รายชื่อสินค้าที่ครอบคลุมในรายงานฉบับนี้
Harmonised Code 61 เครื่องแต่งกายถักนิตติ้ง และโคว์เชต์ 6101 เสื้อโอเวอร์โค้ตบุรุษ และเด็กชาย 6102 เสื้อโอเวอร์โค้ตสตรี และเด็กหญิง 6103 สูท และเจ็กเก็ตบุรุษ และเด็กชาย 6104 สูท และแจ็กเก็ตสตรี และเด็กหญิง 6105 เสื้อเชิ้ตแบบถักบุรุษ และเด็กชาย 6106 เสื้อเชื้ตแบบถักสตรี และเด็กหญิง 6107 ชุดนอน ชุดคลุมอาบน้ำ และกางเกงชั้นในบุรุษ และเด็กชาย 6108 ชุดนอน ชุดคลุมอาบน้ำ และกางเกงชั้นในสตรี และเด็กหญิง 6109 เสื้อ T-SHIRT, และเสื้อชั้นใน ชนิดถัก และแบบ อื่นๆ 6110 เสื้อถักชนิดคาร์ดิแกน และเสื้อกั๊ก 6111 เสื้อผ้า และของประกอบเครื่องแต่งกายของเด็กเล็ก 6112 ชุดวอร์ม ชุดสกี และชุดว่ายน้ำ 6113 เสื้อกั๊กนิต หรือโครเชต์ 6114 เสื้อผ้าถักประเภทอื่นๆ 6115 ถุงน่องกางเกง และกางเกงยืดแนบเนื้อ 6116 ถุงมือถักทุกชนิด 6117 ของประกอบเครื่องแต่งกาย Harmonised Code 62 เครื่องแต่งกายที่ไม่ได้ถักแบบนิต หรือโครเชต์ 6201 เสื้อโอเวอร์โค้ตบุรุษ และเด็กชาย 6202 เสื้อโอเวอร์โค้ตสตรี และเด็กหญิง 6203 สูท แจ็กเก็ต กางเกงขายาวบุรุษ และเด็กชาย 6204 สูท แจ็กเก็ต กางเกง กระโปรงสตรี และเด็กหญิง 6205 เสื้อเชิ้ตบุรุษ และเด็กชาย 6206 เสื้อเบลาส์ของสตรี และเด็กหญิง 6207 เสื้อชั้นในชนิดซิงเกลต และกางเกงในบุรุษ และเด็กชาย 6208 ชุดชั้นใน กระโปรง และกางเกงชั้นในสตรี และเด็กหญิง 6209 เสื้อผ้า และของประกอบเครื่องแต่งกายของเด็กเล็ก 6210 เสื้อผ้าชนิดพิเศษ (เช่น เสื้อป้องกันสารเคมี) 6211 ชุดวอร์ม ชุดสกี และชุดว่ายน้ำ 6212 เครื่องยกทรง เครื่องรัดตะโพกเอว และ สายโยงถุงน่อง 6213 ผ้าเช็ดหน้า 6214 ผ้าคลุมไหล่ ผ้าพันคอ และผ้าคลุมศรีษะ 6215 ผ้าผูกคอ tie, หูกระต่าย 6216 ถุงมือทุกชนิด 6217 ของประกอบเครื่องแต่งกายอื่นๆ 1. ตลาดภายในประเทศออสเตรเลีย
อุปสงค์
แม้ว่าอุปสงค์สำหรับสินค้าเสื้อผ้าสำเร็จรูปในออสเตรเลียจะมีไม่มากเนื่องจากขนาดของตลาด เล็กเมื่อเทียบกับตลาดอื่นๆทั่วโลกแต่ออสเตรเลียจัดได้ว่าเป็นประเทศหนึ่งที่มีมาตรฐานการครองชีพสูงประชากรโดยเฉลี่ยมีอำนาจในการซื้อค่อนข้างสูง การนำเข้าเสื้อผ้าของประชากรออสเตรเลียต่อหัวจึงมีอัตราสูงกว่าในทวีป ยุโรปและอเมริกา
ข้อมูลจากสำนักงานสถิติของออสเตรเลีย โดย 5 ปีที่ ผ่านมา อุตสาหกรรมแฟชั่นออสเตรเลียมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยเพียงร้อยละ 0.8 ต่อปีหรือที่ 9.2 พันล้านเหรียญออสเตรเลียในปี 2011/12
การผลิตภายในประเทศ
- โรงงานผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปของออสเตรเลียส่วนใหญ่จะอยู่ในบริเวณนครเมลเบอร์น และซิดนีย์
- เสื้อผ้าที่ผลิตภายในประเทศ มีทั้งเสื้อผ้าสตรี บุรุษและเด็ก รวมทั้งเสื้อผ้าลำลอง
