สถานการณ์การค้าอาหารในแคนาดา ธันวาคม 2554

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday January 11, 2012 15:08 —กรมส่งเสริมการส่งออก

สินค้า

อาหาร

(สถิติมูลค่านำเข้าจากไทยม.ค.-ต.ค. 54 — เทียบกับช่วงเดียวกัน ปี53)

1) ปลาที่ปรุงแต่งหรือทำไว้ไม่ให้เสีย คาร์เวียร์และของที่ใช้แทนคาร์เวียร์ที่ทำจากไข่ปลา (HS1604): 1021.956 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (+31.14 %)

2) สัตว์น้ำจำพวก ครัสตาเซีย โมลลุสก์ (HS 1605): 83.873 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (+19.67 %)

3) สัตว์น้ำจำพวก ครัสตาเซีย (HS 0306) 106.797 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (+22.28%)

4) สัตว์น้ำจำพวกโมลลุสก์ (HS 0307): 12.221 ล้านเหรียญสหรัฐ (+48.33 %)

5) ผลไม้ ลูกนัต (HS 2008): 45.310 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (+30.41 %)

ขนาดของตลาดแคนาดา

การผลิต/การบริโภค

การผลิต

  • แคนาดามีชื่อเสียงด้านการผลิตเนื้อวัวชั้นดี และปลาแซลม่อนเพื่อการบริโภคและส่งออก
  • ปัจจุบัน ประเทศแคนาดามีโครงสร้างการผลิตอาหารในปัจจุบัน (แบ่งตาม % cash receipt) ดังนี้

1. ธัญพืช = 34% (อาทิWheat/ durum/ oats/ barley/ rye/ flax seed/ canola)

2. เนื้อสัตว์= 27% (Beef cattle/ hogs/ veal และ lamb)

3. Dairy Products = 12%

4. พืชสวน หรือ Horticulture = 9%

5. ไก่และไข่ไก่= 8%

มูลค่าการนำเข้า

นำเข้า (อาหาร)

  • จากทั่วโลก: เดือน ม.ค. —ต.ค.54 มูลค่า 1,648.583 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (+23.56%)
  • จากไทย: เดือน ม.ค.- ต.ค.54 มูลค่า 370.157 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (+26.16 %)

ช่องทางการจำหน่าย

  • ผู้นำเข้าอาหารโดยมากมักเป็นผู้ประกอบการรายเก่าแก่ ลักษณะ Distributor และ Wholesaler โดยมีเครือข่ายกระจาย
สินค้าไปยังผู้ประกอบการระดับปลีก
  • ผู้นำเข้ามีจำนวนจำกัด โดยแต่ละราย มักรวมความต้องการสินค้าของร้านค้าปลีก/ ส่งรายอื่นจำนวนมาก
  • ผู้นำเข้าอาหารจากไทยจำนวนมากเป็นชาวเอเซีย สามารถกระจายสินค้าต่อไปยังชาวเอเซียอื่นได้เป็นอย่างดี

พฤติกรรมผู้บริโภค

  • แนวโน้มลักษณะการบริโภคอาหารสำหรับความนิยมรักษาสุขภาพ ซึ่งผู้ผลิตอาหารต้องจำกัดปริมาณส่วนประกอบหลักๆ ที่ใช้3 ชนิด คือ 1) สารโซเดียม 2) น้ำตาล 3) สารฟรุกโตส Corn Syrup โดยผู้ประกอบการอาหารพยายามแสดงเครื่องหมาย “Reduced Sugar” หรือ “ Naturally Sweetened” บนฉลากผลิตภัณฑ์
  • แนวทางอาหารที่กำลังได้รับความสนใจมากในปัจจุบันได้แก่ อาหารเพื่อสุขภาพ และ อาหารจานด่วนที่ปรุงเองได้ง่าย
  • ผู้บริโภคเริ่มคุ้นเคยกับเครื่องปรุงรส ซอสต่างๆ เพิ่มขึ้น โดยข้อมูลสถิติระหว่าง ม.ค. — ต.ค. 54 ได้รายงานสินค้าหมวดซอส (HS : 2103.90) ไทยเป็นตลาดส่งออกอันดับ 2 รองจากสหรัฐฯ ด้วยมูลค่า 7.278 ล้านเหรียญสหรัฐ ฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.29 จากช่วงเวลาเดียวกันจากปีก่อน
  • สินค้าอาหารที่มีแนวโน้มขยายตัว ได้แก่ สินค้าฮาลาล และ Kosher เนื่องมาจากจำนวนประชากรอิสลามขยายตัวมากขึ้น

