“เบียร์นับได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของ วิถีชีวิตของ ชาวเช็ก รวมทัง้ ถือเป็นประเพณี และเป็นความภาคภูมิใจของชาวเช็กด้วย “ ........ เป็นคำกล่าวของ Czech Beer and Malt Association
อัตราการบริโภคเบียร์ของชาวเช็กต่อคน ถือว่าสูงที่สุดในโลก โดยเฉลี่ยการบริโภคอยู่ที่ 150 ลิตร/คน/ปี ส่วนอัตราการบริโภคไวน์ เฉลี่ย 16.8 ลิตร/คน/ปี ราคาของเบียร์ในร้านอาหารส่วนใหญ่ ถูกกว่าราคาของเครื่องดื่มที่ไม่ใส่แอลกอฮอล์ ราคาเบียร์ขนาด 0.5 ลิตร อยู่ระหว่าง 20-30 เช็กคราวน์ หรือ 0.8-1.2 ยูโร ราคาของเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ เช่นโค้ก ขนาด 0.3 ลิตรในร้านอาหาร ราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 20-40 เช็กคราวน์ การขายปลีกของเบียร์บรรจุขวดแก้ว (ขวดมาตรฐาน 0.5 ลิตร) ราคาเริ่มต้นที่ ขวดละ 6 เช็กคราวน์ ถึง ราคา22 เช็กคราวน์ ต่อขวด (โดยราคาสูงสุด เป็นของเบียร์ยี่ห้อ Pilsner Urquell)
การบริโภคเบียร์ในสาธารณรัฐเช็ก ส่วนหนึ่งมาจากการบริโภคของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ซึ่งมีกระแสตอบรับที่ดีมากและมีอัตราการเพิ่มสูงขึ้น ในแต่ละปีAssociation of Czech Breweries รายงานว่า ในปี 2553 อุตสาหกรรมเบียร์เช็ก ได้รับผลกระทบจากปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจ ทำให้อยู่ในสถานการณ์ตกต่ำสุดในรอบ 20 ปี เนื่องจาก อัตราการบริโภคลดลงจากเดิม 150 ลิตรต่อคน ต่อปี เหลือ 140 ลิตร/คน/ปี ในช่วงปี 2553 ที่ผ่านมา
สำหรับการผลิตเบียร์ในสาธารณรัฐเช็ก ประมาณ ร้อยละ75 ของตลาดเบียร์ถูกครอบครอง โดย 3 บริษัทใหญ่ ได้แก่
1. PRAZDROJ ผลิตเบียร์ภายใต้ยี่ห้อ PILSNER URQUELL, GAMBRINUS, RADEGAST, VELKOPOPOVICKY KOZEL โดยมีเจ้าของคือ SAB MILLER ( จากอัฟริกาใต้ )
2. STAROPRAMEN (เจ้าของคือ Anheuser Busch In-Bev, ต่อมาเข้าดำเนินการโดย Interbrew Central Holding B.V.จากเนเธอร์แลนด์ และตั้งแต่ปี 2553 เหลือหุ้นส่วนใหญ่รายเดียวคือ STARBEV ,เนเธอร์แลนด์ ซึ่งก่อตั้งสมาชิกโรงเบียร์ใหม่ อีกแห่งคือ STAROPMEN )
3. HEINEKEN (จากเนเธอร์แลนด์) เข้าซื้อกิจการ Starobrno Brewery ในปี 2543 , Krusovice Brewery ในปี2550 และต่อมา Drinks Union ในปี 2551
สาธารณรัฐเช็กไม่เพียงแต่ขึน้ ชื่อในเรื่องการเป็นนักดื่มเบียร์ แต่ ยังได้รับการยอมรับเรื่องการเป็นผู้ส่งออกเบียร์ ติดอันดับ 10 ของโลกอีก ด้วย ปริมาณของการส่งออกที่สูงถึง 3.2 ล้านลิตร ( hectoliters) ในปี 2553 คิดเทียบประมาณร้อยละ 18.8 ของการผลิตเบียร์ภายใ นประเทศ เบียร์เช็กส่วนใหญ่เน้นการส่งออกไปที่เยอรมัน ถึงร้อยละ 42 รองลงมาคือ สโลวัก และประเทศอื่นๆ เช่น อังกฤษ สหรัฐอเมริกา รัสเซีย สวีเดน และประเทศอื่นๆอีกกว่า 50 ประเทศ