- วัตถุดิบภายในประเทศส่วนใหญ่จะเป็น ขนแกะ ซึ่งได้มีการพัฒนาเป็นสินค้าสำเร็จรูป และสามารถส่งออก ไปยังประเทศนิวซีแลนด์ อเมริกา ญี่ป่น และยุโรป
ลักษณะตลาด
ตลาดภายในประเทศมีการแข่งขันค่อนข้างสูง ความนิยมโดยทั่วไปสำหรับเสื้อผ้าทำงานเป็นรูปแบบที่เรียบง่ายและสีสันไม่ฉูดฉาด สีที่นิยม ได้แก่ สีดำ ขาว เทา น้ำตาล และ สีกรมท่า สำหรับเสื้อผ้าลำลอง หรือเสื้อผ้าแฟชั่นมี รูปแบบคล้ายกับในตลาดอเมริกา ในขณะเดียวกัน เนื่องจากภูมิประเทศไม่ไกลจากทวีปเอเชียนัก และมีจำนวนของผู้อพยพมาตั้งถิ่นฐานถาวรที่ค่อนข้างสูง รูปแบบดีไซด์บางประเภท จึงได้รับอิทธิพลทางแถบเอเชีย เช่น ลวดลายของเนื้อผ้า สำหรับสีสันจะเป็นไปตาม ความนิยม ของตลาด เช่น เสื้อผ้าในฤดูร้อนจะมีสีสันมากกว่า เสื้อผ้าในฤดูหนาว เป็นต้น
ในด้านราคา สำหรับเสื้อผ้าซึ่งเป็น local brand มีการแข่งขันค่อนข้างสูง ระดับราคาจึงไม่ แตกต่างกันมากนัก โดยราคาในท้องตลาดเฉลี่ยจะประมาณชิ้นละ 25-250 เหรียญออสเตรเลีย ทั้งนี้ จะขึ้นอยู่กับ เนื้อผ้าและรูปแบบ ส่วนเสื้อผ้าอื่นๆที่ไม่ใช้ local brand และจำหน่าย ในร้านค้าปลีกทั่วไปจะมีราคาโดยเฉลี่ย ประมาณ 15-100 เหรียญออสเตรเลีย
แบรนด์ที่เป็นที่นิยมภายในประเทศ ได้แก่ Country Road, Sportsgirl, Portman, CUE, Sportscraft, Just Jeans, Jeans West, Kookai, Bonds, Mooks, Desiel, และ Rip Curl เป็นต้น
ปัจจุบัน ผู้บริโภคนิยมซื้อเสื้อผ้าผ่านร้านขายเสื้อผ้าที่เป็น Specialty Store เช่น Boutique Shop หรือร้านที่เป็น factory outlet มากกว่าที่จะซื้อตามห้างสรรพสินค้า ทำให้ห้างสรรพสินค้า เช่น Myer และ David Jones ต้องปรับตัวกับการแข่งขัน โดยมีการทำสัญญากับแบรนด์เสื้อผ้าให้ขายเฉพาะห้างตน หรือจ้างดีไซน์เนอร์ออกแบบเฉพาะให้ห้างของตน เป็นต้น และมีการจัดวาง Positioning ของสินค้าให้ชัดเจน โดยห้าง David Jones มีแนวโน้มที่จะจับตลาดบนที่มีรายได้สูงกว่ากลุ่มที่ซื้อตามร้าน Specialty Store ในขณะที่ห้าง Myer เลือกเจาะตลาดแนว Mass Market หรือ แฟชั่นราคาปานกลางที่มีรูปแบบทั่วไป สามารถจำหน่ายออกได้เร็ว นอกจากนั้น ห้างสรรพสินค้าพยายามเพิ่มการขาย โดยการเพิ่มจำนวนสาขาและการเพิ่มช่องทางขายผ่านอินเตอร์เนตด้วย ทั้งนี้ การแข่งขันในตลาดเสื้อผ้า รองเท้า และเครื่องแต่งกายมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นนั้น เนื่องจากแบรนด์ต่างชาติ อย่าง ZARA และ Topshopมีการเข้าสู่ตลาดออสเตรเลียเพิ่มขึ้น
ลักษณะผู้บริโภค
ผู้บริโภคโดยทั่วไป นอกจากจะเลือกซื้อเสื้อผ้าจากรูปแบบ สีสัน และการออกแบบแล้ว ยังมักจะ พิจารณาที่วัตถุดิบที่ใช้ และความสะดวกสบายในการสวมใส่ ฯลฯ
ลักษณะของผู้บริโภคภายในประเทศ แบ่งออกเป็นดังนี้
- กลุ่มผู้มีรายได้ปานกลาง ซึ่งถือได้ว่าเป็นกลุ่มใหญ่ที่สุดในตลาด จะคำนึงถึง Brand nameไม่มากนัก แต่จะดูรูปแบบ และการสวมใส่ที่สบาย และราคาเป็นปัจจัยสำคัญในการเลือกซื้อ