การค้าในประเทศ

ราคาขายส่ง/ปลีก

ราคาขายปลีกในนครแวนคูเวอร์ ณ ธ.ค. 2554 (เหรียญแคนาดา)

  • ข้าวหอมมะลิไทย ขนาดถุง 8.18 กก. ราคา 17-20 CAD$
  • กุ้ง Black Tiger Prawn / Headless (Previously Frozen) ขนาด 21/25 ราคา 6.99$/Lb
  • กะทิกระป๋อง $ 1.69 / กระป๋อง
  • ทุเรียน ราคา 2.99 CAD$/Lb

คู่แข่ง

ตามสถิติการนำเข้า ม.ค.-ต.ค. 54 (% จากสัดส่วนนำเข้าทั้งหมด)

สหรัฐฯ (44.33%)

ไทย (20.70%)

จีน (19.543%)

เวียดนาม (4.67%)

อินเดีย (3.60 %)

มาตรการการค้า

ด้านภาษี/NTBs

  • ไม่มีการกีดกันทั้งภาษี(NTBs ในกรณีเป็นสินค้าที่ประเทศแคนาดาไม่สามารถผลิตได้ภายในประเทศ
  • Consumer Packaging and Labeling Act: กฏระเบียบเกี่ยวกับข้อกำหนดด้านบรรจุภัณฑ์และป้ายสินค้า ตลอดจนภาษา และ
เครื่องหมายการค้าต่างๆ ที่ใช้ผู้สนใจสามารถตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกฏระเบียบดังกล่าว ได้ที่ http://laws.justice.gc.ca/e
n/showdoc/cs/C-38///en?page=1
  • Canadian Food and Drug Act/ Regulation: กฏระบียบเกี่ยวกับสินค้าอาหารและยา ซึ่งมีจุดประสงค์หลักในการคุ้มครองผู้บริโภคชาวแคนาดาทั้งนี้ กฏระเบียบดังกล่าว มีการระบุค่าของสารเคมี/ สารปรุงแต่ง/ สี/ และสารกันเสียประเภทต่างๆ สำหรับสินค้านำเข้าไว้อย่างละเอียด โดยหน่วยงาน Health Canada และ CFIA จะทำการปรับค่ากำหนดของสารต่างๆ เป็นระยะๆ ผู้สนในสามารถตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกฏระเบียบดังกล่าวได้ที่ http://laws.justice.gc.ca/en/F-27 http://laws.justice.gc.ca/en/F-27/C.R.C.-c.870
  • รัฐบาลแคนาดาให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของผู้บริโภคมาก จึงมีมาตรการสำหรับการนำเข้าสินค้าอาหารค่อนข้างสูงมาก
แหล่งข้อมูล:
  • “Freshwater Shrimp Farming in Alberta”- Alberta Agriculture, Food, and Rural Development- www.agric.gov.ab.ca
  • “Five largest Agricultural production sectors: Canada”: Canadian Federation of Agriculture, CFA - Canadian Federation of Agriculture - Commodities
  • เปรียบเทียบราคาปลีก ณ T&T Supermarket ในนครแวนคูเวอร์ ณ เดือน ธ.ค. 2554

SWOT

1. จุดแข็ง (Strength)

