ขั้นตอนที่สำคัญเกี่ยวกับการจัดตั้งธุรกิจและสถานประกอบการนวดไทยและสปา

ข่าวเศรษฐกิจ Monday January 9, 2012 14:01 —กรมส่งเสริมการส่งออก

การจัดตั้งธุรกิจในออสเตรเลีย มีขั้นตอนสำคัญที่ประกอบไปด้วย

1) การจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจ

2) การจดทะเบียนหมายเลขบริษัท (Australian Business Number-ABN) พร้อมกับการจดทะเบียนเลขประจำตัวเสียภาษีอากร (Tax Filing Number-TFN) และเลขทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (Good and Services Tax-GST)

3) การจดทะเบียนเรื่องการหักภาษี ณ ที่จ่าย กรณีจ้างพนักงาน (Pay as you go withholding tax-PAYG)

สำหรับรายละเอียดวิธีปฏิบัติ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและแบบฟอร์มการจดทะเบียนประเภทต่างๆ ปรากฏดัง

เอกสารแนบ1: การจัดตั้งสำนักงานตัวแทนเพื่อไปประกอบธุรกิจในประเทศอออสเตรเลีย

นอกจากนี้ ผู้ประกอบการจำเป็นต้องแจ้งทาง City Council ในเขตที่ต้องการเปิดกิจการก่อน โดยจะต้องมีการปรึกษาล่วงหน้ากับเจ้าหน้าที่เพื่อการก่อสร้างสถานประกอบการที่ได้คุณภาพและถูกต้องตามกฎของเขตนั้นๆ โดยเฉพาะการเปิดสถานประกอบการด้านสปาหรือการนวดในรัฐนิวเซาท์เวลส์ จำเป็นต้องมีการตรวจสอบความสะอาด อนามัยและสุขลักษณะที่ถูกต้องอย่างน้อยตามแนวทางของ Skin Penetration Guidelines โดย Council ก่อนออกใบอนุญาตให้ประกอบการ

การจัดตั้งธุรกิจสปาให้ได้มาตรฐานออสเตรเลีย

ธุรกิจสปาและสถานบริการความงามในออสเตรเลียไม่มีกฎหมายเป็นลายลักษณ์อักษรใดๆบังคับ หรือควบคุมโดยเฉพาะ เนื่องจากการบริการ เช่น การนวด เป็นการใช้ทักษะเฉพาะตัว และเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพของผู้รับบริการ แต่อุตสาหกรรมสถานบริการจำพวกนี้ในออสเตรเลีย มีการควบคุมมาตรฐาน จรรยาบรรณ และวิชาชีพของผู้ประกอบธุรกิจ โดยสมาคมและองค์กรเอกชนดูแลการออกประกาศนียบัตรวิชาชีพ และประกาศ- นียบัตรควบคุมคุณภาพของการบริการ

สมาคมต่างๆจะมีเงื่อนไข ในการรับสมัครสมาชิก ซึ่งจะต้องเป็นไปตามมาตรฐานที่ทางสมาคมเป็นผู้กำหนด ผู้ที่เป็นสมาชิกจะได้หนังสือรับรองการเป็นสมาชิกและสิทธิพิเศษในด้านประกันความเสียหาย การลงโฆษณา และการเข้าร่วมสัมมนา การประชุมเชิงปฏิบัติการ เป็นต้น โดยมีแนวทางว่า สถาบันหรือสถานบริการที่เป็นสมาชิกควรเป็นสถาบันที่มีคุณภาพ และได้รับความเชื่อถือในสายตาลูกค้า เงื่อนไขในการเป็นสมาชิกแต่ละสมาคมอาจแตกต่างกัน โดยหลักแล้ว ผู้ที่ประสงค์จะประกอบธุรกิจ รวมถึงบุคลากรที่จะให้บริการ จะต้องสามารถแสดงหลักฐาน/เอกสารใดๆ เพื่อให้สมาคมเห็นว่าตน มีความรู้ ความสามารถที่จะให้บริการได้จริง

ในส่วนของบุคลากรที่จะให้บริการในด้านการนวดหรือการบำบัดโรคนั้น (ทั้งชาวออสเตรเลียและชาวต่างชาติ) ถ้าไม่มีความรู้ หรือไม่มีใบรับรองจากสถาบันใดมาก่อน และประสงค์จะเป็นสมาชิกของสมาคมใดๆ ในสาขานี้ จำเป็นต้องเรียนหลักสูตร เกี่ยวกับการนวด กับสถาบันที่ได้รับการยอมรับ (Accredited Institution) อย่างน้อยเป็นเวลา 3 เดือน