- กลุ่มผู้มีรายได้สูง จะนิยมสินค้าที่มีแบรนด์ และคำนึงถึงรูปแบบ การออกแบบ และ คุณภาพของสินค้าเป็นหลัก เน้นการสวมใส่ที่สบาย และดูมีระดับ ผู้บริโภคกลุ่มนี้ จะเป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อมาก ยินดีที่จะจ่ายในราคาสูง ถ้าสินค้ามีคุณภาพดี และทำจากวัสดุที่ดี
ออสเตรเลียเป็นประเทศผู้นำเข้าสินค้าเสื้อผ้าที่สำคัญประเทศหนึ่งโดยผู้นำเข้าส่วนใหญ่มีกิจการใน นครซิดนีย์ และเมลเบอร์น สินค้าที่ผลิตภายในประเทศครองตลาดประมาณ 20% ในขณะที่สินค้านำเข้า มีส่วนแบ่งตลาด ประมาณ 80 % ทั้งนี้ เนื่องจากอัตราค่าแรงงานในประเทศสูง จึงทำให้มีการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศซึ่งมีราคา ถูกกว่า นอกจากนั้น รัฐบาลมีกำหนดที่จะลดอัตราภาษีสำหรับสินค้าเสื้อผ้าสำเร็จรูป จาก 25% เป็น 15% ตั้งแต่ปี 2005 ซึ่งจะเป็นการเพิ่มโอกาสทางการตลาดให้กับสินค้านำเข้ายิ่งขึ้นนอกจากนั้นผู้ผลิตและผู้ออกแบบในประเทศ รายใหญ่หลายราย เช่น Ken Done, Country Road, Quicksilver, Mambo Graphics และ Rip Curl ได้ปรับแผนการ ผลิตใหม่ โดยการย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศที่มีอัตราค่าแรงงานที่ต่ำกว่า เช่น จีน และส่งออก กลับไปจำหน่ายยังออสเตรเลีย
ปัจจัยสำคัญในการแข่งขันสำหรับสินค้านำเข้า คือ ราคา คุณภาพ รูปแบบที่เป็นที่นิยมและมาตร- ฐานในการผลิตซึ่งจะต้องเป็นที่ยอมรับของลูกค้ารวมทั้งจะต้องสามารถตอบสนองการสั่งซื้อในปริมาณที่ผู้นำเข้าต้องการได้
แหล่งนำเข้าสินค้าที่สำคัญ คือ จีน ซึ่งเป็นแหล่งนำเข้าที่ใหญ่ที่สุดและมีสัดส่วนนำเข้าถึงประมาณ 80% รองลงมาได้แก่ บังกลาเทศ อินเดีย ฮ่องกง และอิตาลี ตามลำดับ สำหรับสินค้าจากไทยในปี 2010 แม้จะขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.69 แต่ยังมีส่วนแบ่งตลาดคิดเป็นสัดส่วนเพียงประมาณ 0.82%
2.1 การนำเข้าจากไทย
ในปี 2010 ออสเตรเลียนำเข้าสินค้าเสื้อผ้าสำเร็จรูปจากไทยเป็นมูลค่า 3,616 ล้านเหรียญออสเตรเลีย โดยคิดเป็นประมาณ 27.26 ล้านเหรียญออสเตรเลียของการนำเข้าสินค้าดังกล่าวจากทั่วโลก
ซึ่งมีสัดส่วนการนำเข้าสินค้าปี 2010 ในกลุ่มเครื่องแต่งกายถักนิตติ้ง และโครเชต์ (61) คิดเป็น 10.11 ล้านเหรียญออสเตรเลีย และในกลุ่มเครื่องแต่งกายที่ไม่ได้ถักแบบนิต หรือโคว์เชต์ (62) คิดเป็น 4.45 ล้านเหรียญออสเตรเลีย
ประเภทของเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่นำเข้ามากจากไทย 5 อันดับแรก ได้แก่ สูทและแจ๊กเก็ตสตรี, เสื้อถักนิตหรือโครเชต์, ชุดชั้นในสตรี, สูทและแจ๊กเก็ตบุรุษ, เสื้อ T-Shirt ตามลำดับ