  • ชาวแคนาดามักเชื่อมโยงภาพลักษณ์อาหารไทยกับการใช้สมุนไพร และเครื่องเทศ ทำให้สินค้าอาหารของไทยได้รับการยอมรับว่า เป็นอาหารเพื่อสุขภาพ
  • ผู้นำเข้าอาหารไทยจำนวนมากเป็นชาวเอเชีย ที่ประกอบธุรกิจนำเข้ามาเป็นเวลาช้านานแล้ว จึงมีความคุ้นเคยกับอาหารไทยดี(บางรายพูดไทยได้ด้วย) มักโน้มน้าว จูงใจผู้ประกอบการรายอื่นที่ไม่คุ้นเคยกับอาหารไทย ได้หันมาทดลองชิม/ ขายได้ดี (เนื่องจากเป็นชาวจีน/ เวียดนามด้วยกัน) จึงนับเป็นการประชาสัมพันธ์ลักษณะ Word of Mouth ได้อย่างดี
  • จากผลตอบรับที่สคต. ได้รับจากผู้นำเข้าเสมอนั้น งานแสดงสินค้า Thaifex นับเป็นงานแสดงสินค้าที่จัดได้ดี ผู้นำเข้าจำนวนมากต้องการร่วมงานฯ ทุกปี
  • ผู้ผลิต/ ผู้ส่งออกอาหารไทย มีการพัฒนารูปแบบ และการนำเสนอภาพลักษณ์สินค้าได้ดี

2. จุดอ่อน (Weakness)

  • ค่าใช้จ่ายการเดินทางระหว่างไทย-แคนาดา มีราคาสูง ทำให้ผู้นำเข้าไม่สามารถเดินทางไปเจรจาการค้า หรือเข้าร่วมงานแสดงสินค้าได้บ่อยนัก ส่งผลให้ผู้นำเข้ามีโอกาสพบเห็นสินค้าใหม่ๆ ได้น้อย จึงเกิดการสั่งซื้อรายปี จำกัด (สำหรับสินค้าอาหารนั้น การที่ผู้นำเข้าได้จับต้องหรือทดลองชิมอาหารด้วยตัวเองแล้วนั้น จะมีผลอย่างมากสำหรับการสั่งซื้อสินค้าใหม่ๆ)
  • อาหารไทยจำนวนมากมักใช้บรรจุภัณฑ์จากวัสดุราคาประหยัด ทำให้ขาดความน่าสนใจ และมีผลด้านความเชื่อถือภาพลักษณ์(Perceived Image/ quality) ต่ออาหารไทยโดยรวม
  • จากผลสำรวจของหน่วยงาน Alberta Agriculture, Food, and Rural Development สรุปว่าชาวแคนาดานิยมบริโภคอาหารทะเลอาทิ กุ้ง ที่สด (ไม่ผ่านการแช่แข็งมาก่อน) โดยยินดีจ่ายเงินเพิ่มสำหรับราคาที่สูงขึ้น อย่างไรก็ตามกุ้งและ อาหารทะเลนำเข้าจากไทยเป็นสินค้าแช่แข็งแทบทั้งสิ้น
  • จากผลตอบรับที่สคร. ได้รับจากผู้นำเข้าเสมอๆ นั้น ผู้ส่งออกไทยส่วนมากติดต่อได้ยาก โดยมักไม่ตอบอีเมล์ และหมายเลขโทรสาร ใช้การไม่ได้
  • ชาวแคนาดามีความรู้เกี่ยวกับสินค้าอาหารไทยจำกัด ภาพลักษณ์อาหารไทยในแคนาดายังเป็นรอง อาหารญี่ปุ่น เกาหลี อินเดีย และจีน อีกมาก

3. โอกาส (Opportunity)

