด่ง

สำหรับข้าวสาร มีราคาจำหน่ายส่งดังนี้

          ข้าวหัก 5 %  (ไม่บรรจุถุง)          กิโลกรัมละ          11,050-11,150          เวียดนามด่ง
          ข้าวหัก 15 %                     กิโลกรัมละ          10,450-10,550          เวียดนามด่ง
          ข้าวหัก 25 %                     กิโลกรัมละ          10,100-10,200          เวียดนามด่ง

(อัตราแลกเปลี่ยน 1 เหรียญสหรัฐ = 21,008 เวียดนามด่ง)

ทั้งนี้ ข้าวสารทุกชนิดมีราคาลดลงประมาณกิโลกรัมละ 100 -350 เวียดนามด่ง ในสัปดาห์นี้

4. การส่งออก :

ปริมาณส่งออกในช่วงระหว่างวันที่ 1-30 พฤศจิกายน 2554 มีจำนวน 415,871 ตัน มูลค่า 232.757 ล้านเหรียญสหรัฐ (FOB) หรือเท่ากับ 243.148 ล้านเหรียญสหรัฐ (CIF) แยกเป็น

  • ข้าวหัก 5% - 10 % ปริมาณ 55,642 ตัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 13.38 ของการส่งออกทั้งหมดในสัปดาห์นี้
          - ข้าวหัก 15 % - 20 %           ปริมาณ 287,868 ตัน           คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 69.22
          - ข้าวหัก 25 %                  ปริมาณ   6,975 ตัน           คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ  2.33
          - ข้าวอื่นๆ                      ปริมาณ  33,486 ตัน           คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ  8.05
          - ข้าวเหนียว                    ปริมาณ  25,186 ตัน           คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ  6.06
          - ข้าวหักอื่นๆ                    ปริมาณ   3,508 ตัน           คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ  0.84
          - ข้าวนึ่ง                       ปริมาณ     506 ตัน           คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ  0.12

สำหรับปริมาณส่งออกตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม — 30 พฤศจิกายน 2554 มีจำนวน 6.735ล้านตัน มูลค่า 3.291 พันล้านเหรียญสหรัฐ(FOB) หรือ 3.425 พันล้านเหรียญสหรัฐ (CIF) เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2010 ปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.59 มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.23 (FOB) หรือร้อยละ 17.59 (CIF)

ตลาดส่งออกที่สำคัญ (1-30 พฤศจิกายน 2554)ได้แก่

          ตลาดเอเชีย                    ปริมาณ  375,110 ตัน           คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 90.20
          ตลาดอัฟริกา                    ปริมาณ   30,957 ตัน           คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ  7.44
          ตลาดยุโรป                     ปริมาณ    4,745 ตัน           คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ  1.14
          ตลาดออสเตรเลีย                ปริมาณ    2,235 ตัน           คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ  0.54
          ตลาดอเมริกา                   ปริมาณ    1,764 ตัน           คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ  0.42
          ตลาดตะวันออกกลาง              ปริมาณ    1,060 ตัน           คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ  0.25

5. สถานการณ์ข้าวในเวียดนาม/สถานการณ์ข้าวโลก :

5.1 หนังสือพิมพ์เวียดนามรายงานข่าวว่า ในการประชุมเพื่อประเมินสถานการณ์ข้าวที่จังหวัด An Giang เวียดนามตอนใต้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของกระทรวงเกษตรได้รายงานต่อที่ประชุมว่า ปีนี้ เกษตรกรในแหล่งผลิตบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงที่เพิ่งเก็บเกี่ยวผลผลิตเสร็จสิ้น พบว่าผลผลิตข้าวเปลือกในปีนี้มีประมาณ 3.3 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา 930,000 ตัน สาเหตุเนื่องจากผลผลิตเฉลี่ยต่อเฮกตาร์เพิ่มขึ้นจากเดิมเป็นเฮกตาร์ละ 6-6.5 ตัน

สำหรับการเพาะปลูกข้าวในฤดูที่ 3 จังหวัด An Giang มีพื้นที่เพาะปลูก จำนวน 131,000 เฮกตาร์ มากที่สุดในแหล่งผลิตบริเวณนี้ จากราคาข้าวที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในตลาดโลก ส่งผลให้ราคาข้าวเปลือกในเวียดนามสูงตามไปด้วย ซึ่งราคาปัจจุบันอยู่ประมาณกิโลกรัมละ 6,000 เวียดนามด่ง ทำให้เกษตรกรในพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงเพิ่มพื้นที่การเพาะปลูกข้าวในฤดูที่ 3 มากเป็นประวัติการณ์ อย่างไรก็ตาม สถานการณ์น้ำท่วมในบริเวณตอนกลางและตอนใตของเวียดนามส่งผลให้พื้นที่นาเสียหายประมาณ 21,451 เฮกตาร์ และการทำนาในฤดูที่ 3 ล่าช้าออกไป

ที่ประชุมได้สรุปถึงความสำเร็จในการใช้ระบบ “Large —scale rice model” ของเกษตรในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง ซึ่งได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่ต้นฤดูการผลิตที่ 1( ฤดูร้อน-ฤดูใบไม้ร่วง) ว่า มีเกษตรกรจำนวน 6,400 ครัวเรือน เข้าสู่ระบบดังกล่าว ทำให้ปีนี้เกษตรกรได้รับผลผลิตเพิ่มขึ้น ลดความสูญเสียระหว่างการเก็บเกี่ยวผลผลิต และลดต้นทุนการผลิต โดยระบบดังกล่าวสามารถลดต้นทุนการผลิตได้ถึงกิโลกรัมละ 120-600 เวียดนามด่ง ทั้งนี้ จังหวัดที่เป็นแหล่งผลิตข้าวในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง จำนวน 13 จังหวัด มีเกษตรกรที่เข้าสู่ระบบแล้วจำนวน 12 จังหวัด สำหรับจังหวัด An Giang ซึ่งเป็นแหล่งผลิตข้าวที่สำคัญในภูมิภาคนี้ได้ตั้งเป้าหมายไว้ว่า ในฤดูการผลิตปี 2011/12 จะมีพื้นที่นาที่เข้าสู่ระบบเพิ่มขึ้น จำนวน 20,000 เฮกตาร์ และจะเพิ่มขึ้น 10 เท่าตัวในปี 2012/13

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงฮานอย

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