ภาษีนำเข้าคำนวณจากราคา FOB โดยมีอัตราระหว่าง 10-25% ขึ้นอยู่กับสินค้า ทั้งนี้ สำหรับสินค้าจาก ไทยจะได้การลดอัตราภาษีลงภายใต้ข้อตกลงการค้าเสรีไทย ออสเตรเลีย (TAFTA: Thai-Australia Free Trade Agreement) ตั้งแต่ปี 2005 โดยมีกำหนดการลดเป็น 3 ขั้นตอน
4. การตลาด
สินค้าสำหรับฤดูร้อน - ใบไม้ร่วง (พฤศจิกายน - พฤษภาคม)
จะเริ่มสั่งซื้อตั้งแต่ประมาณปลายเดือนสิงหาคม เพื่อที่จะส่งมอบสินค้าอย่างช้าไม่เกินต้นเดือนตุลาคม
สินค้าสำหรับฤดูหนาว - ใบไม้ผลิ (มิถุนายน - ตุลาคม)
จะเริ่มสั่งซื้อประมาณปลายเดือนมีนาคม เพื่อที่จะส่งมอบสินค้าอย่างช้าไม่เกินเดือนพฤษภาคม ทั้งนี้ มักจะมีการสั่งซื้อเพิ่มขึ้นจากปกติ เพื่อจำหน่ายในช่วง เทศกาลต่างๆ เช่น คริสต์มาส และปีใหม่ ฯลฯ
แนวโน้มตลาด
ตลาดออสเตรเลียนิยมเสื้อถักทำด้วยขนสัตว์ แหล่งนำเข้าที่สำคัญในปัจจุบัน มาจาก ฮ่องกง ซึ่งถือได้ว่าเป็นแหล่งนำเข้าสินค้าเสื้อถักที่มีคุณภาพ และจีน เป็นแหล่งนำเข้า Jumper ที่ทำด้วยขนแกะ สำหรับเสื้อถักประเภททำด้วย Acrylic ก็ยังคงมีความนิยมอยู่เช่นกัน แต่จะเป็นตลาดระดับล่าง เนื่องจากราคาที่ถูกกว่าเสื้อถักทำด้วยขนสัตว์
รูปแบบดีไซน์เสื้อ จะเป็นไปตามแฟชั่นของยุโรปเป็นส่วนใหญ่ และนิยมแบบเรียบง่าย สีพื้นๆ ไม่ค่อยมีลวดลายฉูดฉาดมากนัก
เสื้อยืดทำจากผ้าฝ้ายเป็นที่นิยมและจำหน่ายได้ดีตลอดปี โดยเป็นรูปแบบที่เรียบง่าย ไม่มีลวดลาย หรือ Print ซึ่งจะจำหน่ายในราคาถูกและปริมาณมากสำหรับประเภทที่มี่ลวดลาย หริอ Print จะเป็นที่นิยมสำหรับเด็ก และวัยรุ่น ส่วนรูปแบบนั้นจะเปลี่ยนไปตามแฟชั่น นอกจากนั้น สินค้าที่มีรูปแบบแปลกใหม่มักจะดึงดูดผู้ซื้อใน กลุ่มนี้ได้มาก
เสื้อยีนส์ เป็นที่นิยมในตลาดออสเตรเลีย โดยเฉพาะ สินค้าที่มีแบรนด์ การแข่งขันกับสินค้า ที่เป็นที่รู้จักในหมู่ผู้บริโภคอยู่แล้วนั้น จึงอาจเป็นไปได้ค่อนข้างยาก อย่างไรก็ตาม สำหรับตลาดระดับล่าง ซึ่งผู้บริโภคตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าจากราคาเป็นหลัก สินค้าที่จะจำหน่ายได้ดีจะต้องมีราคาถูก และในขณะเดียวกัน หากมีคุณภาพดีด้วยก็จะทำให้สามารถสร้างความแตกต่างให้กับสินค้าคู่แข่งในระดับเดียวกันได้
สินค้าประเภทนี้เป็นที่นิยม เพราะใส่ได้ทั้งฤดูร้อน และฤดูหนาว ความนิยมของตลาดจะเป็นชุดเสื้อ และกางเกงที่ไม่มีซิป สีที่นิยมส่วนใหญ่เป็นสีเรียบๆ เช่น สีดำ เทา และน้ำเงิน ปัจจุบันมีการนำเข้ามากจากจีน เนื่องจากมีราคาถูกมาก
ผ้าไหมไทย เป็นสินค้าหัตถกรรมที่มีความสวยงาม และเป็นที่นิยมในต่างประเทศ ดังนั้น ถ้าผู้ผลิตสามารถออกแบบ เสื้อผ้าสำเร็จรูป โดยใช้ผ้าไหมเป็นวัตถุดิบได้ จะเป็นสินค้าที่แตกต่างจากสินค้าของ ประเทศอื่น นอกจากนั้นควรเป็นรูปแบบ ที่สามารถสวมใส่ได้ในชีวิตประจำวัน และการดูแลรักษาไม่ยุ่งยาก