  • แคนาดามีกำลังการผลิตสินค้าหมวด 0306 (สัตว์น้ำจำพวกครัสตาเซีย)ได้ค่อนข้างน้อยไม่เพียงพอต่อการบริโภคในประเทศ จึงจำเป็นต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งแคนาดานำเข้าจากไทยเป็นอันดับที่ 2 (รองจากสหรัฐฯ)
  • เนื่องจากอาหารไทย เป็นที่รู้จัก นิยมในแคนาดามากขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลให้ ผู้ผลิต/ผู้ประกอบการชาวแคนาดา (และต่างชาติ) ได้มีการดัดแปลงรสชาดอาหารของตนให้มีรสชาติไทย อาทิZesty Thai Chicken/ Tom Yum Noodle/ Pad Thai/ Thai Spring Salad เป็นต้น ทำให้อาหารไทยเป็นที่รู้จักมากขึ้นเรื่อยๆ
  • ชาวแคนาดาและผู้ย้ายถิ่นชนชาติอื่นๆ ในแคนาดาเริ่มให้ความสนใจอาหารเอเชียมากขึ้น และมองว่าอาหารไทยเป็นอาหารที่เป็น High-end food
  • ผู้ผลิต / ส่งออกไทยสามารถเพิ่มโอกาสในขยายตลาดกลุ่มสินค้าเครื่องปรุง ซอสประเภทต่าง ๆ (หมวดสินค้า HS: 2103.90) เนื่องจากความต้องการที่เพิ่มขึ้นในกลุ่มชาวแคนาดาที่ใส่ใจสุขภาพ และเล็งเห็นว่าอาหารไทยจำพวกซอสสมุนไพรไทยนั้นเหมาะกับสุขภาพ โดยจะเลือกมาแทนที่กลุ่มเครื่องปรุงรส ซอสประเภทไขมันสูงที่วางจำหน่ายทั่วไป

4. ภัยคุกคาม (Threat)

  • ปัจจุบันกลุ่มผู้บริโภคที่นิยมการอนุรักษ์ธรรมชาติ(Green Consumer) มีการรณรงค์คนท้องถิ่นให้รับประทานอาหารที่ผลิตในท้องถิ่นมากขึ้น เพื่อช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม ลดมลภาวะโลกร้อนจากการขนส่งสินค้าจากประเทศต่าง ๆ
  • ผู้นำเข้าอาหารจากไทย ซึ่งโดยมากเป็นชาวจีน และเวียดนาม (ไม่ใช่ชาวไทย) มีรากฐานเครือข่ายการกระจายสินค้า(ไปยังผู้ประกอบการส่วนต่างๆ ทั่วประเทศ) ที่แข็งแรง มั่นคงมาก ชาวไทยที่ประสงค์จะนำสินค้าไปขายยังร้านค้าชาวเอเชียต่างๆ เหล่านี้ จำเป็นต้องมีเครือข่าย Connection มากกว่า แรงจูงใจด้านราคา หรือรูปแบบของสินค้าเพียงอย่างเดียว
  • รัฐบาลแคนาดามีนโยบาย (ทั้งระยะสั้น และยาว) ในการพัฒนาฟาร์มกุ้ง โดยเฉพาะในมณฑล Alberta เพื่อการบริโภคในประเทศ และส่งออกในอนาคต
  • รัฐบาลส่วนกลางแคนาดา และรัฐบาลส่วนมณฑลของแคนาดานั้นมีโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมการประมง ประเภท Aquaculture อย่างต่อเนื่อง ทำให้มีกำลังผลิตมากขึ้นทุกปี
  • เนื่องจากรัฐบาลแคนาดาให้ความสำคัญกับสุขภาพของผู้บริโภคมาก ดังนั้นจึงได้ออกกฎ ระเบียบเพิ่มเติมเรื่องควบคุมโรคสัตว์ทุกประเภทเมื่อ 22 ธันวาคม 2553 ซึ่งเน้นการควบคุมสัตว์น้ำมากขึ้น อาจจะส่งผลให้การสุ่มตรวจอาหารนำเข้าของหน่วยงาน Canadian Food Inspection Agency (CFIA) นั้น เพิ่มมาตรฐานการตรวจสอบที่ละเอียดมากขึ้น
เกณฑ์การวิเคราะห์สถิติการค้ารายเดือนในสินค้า 10 หมวดของสคร. แวนคูเวอร์