สำหรับตลาดเบียร์ ในสาธารณรัฐเช็ก ประชาชนส่วนใหญ่ดื่มเบียร์สด ( Draught Beer )ที่ผลิตภายในประเทศมากกว่าและ เบียร์กลั่น ( Lager Beer) ส่วนใหญ่เพื่อการส่งออก
ในปี 2553 มีการลดลงของการผลิตและส่งออกเบียร์เช็ก ประมาณร้อยละ 8 โดยสถานการณ์ของการผลิตเบียร์และการบริโภคได้ตกต่ำสุดในรอบ 20 ปี เนื่องจากว่าประชาชนดื่มเบียร์ลดลง มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคโดยเป็นการซื้อ เบียร์กลั่น บรรจุขวดจากซุปเปอร์มาร์เก็ต มากกว่าการดื่มเบียรสดในผับ และนอกจากนี้มีการนำเข้าเบียร์ราคาถูกจากโปแลนด์ มีอัตราการนำเข้าเพิ่มสูงขึ้น ช่องทางการนำเข้าโดยห้างค้าปลีกและติดตราสินค้าของตน สำหรับจำหน่ายในราคาประหยัด ในขณะที่ภาวะเศรษฐกิจเกิดวิกฤต ทำให้ ส่วนหนึ่งผู้บริโภคชาวเช็ก ให้ความสำคัญเรื่องราคามากขึ้น
ปัจจุบันในสาธารณรัฐเช็ก จากจำนวนบริษัทเบียร์ 48 บริษัท มีการผลิตเบียร์ออกมามากถึง 450 แบรนด์รวมการผลิตเบียร์ในปี 2553 สูงถึง 17.1ล้านลิตร ( hectoliters)
ทั้งนี้มีการเติบโตในส่วนของการผลิตและการบริโภคเบียร์ที่ไม่มีแอลกอฮอล์ ( non- alcoholic beer )ในสาธารณรัฐเช็ก ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่น่าจับตามอง เพราะมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นเร็วมากสำหรับตลาดเบียร์ที่ไม่มีแอลกอฮอล์ ปัจจุบันมีการผลิตในโรงงานผลิตเบียร์ 19 แห่ง ทำให้มีปริมาณการผลิตเบียร์ที่ไม่มีแอลกอฮอล์ สูงถึง 480,000 ลิตร ( hectoliters) ใน ปี 2553 ซึ่งเพิ่มขึ้นมากถึง 5เท่าในรอบ 10 ปีจากปี 2543
ปัจจุบันเบียร์ที่ไม่มีแอลกอฮอล์ จำนวน 23 แบรนด์ผลิตในสาธารณรัฐเช็ก และร้อยละ 70 ของเบียร์ที่ไม่มีแอลกอฮอล์ทัง้หมด ใช้ชื่อแบรนด์ “ Radegast Birell ” ภายใต้กลุ่มเบียร์ของ Pilsen Brewery สำหรับราคาขายปลีกของเบียร์ที่ไม่มีแอลกอฮอล์ มีราคาใกล้เคียงกับราคาของเบียร์ธรรมดา
ส่วนผสมหลักของการผลิตเบียร์คือ มอลต์ น้ำ ต้นฮอฟ และยีสต์ เบียร์เช็กมีความพิถีพิถันมากในการผลิตและ ขบวนการหมักโดยเฉพาะขั้นตอนการย่อยสลายและปล่อยคาร์บอน ไดออกไซด์ ให้อยู่ในอัตราปานกลางหรือเร็ว รสชาติความขมของเบียร์เช็ก ถือเป็นลักษณะคุณสมบัติสำคัญเฉพาะตัวของเบียร์เช็ก รสชาติความขมของเบียร์ เมื่อดื่มจะมีระดับความต่างของการสลายตัวของความขมที่ปานกลางหรือเร็วกว่า ความขมที่คงอยู่ในลิ้นได้นานกว่า จะมีส่วนช่วย
ในระบบการย่อยอาหาร เอกลัษณ์ที่สำคัญของเบียร์เช็กคือ ความเข้มข้นของโพลีฟีนอล ( Polyphenols ) และ มี ค่า PH ในระดับสูง ซึงเบียร์เช็กมีความเข้มข้นอยู่ในระดับกลาง ถึงระดับสูง เป็นผลดีจากขั้นตอนการหมักส่วนผสมเฉพาะ
ปัจจุบันประเภทของเบียรที่ได้รับความนิยมมากที่สุดได้แก่ ประเภทPilsen —type bottom-fermented beer ซึ่งผลิตในเมือง PILSEN ทางตะวันตกของสาธารณรัฐเช็ก