เนื่องจากลักษณะอากาศในออสเตรเลีย ไม่ร้อน และไม่หนาวมากนัก ซึ่งเป็นภูมิอากาศที่เหมาะกับ การสวมใส่ผ้าไหมมาก เพราะผ้าไหม มีคุณสมบัติที่ให้ความอบอุ่นในเวลาอากาศหนาว โดยรูปแบบผ้าไหมที่เป็นที่นิยม ในออสเตรเลียจะเป็นผ้าสีพื้นๆ ไม่มีลวดลายมากนัก ซึ่งสีที่นิยมมีหลากหลาย เช่น สีแดง แดงเลือดหมู ดำ น้ำตาล และสีเงิน เป็นต้น โดยรูปแบบเสื้อผ้าไหมจะเป็นเสื้อผ้าในกลุ่มเสื้อราตรีใส่ในงาน รื่นเริงต่างๆ วัยที่นิยมผ้าไหมมีทั้งวัย กลางคน และวัยรุ่น ซึ่งในกลุ่มวัยรุ่นจะเน้นการสวมใส่ที่สบายและรูปแบบที่ทันสมัย
ข้อกำหนดสำหรับสินค้านำเข้า
ผู้นำเข้าออสเตรเลียมักจะเป็นผู้กำหนดรูปแบบการบรรจุหีบห่อสินค้า รวมทั้งการระบุข้อความ บนกล่องที่บรรจุและถุงที่บรรจุสินค้าแต่ละชิ้น โดยให้เป็นไปตามระเบียบที่กำหนดของทางการออสเตรเลีย ทั้งนี้ สินค้าที่จำหน่ายปลีกต้องมีการปิดฉลาก สำหรับสินค้าที่มีมูลค่าสูงส่วนใหญ่จะแขวนโดยใช้ไม้แขวนเสื้อและบรรจุใน ถุงกระดาษแก้วสำหรับเสื้อผ้าแต่ละชั้นเสื้อผ้าที่ปักด้วยลูกปัดหรือเลื่อมจะใส่กระดาษบางๆ รองกันบุบสลายและรอย ขีดข่วน ส่วนใหญ่ผู้นำเข้านิยมที่จะให้การบรรจุหีบห่อที่แข็งแรง และแยกตามสี สไตล์ และขนาดของเสื้อผ้า
- ป้ายฉลากต้องปิดให้แน่น และมองเห็นชัดเจน ถ้าหากไม่สามารถปิดป้ายฉลากที่ตัวสินค้าได้ ตัวอย่างเช่น ถุงเท้า ป้ายฉลากสินค้าต้องปิดที่ถุงบรรจุ
- ต้องระบุประเทศผู้ผลิตที่ชัดเจน
- จะต้องระบุเส้นใย (Fibre) วัตถุดิบที่ใช้ และหากมีมากกว่า 1 ชนิด ต้องระบุรายละเอียดของทุกชนิด
- คำแนะนำในการรักษา (เช่น โดยการซัก ซักแห้ง) ต้องอธิบายเป็นภาษาอังกฤษ เกี่ยวกับคำแนะนำในการบำรุงรักษา ทั้งนี้ การระบุเป็นเพียงเครื่องหมาย (Symbol) ไม่เพียงพอ
- ต้องระบุคำเตือนว่า ถุงพลาสติก หรือถุงกระดาษแก้วที่ใช้บรรจุนี้ ไม่ให้นำมาใช้เป็นของเด็กเล่น
สินค้าที่นำเข้าออสเตรเลียต้องผ่านการตรวจสอบ โดยเจ้าหน้าที่ตรวจกักกันโรคของออสเตรเลีย เพื่อตรวจสอบความปลอดภัยจากโรคที่อาจติดมากับกล่องบรรจุ และลังไม้ที่บรรจุซึ่งจะต้องผ่านการตรวจสอบ เช่นกัน
- รายละเอียดเพิ่มเติม สามารถสอบถามโดยตรงได้ที่ Australian Quarantine and Inspection Service (AQIS) http://www.daff.gov.au/aqis
เอกสารที่เกี่ยวข้องในการนำเข้าสินค้ามาในออสเตรเลีย โดยทางเรือ และ เครื่องบิน
เอกสาร ทางเรือ ทางเครื่องบิน Commercial Invoice Yes Yes Bill of Lading/Airway 3 Negotiable 3 Non-negotiable 1 Original 3 Copies — negotiable Yes No Certificate of Marine Insurance (if exporter has responsibility for insurance) Quarantine Treatment Yes Yes Certificate (if applicable) Packing List Yes Yes Commercial Invoice ควรจะต้องมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
- ชื่อและที่อยู่ของผู้ส่งออก
- ชื่อของผู้ซื้อในประเทศออสเตรเลีย
- ชนิดของการขนส่งสินค้า เช่น ทางเรือ ทางอากาศ หรือรถไฟ