สำหรับผู้ที่มีความรู้ ความสามารถในการนวดหรือการบำบัดโรคจริง ที่ประสงค์จะสมัครเป็นสมาชิกของสมาคมนวดในออสเตรเลีย โดยมีใบรับรองหรือใบแสดงคุณวุฒิอื่นๆ นอกเหนือจากของ Accredited Institution หรือสมาคมดังกล่าว จำเป็นต้องขอเทียบคุณวุฒิเพื่อขอสิทธิ์เข้าเป็นสมาชิกของสมาคมนวดในออสเตรเลีย ซึ่งขอได้ที่ International Institute for Complementary Therapists (IICT) หรือจะต้องขอเรียนหลักสูตรใหม่ที่ได้มาตรฐานตาม AQF ซึ่งในออสเตรเลียสามารถเรียนได้ตามสถาบันที่ได้รับการยอมรับจากสมาคมนั้นๆ หรือจาก TAFE Australia ซึ่งเป็นเหมือนโรงเรียนสอนวิชาชีพที่มีอยู่ทุกแห่งในออสเตรเลีย เนื่องจากสมาคมนวดของออสเตรเลียไม่มีองค์กรย่อย หรือสมาคมที่รับรองคุณวุฒิของสถาบันในต่างประเทศ

นอกจากนั้น ผู้ที่มีความรู้ ความสามารถในการนวดหรือการบำบัดโรคจริง สามารถขอเป็นสมาชิกสมาคมนวดได้โดยจะต้องมีหนังสือแสดงว่า ได้รับการฝึกการแพทย์หรือการนวดก่อนเป็นเวลา 2 ปี พร้อมกับวิชาเกี่ยวกับร่างกายมนุษย์ (Anatomy Study) อีก 40 ชั่วโมง และควรที่จะมีปริญญาบัตรทางด้านการปฐมพยาบาลเบื้องต้น (First Aids Certificate)

ทั้งนี้ชาวต่างชาติที่สนใจจะมาทำงานในสาขานี้ ทางออสเตรเลียได้มีข้อกำหนดคุณสมบัติและคุณวุฒิไว้เป็นทางการ โดยเฉพาะ การนวด และการบำบัดโรคจำเป็นต้องสามารถแสดงหลักฐานความรู้ได้ ซึ่งอาจจะเป็นประกาศนียบัตรวิชาชีพ หรือประสบการณ์การทำงานที่ต้องได้รับมาตรฐานตรงตาม Australian Qualifications Framework (AQF) โดยจะต้องได้ AQF Diploma หรือมีประสบการณ์อย่างน้อย 3 ปี อย่างไรก็ดี ผู้ที่จะประกอบอาชีพนี้ไม่จำเป็นต้องขอจดทะเบียนหรือขอใบอนุญาตการประกอบอาชีพนักบำบัดโรคจากหน่วยงานท้องถิ่น สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม ดูได้จากเวบไซต์ของ Department of Immigration and Citizenship และค้นภายใต้หัวข้อข้อมูลสำหรับผู้ประกอบอาชีพ Massage Therapist

การว่าจ้างแรงงาน และการขอวีซ่า

ในการว่าจ้างนั้น มีกฎข้อบังคับหลายข้อ ไม่ว่าจะเป็นการเสียภาษี หรือระยะเวลาในการว่าจ้าง เพราะฉะนั้น ผู้ประกอบการควรที่จะยื่นความจำนงในการว่าจ้าง กับ Work cover registration and Group employer registration ของแต่ละรัฐ