รสนิยมการบริโภคเบียร์ของชาวเช็ก ส่วนใหญ่ค่อนข้างจะเป็นกลุ่มอนุรักษ์ ประการแรกคือชอบการดื่มเบียร์ท้องถิ่น มากกว่าเบียร์ที่นำเข้าจากต่างประเทศ ส่วนแบ่งการตลาดในเช็กของเบียร์นำเข้า มีเพียงเล็กน้อย คืออยู่ที่ประมาณน้อยกว่าร้อยละ 5 ประการที่สอง ชาวเช็กนิยมเบียร์ที่มีรสชาติขม ซึ่งไม่เหมือนชนชาติอื่นๆและประการที่สาม ชาวเช็กไม่นิยมดื่มเบียร์ที่มีการปรุงรสชาติ ( Favoured Beer ) ซึ่งเป็นที่นิยมในประเทศยุโรป ที่ผู้บริโภคนิยมเบียร์ที่มีรสชาตินุ่มละมุน แต่ชอบรสชาติที่เป็นแบบดั้งเดิมมากกว่า สำหรับโรง เบียร์จากต่างประเทศ เช่น STAROPRAMEN ยังเป็นผู้จัดจำหน่ายเบียร์ในกลุ่มของ Anheuser Busch In-Bev และเบียร์จากเบลเยี่ยม ได้แก่ แบรนด์ Stella Artois, Hoegaarden, Leffee.เบียร์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในสาธารณรัฐเช็กคือแบรนด์ PILSNER URQUELL และ GAMBRINUS ซึ่งทั้งสองแบรนด์นี้มีผู้ผ ลิตจากบริษัทเดียวกัน คือ โรงเบียร์Pilsen Brewery
ส่วนแบ่งการตลาดของเบียร์ที่มาจากการนำเข้าหรือเบียร์ต่างชาติในสาธารณรัฐเช็ก มีสัดส่วนน้อยกว่า ร้อยละ 5 ยกตัวอย่างเช่น เบียร์ภายใต้ พิกัดศุลกากรHS 2203 0001 คือเบียร์บรรจุขวดที่ผลิตจากมอลต์ ในปี 2552 มีปริมาณการนำเข้า 2.8 ล้านลิตร( hectoliters) ขณะที่เบียร์ปริมาณ 18.3 ล้านลิตร( hectoliters) เป็นเบียร์บรรจุขวด ที่สาธารณรัฐเช็กส่งออกไปต่างประเทศจากสถิติของหน่วยงาน Czech Statistical Office รายงานว่า สถิติ การนำเข้าเบียร์บรรจุขวด ในปี 2553 ส่วนใหญ่ นำเข้ามาจากประเทศโปแลนด์ มีปริมาณร้อยละ 40 ของเบียร์นำเข้าจากต่างประเทศ ( ราคาถูก คุณภาพต่ำ )
การจำหน่ายสูงสุดของเบียร์ต่างชาติในสาธารณรัฐเช็กคือ Stella Artois ส่วนใหญ่ผลมาจาก มีการประชาสัมพันธ์ที่มากและหลากหลาย โดยเจ้าของคือโรงเบียร์ STAROPRAMEN Brewery — In Bev จากเบลเยียมเพื่อกระตุ้นยอดขาย เป้าหมายลูกค้าพิเศษ คือผู้บริโภคกลุ่ม วัยรุ่นในเมืองใหญ่ ของสาธารณรัฐเช็ก ส่วนเบียร์อื่นๆที่ได้รับความนิยม เช่น CORONA จากเม็กซิโก และ ASAHI จากญี่ปุ่น ก็ได้รับความนิยมในกลุ่มวัยรุ่นเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตามยอดขายยังถือว่าอยู่ในระดับต่ำ ซึ่งเบียร์เหล่านีมี้วางจำหน่ายในโรงแรม ร้านอาหาร แต่มีข้อจำกัดเพียงเล็กน้อยในการที่จะวางจำหน่ายในซุปเปอร์มาร์เกตโดยทั่วไป
สำหรับเบียร์จากประเทศไทย ที่มีวางจำหน่ายในสาธารณรัฐเช็กได้แก่ เบียร์สิงห์ มีผู้แทนจำหน่ายคือ F.W.TANDOORI Co. ซึ่งบริษัทนี้เป็นผู้นำเข้ารายใหญ่สินค้าอาหารจากเอเชีย เริ่มมีการนำเข้าเบียร์สิงห์ในสาธารณรัฐเช็กตั้งแต่ปี 2550
สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ.กรุงปราก
ที่มา: http://www.depthai.go.th