- ชื่อของเรือ (Vessel) และวันที่ลงเรือ (ถ้ามี)
- ท่าเรือที่ส่ง และรับสินค้า (ถ้ามี)
- Shipping marks
- คำอธิบายสินค้า
- จำนวนสินค้า (รวมถึง อัตราแลกเปลี่ยน และ การคำนวณเบื้องต้น เช่น FOB, CFR, CIF)
- หมายเลขการสั่งซื้อของผู้ซื้อ
- หมายเลขผู้ส่งออก
- หมายเลขของผู้นำเข้าสินค้า (ถ้ามี)
- อัตราค่าส่ง ว่าจ่ายที่ปลายทาง (for FOB) หรือผู้ส่งจ่ายล่วงหน้าก่อน (for CFR & CIF)
- ราคารวมของสินค้า
- การประกันสินค้า
เอกสารที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ควรจะส่งทางไปรษณีย์ให้ถึงมือผู้นำเข้าในออสเตรเลีย หรือ Custom Agent ก่อนที่สินค้าจะส่งถึงออสเตรเลีย เพื่อให้ผู้นำเข้าดำเนินการเตรียมออกและเกี่ยวกับภาษีนำเข้าต่างไว้ก่อนได้ และเนื่องจากค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาสินค้าที่ท่าเรือ และ สนามบินค่อนข้างสูง หากเกิดความล่าช้าในการรอ เอกสาร จะทำให้ผู้นำเข้าต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น
เสื้อผ้าสำเร็จรูปจากต่างประเทศส่วนใหญ่จะนำเข้าโดยผู้นำเข้าโดยเฉพาะสำหรับสินค้าเสื้อผ้า หรือนำเข้าโดยตรงโดยผู้ค้าปลีกรายใหญ่ อย่างไรก็ตาม เสื้อผ้าบางประเภทเช่น เสื้อถัก ชุดว่าย น้ำมีการนำเข้า โดยผู้นำเข้ารายเล็ก ๆ
ระบบการจัดจำหน่ายสินค้าเสื้อผ้าสำเร็จรูปในประเทศออสเตรเลีย ประกอบด้วยผู้ประกอบการ 4 ประเภท คือ
1. ร้านค้าปลีกแบบลูกโซ่ขนาดใหญ่
2. ผู้นำเข้ารายใหญ่
3. ผู้นำเข้ารายเล็ก
4. ตัวแทนนายหน้า
ร้านค้าปลีกแบบลูกโซ่ขนาดใหญ่ในออสเตรเลียมักจะมีตัวแทนนายหน้า(หรือ ผู้จัดซื้อ)ของตนเอง โดยตัวแทนนายหน้า (Agent) จะเป็นผู้เดินทางไปยังประเทศผู้ผลิต เพื่อหาโรงงานผลิตที่มีคุณภาพ และการควบคุม คุณภาพที่สม่ำเสมอ รวมทั้งมีราคาที่แข่งขันได้
ผู้นำเข้ารายใหญ่ โดยปกติจะเดินทางไปหาซื้อจากผู้ส่งออกในต่างประเทศด้วยตนเองแต่ในครั้งแรก อาจจะอาศัยตัวแทนการซื้อเช่นเดียวกับร้านค้าปลีกแบบลูกโซ่ขนาดใหญ่ แต่จากนั้น จะดำเนินการติดต่อกับผู้ผลิต โดยตรง ผู้นำเข้ารายใหญ่จะจำหน่ายสินค้าไปยังผู้ค้าปลีกรายย่อย และผู้ค้าปลีกลูกโซ่รายเล็ก นอกจากนี้ อาจมีการ จำหน่ายไปยังผู้ค้าปลีกลูกโซ่รายใหญ่ด้วยเช่นกัน
ผู้นำเข้ารายเล็กโดยปกติจะซื้อสั่งสินค้าโดยตรงจากผู้ผลิตในต่างประเทศ และจำหน่ายสินค้าไปยัง ร้านค้าปลีกแบบ ลูกโซ่รายเล็กๆ และร้านค้าปลีกโดยทั่วไป ผู้นำเข้ารายเล็กมักจะมีร้านค้าปลีกของตนเองด้วย แต่จะมีจำนวนการสั่งซื้อสินค้าไม่มากนักและสินค้า ที่สั่งจะมีลักษณะที่แตกต่างจากสินค้าทั่วไปที่มีขายในตลาด
ตัวแทนนายหน้า ในออสเตรเลียมีจำนวนมากโดยทำหน้าที่ เป็นตัวแทนจัดซื้อสินค้าจากผู้ผลิตในต่างประเทศ โดยมักจะเลือกซื้อสินค้าที่มีราคาสูง เนื่องจากนายหน้าจะได้รับค่าตอบแทน ตามมูลค่าการสั่งซื้อ โดยทั่วไปแล้วตัวแทนนายหน้า คิดค่านายหน้าตามราคา FOB