Australian Capital Territory

Australian Industrial Registry

2nd Floor, CML Building

17-21 University Avenue, Canberra, ACT 2600

PO Box 539, Canberra City ACT 2601

Ph: (02) 62092400

Fax: (02) 62479774

Email: canberra@air.gov.au

Tasmania

Australian Industrial Registry

1st Floor, Commonwealth Law Courts

39-41 Davey Street, Hobart, TAS 7000

Ph: (03) 62140200

Fax: (03) 62140202

Email: hobart@air.gov.au

New South Wales

Australian Industrial Registry

Level 8, Terrace Towers

80 William Street, East Sydney, NSW 2011

Ph: (02) 83746666

Fax: (02) 93806990

Email: sydney@air.gov.au

Victoria

Australian Industrial Registry

Level 42, Nauru House

80 Collins Street, Melbourne, VIC 3000

Ph: (03) 86617777

Fax: (03) 96550401

Email: melbourne@air.gov.au

Queensland

Australian Industrial Registry

Level 14, Central Plaza Two

66 Eagle Street, Brisbane, QLD 4000

PO Box 5713 Central Plaza

Brisbane QLD 4001

Ph: (07) 3000 0399

Fax: (07) 3000 0388

Email: brisbane@air.gov.au

Western Australia

Australian Industrial Registry

Floor 16, 111 St Georges Terrace, Perth, WA 6000

Ph: (08) 94645172

Fax: (08) 94645171

Email: perth@air.gov.au

South Australia

Australian Industrial Registry

Level 8, Riverside Centre North Terrace, Adelaide, SA 5000

Ph: (08) 83089863

Fax: (08) 83089864

Email: adelaide@air.gov.au

การนำเข้าบุคลากรจากต่างประเทศมาทำงานในออสเตรเลีย

เจ้าของกิจการ จะต้องประกอบการถูกต้องตามกฎหมาย มีการจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจ และออกหนังสือรับรอง ผู้ค้ำประกัน (Sponsor) ให้กับผู้ถูกจ้าง วีซ่าที่สามารถขอให้ผู้ถูกจ้างที่จะเข้ามาทำงานในออสเตรเลียนั้น จะเป็นวีซ่าแบบชั่วคราว (Sponsoring a temporary overseas employee to Australia-Form1196S) โดยระยะเวลาของวีซ่า ประมาณ 3 เดือน ถึง 4 ปี ค่าใช้จ่ายในการยื่นขอวีซ่า โดยประมาณ 265 เหรียญ ออสเตรเลีย ค่าแสดงความจำนงเป็นสปอนเซอร์ (Sponsorship Charge) ซึ่งไม่รวมถึงค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องอื่นๆ เช่น ค่าแปลเอกสาร ค่าตรวจสุขภาพ ฯลฯ รายละเอียดเกี่ยวกับวีซ่าประเภทนี้ สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก Booklet 5: Employer Sponsored Migration จาก http://www.immi.gov.au/allforms/booklets/1131.pdf

ขั้นตอนการยื่นแบบฟอร์มขอนำเข้าบุคลากร

แสดงความประสงค์ในการขอนำเข้าบุคคลากรจากต่างประเทศผู้ประกอบการต้องแสดงให้เห็นว่าต้องการบุคคลากรที่มีความชำนาญ ในสาขานั้นๆ และไม่สามารถหาได้ในประเทศออสเตรเลีย เช่น มีหลักฐาน ประกาศรับสมัครตามหนังสือพิมพ์ หรือสื่ออื่นๆ เป็นต้น ก่อนที่จะขอเป็นผู้ค้ำประกันบุคคลากรจากต่างประเทศ สำหรับผู้ที่มีความประสงค์จะเข้ามาทำงานนั้น จะต้องมีคุณสมบัติดังนี้ คือ

  • จะต้องมีการศึกษาด้านการนวด 2 ปีในสถาบันที่ได้มาตรฐานตาม AQF หรือ
  • มีประสบการณ์การทำงาน 3 ปีขึ้นไป
  • ส่งแบบฟอร์มผู้ค้ำประกัน (Form 1196S)

ผู้ประกอบการต้องยื่นแบบฟอร์ม แสดงความจำนงที่จะเป็นผู้ค้ำประกัน ทางออสเตรเลียจะทำการพิจารณาว่าบริษัทมีคุณสมบัติเพียงพอหรือไม่ในการเป็นผู้ค้ำประกัน

  • ส่งแบบฟอร์มแสดงจำนวนของบุคคลากรที่ต้องการจะนำเข้ามาทำงาน

ผู้ประกอบการต้องยื่นคำร้องขออนุญาตินำคนเข้ามาทำงาน ในจำนวนที่สัมพันธ์กับขนาดของสถานประกอบการ และนำหลักฐานครบทุกขั้นตอนดังกล่าว ไปแสดงต่อกรมแผนกตรวจคนเข้าเมืองสถานทูตออสเตรเลียประจำประเทศไทย พร้อมยื่นแบบฟอร์มในการขอวีซ่าได้ ทั้งนี้สถานทูตจะพิจารณาจากคุณสมบัติฯ ว่าเหมาะสมหรือไม่ เพื่ออนุมัติการออกวีซ่าต่อไป

  • ขั้นตอนการขอวีซ่าโดยแรงงานที่ว่าจ้าง

ผู้ที่ต้องการทำงานในออสเตรเลีย ที่มีชื่อในแบบฟอร์มผู้ค้ำประกัน จำเป็นต้องกรอกแบบฟอร์ม Application for a Temporary Business (long stay) Visa (Subclass 457) (เอกสารแนบ4) และส่งไปที่กรมแผนกตรวจคนเข้าเมืองเดียวกับที่ผู้ค้ำประกันได้ส่งแบบฟอร์ม พร้อมกับเอกสารที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งเอกสารอนุมัติการค้ำประกันที่ผู้ถูกว่าจ้างได้รับจากผู้ค้ำประกันด้วย

รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการขอวีซ่า หากติดต่อสอบถามจากภายในประเทศออสเตรเลีย สามารถติดต่อได้ที่ Department of Immigration and Citizenship ของรัฐนั้นๆ หรือดูได้จาก www.immi.gov.au และหากติดต่อในประเทศไทยสามารถสอบถามโดยตรงได้ที่สถานทูตออสเตรเลียประจำประเทศไทย

การขอวีซ่าสำหรับนักลงทุน/เจ้าของกิจการ

ชาวต่างชาติที่สนใจจะมาทำธุรกิจในประเทศออสเตรเลีย จำเป็นต้องมีวีซ่าที่ถูกต้องและตรงตามวัตถุประสงค์การขอวีซ่า สำหรับนักลงทุนที่สนใจเปิดกิจการต้องขอวีซ่าประเภท Business Skills Entry ซึ่งสามารถขอได้สองประเภทคือ วีซ่า Business Owner (Provisional) ชนิดชั่วคราว Subclass 160 และ วีซ่าState/Territory Sponsored Business Owner (Provisional) Subclass 163 ทั้งสองชนิดมีอายุ 4 ปี ค่าใช้จ่ายในการขอวีซ่าประมาณ 3,420 เหรียญออสเตรเลีย สามารถดูข้อมูลโดยละเอียดได้จาก Booklet 7: Business Skills Entry ที่ www.immi.gov.au/allforms/booklets/1132.pdf

วีซ่าประเภท Business Owner (Provisional) Subclass 160

ผู้ที่ต้องการจะขอวีซ่าประเภทนี้ จำเป็นต้องมีคุณสมบัติต่อไปนี้ คือ

  • เป็นผู้ที่มีอายุไม่เกิน 45 ปี
  • ต้องมีความรู้และสามารถใช้ภาษาอังกฤษได้ดี โดย IELTS ระดับ 5 ขึ้นไป
  • ต้องมีสินทรัพย์จากธุรกิจ (เพียงผู้เดียวหรือของสามีภรรยารวมกัน) ไม่ต่ำกว่า 200,000 เหรียญออสเตรเลีย อย่างน้อย 2 ปี จาก 4 ปีของระยะเวลาการทำธุรกิจ ก่อนทำเรื่องขอวีซ่า
  • ถ้าธุรกิจมีการจดทะเบียน จำเป็นต้องมี (เพียงผู้เดียวหรือของสามีภรรยารวมกัน) การถือหุ้น อย่างน้อยร้อยละ 10 อย่างน้อย 2 ปี จาก 4 ปีของระยะเวลาการทำธุรกิจ ก่อนทำเรื่องขอวีซ่า
  • มีอัตราเงินทุนหมุนเวียนของธุรกิจไม่น้อยกว่า 500,000 เหรียญออสเตรเลีย อย่างน้อย 2 ปี จาก 4 ปีของระยะเวลาการทำธุรกิจ ก่อนทำเรื่องขอวีซ่า
  • เงินสินทรัพย์รวม (เพียงผู้เดียวหรือของสามีภรรยารวมกัน) จะต้องมีมูลค่าสุทธิอย่างน้อย 500,000 เหรียญออสเตรเลีย และต้องสามารถโยกย้ายมาออสเตรเลียได้ภายใน 2 ปี หลังมีวีซ่า และต้องมีเงินตั้งต้นอย่างน้อย 100,000 เหรียญออสเตรเลีย

ขั้นตอนการขอวีซ่าประเภท Business Owner (Subclass 160)

  • แจ้งความจำนงต่อ State/Territory Authority

ผู้ประสงค์จะเปิดกิจการจำเป็นต้องมีการแจ้งหน่วยงานที่รับผิดชอบในรัฐนั้นๆ ที่ต้องการไปเปิดกิจการ โดยกรอก Form 927 State/Territory Notification: business skills class และส่งไปที่หน่วยงานที่รับผิดชอบในรัฐนั้นๆ โดยสามารถดูข้อมูลได้ที่

Australian Capital Territory www.business.act.gov.au/

          New South Wales                    www.business.nsw.gov.au
          Nothern Territoy                   www.nt.gov.au/business
          Queensland                         www.qld.gov.au/business_and_industry
          South Australia                    www.immigration.sa.gov.au/site/index.php
          Tasmania                           www.development.tas.gov.au
          Victoria                           www.liveinvictoria.vic.gov.au
          Western Australia                  www.sbdc.com.au/drilldown/drilldown.asp?refid=8
  • ยื่นแบบฟอร์มขอวีซ่า