เนื่องด้วยสินค้าในแต่ละ 10 หมวดสำคัญสามารถตีความได้กว้าง ครอบคลุมได้หลายพิกัดสินค้า (ตาม Harmonized System Code) ดังนั้น เพื่อความชัดเจนเที่ยงตรงของการรายงานข้อมูล สคร. มีเกณฑ์การคัดเลือกพิกัดสินค้าเพื่อการวิเคราะห์สถานการณ์รายหมวดสินค้าสำคัญ ดังนี้

1. พิกัดสินค้าดังกล่าว ประเทศแคนาดามีการนำเข้าจากไทยในปัจจุบันจริง

2. พิกัดสินค้าดังกล่าว มีมูลค่านำเข้าสูง ในหมวดสินค้านั้นๆ เพื่อสามารถแสดงถึงภาพรวมภาวะการค้าระหว่างไทย-แคนาดาได้อย่างเที่ยงตรงมากขึ้น

ในกรณีสินค้าอาหารนี้ สคร. พิจารณาใช้พิกัดสินค้า ดังนี้

  • 1604 ปลาที่ปรุงแต่งหรือทำไว้ไม่ให้เสีย คาร์เวียร์และของที่ใช้แทนคาร์เวียร์ที่ทำจากไข่ปลา
  • 1605 สัตว์น้ำจำพวกครัสตาเซีย โมลลุสก์และสัตว์น้ำที่ไม่มีกระดูกสันหลังอื่นๆ ที่ปรุงแต่งหรือทำไว้ไม่ให้เสีย
  • 0306 สัตว์น้ำจำพวกครัสตาเซีย จะเอาเปลือกออกหรือไม่ก็ตาม มีชีวิต สด แช่เย็น แช่เย็นจนแข็ง แห้ง ใส่เกลือ หรือแช่น้ำเกลือ และสัตว์น้ำจำพวกครัสตาเซียที่ยังไม่เอาเปลือกออกซึ่งทำให้สุกโดยการนึ่งหรือต้ม จะแช่เย็น แช่เย็นจนแข็ง แห้ง ใส่เกลือ หรือแช่น้ำเกลือหรือไม่ก็ตาม รวมทั้งสัตว์น้ำจำพวกครัสตาเซียที่ป่นและที่ทำเป็นเพลเลตซึ่งเหมาะสำหรับมนุษย์บริโภค
  • 2008 ผลไม้ ลูกนัต และส่วนอื่นที่บริโภคได้ของพืชที่ปรุงแต่งหรือทำไว้ไม่ให้เสียโดยวิธีอื่น จะเติมน้ำตาลหรือสารทำให้หวานอื่นๆ หรือสุราหรือไม่ก็ตาม ที่ไม่ได้ระบุหรือรวมไว้ในที่อื่น
  • 0307 สัตว์น้ำจำพวกโมลลุสก์จะเอาเปลือกออกหรือไม่ก็ตาม มีชีวิต สด แช่เย็น แช่เย็นจนแข็ง แห้ง ใส่เกลือ หรือแช่น้ำเกลือ และสัตว์น้ำที่ไม่มีกระดูกสันหลังนอกจากสัตว์น้ำจำพวกครัสตาเซียและโมลลุสก์ มีชีวิต สด แช่เย็น แช่เย็นจนแข็ง แห้ง ใส่เกลือ หรือแช่น้ำเกลือ รวมทั้ง

สัตว์น้ำที่ไม่มีกระดูกสันหลังนอกจากสัตว์น้ำจำพวกครัสตาเซีย ที่ป่นและ ที่ทำเป็นเพลเลตซึ่งเหมาะสำหรับมนุษย์บริโภค

สคต. แวนคูเวอร์.

ที่มา: http://www.depthai.go.th


แท็ก สหรัฐ  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