งานแสดงสินค้าที่สำคัญในออสเตรเลีย
1) TCF International, Giftware International and Homeware and Furnishings
Melbourne, VICTORIA
Organizer: Australian Exhibition Services
Illoura Plaza, 424 St.Kilda Rd
Melbourne VIC 3004
Tel: 61-3 9261-4500
Fax: 61-3-9261-4545
E-mail: shows@ausexhibit.com.au
Website: www.ausexhibit.com.au
2) Fashion Exposed
เป็น Trade Fair ที่ใหญ่และสำคัญของออสเตรเลีย ผู้ออกงานส่วนใหญ่เป็น importer, wholesaler และ producer โดยจะจัดปีละ 2 ครั้ง คือ ซิดนีย์ และเมลเบอร์น
March (Spring/Summer) 12-14 February 2012
Sydney Exhibition & Convention Centre
September (Autumn/Winter)
Melbourne Exhibition Centre
Organizer:
Australian Exhibitions & Conferences Pty Limited
Level 2, 267 Collins Street,
Melbourne, Australia.
Tel: +(1)-(613)-96547773
Fax: +(1)-(613)-96545596
3) Preview (March, September)
เป็นงานที่จัดขึ้นควบคู่ไปกับงาน Fashion Exposed แต่จะเน้นที่เป็นเสื้อผ้า Designer (Designer Clothes) Sydney Exhibition & Convention Centre, Melbourne Exhibition & Convention Centre
12-14 February 2012
Organizer:
Australian Exhibitions & Conferences Pty Limited
4) The L’Oreal fashion Festival
เป็นเทศกาลสำหรับคนรักแฟชั่น โดยมีการจัดการแสดงเดินแบบ การแนะนำ Collection ล่าสุดของดีไซเนอร์ และ งานสังสรรค์ของผู้คนในวงการแฟชั่นเป็นประจำทุกปี ในเดือนมีนาคมที่ นครเมลเบอร์นซึ่งเป็นเมืองหลวงของวงการแฟชั่นและศิลปะแขนงต่างๆของออสเตรเลีย 8-15 March 2012
Organizer:
LMFF team
Level 2
175 Flinders Lane, Melbourne
Victoria, 3000 Australia
T: +61 3 9654 5599
F: +61 3 9654 9679
5) Rosemount Australia Fashion Week (April, October)
เป็นงานแสดงแฟชั่นโชว์โดยดีไซน์เนอร์ออสเตรเลียและเอเชียแปซิฟิก จัดขึ้นปีละ 2 ครั้งทุกปีในเดือนเมษายน และตุลาคมที่นครเมลเบอร์น และซิดนีย์
The Overseas Passenger Terminal (OPT), Circular Quay, Sydney
St.Kilda pier, Melbourne
Organizer:
IMG FASHION
Level 4, 263 Clarence Street
Sydney NSW 2000
Australia
T: +61 2 9285 8000
F: +61 2 9260 2333
6) International Sourcing Fair (November)
Organizer:
Australian Exhibitions & Conferences
Level 5, 267 Collins Street
Melbourne Australia 3000
Tel +613 8672 1200
Fax +613 9654 5596
Email mail@aec.net.au
Web www.aec.net.au
ข้อแนะนำสำหรับผู้ส่งออกไทย