กรอกแบบฟอร์ม 47BT Application for a Business Skills (Provisional) visa และ Form 1136 Business Skills profile: business owner (Provisional) and State/Territory sponsored business owner (Provisional) แล้วส่งไปที่ Perth Business Skills Processing Centre โดยใช้เวลาในการดำเนินการประมาณ 9-15 เดือน

Perth Business Skills Processing Centre

Locked Bag 7

Northbridge WA 6865

Tel: 61 8 9415 9215

Fax: 61 8 9415 9292

วีซ่าประเภท State/Territory Sponsored Business Owner (Provisional) Subclass 163

ผู้ที่ต้องการจะขอวีซ่าประเภทนี้ต้องมีใบยืนยันจากทาง State/Territory ที่ต้องการไปประกอบธุรกิจว่าได้รับการสนับสนุนจากทางรัฐแล้ว โดยข้อมูลเรื่อง Sponsorship ของแต่ละรัฐสามารถดูได้ที่

          Australian Capital Territory                www.business.act.gov.au/
          New South Wales                             www.business.nsw.gov.au
          Northern Territory                          www.migration.nt.gov.au
          Queensland                                  www.migration.qld.gov.au
          South Australia                             www.immigration.sa.gov.au
          Tasmania                                    www.development.tas.gov.au
          Victoria                                    www.liveinvictoria.vic.gov.au
          Western Australia                           www.businessmigration.sbdc.com.au

เมื่อได้รับการยืนยัน Sponsorship จากทาง State/Territory ที่ต้องการไปประกอบการแล้ว ผู้ที่จะขอ วีซ่า Subclass 163 ควรมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้

  • ต้องมีอายุไม่เกิน 55 ปี
  • จะต้องมีหุ้นส่วนในกิจการหลักของตนที่มีเงินทุนหมุนเวียนไม่น้อยกว่า 300,000 เหรียญ ออสเตรเลีย/ปี 2 ปีใน 4 ปีอย่างน้อยก่อนขอวีซ่า หรือ จะต้องมีตำแหน่ง Senior Manager
  • เงินสินทรัพย์รวม (เพียงผู้เดียวหรือของสามีภรรยารวมกัน) จะต้องมีมูลค่าสุทธิอย่างน้อย 500,000 เหรียญออสเตรเลีย และต้องสามารถโยกย้ายมาออสเตรเลียได้ภายใน 2 ปี หลังมีวีซ่า
  • จะต้องไม่เคยมีประวัติเกี่ยวข้องกับการทำธุรกิจผิดกฎหมาย
  • จะต้องแสดงหลักฐานได้ว่า จำเป็นต้องมีถิ่นที่อยู่ชั่วคราว (อย่างน้อย) ในออสเตรเลีย เนื่องจากเหตุผลทางธุรกิจ
  • ไม่มีการบังคับว่าต้องแสดงหลักฐานการใช้ภาษาอังกฤษระดับวิชาชีพได้ อย่างไรก็ดี หากถูกประเมินว่าไม่สามารถใช้ภาษาอังกฤษได้ อาจจะต้องเสียค่าธรรมเนียมในการทำวีซ่าเพิ่มเป็น 7,165 เหรียญออสเตรเลีย

ขั้นตอนการขอวีซ่า State/Territory Sponsored Business Owner (Provisional) Subclass 163

  • แจ้งความจำนงต่อ State/Territory Authority

ผู้ประสงค์จะเปิดกิจการจำเป็นต้องมีการแจ้งหน่วยงานที่รับผิดชอบในรัฐนั้นๆ ที่ต้องการไปเปิดกิจการ โดยกรอก Form 949: State/Territory Sponsorship-Business Skills Class และส่งไปที่หน่วยงานที่รับผิดชอบในรัฐนั้นๆ

  • ยื่นแบบฟอร์มขอวีซ่า

กรอกแบบฟอร์ม 47BT Application for a Business Skills (Provisional) visa และ Form 1136 Business Skills profile: business owner (Provisional) and State/Territory sponsored business owner (Provisional) แล้วส่งไปที่ Perth Business Skills Processing Centre เช่นเดียวกันกับการขอวีซ่า Subclass 160 โดยใช้เวลาในการดำเนินการประมาณ 9-15 เดือน

สำนักงานส่งเสริมการค้าฯ ณ นครซิดนีย์

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