จากเหตุการณ์น้ำท่วมในไทยที่ถือว่าร้ายแรงที่สุดในรอบ 50 ปี ได้ส่งผลกระทบอย่างกว้างขวางต่อภาคธุรกิจทั้งในและต่าง ประเทศ ในส่วนสินค้าไทยซึ่งจำหน่ายในเขตฯ กว่างซีที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าว มีดังนี้
ตลาดข้าวในเขตฯ กว่างซีจ้วงนั้น โดยทั่วไปเกษตรกรมีอาชีพปลูกข้าวเป็นหลัก โดยส่วนใหญ่เป็นการปลูกเพื่อบริโภคภายใน อย่างไรก็ดี มีผู้บริโภคบางกลุ่มนิยมรับประทานข้าวหอมมะลิไทย ซึ่งเป็นการนำเข้าจากกวางโจวและเซินเจินเป็นหลัก ทั้งนี้ ข้าวหอมมะลิไทยมีราคา สูงกว่าข้าวท้องถิ่น และช่วงที่เกิดภาวะน้ำท่วมในไทย ราคาข้าวหอมมะลิมีการเปลี่ยนแปลงดังนี้
กค. - ตค. 2011 พย. 2011 รายการ ราคาขายส่ง ราคาขายปลีก ราคาขายส่ง ราคาขายปลีก (หยวน / กก.) (หยวน / กก.) (หยวน / กก.) (หยวน / กก.) ข้าวหอมมะลิ 8.5 — 11.0 11.0 — 13.5 9.0 - 13.2 14.0 — 18.0
ตารางข้างต้นแสดงให้เห็นถึงราคาขายส่งและขายปลีกข้าวหอมมะลิในซุปเปอร์มาร์เก็ตที่เพิ่มสูงขึ้นในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2011 โดยผู้บริโภคท้องถิ่นเห็นว่า เนื่องจากราคาข้าวหอมมะลิเพิ่มมากขึ้น ทำให้ต้องหยุดการซื้อข้าวหอมมะลิเป็นระยะเวลาหนึ่ง และหันมาบริโภคข้าว ท้องถิ่นแทน พร้อมกับรอให้ราคาลดลงมาอย่างเดิม ส่วน Supermarket โรงแรม และภัตตาคารท้องถิ่นก็ชะลอการสั่งซื้อข้าวหอมมะลิด้วย
ในส่วนของผู้ประกอบการขายส่งมีความเห็นว่า การเกิดภาวะน้ำท่วม ทำให้การนำเข้าข้าวหอมมะลิมีปัญหาเกี่ยวกับการขนส่ง ซึ่งส่งผลให้ต้นทุนนำเข้าเพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 20-25 (เช่น ราคาข้าวหอมมะลิบรรจุถุงขนาด 25 กิโลกรัม มีราคาเพิ่มขึ้นจากเดิมอีกถุงละ 40-50 หยวน) จึงต้องชะลอการนำเข้า นอกจากนี้ ยังเห็นว่าหากสถานการณ์น้ำท่วมในไทยได้รับการควบคุมอย่างดีในช่วงกลางเดือนพฤศจิกายน ราคาข้าวหอมมะลิอาจไม่เพิ่มขึ้น เนื่องจากสิ้นเดือนพฤศจิกายนและธันวาคมเป็นฤดูการเก็บเกี่ยวข้าวหอมมะลิ ซึ่งสามารถตอบสนองความต้องการตลาดได้ส่วนหนึ่ง
อย่างไรก็ดี ผู้ประกอบการบางรายยังคงมีข้าวหอมมะลิค้างในสต๊อค จึงยังคงขายในราคาเดิมอยู่ แต่คาดว่าตั้งแต่ต้นปี 2555 ราคามีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากการนำเข้ามีต้นทุนสูงขึ้น
ส่วนผลกระทบต่อข้าวท้องถิ่นในเขตฯ กว่างซีจ้วงมีไม่มากนัก เนื่องจากในระยะ 2 ปีที่ผ่านมา จีนมีการเก็บเกี่ยวข้าวได้ดี และมี ข้าวสำรองสำหรับตลาดภายในอย่างอย่างเพียงพอเป็นเวลา 1 ปี นอกจากนี้ ข้าวหอมมะลิไทยไม่ใช่ธัญญพืชหลักในชีวิตประจำวันของผู้บริโภคท้องถิ่น แต่เป็นเพียงธัญญพืชเสริมเพื่อเพิ่มความหลากหลายให้กับผู้บริโภคเท่านั้น *
(ที่มา : * http://finance.sina.com.cn)
ตั้งแต่วันที่ 14 พฤศจิกายน 2011 เป็นต้นมา สินค้า Hardisk ใน Nanning Electronic & Science Technology Plaza มีราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 60-80 โดย Hardisk ของบริษัท Western Digital Corp จำกัด มีราคาเพิ่มขึ้นเป็นรายแรก เช่น รุ่นความจุ 1 TB มีราคาเพิ่มจาก 380 หยวน เป็น 680 หยวน หลังจากนั้น Hardisk ของ Hitachi และ Seagate มีราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 40
ส่วนสินค้าอิเล็กทรอนิคส์ในตลาดเขตฯ กว่างซีจ้วงที่มีโรงงานผลิตตั้งอยู่ในไทยนั้น ต่างได้รับผลกระทบจากภัยน้ำท่วมเช่นกัน กล่าวคือ สินค้ามีราคาเพิ่มสูงขึ้น เช่น ราคากล้องถ่ายรูป Nikon เพิ่มขึ้นร้อยละ 3-9 โดยรุ่น D90 เพิ่มจาก 6,200 หยวน/เครื่อง เป็น 6,800 หยวน/เครื่อง รุ่น D5100 เพิ่มจาก 4,500 หยวน/เครื่อง เป็น 4,750 หยวน/เครื่อง
ทั้งนี้ ผู้ประกอบการมีความเห็นว่า การที่สินค้าอิเล็กทรอนิคส์มีราคาเพิ่มขึ้นมากภายใน 1 เดือน นอกจากมีสาเหตุมาจากการขาดแคลนสินค้าดังกล่าวแล้ว ยังอาจเกิดจากผู้ประกอบการบางรายปั่นราคา และการที่ราคาสินค้าเพิ่มขึ้นนี้ ทำให้ยอดขายไม่ได้เพิ่มขึ้นมากนัก เนื่องจากผู้บริโภคท้องถิ่นมีความรู้สึกว่าราคาเพิ่มขึ้นมากเกินไปในระยะเวลาสั้น จึงชะลอการซื้อสินค้าเหล่านี้เพื่อรอให้ราคาลดลงสู่ระดับเดิมเสียก่อน
(ที่มา : - http://finance.sina.com.cn
- http://www.gxdk.com.cn/fcdk/news-15501.html
- Nanning Daily, 14 พฤศจิกายน 2011)
สคต.หนานหนิง
ที่มา: http://www.depthai.go.th