1. แม้ว่าปัจุบันสินค้าไทยยังมีสัดส่วนน้อยมากในออสเตรเลียแต่ยังมีโอกาสที่จะขยายส่วนแบ่ง ตลาดได้อีก โดยในปัจจุบันผู้นำเข้าเริ่มมองหาแหล่งสินค้าใหม่ๆ นอกเหนือจากจีน เนื่องจากปัญหาด้านคุณภาพและยอดสั่งซื้อขั้นต่ำ ซึ่งผู้ส่งออกไทยอาจจำเป็นต้องสามารถตอบสนองต่อปริมาณสั่งซื้อของผู้นำเข้าของออสเตรเลีย กล่าวคือการสั่งซื้อ ในแต่ละครั้งอาจมีปริมาณต่ำกว่าปริมาณสั่งซื้อขั้นต่ำที่ผู้ส่งออกไทยกำหนดไว้ โดยทั่วไปสำหรับ ตลาดสหรัฐฯหรือ ยุโรป เนื่องจากตลาดมีขนาดเล็กและกระจายอยู่ในแต่ละเมืองซึ่งตั้งอยู่ห่างไกลกันมาก การนำเข้าปริมาณมาก เพื่อ กระจายสินค้าไปยังเมืองต่างๆ ทั่วประเทศจึงจำกัดโดยผู้นำเข้าบางราย ในขณะที่ ผู้นำเข้าโดยทั่วไปจะนำเข้าเพื่อจำหน่าย หรือกระจายสินค้าในแถบบริเวณเมืองที่ตั้งกิจการอยู่นั้นเท่านั้น
2. ปัจจัยสำคัญที่ผู้นำเข้าพิจารณา คือ ราคา ดังนั้น ผู้ส่งออกไทยควรที่จะ
- เสนอราคาที่ดีที่สุด เนื่องจากผู้นำเข้าออสเตรเลียมักจะไม่ค่อยชอบการต่อรองราคา หากเห็นว่าราคาที่เสนอขายแรกสุดสูงมากเกินไป อาจจะไม่สนใจที่จะติดต่อหรือเจรจาต่อรอง
- เสนอราคาที่สามารถแข่งขันได้ เนื่องจากสินค้าไทยมีคู่แข่งสำคัญคือจีน ซึ่งมีราคาที่ค่อนข้างต่ำมาก
- ยืดหยุ่นต่อปริมาณขั้นต่ำในการสั่งซื้อ
- มีการส่งมอบที่ตรงเวลา
- มีการรักษาคุณภาพสินค้าที่สม่ำเสมอ
3. สำหรับผู้ส่งออกรายใหม่ ที่จะเข้าสู่ตลาดออสเตรเลีย ควรเดินทางไปสำรวจตลาด โดยเฉพาะที่นครเมลเบินล์ และ ซิดนีย์ เพื่อศึกษาภาวะตลาด แนวโน้มความต้องการของผู้บริโภคในออสเตรเลีย รวมทั้งแนะนำ และเสนอขายสินค้าของตนให้กับผู้นำเข้า รวมทั้งการเข้าร่วมงาน แสดงสินค้าที่สำคัญต่างๆ เท่าที่จะทำได้ โดยปกติผู้นำเข้าส่วนใหญ่มักจะเริ่มการสั่งซื้อภายหลังจากได้เยี่ยมชมโรงงานของผู้ส่งออกอย่างดีแล้ว ดังนั้น การเชื้อเชิญให้ผู้ซื้อออสเตรเลียมาเยี่ยมชมโรงงานจะเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับผู้ซื้อ ได้เป็นอย่างดี
รายชื่อองค์กรที่เกี่ยวข้อง
The Australian Customs Service
Customs House
5 Constitution Avenue
CANBERRA CITY ACT 2601
Telephone: 1300 558 287
Facsimile: 02 6275 5930
Website: www.customs.gov.au
The Australian Taxation Office
P.O. Box 470D
Melbourne, VIC 3001
Tel: 61-3-9275-2397
Fax: 61-3-9285-1284
Website: www.ato.gov.au
Standards Australia
Level 10, The Exchange Centre
20 Bridge Street, Sydney
GPO Box 476
Sydney NSW 2001
Fax: 02 9237 6010
Website: www.standards.com.au
Department of Foreign Affairs and Trades (DFAT)
R.G. Casey Building, John McEwen Crescent,
Barton, ACT, 0221 Australia.
Tel: +61 2 6261 1111
Fax: +61 2 6261 3111
Consular Duty Officer: +61 2 6261 3305 or 1300 555 135 toll free (within Australia only)
Website: www.dfat.gov.au
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครซิดนีย์
ที่มา: http://www.depthai.go.th